มาดูตัวช่วยดีๆที่จะแก้คำผิดให้คุณโดยอัตโนมัติ

สำหรับการพิมท์ไม่ว่าจะพิมท์สั่นหรือยาวเราก็ไม่อยากให้มันผิดเพราะมันจะเสียเวลาเราเอามากๆวันนี้เราเลยจะมีตัวช่วยให้คุณสะดวกสะบายมากยิ่งขึ้น ไม่ว่าคุณจะเป็นคนที่พิมท์ไม่เก่ง ชอบพิมท์ผิดบ่อยๆเจ้าแอพตัวนี้ก็ช่วยคุณได้หรือสำหรับคนที่คิดว่าเซียนแล้วพิมท์ไม่ค่อยผิดมีติดคอมไว้ก็ไม่เสียหายอะไร วันนี้เรามีแอพพลิเคชันที่ชื่อว่า RightLang RightLang เป็นแอพพลิเคชันที่จะช่วยแก้ไขการพิมพ์ผิดภาษาจากอังกฤษเป็นไทย หรือไทยเป็นอังกฤษ (เช่น “แนพพำแะ” แก้เป็น “correct”) ให้โดยอัตโนมัติ ทำให้ผู้ใช้สามารถพิมพ์ข้อความต่อไปได้โดยไม่ต้องเสียเวลาลบแล้วพิมพ์ใหม่ ข้อความใดที่ RightLang ไม่ได้แก้ไขให้โดยอัตโนมัติ ผู้ใช้ก็สามารถกดปุ่มลัด (Shift + Backspace สำหรับ Windows หรือ Shift + Delete สำหรับ Mac) เพื่อสั่งให้แก้ไขด้วยตนเองได้ นอกจากนี้ข้อความที่ผู้ใช้สั่งแก้ไขด้วยตนเองจะถูกจดจำไว้เพื่อให้สามารถแก้ไขได้โดยอัตโนมัติในครั้งถัดไปอีกด้วย RightLang มีทั้งเวอร์ชันสำหรับ Windows และ Mac โดยในเวอร์ชัน Mac มีคุณสมบัติพิเศษเพิ่มขึ้นมาคือ สามารถกำหนดภาษาตั้งต้น (default language) ของแต่ละแอพพลิเคชันได้ เมื่อสลับหน้าต่างแอพพลิเคชัน RightLang จะคอยเปลี่ยนภาษาให้ตรงกับภาษาที่กำหนดไว้ เช่น กำหนดให้ภาษาตั้งต้นของ Terminal และ Xcode เป็นภาษาอังกฤษ และกำหนดให้ภาษาตั้งต้นของ chat client เป็นภาษาไทย เป็นต้น  

7 ข้อห้ามทำ เมื่อรับเขียนบทความ

สมัยนี้การเขียนบทความได้รับความนิยมกันมาก เพียงแค่มีคอมพิวเตอร์ 1 เครื่องก็สามารถเป็นนักเขียนได้แล้ว ไม่เหมือนเมื่อก่อนที่ส่วนใหญ่ ผู้จ้างจะรู้จักนักเขียนผ่านสื่อ สิ่งพิมพ์เท่านั้น แต่ทว่า…ทุกอย่างก็เหