มาดูตัวช่วยดีๆที่จะแก้คำผิดให้คุณโดยอัตโนมัติ

สำหรับการพิมท์ไม่ว่าจะพิมท์สั่นหรือยาวเราก็ไม่อยากให้มันผิดเพราะมันจะเสียเวลาเราเอามากๆวันนี้เราเลยจะมีตัวช่วยให้คุณสะดวกสะบายมากยิ่งขึ้น ไม่ว่าคุณจะเป็นคนที่พิมท์ไม่เก่ง ชอบพิมท์ผิดบ่อยๆเจ้าแอพตัวนี้ก็ช่วยคุณได้หรือสำหรับคนที่คิดว่าเซียนแล้วพิมท์ไม่ค่อยผิดมีติดคอมไว้ก็ไม่เสียหายอะไร

วันนี้เรามีแอพพลิเคชันที่ชื่อว่า RightLang

RightLang เป็นแอพพลิเคชันที่จะช่วยแก้ไขการพิมพ์ผิดภาษาจากอังกฤษเป็นไทย หรือไทยเป็นอังกฤษ (เช่น “แนพพำแะ” แก้เป็น “correct”) ให้โดยอัตโนมัติ ทำให้ผู้ใช้สามารถพิมพ์ข้อความต่อไปได้โดยไม่ต้องเสียเวลาลบแล้วพิมพ์ใหม่ ข้อความใดที่ RightLang ไม่ได้แก้ไขให้โดยอัตโนมัติ ผู้ใช้ก็สามารถกดปุ่มลัด (Shift + Backspace สำหรับ Windows หรือ Shift + Delete สำหรับ Mac) เพื่อสั่งให้แก้ไขด้วยตนเองได้ นอกจากนี้ข้อความที่ผู้ใช้สั่งแก้ไขด้วยตนเองจะถูกจดจำไว้เพื่อให้สามารถแก้ไขได้โดยอัตโนมัติในครั้งถัดไปอีกด้วย

RightLang มีทั้งเวอร์ชันสำหรับ Windows และ Mac โดยในเวอร์ชัน Mac มีคุณสมบัติพิเศษเพิ่มขึ้นมาคือ สามารถกำหนดภาษาตั้งต้น (default language) ของแต่ละแอพพลิเคชันได้ เมื่อสลับหน้าต่างแอพพลิเคชัน RightLang จะคอยเปลี่ยนภาษาให้ตรงกับภาษาที่กำหนดไว้ เช่น กำหนดให้ภาษาตั้งต้นของ Terminal และ Xcode เป็นภาษาอังกฤษ และกำหนดให้ภาษาตั้งต้นของ chat client เป็นภาษาไทย เป็นต้น

 

คัมภีร์ฟรีแลนซ์ เจาะลึกอาชีพนักเขียนฟรีแลนซ์ 4.0

นักเขียนฟรีแลนซ์ รายได้ และทุกเรื่องที่ควรรู้

เพื่อนๆ หลายคนคงคุ้นหูกับคำว่า “อาชีพนักเขียนฟรีแลนซ์” ซึ่งกำลังได้รับความนิยมมากขึ้น เพราะเป็นโอกาสในการสร้างรายได้ที่เปิดกว้าง และ การมองหางานก็ไม่ได้ยากเหมือนแต่ก่อน ที่สำคัญ ไม่ว่าคุณจะทำงานประจำอะไร อยู่ในช่วงวัยไหน สนใจเรื่องอะไร ก็สามารถเป็นนักเขียนฟรีแลนซ์ได้ด้วย

แม้ว่านักเขียนฟรีแลนซ์ ยุค 4.0 มีความแตกต่างจากนักเขียนฟรีแลนซ์สมัยก่อนอยู่บ้าง เพราะไม่ใช่งานเขียน “ยุคเข็มฉีดยา” ที่เป็นการส่งสารทางเดียว แต่เน้นให้ความสำคัญเรื่องการปฏิสัมพันธ์กับผู้อ่านมากขึ้น และเป็นยุคที่คุณสามารถมีผลงานเป็นของตัวเองได้แบบไม่ต้องง้อใคร (ยกเว้นคนอ่าน) แค่ฟังก็สนใจแล้วล่ะสิ ดังนั้นเรามาทำความรู้จักอาชีพนักเขียนฟรีแลนซ์ ยุค 4.0

เจาะอาชีพนักเขียนฟรีแลนซ์

อาชีพนักเขียนฟรีแลนซ์ 4.0 คืออะไร

ถ้าจะว่ากันง่ายๆ นักเขียนฟรีแลนซ์ ก็คือคนทั่วๆไปที่มีทักษะความสามารถในการผลิตงานเนื้อหา แล้วส่งมอบให้กับผู้จ้าง หรือ สร้างเครือข่ายสังคมของตนเองขึ้นมาจนมีผู้ติดตามมากมาย ซึ่งในภาพใหญ่ๆ

เราสามารถแบ่งนักเขียนฟรีแลนซ์ 4.0 ได้เป็น 3 กลุ่มหลักๆ จากประสบการณ์การทำงานของผม

1. นักเขียนฟรีแลนซ์สายรับเป็นจ๊อบๆ

ถ้าเรียกกันภาษาทั่วไปก็ รับงานแบบมือปืนด้วยการรับโจทย์มาจากลูกค้าซึ่งก็มีหลากหลาย ตั้งแต่งานเขียน Copy โฆษณาสินค้าสั้นๆ ไปจนถึงงานเขียนบทความยาวๆ (เชื่อเถอะ … วัตถุประสงค์ตอนที่ได้รับงานมามีหลากหลายจริงๆนะ)

2. นักเขียนฟรีแลนซ์สายกลยุทธ์

อันนี้ก็จะเพิ่มดีกรีความเข้มข้นของคนสายขีดเขียนอีกนิดเพราะนอกจากเราจะต้องผลิตชิ้นงานขึ้นมา ก่อนหน้านั้นเราก็จะต้องวางกลยุทธ์งาน Content ให้ด้วย ซึ่งก็จะต้องมีความรู้เรื่อง Digital Media เพิ่มขึ้นมาด้วย อีกทั้งยังต้องมีการจัดวาง KPI กันด้วยนะว่า หลังจากที่งานของเราเดินไปนั้นประสิทธิภาพและผลลัพธ์ เป็นไปตามเป้าหมายหรือไม่

3. นักเขียนฟรีแลนซ์สายผู้นำทางความคิด

ที่นิยมเรียกกันว่า Influencer จะเป็น Facebook Fanpage, IG, Twitter, Youtube หรือ Blog ก็ได้ทั้ง โดยจุดแตกต่างจาก 2 กลุ่มแรกคือคุณจะได้โชว์ความเป็นตัวตนอย่างเต็มที่ ไม่มีกรอบทางความคิด ขอแค่มีผู้ติดตามและระดับการมีส่วนร่วมสูงๆ เข้าไว้ก็มีโอกาสสร้างรายได้จากทางนี้

จากนักเขียนฟรีแลนซ์ทั้ง 3 สายหลัก จะเห็นได้ว่ามีความหลากหลายทั้งเนื้องานที่ต้องทำ ระยะเวลาการผลิตชิ้นงาน และ รายได้อีกด้วยนะ

อยากเป็นนักเขียนอิสระ

สงสัยไหม? ทำไมนักเขียนฟรีแลนซ์ถึงเป็นที่ต้องการของตลาดยุค 4.0

ถึงแม้จะมีตำแหน่งงานประจำเกี่ยวกับงานคิดเขียนมากมาย แต่พื้นที่สำหรับนักเขียนฟรีแลนซ์ ยังคงเปิดกว้างอยู่เสมอ โดยเฉพาะยุค 4.0 ด้วยข้อสนับสนุนให้อุ่นใจดังต่อไปนี้

1. ปริมาณที่เพิ่มขึ้นของธุรกิจขนาดเล็ก – กลาง ในยุคออนไลน์ ที่หันมาให้ความสำคัญเรื่อง Content marketing มากขึ้น ซึ่งถ้าหากไม่จ้างพนักงานประจำ ก็ต้องหวังพึ่งนักเขียนฟรีแลนซ์นี่หละ

2. ความต่อเนื่องคือปัจจัยสำคัญของการสร้าง Brand ผ่าน Content ส่งผลให้หลายธุรกิจต้องผลิตเนื้อหาที่ดีให้ได้อย่างสม่ำเสมอ ซึ่งบางบริษัทก็ต้องอาศัยนักเขียนฟรีแลนซ์มาช่วยเติมเต็มจุดนี้

3. ผู้ว่าจ้างอาจต้องการนักเขียนที่มีความเชี่ยวชาญเฉพาะด้าน ซึ่งพนักงานประจำอาจทำไม่ได้ แต่ในตลาดฟรีแลนซ์ ผู้ว่าจ้างสามารถเลือกได้เลยว่าอยากได้นักเขียนสไตล์ไหน ถนัดฟอร์แมตอะไร หรือเข้าใจการสร้างสรรค์เนื้อหาบนสื่อใดเป็นพิเศษ

4. งานสดใหม่ ไอเดียดี มีความแตกต่าง บอกเลยครับว่ามุมมองและการใช้ชีวิตของฟรีแลนซ์นั้นวันๆ นึงเจออะไรเยอะ แถมประสบการณ์รับงานก็ออกแนวกว้าง ดังนั้นจึงสามารถผลิตงานได้อย่างมีจินตนาการ

5.  รูปแบบการตลาดเฉพาะกลุ่ม ส่งผลให้แบรนด์อาจอยากได้งานเขียนจากคนที่มีอินไซด์เรื่องนั้นๆไม่ว่าจะเป็นเพศ ช่วงอายุ ความสนใจ รวมถึงรูปแบบการใช้ชีวิต

6. งานวิจัย หรือ บทสรุปแนวโน้มมากมายยืนยันตรงกันว่า  Digital Content เติบโตขึ้นทุกๆ ปี และ Content ถือเป็นแกนสำคัญในการผลักดันให้แบรนด์เข้าไปอยู่ในใจผู้บริโภค

นักเขียนบทความ

3 ความต่างระหว่าง นักเขียนฟรีแลนซ์ vs ผู้ที่ทำงานประจำ

สำหรับเรื่องนี้หลายคนคงพอเข้าใจอยู่แล้วว่า การประกอบอาชีพฟรีแลนซ์ จะมีข้อแตกต่างเบื้องต้นกับอาชีพพนักงานประจำ ในเรื่องของการไม่มีเงินเดือนที่ตายตัว เช่นเดียวกับเวลาการทำงานที่ไม่แน่นอน สวัสดิการต่างๆนานาก็ไม่ได้มี แล้วนอกเหนือจากเรื่องพวกนี้หละ มีจุดเด่นชัดอะไรบ้างที่พอจะสรุปได้

1.  วินัยต้องเป็นเลิศ

เพราะทุกแม้คุณจะตื่นกี่โมง นอนกี่โมง ทำงานที่ไหนเวลาไหนก็ได้ แต่อย่าลืมว่าอิสระคือสารเร่งความผัดวันประกันพรุ่ง ที่สำคัญคุณจะไม่มีหัวหน้า หรือ ซีเนียร์ มาคอยชี้นำ กระตุ้น หรือ ไล่บี้งานจากคุณ ทั้งหมดมีเพียงตัวคุณเท่านั้นที่จะดูแลตัวเอง

2. การจัดสรรงานให้ลงตัว

กรณีที่คุณรับงานคนเดียว ไม่ได้มีทีมหรือเพื่อนคอยช่วยเหลือ นั่นแปลว่าคุณต้องบริหารจัดการ วางแผนการรับงาน และการส่งมอบงานให้ดีๆ เพราะในสภาวะวิกฤติคุณไม่ได้สามารถลาป่วย หรือ ขอความช่วยเหลือจากใครได้ (ฟรีแลนซ์ก็ต้องมีสกิล Management นาจา)

3. พร้อมเรียนรู้สิ่งใหม่

แต่ละครั้งที่คุณรับงาน ต้องเจอลูกค้าใหม่ โจทย์ใหม่ วัตถุประสงค์ใหม่ (แต่เงินเท่าเก่า … ล้อเล่นนา อิอิ) ทั้งเรื่องคนและงานจะมีความหลากหลาย คุณต้องมีสกิลการเรียนรู้ และรับมือให้เป็น ที่สำคัญต้องหมั่นศึกษาเทรนด์หรือลูกเล่นใหม่ๆ เพื่ออัพเกรดคุณภาพงานตัวเองด้วย เห็นมั้ยละ งานฟรีแลนซ์ ก็มีความท้าทายไม่ใช่หยอกเลยนะ

เปลี่ยนทุกช่วงเวลาให้เป็นรายได้และโอกาส

คำว่าฟรีแลนซ์ มักมาคู่กับความคิดว่าที่ “โอ้ย ต้องไม่มีเวลาส่วนตัวแน่เลย” แต่เอาเข้าจริงๆ นะครับ ”ไอเดียงานเขียนดีๆ บางทีก็ระบุเวลาเกิดไม่ได้” แต่ส่วนตัวผมมองเรื่องนี้เป็นข้อดีมากกว่า ทำไมน่ะหรอ?

1. การค้นคว้าหรือหาข้อมูลเพื่องานเขียน ทำให้คุณมีความรู้เพิ่มขึ้นทั้งในเชิงลึก (ผู้เชี่ยวชาญ) และเชิงกว้าง (ผู้รอบรู้) ทำให้คุณมีโอกาสขยายไลน์ผลิตงานเขียนได้มากขึ้น หรือ เจอไอเดียสดใหม่อยู่เสมอ

2. เปลี่ยนเหตุการณ์จำเจเป็นเรื่องเล่าสนุกๆ เพราะ โลกใบเก่าของคุณอาจเปิดมุมมองใหม่ให้คนอื่น ที่สำคัญมันจะช่วยให้โลกของคุณสดใสขึ้นด้วย

3. เปลี่ยนงานอดิเรกที่มีความสุขให้เป็นรายได้ที่สร้างโอกาสให้ชีวิต เช่น ชอบเล่นเกมส์จึงทำชาแนลแคสเกม ชอบเที่ยวต่างจังหวัดจึงเขียนรีวิวที่พักและแนะนำสถานที่แปลกใหม่ หรือ ชอบกีฬา ก็อัปเดตความเคลื่อนไหว หรือ นำเสนอข้อมูลเชิงลึกที่น่าสนใจ สรุปคือการใช้สิ่งที่เราเสพอยู่แล้วมาสร้างโอกาสนั่นเอง

4. ทำงานได้ในเวลาที่อาจสูญเปล่า ตัวอย่างง่ายๆ เช่น อยู่บนรถโดยสารประจำทาง รอเพื่อนช็อปปิ้ง รอแฟนแต่งหน้า รอคุณพ่อคุณแม่ฟิตเนส หรือ รออาหารในร้านที่คิวยาว ฯลฯ

ถ้าว่ากันตรงๆ หากคุณมีการวางแผนที่ดี เรื่องการบริหารจัดการเวลาไม่ใช่เรื่องยาก ที่สำคัญคุณสามารถทำงานประจำควบคู่กับงานเขียนฟรีแลนซ์ ได้อย่างไร้ปัญหาอีกด้วย

รูปแบบการสร้างรายได้ของอาชีพนักเขียนฟรีแลนซ์ 4.0

พูดถึงเรื่องอาชีพแล้ว สิ่งสำคัญที่หลายคนสนใจคงหนีไม่พ้นเรื่องของการหารายได้ โดยผมขอสรุปจากประสบการณ์ละกันนะว่า อาชีพนักเขียนฟรีแลนซ์ มีรายได้หลักๆ 3 รูปแบบ

1. รายได้จากค่าจ้างผลิตชิ้นงาน อาจเป็นแบบชิ้นต่อชิ้น หรือ อาจมากกว่า 1 ชิ้น ซึ่งเรตราคาก็ตามตกลง เช่น เขียนบทความเกี่ยวกับสุขภาพ การย่อยชุดข้อมูลความรู้วางแผนการเงิน ข้อความโฆษณาที่น่าดึงดูดใจ ทำรีวิวต่างๆ หรือแม้แต่งานการถ่ายทำวิดีโอที่ใช้การตัดต่อเข้ามาร่วมด้วย

2. รายได้จากการขายพื้นที่ของเรา ซึ่งก็คือการขายความ Popular หรือ ความนิยมจากผู้ติดตามโดยองค์ประกอบพื้นฐานคือเราต้องมีแพลตฟอร์ม หรือ พื้นที่สื่อเป็นของตัวเอง เช่น เพจเฟซบุ๊ค บล็อก ยูทูป ฯลฯ เรียกง่ายๆว่าแบรนด์สินค้ามักจะขอ Tie in หรือ ช่วยให้คุณสร้างเนื้อหาเจ๋งๆ ลงบนพื้นที่ของคุณ

3. รายได้ตาม KPI ที่ตกลง เรียกว่าเป็นงานโปรเจคตั้งแต่ต้นจนจบ ตั้งแต่การวางกลยุทธ์การผลิตชิ้นงาน การจัดเก็บข้อมูล ไปจนถึงการวัดผลลัพธ์ โดยต้องใช้ความรู้ของ Digital เข้ามาร่วมด้วย ซึ่งงานลักษณะจะช่วยสร้างประสบการณ์และทักษะ Marketing communication ได้อย่างดี

ไม่ได้แปลว่าเราต้องเลือกรับงานที่สร้างรายได้รูปแบบใดรูปแบบหนึ่ง บางทีนักเขียนฟรีแลนซ์ 1 คน อาจสร้างรายได้ทั้งหมด 3 รูปแบบเลยก็ได้เช่นเดียวกัน แต่ทั้งนี้ทั้งนั้น ก็ต้องอาศัยทักษะ คุณสมบัติ และมีเงื่อนไขที่ต้องทำความเข้าใจเพิ่มเติมพอสมควร (อ่านเพิ่มเติม เจาะลึกความแตกต่างที่ไปด้วยกันได้ของ การสร้างรายได้นักเขียนฟรีแลนซ์ทั้ง 3 รูปแบบ)

เส้นทางนักเขียนฟรีแลนซ์

เส้นทางนักเขียนฟรีแลนซ์ 4.0 มีสายไหนบ้าง

สิ่งสำคัญอย่างนึงของการเป็นนักเขียนฟรีแลนซ์ คือการรู้จักและเข้าใจงานเขียนของตนเองว่ามีความเข้าใจและเหมาะกับงานเขียนประเภทไหน ตามความเข้าใจของผมนั้น นักเขียน 4.0 มี 3 สายหลักๆ ได้แก่ Copywriter, Content Provider และ Influencer โดยในแต่ละสาย ก็จะมีประเภทงานหรือลักษณะงานแยกย่อยลงไปอีกที

1. Copywriter “กระชับ จับใจ ได้ยอด”

สายนี้ต้องใช้ความสามารถในการแปลงหรือตีโจทย์ที่ได้รับมา ให้กลายเป็นประโยคหรือวลีสั้นๆที่ดูแล้วเข้าใจพร้อมเชิญชวนให้ผู้อ่านเกิดพฤติกรรมตามวัตถุประสงค์ที่วางไว้ เช่น คลิกเพื่ออ่านต่อ สั่งซื้อ หรือ กรอกแบบฟอร์มสมัคร เป็นต้น 

แต่ละคนก็จะมีเคล็ดลับ หรือ ทักษะ ในการสร้างสรรค์คำสั้นๆ เหล่านี้ แตกต่างกันออกไป เช่น การนำจุดเด่นของสินค้า โปรโมชั่น สิทธิพิเศษ หรือ การใช้ปัญหาของกลุ่มเป้าหมายมาสร้างข้อความอาจเกิดขึ้นได้ทั้งใน Web content, Banner โฆษณาต่างๆ หรือแม้แต่วลีในการสร้าง Adwords campaign

2. Content Provider “ถ่ายทอดดี ลีลาโดน”

ถือเป็นสายที่เปิดกว้างและเหมาะอย่างมากสำหรับนักเล่าเรื่อง โดยคุณจะต้องสร้างสรรค์ เนื้อหาที่มอบคุณค่าให้กับผู้บริโภค ขณะเดียวกันต้องไม่ลืมจุดยืนและภาพลักษณ์ของแบรนด์หรือสินค้า (Brand Image & Brand Positioning) ที่สำคัญ KPI ก็ควรเป็นไปตามเป้าด้วยเช่นกัน

จากความหลากหลายของกลุ่มนี้ ผมขอยกตัวเฉพาะงานที่เคยได้สัมผัสแล้วกันนะ ได้แก่

2.1  บทความน่าอ่าน

ที่เรียกว่า Advertorial อันเป็นการส่งมอบคุณค่าด้านในด้านหนึ่งจะเป็นความรู้ คำแนะนำ หรือ ความสนุกสนาน เป็นต้น แต่จะต้องมีความเชื่อมโยงกับแบรนด์หรือสินค้าได้อย่างแนบเนียน

2.2  เนื้อหาสนับสนุนคุณภาพเว็บไซต์

หรือที่เรียกว่า SEO Content ซึ่งคุณจะได้รับโจทย์มาว่าต้องการให้เนื้อหาของคุณมี Keyword อะไร เพื่อช่วยให้เว็บไซต์ถูกเสิร์ชหาได้ง่ายยิ่งขึ้น

2.3  การทำ SR (Sponsor Review)

หรือ การรับงานรีวิวและเขียนให้น่าอ่านตามโจทย์ที่ได้รับซึ่งแตกต่างจาก CR (Customer Review) ที่เป็นการรีวิวแบบฟรีสไตล์ตามใจเรา

2.4  งานเขียนแบบ Interview หรือ Testimonial

เช่น การสัมภาษณ์กลุ่มเป้าหมายของลูกค้าสัมภาษณ์บุคคลสำคัญ รวมถึง การรวมความประทับใจต่อแบรนด์มาสร้างเนื้อหา เป็นต้น

3. Influencer “เปลี่ยนความหลงใหล ให้เป็นเรื่องราว จนชาวโลกติดตาม”

เป็นสายที่มาแรงในยุคดิจิทัล เพราะหลายๆ คนที่โด่งดังในแวดวงนี้ เริ่มต้นมาจากการเล่าเรื่องหรือถ่ายทอดสิ่งที่ตนเองมีความหลงใหล สนใจ หรือ ชำนาญ กระทั่งมีผู้ติดตามเป็นแฟนคลับงานของคุณ และนั่นคือสิ่งที่ดึงดูดให้เจ้าของแบรนด์หรือสินค้ามีโอกาสที่จะมาติดต่อขอลงโฆษณา

แต่อย่ากังวลไปว่าคุณจะต้องทำให้มีผู้ติดตามหลักแสนหรือหลักล้าน หรือ ยอดการเยี่ยมชมเว็บไซต์ถล่มทลาย เพราะจริงๆแล้ว ก็มีการแบ่งระดับไว้ตั้งแต่ Mega – Macro – Micro Influencer แต่ส่วนตัวนั้นผมจะแยกไว้ 2 แบบ ไม่ว่า Influencer เหล่านั้นจะอยู่ในแพลตฟอร์มใดก็ตาม ได้แก่

3.1 Influencer ที่มีผู้ติดตามเชิงปริมาณ ที่สร้างสรรค์เนื้อหาเน้นความอย่างโดนใจและตอบโจทย์ในเชิง Emotional กับผู้อ่าน หรือ สามารถสร้าง Viral จากการทำ Realtime Contnet ได้อย่างโดดเด่น กลุ่มนี้จะมียอดที่เติบโตเร็วแบบก้าวกระโดด แต่อาจไม่ได้มีความเชี่ยวชาญในเนื้อหาประเภทใดประเภทหนึ่ง

3.2 Influencer ที่มีผู้ติดตามในเชิงคุณภาพ ซึ่งจะมีความเชี่ยวชาญ หรือ เป็นกูรู เรื่องใดเรื่องนึงโดยเฉพาะส่งผลให้อาจมีกลุ่มผู้ติดตามที่น้อยกว่า แต่ค่าสถิติการมีส่วนร่วมของงานที่ออกมาแต่ละครั้งจะสูงและงานโฆษณาที่มีโอกาสเข้ามานั้นจะไม่ค่อยหลุดไปจาก DNA ของพวกเขาเท่าไหร่นัก

Digital Content Writer

“ใครๆก็เป็นนักเขียนฟรีแลนซ์ได้” ขอแค่มีคุณสมบัติ 4 ประการ

เริ่มสนใจกันอาชีพนี้กันแล้วละสิ และผมบอกเลยว่าการจะเป็นนักเขียนฟรีแลนซ์ ไม่ใช่เรื่องยาก เพราะคุณไม่จำเป็นต้องอยู่ในกลุ่มคนหัวศิลป์ หรือ วุฒิการศึกษาก็ไม่ใช่อุปสรรคของงานสายนี้เลย

ขอแค่มีคุณสมบัติหลัก 4 ประการ เหล่านี้งานเขียนดีๆ คุณก็สร้างได้

1. พร้อมเรียนรู้และเปิดรับสิ่งใหม่ๆ

แพลตฟอร์ม ลูกเล่น หรือ ฟอร์แมท มีมากมายและเพิ่มขึ้น ส่วนการเปิดรับสิ่งใหม่อยู่เสมอจะช่วยเสริมมุมมองความเป็นนักเขียน และพัฒนาตัวคุณได้อย่างไม่มีวันจบ

2. สนุกกับการเป็นนักเล่าเรื่อง และ ส่งมอบเรื่องราว

เพราะการเล่าเรื่องทีดี ทำให้งานเขียนของคุณมีเสน่ห์และความแตกต่าง ตัวอย่างง่ายๆ ดูพี่เจี๊ยบเลียบด่วนสิ เล่าในแบบของตัวเองสุดๆ จริงป่ะ

3. วินัยและความรับผิดชอบ

การส่งมอบงานไม่ทันเป็นเรื่องที่แย่ ส่วนในสาย Influencer ความต่อเนื่องในการรังสรรค์เรื่องราวดีๆ ถือเป็นปัจจัยสำคัญ เพราะถ้ามาๆหายๆ โลกจะลืมคุณ!!!

4. มี Passion (ความหลงใหล) หรือ ความสนใจใดเป็นพิเศษ

เพราะจะช่วยสร้างความสุข และความสุขมักนำพาให้เกิดงานคุณภาพ (และงานคุณภาพนำมาซึ่งรายได้ระดับพรีเมียม ฮ่าๆ) ที่สำคัญงานเขียนจะออกมาเร็ว เพราะเรื่องเหล่านั้นมันได้ฝังอยู่เส้นเลือดใหญ่ของคุณอยู่แล้ว

อย่างไรก็ตามยังมีคุณสมบัติบางอย่างที่สามารถแบ่งกลุ่มนักเขียนฟรีแลนซ์ระหว่าง กลุ่มพรีเมียมกับกลุ่มทั่วๆไป โดยขอพูดถึงคุณสมบัติที่แตกต่างจากประสบการณ์ที่ได้พบดังนี้นะครับ

จุดตัดสินสำคัญระหว่างนักเขียนฟรีแลนซ์พรีเมียม vs นักเขียนฟรีแลนซ์ทั่วไป

การแข่งขันของนักเขียนอิสระก็มีอยู่สูง และ การตัดราคาคือวิธีการที่ไม่ดีนัก อย่างไรก็ตามหากคุณสามารถผลักดันตัวเองจนเป็นนักเขียนฟรีแลนซ์ระดับพรีเมียมได้ ก็เชื่อว่างานไม่มีขาดอย่างแน่นอนทีนี้มาดูข้อแตกต่างที่พอจะเห็นได้ชัดระหว่าง 2 กลุ่มนี้ กัน

1. งานรีไรท์ vs งานสดใหม่

หลายครั้งเราจะเจอบทความเนื้อหาคล้ายๆเดิม  แต่อาจมีการตัดคำ เติมคำสร้อย หรือ ปรับหัวข้อ ซึ่งนั่นไม่ใช่งานเขียนที่ดีนัก ในขณะที่งานสดใหม่ จะมีความแตกต่างและไม่เหมือนใคร ทั้งในเชิงข้อมูล หรืออาจเป็นในแง่ของไอเดียที่สอดแทรกอยู่ในนั้น

2. งานเกาะกระแส vs งานเน้นคุณค่า

บางสถานการณ์งานเกาะกระแสอาจช่วยให้เนื้อหามีความน่าสนใจ แต่นักสร้างเนื้อหามือเทพจะสร้างงานเขียนที่มีคุณค่าแบบไม่เสื่อมไปตามกาลเวลา หรือ ที่เรียกว่า Evergreen content ได้เสมอ

3. เขียนแบบกว้างๆ vs เขียนแบบเข้าใจ

งานเขียนแบบกว้างๆ มักสร้างขึ้นได้ง่ายแต่ไร้กลุ่มเป้าหมายที่แน่ชัด ส่วนงานเขียนแบบเข้าใจจะตอบโจทย์ได้อย่างเฉพาะเจาะจงทั้งในเรื่องกลุ่มเป้าหมาย เนื้อหาที่ถ่ายทอด รวมถึงเหมาะสมกับช่องทางที่ปล่อยงานเขียนออกไป

4. ทำตามโจทย์ที่ได้รับ vs นำเสนอทางเลือกที่ดีกว่า

นักเขียนที่ดีจะไม่หยุดตั้งข้อสงสัย และ มักตั้งคำถามจากโจทย์ที่ได้รับว่าดีที่สุดแล้วหรือเปล่าพร้อมกับนำเสนอทางเลือกที่ดี หรือ แนวทางใหม่ๆ ส่วนลูกค้าจะตอบรับหรือไม่ก็เป็นเรื่องที่ค่อยว่ากัน

5. เลือกทำแต่งานเขียน vs เลือกเรียนรู้ทักษะใหม่

การสร้างมูลค่าให้ตัวเองในฐานะนักเขียนฟรีแลนซ์ 4.0 ไม่ควรหยุดแค่การเขียนงาน แต่ควรศึกษาเพิ่มเติมทั้งองค์ความรู้และทักษะที่เกี่ยวข้องกับงาน เพราะนอกจากจะเก่งขึ้น เราจะได้งานที่มีค่าจ้างและประสบการณ์แปลกใหม่เพิ่มขึ้นด้วย

6. แหล่งข้อมูลน้อย vs สังเคราะห์ข้อมูล

กรณีที่ต้องสร้างงานเขียนที่จำเป็นต้องใช้แหล่งอ้างอิง นักเขียนระดับคุณภาพจะอาศัยแหล่งอ้างอิงที่หลากหลาย ทั้งการอ่านข้อมูลอื่นๆ อ่านจากงานวิจัย อ่านจากงานต่างประเทศ แล้วนำมาสังเคราะห์ให้กลายเป็นเนื้อหาที่แปลกใหม่ และมีความน่าสนใจได้

ทักษะนักเขียนฟรีแลนซ์

ทักษะเพิ่มเติมที่ช่วยเสริมสร้างมูลค่าให้นักเขียนฟรีแลนซ์

นักเขียนฟรีแลนซ์ที่ดีจะไม่หยุดพัฒนาตนเอง พวกเขาจะมีความซุกซนและชอบเรียนรู้สิ่งใหม่ๆจากประสบการณ์ของผม มีทักษะมากมายที่ช่วยสร้างมูลค่าทางการตลาดให้กับอาชีพนี้

1. ความรู้ความเข้าใจสื่อโซเชียลมีเดีย

ทั้งการใช้เครื่องไม้เครื่องมือต่างๆ ความเหมาะสมของเนื้อหาต่อช่องทางนั้นๆ (สื่อใดเหมาะกับรูปแบบงานเขียนไหน) หรือ การเข้าใจหลักการเบื้องต้นในเชิงเทคนิค

2. สนใจเรื่องสถิติและประยุกต์ใช้เป็น

เพราะงานเขียนในโลกออนไลน์ จำเป็นต้องมีการวัด KPI ดังนั้นการที่คุณมีความเข้าใจและสามารถนำสถิติต่างๆมาวิเคราะห์ หรือ สรุปผลได้ จะเป็นเรื่องทีดี

3. รู้ว่าควรเขียนอย่างไรเมื่ออยู่ในแต่ละแพลตฟอร์ม

นอกจากโซเชียลมีเดียแล้ว ยังมีเว็บไซต์ ฯลฯ เป็นที่ๆ คุณเขียนงานได้ แต่ละที่มีเทคนิคที่ต่างกัน เช่น ถ้าทำบนเว็บไซต์ คุณก็ควรรู้หลักการเขียนเพื่อ SEO ของเว็บไซต์ เป็นต้น

4. ความรู้เรื่องแบรนด์และการตลาด

ปฏิเสธไม่ได้ว่ายุคนี้ งานเขียนฟรีแลนซ์ส่วนมากมีไว้เพื่อสร้างแบรนด์ หรือ ตอบวัตถุประสงค์ทางการตลาด ถ้าคุณมีความเข้าใจเรื่องเหล่านี้ จะช่วยให้โอกาสในการรับงาน และ การผลิตเนื้อหาที่โดนใจทั้งลูกค้ารวมทั้งกลุ่มเป้าหมาย มีมากทีเดียว

5. ทักษะการออกแบบงาน หรือ ทำวิดีโอ

ถือเป็นส่วนสำคัญอย่างยิ่งในการเพิ่มรายได้ให้คุณ เพราะถ้าคุณทำกราฟฟิกดีไซน์ หรือ ผลิตเนื้อหาในรูปแบบวิดีโอ ได้ จะทำให้คุณมีจุดขายเพิ่มขึ้นทันที หรืออย่างน้อยที่สุด คุณควรจะสามารถคุยงานกับดีไซเนอร์และทำงานร่วมกับพวกเขาได้

6. หมั่นศึกษาเทรนด์ของ Content marketing 

อาจไม่จำเป็นต้องเชี่ยวชาญ หรือ เทพมากมาย แต่การตามทันโลกของงานเนื้อหา จะทำให้คุณได้ทั้งความรู้และไอเดียใหม่ๆ ไว้สำหรับแนะนำลูกค้า

7. วางกลยุทธ์หรือแผนงานได้

เป็นทักษะที่เกิดขึ้นได้จากการมีความเข้าใจตั้งแต่ข้อ 1-5 (ไม่ใช่ว่าต้องเก่งทุกด้านนะครับ) จะทำให้คุณได้รับงานที่ใหญ่ขึ้น และได้แสดงศักยภาพอย่างเต็มที่

5 คุณค่าที่หาได้จากการเป็นนักเขียนฟรีแลนซ์

นอกจากการสร้างรายได้อีกทางนั้น การเป็นนักเขียนฟรีแลนซ์ยังมีคุณค่าที่จับต้องได้ และเป็นเรื่องทางใจ ซึ่งตัวผมเองก็ได้รับสิ่งเหล่านั้นมาจริงๆ ได้แก่

1. ประสบการณ์ที่หลากหลาย

ทั้งรูปแบบงานเขียนมากมาย ได้รู้จักตลาดของสินค้ามากขึ้นได้ร่วมงานกับผู้คนหลายรูปแบบ เช่นเดียวกับปัญหาใหม่ๆ ที่มีเข้ามาให้เราได้ฝึกตัวเอง

2. ส่งเสริมพอร์ตงานของคุณ

จะทำให้พอร์ตการสมัครงานของคุณมีผลงานมากขึ้น และดูน่าเชื่อถือซึ่งเป็นประโยชน์สำหรับผู้ที่ต้องการหางานประจำในสายโฆษณา Digital หรือ Content Marketing

3. ได้พบสังคมที่ยอดเยี่ยม

ผมเคยทำเพจของตัวเองนะ และขอบอกว่าการกำหนดกลุ่มเป้าหมายที่ชัดเจน จะทำให้คุณพบเพื่อนใหม่ที่มีความสนใจเรื่องเดียวกับคนอีกเพียบ และ ได้มุมแปลกๆ ฮาๆ เสมอ

4. ความภาคภูมิใจ

สำหรับผมการได้เขียนงานที่มาจากไอเดีย หรือ ความคิดสร้างสรรค์ รวมทั้งการสร้างเพจ ที่สะท้อนความเป็นตัวเรา ถือเป็นเรื่องน่าภาคภูมิใจนะ

5. คุณคือเจ้าของสินค้า

ไม่รู้นะครับ สำหรับผมงานเขียน หรือ งานไอเดีย ถือเป็นสินค้าอย่างนึงที่เราเป็นเจ้าของ อยู่ที่ว่าวันหนึ่งเราจะขยับขยายให้มันเติบโตขึ้นหรือเปล่า

สรุป

อาชีพนักเขียนฟรีแลนซ์ยังเป็นที่ต้องการของตลาดในยุค 4.0 จากการเติบโตของ Digital Marketing อีกทั้งยังมีรูปแบบของงานให้เลือกหลากหลาย โดยการผลิตเนื้อหาคุณภาพที่มีความสร้างสรรค์และแปลกใหม่ยังเป็นสิ่งที่แบรนด์ หรือ เจ้าของสินค้า ต้องการ

อย่าลืมว่าถ้าหากคุณต้องการเป็นนักเขียนอิสระที่มีคุณภาพ ก็ต้องรู้จักการปรับตัว พัฒนาทักษะของตนเอง และเปิดใจเรียนรู้กับสิ่งใหม่ที่เข้ามาอยู่เสมอ

7 วิธีการเขียนบทความออนไลน์แบบไล่คนอ่านไปไกลๆ

วิธีการเขียนบทความแบบแย่ๆ

ถ้าบทความของคุณดี คนก็จะมาอ่านบทความของคุณเยอะ นั่นก็จะทำให้คุณเปลืองค่า Hosting

ถ้าบทความของคุณดี คนก็จะมาพูดคุยกับคุณมากมาย นั่นก็จะทำให้คุณต้องเสียเวลาไปตอบ

ถ้าบทความของคุณดี คนก็จะอยากซื้อของที่คุณขาย นั่นก็จะทำให้คุณต้องเสียเวลาไปส่งของ และคอยบริการลูกค้า

ทั้งเปลืองเงิน เสียเวลา และเสียสุขภาพจิต

เบื่อรึยังกับการทำบทความดีๆ?

ถ้าเบื่อแล้ว วันนี้ผมมีวิธีเขียนบทความบนโลกออนไลน์แบบไล่คนอ่านไปไกลๆ มานำเสนอครับ รับรองว่าถ้าคุณอ่านบทความนี้จบ แล้วทำตามทั้ง 7 วิธี คนจะหนีหาย ไม่มากวนใจคุณอีกเลย

แต่ถ้าคุณไม่เชื่อผม กลับทำตรงกับข้ามทั้ง 7 วิธีนี้ คุณอาจจะต้องเสียเงิน และเสียเวลาเพื่อรองรับคนอ่าน และลูกค้าที่เข้ามาอย่างไม่ขาดสาย

ขึ้นอยู่กับคุณแล้วล่ะว่าจะเลือกแบบไหน ทางเลือกเป็นของคุณ : )Shifu แนะนำถ้าคุณอยากเรียนรู้เรื่องการเขียนบนโลกดิจิทัลเพิ่มเติม ผมแนะนำให้คุณไปดูคอร์สเรียน Becoming A Great Digital Writer ของ Content Shifu Academy ครับ : )

7 วิธีการเขียนบทความออนไลน์แบบไล่คนอ่าน

1. ตั้งชื่อบทความห่วยๆ

David Ogilvy เคยกล่าวไว้ว่า “On the average, five times as many people read the headline as read the body copy. When you have written your headline, you have spent eighty cents out of your dollar.”

หรือแปลเป็นไทยง่ายๆ ว่า “ถ้าหัวข้อไม่ใช่ ไม่ว่าใครก็ไม่คลิก” เพราะฉะนั้นถ้าคุณไม่อยากให้คนเปิดบทความของคุณอ่าน คุณต้องตั้งชื่อบทความห่วยๆ ครับ

ถ้าชื่อบทความของคุณมันแข็งทื่อ น่าเบื่อ และเข้าใจยาก คนก็จะไม่อยากกดเข้าไปอ่านเองโดยอัตโนมัติ

ถ้าคุณยังไม่แน่ใจว่าวิธีการตั้งชื่อบทความห่วยๆ ทำยังไง ผมแนะนำให้ไปอ่านบทความ “ชื่อดีมีชัยไปกว่าครึ่ง! 7 วิธีตั้งชื่อบทความให้น่าสนใจจนคนต้องกดอ่าน” ที่ผมเคยเขียนไว้ แล้วทำตรงข้ามให้หมดครับ

2. ใช้ภาษาวิบัติ

slang-phrases-in-thai

Screenshot ด้านบนเป็นตัวอย่างของการใช้ภาษาวิบัติที่ยอดเยี่ยมมากๆ

ทำไมภาษาวิบัติถึงทำให้คนอ่านไม่อยากอ่าน? สาเหตุก็เป็นเพราะการอ่านภาษาวิบัตินั้นเป็นการอ่านที่ต้องแปลความหมายอีกรอบ ยิ่งถ้ามีภาษาวิบัติติดๆ กันเยอะๆ ก็จะยิ่งแปลความหมายยาก

เอ้อ อย่าสับสนระหว่างภาษาวิบัติ กับภาษาพูดล่ะ มันมีเส้นแบ่งบางๆ กั้นอยู่

ภาษาพูดเช่นพวกคำว่ายังไง, ไม่อย่างงั้น หรือกินไรยัง เป็นภาษาที่ทำให้คนอ่านรู้สึกดี และรู้สึกใกล้ชิดกับคนเขียนมากยิ่งขึ้น เพราะฉะนั้น ถ้าคุณอยากไล่คนอ่านไปไกลๆ การเขียนด้วยภาษาพูดแบบเป็นกันเองเป็นสิ่งที่ไม่ควรทำ ถ้าจะเขียนให้วิบัติแล้วก็เอาให้มันวิบัติสุดๆ ไปเลย

เข้าจายม๊ายเตง?

3. เขียนให้เหมือน Textbook

จากสมการ 1 จะเห็นได้ว่าค่าความสัมพันธ์ระหว่าง x และ y แปรผกผันซึ่งกัน และกัน และถ้าตัวแปร z ยกกำลังสองนั้นถูกเพิ่มเข้าไปในสมการด้วย จะทำให้ผลลัพธ์ที่ออกมานั้นมีค่าความหนาแน่นสัมพัทธ์เป็น 0.5 กิโลกรัมต่อลูกบาศก์เมตร

อ่านแล้วง่วงไหมครับ?

ผมเชื่อว่าแทบจะไม่มีใครบนโลกใบนี้ที่อ่าน Textbook แล้วไม่เคยหลับคาหนังสือ เพราะว่าสิ่งที่ Textbook เน้นนั้นคือการให้ความรู้ โดยที่ไม่สนใจเรื่องความสนุกสนานสักเท่าไหร่ นอกจากนั้นแล้วเนื้อหาบน Textbook นั้นจะไม่ค่อยใช้คำว่าคุณ/เธอ/เรา/ผม ซึ่งคำเหล่านี้จะทำให้คนอ่านรู้สึกเหมือนว่าคนเขียนกำลังเล่าเรื่องราวให้ฟัง

คนที่อ่านบทความบนโลกออนไลน์นั้นมีสิ่งเร้าที่เบี่ยงเบนความสนใจค่อนข้างเยอะ ยิ่งคุณเขียนบทความได้ใกล้เคียงกับ Textbook มากเท่าไหร่ โอกาสที่คนจะหลับ (หรือเปลี่ยนไปอ่านอย่างอื่นแทน) ยิ่งมีมากเท่านั้นShifu แนะนำ

webbastard-understand-basic-seo

ตัวอย่างที่แย่ๆ ที่ทำตรงข้ามกับ Textbook หมดเลยคือบทความของ Webbastard ที่เขียนเรื่องเชิงเทคนิคอย่าง SEO เป็นภาษาพูดให้น่าติดตาม ซึ่งการเขียนแบบนี้นั้นจะทำให้คนชอบ คนไลก์ และคนแชร์

ลองเข้าไปอ่านดูได้ครับ ผมคิดว่าเจ้าของเว็บไซต์นั้นเปลืองค่า Hosting กับเปลืองเวลาในการพูดคุยกับคนที่อ่านบทความนี้ไปไม่น้อยเลยล่ะ

 hbspt.cta.load(3944609, ‘0594cf2a-25fd-4a59-a653-25a01034c6d2’, {});

4. เขียนโดยเว้นบรรทัดน้อยๆ

อย่างที่บอกไปในหัวข้อที่แล้วว่าคนที่อ่านบทความบนโลกออนไลน์นั้นมีความต้านทานต่อสิ่งเร้าค่อนข้างต่ำ การเขียนโดยไม่เว้นบรรทัด หรือเว้นบรรทัดน้อยๆ นั้นจะทำให้ข้อความติดกันเป็นพืด (โดยเฉพาะอย่างยิ่งเวลาบทความที่เปิดผ่านโทรศัพท์มือถือ) ยิ่งเป็นภาษาไทยที่ไม่ค่อยมีการเว้นวรรคด้วยแล้วละก็ จะทำให้มันยิ่งติดกันเข้าไปใหญ่ ซึ่งการเขียนแบบนี้นั้นจะทำให้คนอ่านรู้สึกตาลาย แล้วก็จะไม่อยากอ่านไปเอง ผมแนะนำว่าใน 1 พารากราฟนั้น ให้เขียนติดๆ กันอย่างน้อย ให้เกิน 5 บรรทัด (เมื่อเปิดผ่านคอมพิวเตอร์ หรือโน้ตบุ๊ค) และนอกจากนั้นแล้ว ใน 1 พารากราฟนั้น คุณควรจะพูดถึงหลายๆ เรื่อง หลายๆ หัวข้อ พร้อมๆ กัน ผมรับรองเลยว่าคนจะตาลายจนไม่อยากอ่านต่ออย่างแน่นอน (พารากราฟนี้มีทั้งหมด 7 บรรทัด เป็นไงบ้างครับ? เริ่มตาลายแล้วรึเปล่า?)Shifu แนะนำneil-patel-short-paragraph

ตัวอย่างที่เว้นบรรทัดซะจนน่าอ่านจนเกินไปที่ผมอยากจะยกมานั้นเป็นของป๋า Neil Patel ซึ่งถ้าคุณลองเข้าไปอ่านบทความของเขา แล้วสังเกตดูคุณจะเห็นว่า เขาเว้นบรรทัดบ่อยมากๆ ซึ่งถ้าเปิดผ่านคอมพิวเตอร์ หรือโน้ตบุ๊คจะเห็นว่าพารากราฟนึงของเขานั้นจะมีไม่เกิน 3 บรรทัด

และนี่ก็เป็นหนึ่งในเหตุผลที่ทำให้บล็อกของป๋าแกมีคนเข้าเป็นแสนๆ ต่อเดือน (เปลืองค่า Hosting มั้ยล่ะ?) และยังขายคอร์สออนไลน์ได้เป็นสิบๆ ล้านบาทต่อเดือน (ลูกค้าเยอะเกินไป จะดูแลไหวมั้ยล่ะ?)

5. มีแต่น้ำ ไม่มีเนื้อ

เคยอ่านบทความยาวๆ เป็นสิบๆ บรรทัด แต่พออ่านจบแล้ว ไม่ได้ประโยชน์อะไรเลยบ้างไหมครับ?

มา มา ถ้าไม่เคย เดี๋ยวผมจะยกตัวอย่างให้ได้อ่านให้ดูว่าบทความแบบน้ำๆ นั้นเป็นยังไง

ผมขอสมมุติว่าผมขายเบ็ดตกปลา และผมอยากจะเขียนบทความเกี่ยวกับเรื่อง “ตกปลาที่ไหนดี ตกปลาตัวไหนโดน วันนี้เรามีคำตอบ!” เพื่อให้ความรู้กับคนอ่าน

บทความที่มีแต่น้ำ ไม่มีเนื้อ จะมีเนื้อหาแบบว่า การที่คุณจะตกปลาให้ได้เยอะๆ นั้น คุณต้องไปตกปลาที่ทะเลที่มีปลาชุม และเมื่อพอไปถึงทะเลนั้นๆ แล้วคุณต้องตกปลาที่เอาไปขายได้ราคาดี เพราะว่าคุณจะได้มีเงินใช้เยอะๆ สุดท้ายก็รวยเป็นเศรษฐี และชีวิตคุณก็จะมีความสุข 

สังเกตอะไรไหมครับ? บทความนี้เป็นบทความที่จะต้องให้ความรู้เรื่องแหล่งตกปลา และชนิดของปลาที่ควรจะตก แต่พออ่านเนื้อหาจริงๆ แล้ว บทความนี้ไม่ได้ให้ความรู้เชิงลึก ไม่ได้ส่งมอบคุณค่าที่แท้จริงให้กับคนอ่านเลย ซึ่งคนอ่านจะสัมผัสได้ว่าคนเขียนไม่ได้ค้นคว้าอย่างลึกซึ้ง และไม่ได้ตั้งใจเขียนอย่างจริงจัง สุดท้ายคนอ่านก็จะเลิกอ่านไปเอง

ถ้าคุณอยากไล่คนอ่านไปไกลๆ วิธีการเขียนแบบลวกๆ แบบนี้ ช่วยคุณไล่คนสำเร็จแน่นอนครับ

ป.ล. บทความนี้ผมไม่มีตัวอย่างมาให้ แต่ผมเชื่อว่าคุณน่าจะหาตัวอย่างเองได้ไม่ยากครับ : )

6. อย่าใส่รูป/วิดีโอประกอบ

บทความสั้นๆ อาจจะไม่เห็นผลจากวิธีนี้เท่าไหร่ แต่ถ้าเป็นบทความยาวๆ ผมรับรองว่าคนจะหัวหมุนจนไม่อยากอ่านแน่นอนครับ

เขียนบทความยาวๆ อย่าเอารูปที่เป็นตัวช่วยอธิบาย หรือเอาวีดีโอที่เป็นตัวอย่างมาแทรก เพราะว่ามันจะทำให้คนอ่านได้พักสายตา พักสมอง จากการที่อ่านตัวหนังสือยาวๆ

ยิ่งพวกรูปภาพฟรีจาก Unsplash หรือรูปภาพที่คุณแต่งผ่านโปรแกรม Canva นั้นยิ่งไม่สมควรเอามาใส่ในบทความ เพราะมันจะทำให้บทความของคุณมีชีวิตชีวาจนคนต้องอ่านให้จบ (และเมื่อคนอ่านจบ แล้วคนชอบ พวกเขาก็จะมาพูดคุยกับคุณต่อ)

7. โฆษณา โฆษณา โฆษณา

ยุคสมัยแห่งการอัดโฆษณาเพื่อส่งสารให้กับคนหมู่มากนั้นเป็นยุคสมัยที่รุ่งเรืองมากๆ ในอดีต คุณสามารถเน้นแต่โฆษณา โฆษณา และโฆษณาให้กับกลุ่มลูกค้าของคุณได้ เพราะผู้รับสารไม่ได้มีทางเลือกมากนัก แต่ปัจจุบันนั้นต่างออกไป เพราะผู้คนมีทางเลือกในการเสพคอนเทนต์มากยิ่งขึ้น

เพราะฉะนั้น ถ้าอยากพาคนไปทัวร์อดีต ผมแนะนำให้คุณเขียนบทความแบบเน้นโฆษณาสินค้าของตัวเองเป็นหลักครับ ไม่ต้องแคร์เยอะว่าคนอ่านจะได้คุณค่าอะไรจากบทความของคุณเปล่า เน้นขายเพียงอย่างเดียวไปเลย

การทำแบบนี้จะทำให้คนส่วนใหญ่ที่ไม่อยากกลับไปอดีต แต่อยากอยู่กับโลกปัจจุบันนั้น เลิกอ่านบทความแบบเก่าๆ ของคุณ แล้วหันไปอ่านบทความในยุคปัจจุบันของคนอื่นๆ ที่เน้นการสร้างคุณค่าแทนShifu แนะนำ

hubspot-buyer-journey

จากรูปของ HubSpot ในช่วงที่ Awareness สิ่งที่คุณควรทำคือส่งมอบคุณค่าแบบ Free Free Free

การเขียนบทความในเชิงโฆษณา เชิงขายแบบเต็มที่นั้น ถ้าคนอ่านอยู่ในช่วง Awareness (ช่วงที่พึ่งมาเจอเว็บไซต์/บทความของคุณ) คนอ่านคนนั้นๆ ก็จะไม่อยากอ่าน เพราะฉะนั้น ถ้าคุณอยากไล่คนอ่านไปไกลๆ ผมแนะนำให้เขียนเพื่อขายตั้งแต่ day one เลยครับ

สรุป

7 วิธีที่ว่ามานี้คือ 7 วิธีการเขียนบทความที่จะทำให้คุณไล่คนอ่านไปไกลๆ แบบไปแล้ว ไปลับ ไม่กลับมาอีกนะครับ

1. ตั้งชื่อบทความให้ห่วย 2. ใช้ภาษาให้วิบัติ 3. เขียนให้น่าเบื่อ 4. เว้นบรรทัดน้อยๆ 5. ใส่แต่น้ำ 6. ไม่ใส่รูปประกอบ 7. เน้นโฆษณา

จาก 7 วิธีที่ว่ามานี้ ยิ่งคุณทำได้มากข้อเท่าไหร่ คนก็จะยิ่งหลีกหนีบทความของคุณเยอะเท่านั้น ถ้าคุณอยากไล่คนอ่านไปให้หมด ผมแนะนำว่าทำให้ครบทุกข้อเลยครับ

7 วิธีการเขียนบทความออนไลน์แบบไล่คนอ่านไปไกลๆ

แนะนำการเขียนบทความ

7 ข้อห้ามทำ เมื่อรับเขียนบทความ

สมัยนี้การเขียนบทความได้รับความนิยมกันมาก เพียงแค่มีคอมพิวเตอร์ 1 เครื่องก็สามารถเป็นนักเขียนได้แล้ว ไม่เหมือนเมื่อก่อนที่ส่วนใหญ่ ผู้จ้างจะรู้จักนักเขียนผ่านสื่อ สิ่งพิมพ์เท่านั้น แต่ทว่า…ทุกอย่างก็เหมือนดาบสองคม เพราะด้วยความง่ายและสะดวกสบายของการมีเทคโนโลยี ทำให้เกิดนักเขียนขึ้นมามากมาย ทั้งนักเขียนที่มีคุณภาพและนักเขียนสมัครเล่นที่บางครั้งก็ทำให้วงการนี้เสื่อมเสียชื่อเสียงอยู่ไม่น้อย วันนี้ ในฐานะรุ่นพี่จึงขอพามาดู 7 ข้อห้ามทำ เมื่อรับเขียนบทความ มาฝากนักเขียนมือใหม่ทุกท่านกัน

ห้ามใช้ความคิดสร้างสรรค์เพียงอย่างเดียว

แม้การใช้ความคิดสร้างสรรค์มาเขียนลงในบทความจะเป็นสิ่งที่ดี เพราะทำให้บทความมีความสดใหม่และน่าค้นหา อย่างไรก็ตาม มีบทความบางประเภทที่นักเขียนไม่สามารถใช้เพียงความคิดสร้างสรรค์ได้ นั่นคือ บทความวิชาการ เพราะบทความประเภทนี้ จำเป็นต้องใช้แหล่งข้อมูลที่น่าเชื่อถือและถูกต้อง นำมาเขียนลงในบทความ เพื่อให้ดูมีน้ำหนักและสามารถนำไปเผยแพร่ได้ โดยที่ไม่ส่งผลเสียต่อผู้อ่านที่จะนำไปใช้ต่อ แต่ที่สำคัญคือ อย่าลืมให้เครดิตของแหล่งข้อมูลที่นำมาด้วย นั่นจึงเป็นการเขียนบทความวิชาการที่ดี

ข้อแนะนำ การเขียนบทความวิชาการ มีความยากและใช้คำศัพท์ที่เป็นทางการ ดังนั้น ก่อนนักเขียนจะรับงาน ควรไตร่ตรองให้ดีก่อนว่า บทความประเภทนี้ เรามีความถนัดหรือไม่ เพราะต้องหาข้อมูลและนำมาวิเคราะห์อย่างละเอียดรอบคอบ ซึ่งซับซ้อนกว่าบทความทั่วไปมาก จึงทำให้งานเขียนประเภทนี้มีราคาแพงและหานักเขียนมารับงานได้ยากกว่างานเขียนแบบอื่นๆ

ห้ามใช้ประโยคฟุ่มเฟือยและไร้ความหมาย

การเขียนบทความที่มีคุณภาพ ควรหลีกเลี่ยงการใช้ประโยคที่ดูไร้ความหมายหรือไม่เกี่ยวข้องกับเนื้อหาในบทความ เพราะจะทำให้ผู้อ่านงงและรู้สึกเบื่อหน่ายเอาได้ โดยเฉพาะบทนำ ซึ่งเป็นพารากราฟแรกที่ผู้อ่านทุกคนจะเห็น การเกริ่นบทนำ ควรบ่งบอกถึงเนื้อหาคร่าวๆที่อยู่ในบทความพร้อมปิดท้ายด้วยประโยคที่เชิญชวนให้เข้ามาอ่าน เรียกง่ายๆก็เหมือน สะพานสู่เนื้อหาถัดไป ดังนั้น หากมีบทนำที่ดี ก็เหมือนมีชัยไปกว่าครึ่งแล้ว

ห้าม Copy

เชื่อว่าผู้จ้างและคนในวงการนักเขียนหลายคน คงเคยประสบปัญหานี้กันนับครั้งไม่ถ้วน เมื่อเจอนัก Copy สวมรอยใช้บทความของคุณทำมาหากิน หากบทความนั้นเป็นบทความที่อ่านแล้วนำมาจับใจความใหม่ ผู้จ้างหลายท่านยังรับได้ แต่บางรายก็ Copy วางโดยที่ไม่แก้ไขอะไรเลย ตั้งแต่ชื่อเรื่องจนถึงบทสรุป แถมยังไม่ให้เครดิตอีกต่างหาก ใครที่ยังทำแบบนี้ แนะนำให้เลิกซะเถอะ เพราะนอกจากไม่ส่งผลดีต่อตัวคุณเองแล้ว ยังสร้างความเสื่อมเสียให้กับวงการนักเขียนอีกด้วย

ห้ามนำบทความไป Reuse

เรียกง่ายๆก็คือ การนำกลับมาใช้ใหม่นั่นเอง ตัวอย่างเช่น เมื่อเขียนส่งให้ผู้จ้างอีกคนไปแล้ว ก็นำบทความฉบับเดิมขายต่อให้กับผู้จ้างรายอื่น หรือ บางคนก็นำบทความที่เขียนส่งให้ลูกค้าไปอัพเดทในเว็บไซต์ของตนเองก็มี พฤติกรรมแบบนี้ ส่งผลเสียต่อวงการนักเขียนบทความอย่างมาก เพราะนอกจากจะทำให้ลูกค้าไม่เชื่อใจนักเขียนคนอื่นๆไปด้วยแล้ว ยังส่งผลให้ตัวคุณเองกลายเป็นนักเขียนที่ไม่มีคุณภาพและอาจโดนประจานผ่านโซเชียลมีเดียทำให้เสียชื่อเสียงอีกก็เป็นได้

เก็บเงิน แต่ไม่ส่งบทความ 

วงการนี้บางครั้งมิจฉาชีพก็มาในคราบของผู้จ้าง อยากได้บทความ แต่ก็ไม่อยากจ่ายเงิน ทำให้นักเขียนส่วนใหญ่จำเป็นต้องเก็บเงินผู้จ้างเพื่อความปลอดภัยของนักเขียนก่อน อย่างน้อยก็มั่นใจว่า เมื่อทำเสร็จ ลูกค้าจะไม่หนีหายไปไหน แต่ในทางกลับกัน มีนักเขียนส่วนหนึ่งที่เก็บเงินจากผู้จ้างไปแล้ว กลับหายไปกับสายลม ทำให้ผู้จ้างหลายคนต้องหัวเสียและหวาดระแวง จนไม่ยอมจ่ายเงินให้กับนักเขียนคนอื่นๆก่อน ทำให้นักเขียนฝีมือดีบางรายต้องเสี่ยงกับการเขียนบทความฟรี เสียเวลา เสียความรู้สึกแถมยังไม่ได้เงินอีกต่างหาก

ห้ามลืมบทสรุป 

การเขียนบทความ บทสรุปของเนื้อหาเป็นสิ่งสำคัญอย่างหนึ่งที่ไม่ควรลืม แต่ก็มีนักเขียนหลายคนมักหลงลืมส่วนนี้ไป ทั้งๆที่เป็นพารากราฟสำคัญที่ตัวนักเขียนสามารถแสดงความคิดเห็นออกมาได้อย่างเต็มที่ แต่ทั้งนี้ ต้องไม่ใช่การเสนอความคิดใหม่หรือพูดซ้ำกับสิ่งที่ได้กล่าวมาแล้วในเนื้อหา เพราะจะดูจำเจและฟุ่มเฟือยเกินไป แต่ควรเป็นการสร้างความประทับด้วยการทิ้งข้อคิด / คำคม / ประโยคเห็นด้วยหรือประโยคปิดท้ายให้ผู้อ่านได้คิดตามจะดีที่สุด

ห้ามตัดต่อบทความ  

คล้ายๆกับการ Copy แต่อันนี้จะอัพเกรดการตรวจสอบที่ยากขึ้นมาหน่อย เพราะเป็นการคัดลอกหัวข้อย่อยๆ ของบทความประมาณ 3 – 4 บทความแล้วนำมายำรวมกัน ทำให้กลายเป็นบทความใหม่ขึ้นมา ขอบอกไว้ก่อนว่า การทำแบบนี้โปรแกรมตรวจสอบการคัดลอก อาจไม่สามารถตรวจสอบได้ แต่ผู้อ่านหรือผู้ที่เขียนบทความนั้นๆขึ้นมา ย่อมจำได้อย่างแน่นอน ว่าพารากราฟนี้เป็นของเรา เพราะบทความก็เหมือนลายเซ็นที่ต่อให้ดัดแปลงอย่างไร เจ้าของลายเซ็นก็ย่อมรู้อยู่ดี เพราะฉะนั้น เลิกพฤติกรรมเช่นนี้ดีกว่า ก่อนจะถูกฟ้องร้องเอาได้

สุดท้ายนี้ การเขียนบทความไม่ใช่เรื่องยาก เพียงแค่หมั่นพัฒนาตนเอง อัพเดทข่าวสารและความรู้ใหม่ๆอยู่เสมอ เพียงเท่านี้ผู้จ้างหลายท่านก็ไม่หนีหายไปไหนแล้ว แต่สิ่งสำคัญคือ ความซื่อสัตย์ที่มีให้กับลูกค้า คุณสามารถทำให้ได้หรือเปล่า…

5 เทคนิคการรับเขียนบทความสุขภาพ 2017

healthy-750x422

ถ้าคุณติดตามข่าวสารในวงการธุรกิจเมื่อสองสามเดือนที่ผ่านมา ผมเชื่อว่าคุณจะต้องได้รับข่าวสารสำคัญ นั่นคือ การขายพื้นที่บางส่วนของโรงแรมปาร์คนายเลิศ ให้กับ ดร.ประเสริฐ ปราสาททองโอสถ เศรษฐีหุ้นใหญ่ของเมืองไทย และผู้ถือหุ้นโรงพยาบาลมากที่สุด ซึ่งตรงข่าวนี้เอง ทำให้ผมสามารถวิเคราะห์ได้ทันทีว่า ในปี 2017 เป็นต้นไป ประเทศไทยของเรา กำลังก้าวเข้าสู่การเป็น Hub Healthy of Asia อย่างแน่นอนครับ

ซึ่งสิ่งที่ตามมาคือโอกาสในการพัฒนาและผลิต content ที่น่าสนใจมากมายเกี่ยวกับเรื่องของบทความสุขภาพ ดังนั้นสำหรับนักเขียนบทความ ตรงนี้ถือเป็นโอกาสครั้งสำคัญ ที่คุณจะเปิดบริการ รับเขียนบทความสุขภาพขึ้นมา เพื่อให้บริการกับกลุ่มธุรกิจเกี่ยวกับสุขภาพและความงามครับ แต่สำหรับใครที่สนใจ และไม่รู้ว่าควรวางกรอบในการรับเขียนบทความสุขภาพอย่างไร ผมมีแนวทางอย่างง่ายๆมาฝากกันดังนี้ครับ

1.ค้นหาแหล่งข้อมูลประกอบการรับเขียนบทความสุขภาพ

สุขภาพเป็นเรื่องที่สำคัญ นักเขียนบทความจะไม่สามารถเขียนบทความแบบมั่วๆขึ้นมาแล้วขายได้ แต่จะต้องเขียนบทความขึ้นมาบนฐานข้อมูลที่ถูกต้อง และมีการอ้างอิงงานวิจัยต่างๆ ดังนั้นฐานข้อมูลที่สำคัญประกอบการรับเขียนบทความสุขภาพ คือ ฐานข้อมูลวิทยานิพนธ์ หรือบทความวารสารสุขภาพในต่างประเทศครับ ตอนผมเป็นโรค svt ผมก็ได้ข้อมูลจากต่างประเทศนี่ล่ะครับในการดูแลสุขภาพของตนเอง ดังนั้นคุณก็หาข้อมูลสำคัญๆ จากแหล่งข้อมูลที่ผมแนะนำไปนี้

2.กำหนดราคาให้พอเหมาะ

เรื่องราคาเป็นสิ่งที่ตอบได้ยากทีเดียวในการเขียนบทความ โดยเฉพาะการรับเขียนบทความสุขภาพ แต่เพื่อให้เห็นเป็นกรอบในการรับเขียนบทความอย่างชัดเจน ผมขออ้างอิงเรทราคาตามนี้นะครับ

  • ไม่เกิน 300 คำไทย ราคา 100 บาท
  • ไม่เกิน 500 คำไทย ราคา 300 บาท
  • ไม่เกิน 1,000 คำไทย ราคา 500 บาท
  • ความยาวเกินกว่า 1,000 คำไทย ราคาไม่ต่ำกว่า 500 บาท

ถ้าคุณเป็นคนว่าจ้างนักเขียนบทความสุขภาพ ผมแนะนำว่าให้จ้างในราคานี้ครับ และอย่าไปจ้างนักเขียนบทความที่ราคาถูกเกินไป เพราะข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับสุขภาพเป็นสิ่งสำคัญ ยอมจ้างราคาที่แพงกว่าเพื่อให้ได้งานที่มีคุณภาพและมาตรฐานที่ดีกว่าครับ

3.เขียนบทความสุขภาพตัวอย่างให้ลูกค้าของคุณพิจารณา

ผมแนะนำให้คุณเขียนบทความสุขภาพขึ้นมาจำนวน 4 บท โดยมีเนื้อหาที่มีความแตกต่างกัน และจำนวนคำไทยที่แตกต่างกันด้วย การทำแบบนี้เป็นการมอบโอกาสให้ลูกค้าของคุณมีโอกาสเลือกบทความ ว่าต้องการบทความตรงกับสำนวนการเขียนในแบบของเราหรือไม่ หากไม่ตรงหรือว่าเขียนไม่ได้ก็จะได้ไม่ต้องมาเป็นปัญหากันในภายหลังครับ สำหรับใครที่ไม่แน่ใจว่าจะเขียนบทความสุขภาพอะไรดี งั้นผมแนะนำตามนี้ครับ

  • เรื่องที่ 1 เขียนบทความเกี่ยวกับเคล็ดลับการดูแลสุขภาพ 500 คำไทย
  • เรื่องที่ 2 เขียนบทความเชิงวิชาการ เกี่ยวกับการรักษาโรคบางอย่าง 1,500 คำไทย
  • เรื่องที่ 3 เขียนบทความเกี่ยวกับ อันตรายของโรคบางประการ 1,000 คำไทย
  • เรื่องที่ 4 เขียนบทความเกี่ยวกับอาหารเสริม 300-500 คำไทย

ลองใช้แนวทางทั้งสี่หัวข้อไปเปนประเด็นในการเขียนบทความสุขภาพตัวอย่างให้ลูกค้านะครับ

4.อย่าลืมใช้ PATTERN A1

เวลาเราซื้อสินค้าที่ห้างสรรพสินค้า เราก็ต้องการให้สินค้ามีคุณภาพเหมือนๆกันฉันใด ลูกค้าก็ต้องการบทความที่มีคุณภาพเหมือนๆกันทุกฉบับฉันนั้น ดังนั้น สิ่งเดียวที่จะทำให้บทความนั้นมีคุณภาพเหมือนหรือใกล้เคียงกันคือ Pattern ครับ โดย Pattern A1 คือรูปแบบที่ง่ายที่สุดและดีที่สุดในการนำมาเขียนเป็นบทความสุขภาพ สำหรับใครที่ต้องการศึกษาเรื่องของ Pattern A1 สามารถหาอ่านได้จากหนังสือ “ใครๆก็เขียนได้” ฉบับ บก.ฮีโร่ซังนะครับ

5.เคล็ดลับเล็กๆน้อยในการรับเขียนบทความสุขภาพ

ข้อสุดท้ายนี้ผมอยากแบ่งปันเทคนิคเล็กๆน้อยเพื่อให้การรับเขียนบทความสุขภาพของคุณ มีความสมบูรณ์มากยิ่งขึ้นครับ

  • จงใส่งานวิจัยทางสุขภาพลงไปในบทความอย่างน้อย 1 ชิ้นงาน
  • จงใช้สำนวนภาษาแบบกึ่งทางการในการเขียนบทความสุขภาพ
  • จงเขียนบทความโดยเริ่มต้นจากปัญหาที่คนไข้ประสบ และไปจบลงที่วิธีการรักษา
  • หากมี motto หรือคำคมดีๆเกี่ยวกับสุขภาพ ให้ใส่ลงไปด้วยอย่างน้อย 1 ตำแหน่ง
  • ระวังเรื่องคำผิด
  • ใส่ภาษาอังกฤษ หรือศัพท์เฉพาะลงไปในบทความสุขภาพด้วย จะทำให้บทความสุขภาพของคุณดูแพงขึ้น

ลองนำเทคนิค 5 ข้อเพื่อการรับเขียนบทความสุขภาพนี้ไปปรับใช้กับการเขียนบทความของคุณนะครับ และผมเชื่อมั่นเป็นอย่างยิ่งว่างานเขียนบทความสุขภาพของคุณ จะต้องถูกใจลูกค้าอย่างแน่นอน

5 เทคนิคการรับเขียนบทความสุขภาพ 2017

การเขียนบทความ

สอนเขียนบทความบนเว็บ

ทุกวันนี้คอนเทนต์ที่เราเจอกันในชีวิตประจำวันมีหลากหลายรูปแบบ ไม่ว่าจะเป็นวิดีโอ อินโฟกราฟิก หรืออย่างทุกวันนี้ที่ฮิตกันมาก ๆ เลยก็คือ Story แต่คำถามก็คือ คอนเทนต์แบบไหนเข้าถึงเราได้มากที่สุด จากประสบการณ์ของผู้เขียนที่ทำงานในสายการเขียนออนไลน์มาหลายปีบอกได้เลยว่า การเขียนหรือตัวอักษรนั้นสามารถถ่ายทอดเรื่องราวออกมาได้ไม่ได้น้อยไปกว่าวิดีโอหรือภาพเลย แม้การอ่านจะต้องแลกมากับการโฟกัสที่ตัวหนังสือ แต่การโฟกัสนั้นก็ทำให้สิ่งที่เราอยากถ่ายทอดซึ่งบอกได้เลยว่า งานเขียนสามารถเข้าถึงจุดที่ลึกที่สุดของคนอ่านได้

สำหรับวันนี้  เราจะมาแชร์เทคนิค และสอนการเขียนบทความกัน รวมถึงการเลือกประเด็นต่าง ๆ หลายคนมีเรื่องอยากเขียน แต่ไม่รู้ว่าจะเขียนยังไง หลายคนอยากเขียน แต่ไม่รู้ว่าจะเขียนยังไง ก่อนอื่น เราจะต้องเข้าใจก่อนว่าเราเขียนไปเพื่ออะไร

งานเขียนทุกงานต้องมีวัตถุประสงค์ ถ้ายังไม่ชัดเจน อย่าทำ

แน่นอนว่าการจะเขียนเรื่องอะไรซักเรื่อง หรือการเขียนบทความ มันไม่ได้มาจากอยู่ดี ๆ ก็คิดหัวข้อขึ้นมาแล้วเขียน แต่สิ่งแรกที่เราต้องเริ่มต้นก่อนก็คือการ หาวัตถุประสงค์ วัตถุประสงค์เราอาจจะเช่น

  • เขียนเพื่อเล่าประสบการณ์
  • เขียนเพื่อให้ความรู้
  • เขียนเพื่อชักจูงหรือชี้นำให้คนอ่านทำตาม
  • เขียนเพื่อขายของ

ซึ่งทั้งหมดนี้เป็นเพียงแค่ขั้นต้นเท่านั้น วัตถุประสงค์ของเราจะต้องลงลึกไปมากกว่านั้น เพราะมันจะช่วยให้เราสามารถประเมินได้ว่า บทความของเราบรรลุวัตถุประสงค์จริงหรือเปล่า เช่น เพื่อให้คนอ่านสามารถอ่าน Google Analytic เป็น , เพื่อชวนคนให้มางานของบริษัท , เพื่อชวนคนให้มาวิ่งออกกำลังกาย หรือแม้กระทั่งการเขียนข่าว ก็มีวัตถุประสงค์เช่นกัน เช่น ทำให้คนอ่านรู้จักยาน InSight ที่ไปลงจอดบนดาวอังคาร เมื่อเรารู้วัตถุประสงค์แล้วสิ่งที่จะตามมาก็คือ วิธีการที่จะทำให้เราบรรลุวัตถุประสงค์นั้น

Case study : บทความ รวมดาวที่ไกลและเหงากว่าดาวพลูโต เกิดขึ้นจากวัตถุประสงค์ว่า ผู้เขียนรู้สึกว่าคนยังไม่รู้จักดาวเคราะห์แคระดวงอื่น ๆ รู้จักแต่พลูโต จึงอยากทำคอนเทนต์ให้คนรู้ว่า ไม่ได้มีแต่พลูโต จึงเกิดเป็นบทความนี้ขึ้น โดยโฟกัสไปแค่ การมีอยู่ แต่ไม่เจาะลึกมาก

ไม่แนะนำให้เริ่มต้นด้วย เราจะเขียนบทความเรื่องการวิ่ง, เราจะเขียนเรื่องหนังที่ไปดูมา เพราะ งานจะไม่มีวันเสร็จ เพราะเราไม่ได้กำหนดขอบเขตของมันเอาไว้ตั้งแต่แรก แล้วเราจะเที่ยวถามตัวเองและคนอื่นว่า ต้องมีอะไรบ้าง เขียนไปซักพักแล้วจะไปต่อไม่ถูก

ตัวอย่างของวิธีการคิดเรื่องที่จะเขียนจากวัตถุประสงค์ ที่ควรและไม่ควรเช่น

  • ไม่ควร : เขียนบทความเรื่องการวิ่ง | ควร : ทำให้คนรู้ว่าการวิ่งไม่ได้ใช้เงินเยอะขนาดนั้น
  • ไม่ควร : อยากเล่าเรื่องหนังที่ไปดูมา | ควร : ทำให้คนรู้ว่าหนังที่ไปดูมาสนุกแค่ไหน นางเอกใส่แว่นน่ารักมาก
  • ไม่ควร : เขียนเพราะประเด็นนั้นกำลังเป็นกระแส | เขียนเพราะเรามองเห็นประเด็นอะไรบางอย่างในกระแสนั้นและอยากถ่ายทอดให้คนเห็นเหมือนกับเรา
  • ไม่ควร : เขียนเรื่องดาวอังคาร | ควร : ทำให้คนรู้ว่าบนดาวอังคารมีชั้นบรรยากาศเบาบางกว่าโลกถึง 100 เท่า

เขียนเรื่องอะไรดี สอนเลือกประเด็น

ต่อมาก็จะเป็นคำถามสำคัญว่า แล้วเราจะเขียนเรื่องอะไรดี ซึ่งเราก็อาจจะรู้คำตอบไปแล้วว่า การเขียนที่ดีจะต้องมาจากวัตถุประสงค์เพื่อทำอะไรบางอย่าง ไม่ว่าจะเป็น เพื่อให้ความรู้, เพื่อเล่าประสบการณ์ หรือเพื่อชักจูง วิธีการเลือกประเด็นก็คือ แล้วคนต้องรู้อะไรเพื่อให้เขาเข้าใจวัตถุประสงค์นั้น เช่น เราไปเที่ยวเชียงใหม่มาดาวสวยมาก เราต้องการให้เพื่อนเห็นดาวแบบนั้นเหมือนเรา (วัตถุประสงค์) เราก็อาจจะเขียนถึงดาวแล้วพรรณาให้คนเห็นภาพ หรือถ้าเราจัดงานบางอย่าง เช่น งานแสดงสินค้าใหม่ของบริษัท เราก็อาจจะเลือกประเด็นว่า สิ่งที่คนมางานจะได้ (กรุณาอย่าเขียนว่าในงานมีอะไร หรือบรรยายออกทะเลไปหมด วัตถุประสงค์ อยากให้คนรู้ กับ อยากให้คนมา ไม่เหมือนกันนะ)

ขั้นตอนในการเลือกประเด็นนี้ก็คือการออกแบบ Message ของเราว่าเราจะถ่ายทอดไปในทิศทางไหน ในเรื่องต้องมีอะไรบ้าง ซึ่งจะทำไปสู่ข้อต่อไปก็คือการวางเนื้อเรื่อง

เทคนิคในการตั้งชื่อ Click-bait ควรทำไหม

สำหรับการตั้งชื่อดูเหมือนจะเป็นปัญหาใหญ่มาก แต่ถ้าเรารู้วัตถุประสงค์ของบทความจริง ๆ เราก็ตั้งไปตามนั้นเลย โดยที่ชื่อของเราควรจะมีคุณสมบัติดังนี้

  • บอกว่าในบทความมีอะไร
  • บอกว่าอ่านแล้วจะได้อะไร
  • บอกว่าถ้าไม่กดเข้ามาอ่านแล้วจะไม่ได้อะไร

ฟัง ๆ เหมือนว่า เอ๊ะ นี่เรากำลังสอนตั้งชื่อ click-bait อยู่หรือเปล่า บอกเลยว่า click-bait คือการตั้งหัวบทความที่เหนือกว่า Value ของตัวเอง เช่น หรือไม่ได้ตอบข้อสงสัยของผู้อ่าน ดังนั้น การตั้งชื่อจะ click-bait หรือไม่ click-bait ขึ้นอยู่กับว่า เราให้ value กับอะไร เราให้ value กับคนอ่าน กับความรู้ กับเนื้อหาของเรา หรือเราให้ vaue กับแค่ “การที่มีคนกดเข้ามา” แล้วเขาจะรู้สึกแย่ เอาไปด่า เอาไปบ่นอะไรก็ช่าง ตรงนี้เราเป็นคนเลือก

มีอีกอย่างนึงที่เราควรเข้าใจคือ บริบท (context) ที่ชื่อของบทความเราจะไปอยู่ และ Discoverability ของมันเช่น อยู่บน Social Network คนไม่ได้หวังที่จะเจอมาก่อน ดังนั้นเราต้องให้คุณค่ากับความรู้สึกว่า “เขาจะได้อะไร” แต่ถ้าอยู่บน Google หรือ Search Engine ก็คนเขา Search หาเรื่องนั้นแล้ว สิ่งที่เราจะต้องให้คุณค่าก็คือ “เขาจะได้สิ่งที่เขาค้นหาลึกแค่ไหน มากแค่ไหน ตรงประเด็นแค่ไหน” 

วางเนื้อเรื่องแบบไหนให้น่าจดจำ

ต่อไปก็คือเนื้อเรื่อง ก่อนอื่นต้องบอกก่อนว่า ให้มองบทความของเราเป็นก้อนก้อนเดียวที่จะทำให้เราบรรลุวัตถุประสงค์ตั้งไว้ เชื่อว่าหลายคนคงเรียนเรื่อง Paragraph Writing กันแล้ว ไม่ในมัธยม ก็ในมหาวิทยาลัย ซึ่งเป็นสิ่งที่เราควรเข้าใจมาก ๆ การวางเนื้อเรื่องหลาย ๆ คนก็อาจจะมีท่าทางที่แตกต่างกันไป ลองนึกบทความเราเป็นหนังหนึ่งเรื่อง บางเรื่องเริ่มต้นด้วยความสงสัย, บางเรื่องเริ่มต้นด้วยการเล่าปัญหา, บางเรื่องเริ่มต้นด้วยความสงบแล้วมาค่อย ๆ บอกปัญหา แต่เมื่อหนังจบสิ่งที่คนจะจำก็คือความรู้สึก

งานเขียนของเราก็เหมือนกันการวางเนื้อเรื่องของเราอาจจะมีวิธีการทั่วไปอย่าง

  • เริ่มต้นด้วยการเกริ่น ว่าเราจะพูดถึงเรื่องอะไร เพราะอะไร ที่มาที่ไป
  • ใจความที่เราต้องการเล่า ใคร ทำอะไร ที่ไหน อะไร ยังไง มีอะไรบ้าง
  • จบเนื้อหา สรุป สร้างความน่าจดจำ และ Call to Action

ขึ้นอยู่กับวัตถุประสงค์ของงานเขียนเช่นกัน ถ้าเราอยากจะให้ข้อมูล เราก็ต้องบอกว่าข้อมูลมาจากไหน มีอะไรบ้าง สำคัญและให้คุณค่าอะไร (รู้แล้วได้อะไร) ถ้าเป็นการชักจูง ก็ต้องบอกให้ได้ว่าเขาทำแล้วเขาจะได้อะไร ทำไมเขาต้องทำตามที่เราชักจูงด้วย

คล็ดลับ : สร้างความคาดหวัง และตอบสนองความคาดหวังนั้น แม้จะเป็นเรื่องธรรมดา ๆ แต่ถ้ามันเป็นความคาดหวัง คนอ่านจะรู้สึกว่าเราทำได้ เช่น บอกว่า หลังจากจบบทความนี้เราจะได้รู้จักชื่อยานทั้ง 5 ลำที่อยู่บนดาวอังคารตอนนี้ (ซึ่งมันเป็นอะไรที่ธรรมดามาก ๆ) พอผู้อ่านอ่านจบ ได้รู้ชื่อทั้ง 5 ชื่อจริง ๆ ก็แปลว่าเราให้ value กับคนอ่านแล้ว บางบทความตั้งความหวังไว้สวยหรู แต่ก็ทำไม่ได้ ต่อให้ใกล้ความคาดววังแค่ไหน แต่ไม่ได้บรรลุ ก็ไม่ได้ทำให้เรารู้สึกดี

ต้องอ้างอิงไหม แบบไหน

ต่อไปก็คือปัญหาโลกแตกว่า แล้วต้องอ้างอิงไหม ?? ก็ขึ้นกับวัตถุประสงค์ของเราอีก ถ้าตัดเรื่องจริยธรรมออกไป (ในแง่นี้นะ ในชีวิตไม่ต้องตัด) การมีแหล่งอ้างอิงคือการบอกว่าเราจริงใจ และเราศึกษาเรื่องนี้มาจริง ๆ ก่อนที่จะเขียน ซึ่งอ้างอิงอาจจะอ้างอิงจากประสบการณ์ผู้เขียน (แบบนี้ก็เรียกอ้างอิงนะ แต่ผู้เขียนต้องมีประสบการณ์จริง ๆ) หรือจะอ้างอิงจากงานเขียนของคนอื่น หรืออ้างอิงจากงานวิจัย แต่บอกเลยว่า อย่าอ้างอิงแค่ให้ได้อ้างอิงและการอ้างอิงไปยังเว็บที่ไม่มีอ้างอิงก็ไม่ได้ทำให้เว็บเราน่าเชื่อถือขึ้น

วิธีการอ้างอิง อาจจะใช้การพูดไปในบทความเลยว่า เราเคยอ่านงานของคุณคนนี้ (แล้วแนบลิ้งไป) เขาบอกว่าอะไร หรือ เวลาเราพูดถึงตัวเลขหรือสถิติ เราก็ต้องบอกไปว่าสถิตินี้มาจากไหน (แน่นอนว่าต้องแนบลิ้งไป) หรือจะอ้างอิงทีละเยอะ ๆ ท้ายบทความได้ (แต่ช่วงหลังผู้เขียนไม่ค่อยชอบใช้วิธีนี้ เพราะดูไม่จริงใจ และผู้อ่านต้องมาหาว่าลิ้งค์นี้คือเรื่องไหน)

ดังนั้น การอ้างอิงเราไม่ได้อ้างอิ้งแค่ให้ไม่โดนด่าแต่ต้องอ้างอิงเพราะเราอยากให้บทความของเราน่าเชื่อถือจริง ๆ ซึ่งอ้างอิงนั้น อาจจะมาจากประสบการณ์ หรือแหล่งข้อมูลอื่นก็ได้

อย่าลืมจบ สรุปและสร้าง Call to Action

เมื่อเราเล่าทุกอย่างที่เราคิดว่าจะทำให้การเขียนบทความของเราบรรลุตามวัตถุประสงค์แล้ว สิ่งที่ขาดไม่ได้ก็คือการสรุปประเด็น วิธีการสรุปประเด็นก็เช่น

  • บทความนี้เราพูดถึงอะไรบ้าง
  • ตอกย้ำไปว่า มันให้ value อะไรกะคนอ่าน
  • ให้ความสำคัญกับความรู้สึก
  • สร้าง Call to action

เทคนิคก็คือ ท้ายบทความนี่แหละคือช่วงล้างสมอง และสร้างการจดจำว่า ผู้อ่านได้อ่านงานเขียนที่โคตรมีคุณภาพ (หรือไม่ก็ตาม) จากเว็บของเรา และได้รับสิ่งที่เขาอยากจะได้รับครบถ้วน ทั้งในแง่ของข้อมูลและความรู้สึก “เรา ในฐานะ … จะสามารถ ….” , “เราได้เรียนรู้ ….”

นอกจากนี้ยังมีสิ่งสำคัญก็คือสร้าง Call to action เพื่อให้เขา คิด, ทำ หรือรู้สึกในสิ่งที่เราต้องการ เพราะตอนแรกเราบอกไปแล้วว่าบทความของเราต้องมีวัตถุประสงค์ เช่นการขาย แบบนี้ก็ได้เช่นกัน ท้ายบทความเราก็ต้องบอกให้เขา มาซื้อสินค้าของเราด้วย หรือถ้างานเขียนของเราเป็นการให้ความรู้ ก็ให้บอกว่า เขาได้รู้เรื่องอะไร และเอาไปใช้ทำอะไรต่อได้

สรุป

ในบทความนี้เราก็ได้ฟังเทคนิคที่มาจากประสบการณ์การเขียนบทความของผู้เขียนกันไปแล้ว สิ่งสำคัญที่ต้องจำไว้เลยก็คือ งานเขียนทุกงานมันมีวัตถุประสงค์ของมันอยู่ การทำงานที่ไม่มีวัตถุประสงค์จะทำให้เราออกทะเล เหนื่อย ท้อ และคิดไม่ออก และอย่าลืมว่า การทำคอนเทนต์ทุกประเภท รวมถึงการเขียนด้วย คือการสร้างความคาดหวังและตอบสนองความคาดหวังนั้น รวมถึงการให้ Value อะไรบางอย่างกับคนอ่านเสมอ หลังจากนี้ไป ใครที่อยากจะเริ่มต้นเขียนบทความ ไม่ว่าจะเป็น Blog หรือแม้กระทั่งเพจต่าง ๆ ที่เน้นเนื้อหาเป็นตัวอักษร ก็อยากให้ลองเริ่มดู และเชื่อว่าไม่นานเราจะจับทางการเขียนของเราได้ และกลายเป็น Blogger ที่มีผู้ติดตามมากมายก็เป็นได้

วิธีการ สรุปบทความจากวารสาร

การสรุปรวบยอดเนื้อหาบทความในวารสาร คือ ขั้นตอนของการเน้นและนำเสนอเฉพาะเนื้อหาบางส่วนของผลการศึกษาวิจัยที่ได้รับการตีพิมพ์ในแหล่งข้อมูลทางวิชาการ ซึ่งได้ทำการประเมินจากผู้เชี่ยวชาญในสายงาน (Peer-Review) ไว้แล้ว การสรุปรวบยอดจะช่วยนำเสนอข้อคิดเห็นแบบกระชับและได้ใจความให้แก่กลุ่มผู้สนใจอ่าน เพื่อให้พวกเขาพอที่จะเห็นภาพประเด็นสำคัญของบทความได้ล่วงหน้า การเขียนและการสรุปรวบยอดถือเป็นหน้าที่อย่างหนึ่ง ซึ่งนักศึกษามหาวิทยาลัยและผู้ช่วยทำงานวิจัยส่วนใหญ่จำเป็นต้องทำ คุณสามารถศึกษาวิธีการอ่านและสรุปบทความอย่างมีประสิทธิภาพ วางแผนการสรุปเนื้อหาได้สำเร็จ และเขียนมันจนกระทั่งเสร็จสมบูรณ์ จากการทำขั้นตอนด้านล่างนี้

ตั้งชื่อภาพ Summarize a Journal Article Step 1

1. อ่านบทคัดย่อ. บทคัดย่อเป็นย่อหน้าสั้นๆ ที่เขียนโดยผู้แต่ง เพื่อสรุปบทความวิจัย มันมักจะมีอยู่ในวารสารทางวิชาการส่วนใหญ่และมีความยาวไม่เกิน 100-200 คำ บทคัดย่อจะจะสรุปเนื้อหาในวารสารออกมาแบบสั้นๆ เพื่อนำเสนอผลการศึกษาวิจัยเฉพาะส่วนที่สำคัญ

  • จุดประสงค์ของบทคัดย่อ คือ การช่วยให้นักวิจัยได้เห็นภาพคร่าวๆ และตัดสินได้ทันทีว่า บทความวิจัยนั้นเกี่ยวข้องกับงานของพวกเขาหรือไม่ เช่น หากคุณกำลังรวบรวมข้อมูลวิจัยเกี่ยวกับระบบภูมิคุ้มกันในสัตว์ที่ใช้ฟันแทะ คุณก็จะรู้ได้ทั้งแง่ที่ว่า บทความวิจัยนั้นมันเกี่ยวของกับงานของคุณหรือไม่ รวมถึงรู้ด้วยว่าผลสรุปของบทความวิจัยนั้น มันขัดแย้งหรือสอดคล้องกับผลการค้นพบในงานวิจัยของคุณ ด้วยการอ่านเพียงไม่เกิน 100 คำเท่านั้น
  • จำไว้ว่า บทคัดย่อและส่วนสรุปรวบยอดของบทความนั้นแตกต่างกัน ดังนั้น หากบทสรุปของบทความใด ที่ดูเหมือนกับบทคัดย่อ ก็ถือว่าใช้ไม่ได้ เพราะบทคัดย่อเป็นการย่อแบบกระชับมาก และไม่สามารถถ่ายทอดรายละเอียดและบทสรุปของงานวิจัย ได้เท่ากับส่วนสรุปรวบยอด
ตั้งชื่อภาพ Summarize a Journal Article Step 2

2. เข้าใจบริบทของงานวิจัย. คุณต้องรู้ว่าผู้แต่งกำลังถกหรือวิเคราะห์ประเด็นใดอยู่ ทำไมงานวิจัยหัวข้อนี้จึงมีความสำคัญ และมันเป็นบทความที่จัดทำขึ้นเพื่อโต้แย้งบทความอื่นในสายงานเดียวกันหรือไม่ ฯลฯ ด้วยวิธีนี้ คุณจะได้แน่ใจว่าควรนำประเด็น ใจความ และข้อมูลส่วนใดมารวบยอดสรุป

ตั้งชื่อภาพ Summarize a Journal Article Step 3

3. ข้ามไปอ่านบทสรุป. จงข้ามไปอ่านบทสรุป เพื่อหาว่างานวิจัยชิ้นนั้นได้ผลลัพธ์อย่างไร เพื่อหาข้อมูลเกี่ยวกับหัวข้อนั้น และยังได้รู้ว่าประเด็นและเนื้อหาต่างๆ อันซับซ้อนจะมาลงเอยอย่างไร มันจะง่ายขึ้นในการตีความข้อมูลต่างๆ หากคุณอ่านในส่วนที่ผู้แต่งสรุปเอาไว้ก่อน

หลังจากอ่านส่วนสรุปแล้ว คุณยังคงต้องกลับไปอ่านเนื้อหาทั้งหมดอยู่ดี หากพบว่างานวิจัยนี้เกี่ยวข้องกับงานของคุณ หากคุณกำลังรวบรวมผลการวิจัย และมองหาเฉพาะงานวิจัยที่ขัดแย้งกับงานของคุณ คุณก็ไม่จำเป็นต้องไปอ่านข้อมูลส่วนอื่นๆ ของงานที่ได้ผลการวิจัยสอดคล้องกับงานของคุณ

ตั้งชื่อภาพ Summarize a Journal Article Step 4

4. ค้นหาประเด็นโต้แย้งหลักหรือจุดยืนของบทความวิจัย. 

การที่จะหลีกเลี่ยงไม่ให้เสียเวลาไปกับการอ่านซ้ำสองรอบ เพื่อให้แน่ใจในประเด็นหลัก คุณก็ควรจะจับจุดนั้นให้ได้ตั้งแต่คราวแรก พยายามจดโน้ตหรือขีดเน้นประเด็นหลักที่คุณอ่านเจอ

  • จงใส่ใจเป็นพิเศษในหนึ่งหรือสองย่อหน้าแรกของบทความวิจัย เพราะมันเป็นส่วนที่ผู้แต่งมักระบุ ข้อวินิจฉัย ของบทความวิจัยทั้งหมดเอาไว้ พยายามค้นหาว่าอะไรคือข้อวินิจฉัยดังกล่าว และตัดสินว่าผู้แต่งต้องการโต้แย้งประเด็นใดด้วยงานวิจัยของพวกเขา
    • มองหาคำอย่างเช่น สมมติฐาน ผลลัพธ์ ตามแบบแผนทั่วไป โดยทั่วไปแล้ว หรือ เห็นได้ชัดว่า เพื่อหาเบาะแสว่า ข้อวินิจฉัยดังกล่าวอยู่ในประโยคใด
  • ขีดเส้นใต้ ทำตัวเน้น หรือรีไรท์ประเด็นถกเถียงหลักของบทความวิจัยเอาไว้ในต่างหาก จากนั้น พยายามโฟกัสไปที่ประเด็นถกเถียงเหล่านั้น เพื่อช่วยให้คุณสามารถเชื่อมโยงเนื้อหาส่วนอื่นของบทความวิจัย เข้ากับประเด็นถกเถียงดังกล่าวและดูว่ามันสอดรับกันอย่างไร
  • ในเชิงมานุษยวิทยา บางครั้งมันอาจจะยากหน่อย ที่จะหาข้อวินิจฉัยที่ชัดเจนและกระชับในบทความวิจัยนั้น เพราะมันมักเป็นหัวข้อที่ซับซ้อนและเป็นนามธรรม (เช่น วิชาเกี่ยวกับบทกวีที่เกิดขึ้นหลังยุคใหม่ หรือวิชาเกี่ยวกับภาพยนตร์แนวเฟมินิสท์ เป็นต้น) หากมันคลุมเครือ พยายามทำความเข้าใจด้วยตนเองว่า ผู้แต่งต้องการสื่อหรือโต้แย้งในประเด็นใดจากบทความวิจัยชิ้นนั้น
ตั้งชื่อภาพ Summarize a Journal Article Step 5

5. มองประเด็นถกเถียง. พยายามอ่านส่วนอื่นๆ ในบทความวารสารต่อไป และเน้นประเด็นถกเถียงหลักที่ผู้แต่งระบุเอาไว้ รวมถึงไอเดียและแนวคิดหลักที่มีการหยิบยกมากล่าวอ้าง จากนั้น ก็พยายามเอาไปเชื่อมโยงกับแนวคิดหลักซึ่งผู้แต่งได้ระบุเอาไว้ตั้งแต่ช่วงแรกของบทความนั้น

  • จุดโฟกัสต่างๆ ในบทความวารสาร มักจะถูกระบุไว้ด้วยหัวเรื่องย่อย ซึ่งบรรยายถึงขั้นตอนหรือพัฒนาการเฉพาะบางอย่าง ที่เกิดขึ้นระหว่างทำผลการศึกษาวิจัย หัวเรื่องย่อยเหล่านั้นมักจะเป็นตัวอักษรเข้มและขนาดใหญ่กว่าส่วนเนื้อหาทั่วไปด้วย
  • จำไว้ว่า เนื้อหาในวารสารทางวิชาการส่วนใหญ่จะเป็นข้อมูลพื้นฐานทั่วไป จำเป็นหรือไม่ที่จะต้องอ่านบทพิสูจน์กว่า 500 คำของผู้แต่ง ในทฤษฎีเกี่ยวกับสูตรการสกัดกลีเซอรีนในผลการศึกษาวิจัยนั้น ก็อาจจำเป็น แต่ก็ไม่เสมอไป ปกติแล้ว คุณไม่จำเป็นต้องอ่านผลการศึกษาวิจัยทุกถ้อยคำหรอก หากจุดประสงค์ของคุณเป็นเพียงการค้นหาแนวคิดหลักและเหตุผลที่มีการวิจัยขึ้นมาเท่านั้น
ตั้งชื่อภาพ Summarize a Journal Article Step 6

6. จดโน้ตตามไปด้วย. ประสิทธิผลคือกุญแจสำคัญในการค้นคว้าและรวบรวมข้อมูลจากวารสารวิชาการ อ่านบทความทั้งหมดอย่างตั้งใจ เพื่อวงกลมหรือเน้นเป็นส่วนๆ ไป โดยโฟกัสไปที่หัวเรื่องย่อยต่างๆ 

  • ส่วนต่างๆ เหล่านี้มักจะรวมเอาบทนำ วิธีการทดลอง ผลการศึกษาวิจัย และบทสรุปเอาไว้แล้ว นอกเหนือไปจากแหล่งอ้างอิงต่างๆ

เทคนิคอ่านหนังสือให้มีประสิทธิกาพ

Images/Blog/5VhJtI0D-Blog เทคนิคอ่านหนังสือให้มีประสิทธิกาพ.png

เทคนิคที่อยากจะนำมาแชร์ในวันนี้ มีด้วยกัน 5 อย่าง:

1. อ่านให้เร็วขึ้นนิดหน่อย

โดยปกตื ถ้าเราอ่านหนังสือช้าๆ มันจะมีช่องว่างเล็กที่อาจจะทำให้เราเผลอไปคิดเรื่องอื่นๆ ซึ่งจะทำให้สมาธิเราหลุดได้ ผลคือไม่สามารถจำอะไรที่อ่านไปได้เลย เราอาจจะลองค่อยปรับความเร็วในการอ่านขึ้นมาอีกนิด เพื่อที่จะทำให้เรามีสมาธิมากขึ้นอยู่กับการอ่าน เช่นจากที่เคยอ่านอยู่ประมาณ 1x ก็เปลี่ยนเป็น 1.5x และค่อยๆ ปรับเพิ่มที่ละน้อย

2. เมื่ออ่านก็อ่านเพียงอย่างเดียว

แน่นอนการทำงานแบบหลายอย่างพร้อมกัน (multi-tasks) นั้นเป็นเรื่องที่ดี แต่ก็ไม่ได้อาจจะเป็นจริงเสมอไป โดยเฉพาะเรื่องการอ่านหนังสือ หากเรากำลังอ่านหนังสือ แล้วหันไปทำเรื่องอื่นๆ พร้อมกันด้วย จะทำให้ไม่มีสามธิ การอ่านจะไม่ต่อเนื่อง สุดท้ายก็จำอะไรไม่ได้อยู่ดี อีกหนึ่งเคล็ดลับคือ อาจจะลองทำสรุปทุกๆ บท ที่ได้อ่านไป หรือหาก 1 บทยาวไป ก็เปลี่ยนเป็นทุกๆ กี่หน้า เช่น 20 หน้า การจดสรุปก็เป็นอีกหนึ่งเทคนิคที่ทำให้เราสามารถจำสิ่งที่อ่านไปได้ดี


3. จำเป็นภาพ จำเป็นเรื่อง จำโดยผูกกับความจำเก่า จะจำได้ดีกว่าจำไปทื่อๆ ตรงๆ เฉย

การอ่าน และท่องจำแบบตรงๆ เลย จะทำให้เราจำอะไรได้ไม่มาก แปีบๆ ก็ลืมแล้ว หลายครั้งที่เราจะเห็นครูผู้สอนเก่งๆ ส่วนใหญ่จะใช้เทคนิคให้จำเป็นภาพ จำเป็นเรื่อง มันจะสามารถทำให้เราโยงความเกี่ยวข้องได้ง่าย และจำได้นาน 

4. พักบ้างเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในระยะยาว

การอ่านยาวๆ นานๆ ก็ไม่ได้ทำให้เราจำสิ่งที่อ่านได้เสมอไป บางทีก็ควรจะต้องพักบาง เพื่อให้สมองได้ผ่อนคลาย เช่าพักสัก 5-10 นาที ต่อการอ่านประมาณ 30 นาที

5. เปิดเพลงคลอเบาให้ผ่อนคลาย

อีกหนึ่งเทคนิคที่น่าสนใจคือ การเปิดเพลงที่เราชอบคคลอเบาๆ ตอนอ่านหนังสือ ศึ่งอาจจะช่วยให้มีสมาธิในการอ่าน และจำได้ดีขึ้น

ทั้งนี้เทคนิคที่ยกขึ้นมาเป็นแค่ตัวอย่าง สุดท้ายก็แล่วแต่ความถนัดของแ่ละคน ลองหาเทคนิคที่ใช้สำหรับคุณดู หนังสืออีกเล่มที่อยากจะแนะนำให้อ่านคือ Read It, Get It, and Never Forget It ของ Mark Tigchelaar ที่แปลเป็นไทยในชื่อ อ่านเร็ว เข้าใจ ไม่มีวันลืม โดยคุณจิรประภา ประคุณหังสิต อาจจะช่วยให้ได้เทคนิคอะไรดีๆ อีก

เทคนิคอ่านหนังสือให้มีประสิทธิกาพ

วิธีการอ่านบทความ

วิธีการ เขียนสรุปบทความ

การสรุปใจความสำคัญ (Summary) จะทำให้ผู้อ่านเข้าใจแหล่งข้อมูลของคุณอย่างครบถ้วนและสมบูรณ์มากกว่าการนำมาเขียนใหม่ (Paraphrase) หรือการอ้างอิงโดยตรง (Direct Quote) ถ้าคุณต้องการสรุปใจความเพื่อใช้ในการเขียนเรียงความครั้งถัดไป สิ่งต่อไปนี้คือสิ่งที่คุณควรทำ

ตั้งชื่อภาพ Summarize an Article Step 1

1. อ่านผ่านๆ แล้วสังเกตส่วนที่สำคัญของบทความ. ก่อนที่จะนั่งอ่านเนื้อหาในบทความทั้งหมด ให้ลองอ่านผ่านๆ ดูก่อน แล้วเน้นหรือขีดเส้นใต้บริเวณใจความหลัก

  • เขียนหรือเน้นคำถามหรือจุดประสงค์ของบทความ
  • เน้นประโยคใจความหลัก (Thesis statement) หรือสมมุติฐาน (hypothesis)
  • เน้นส่วนที่ช่วยสนับสนุนบทความทั้งหมด
  • เขียนหรือเน้นส่วนของวิธีการศึกษาหรือวิจัย ถ้าในบทความมีการกล่าวถึง
  • เน้นที่ส่วนผลการศึกษา (Finding) บทสรุป และผลลัพธ์ (Result)
ตั้งชื่อภาพ Summarize an Article Step 2

2. อ่านบทความทั้งหมด. หลังจากที่เน้นส่วนพื้นฐานเสร็จแล้ว ให้อ่านบทความให้ละเอียด โดยมุ่งเน้นไปที่การเก็บรายละเอียดของเนื้อหา

  • พิจารณาอ่านบทความในแต่ละส่วน 2-3 รอบ เพื่อให้เข้าใจเนื้อหามากขึ้น
  • ถามตัวเองเกี่ยวกับเนื้อหาในบทความ ลองติดตามกระบวนการเขียนของบทความเพื่อพิจารณาว่าผลการศึกษาและบทสรุปที่เขียนมานั้นสมบูรณ์และน่าเชื่อถือหรือไม่
ตั้งชื่อภาพ Summarize an Article Step 3

3. เขียนโดยใช้ภาษาของตัวเอง. เมื่อคุณอ่านบทความทั้งหมดแล้ว ให้เขียนรายละเอียดที่สำคัญหรือจุดที่น่าสนใจด้วยภาษาของตัวเอง

  • การเขียนข้อมูลโดยใช้ภาษาของตัวเองนั้น จะช่วยลดความเสี่ยงในการลอกเลียนวรรณกรรม (Plagiarizing) โดยไม่ได้ตั้งใจได้
  • อย่า “เขียนประโยคใหม่” ด้วยการสลับตำแหน่งของคำ การเขียนข้อมูลใหม่ที่สมบูรณ์นั้นจะต้องไม่เหมือนกับข้อมูลต้นฉบับ
  • ถ้าคุณไม่สามารถเขียนข้อมูลด้วยภาษาของตัวเองได้ ลองเขียนเป็นประโยคสั้นๆ แทนที่จะเขียนประโยคยาวๆ
ตั้งชื่อภาพ Summarize an Article Step 4

4. สรุปใจความสำคัญของเนื้อหาในแต่ละส่วน. เมื่ออ่านเนื้อหาในส่วนนั้นจบแล้ว ให้หยุดอ่านเพื่อสรุปประเด็นหลักของส่วนนั้นๆ โดยสรุปให้ได้ในประโยคเดียว

  • ถ้าบทความไม่ได้นำไปสู่ประเด็นหลักอื่นๆ ตามที่คาดไว้ ให้หยุดอ่านจนกว่าะเขียนประเด็นหลักของเนื้อหาในส่วนก่อนหน้าให้ได้ แล้วจึงอ่านต่อ

แนะนำการเขียนบทความ วิธีการอ่านบทความ

เขียนเล่น ๆ ให้เป็นเงิน ข้อแนะนำการเขียนบทความสำหรับมือใหม่

เขียนเล่น ๆ ให้เป็นเงิน ข้อแนะนำการเขียนบทความสำหรับมือใหม่

ในปัจจุบันนี้การเขียนคอลัมน์เพื่อเผยแพร่ตามเว็บไซต์เป็นงานอดิเรกที่น่าสนใจ เพราะนอกจากเป็นการฝึกทักษะในการอ่านและการเขียนแล้ว ยังเป็นอาชีพเสริมให้กับนักเขียนได้พอสมควรทีเดียว

ในการที่จะเป็นนักเขียนที่ดี จะต้องหมั่นฝึกฝนทักษะ ติดตามข่าวสารบ้านเมือง และอ่านบทความตามสื่อต่าง ๆ และควรเลือกสื่อที่มีคุณภาพ มีความน่าเชื่อถือได้ การอ่านจะทำให้เราได้ฝึกคิดวิเคราะห์ มีคลังคำศัพท์ดี ๆ  ซึ่งคลังศัพท์พวกนี้จะทำให้เราสามารถนำมาใช้ในการเขียนบทความของเราได้ ยิ่งเรามีต้นแบบที่ดีแล้วก็จะช่วยให้เราผลิตงานที่มีคุณภาพ มีภาษาสละสลวย มีสำนวนที่ดี  เมื่อเขียนงานออกมาแล้วจะทำให้งานน่าอ่าน และมีความสนุกสนาน มีประโยชน์กับคนอ่าน และทำให้งานเขียนของเราน่าติดตามไปด้วย

 เขียนเล่น ๆ ให้เป็นเงิน ข้อแนะนำการเขียนบทความสำหรับมือใหม่

การเขียนคอลัมน์ ก็เหมือนการเขียนเรียงความสมัยเราเป็นเด็กนั่นหล่ะ  การเขียนบทความ หรือเขียนคอลัมน์ เป็นการนำเรื่องราวต่าง ๆ ในชีวิตประจำวัน ข้อมูล ข่าวสาร มาเล่าในรูปแบบของตัวหนังสือ  แต่สำหรับนักเขียนมือใหม่ เรามักจะนึกไม่ออกว่า เราจะเริ่มจากไหนไปไหน ขึ้นต้นและลงท้ายเรื่องยังไง วันนี้เราจึงมีแนวทางเบื้องต้นมาแนะนำ

 เขียนเล่น ๆ ให้เป็นเงิน ข้อแนะนำการเขียนบทความสำหรับมือใหม่

สำหรับการเขียนบทความเราจะแยกองค์ประกอบในการเขียน เป็น 3 ส่วน ก็คือ ส่วนนำ  ส่วนเนื้อเรื่อง และส่วนสรุป 

ส่วนนำ ก็คือ ประเด็นหลักหรือวัตถุประสงค์ในการเขียน  ซึ่งส่วนนำจะทำให้คนอ่านรู้ว่าเรื่องที่เราจะเขียนต่อไปนั้น เป็นเรื่องเกี่ยวกับอะไร และกระตุ้นให้มีความสนใจอยากอ่านต่อ   โดยเราอาจจะเริ่มบทนำด้วย คำถาม  เช่น “รู้หรือไม่ว่าอาหารในแต่ละมื้อที่เรากินลงไปนั้นได้สร้างคุณและโทษให้กับเราได้อย่างไร”  หรือการเริ่มบทนำด้วยปัญหา หรือเรื่องที่น่าสนใจ เช่น “ข่มขืนเท่ากับประหาร ลงโทษเท่านี้เหมาะสมแล้วหรือไม่”    นอกจากนั้น การเขียนส่วนนำยังสามารถนำสุภาษิต คำพังเพย พุทธภาษิต บทร้อยกรอง มาประกอบการอธิบายวัตถุประสงค์ของการเขียน หรือเสริมเรื่องของคำจำกัดความ แรงบันดาลใจ ของการเขียนในครั้งนี้

ส่วนของเนื้อเรื่อง  ส่วนของเนื้อเรื่อง เป็นส่วนที่สำคัญที่สุดของบทความที่เราจะเขียน เพราะเป็นส่วนที่จะแสดงความรู้ ความคิดเห็น ประเด็นที่เราจะเล่าทั้งหมดจะอยู่ในส่วนของเนื้อเรื่อง ส่วนของเนื้อเรื่องนี้จะทำให้ผู้อ่านมีความเข้าใจตามวัตถุประสงค์ที่เราวางไว้ตั้งแต่ต้น ซึ่งการเขียนส่วนของเนื้อเรื่องจะต้องมีการอธิบาย หรือแสดงความคิดเห็น มีการนำทฤษฎี สถิติ คำสัมภาษณ์ หรือข้อมูลที่เชื่อถือได้มาเป็นองค์ประกอบ เพื่อให้เนื้อหานั้นสมบูรณ์ 

ส่วนท้ายหรือส่วนสรุปส่วนท้ายหรือส่วนสรุป เป็นการเขียนเพื่อปิดเนื้อเรื่องทั้งหมดที่เราได้เขียนมาในตอนต้น ซึ่งส่วนปิดหรือส่วนสรุปนี้จะมีความสัมพันธ์กับเนื้อหาส่วนอื่น ๆ และเป็นส่วนที่เราบอกคนอ่านว่า ณ ตอนนี้บทความเรากำลังจะสิ้นสุดลงแล้ว  วิธีการเขียนส่วนท้าย อาจจะลงท้ายกันด้วยหลายแนวทาง เช่น อาจจะย้ำในประเด็นหลัก หรือถามเพิ่มเพื่อให้คนอ่านได้วิเคราะห์ หรือคิดตาม   หรือเสนอความคิดเห็น หรือจบด้วยสุภาษิต คำพังเพย ทฤษฎี เป็นต้น

 เขียนเล่น ๆ ให้เป็นเงิน ข้อแนะนำการเขียนบทความสำหรับมือใหม่

การเขียนบทความหรือคอลัมน์ถ้าไม่เริ่มต้นลงมือเขียน เราจะไม่มีทางรู้เลยว่าเราจะสามารถเขียนเรื่องราวต่าง ๆ ได้หรือไม่ และจะทำมากน้อยแค่ไหนจนกว่าจะลงมือเขียนอย่างจริง ๆ  ตอนเขียนแรก ๆ อาจจะติดขัดปัญหาเรื่องขอภาษา การเชื่อมโยง ข้อมูลที่จะใช้ในการประกอบการเขียน แต่เมื่อเขียนไปนาน ๆ เราจะเริ่มชินและลื่นไหลไปเองโดยธรรมชาติ  และสามารถเขียนบทความหรืองานต่าง ๆ ได้ดีขึ้น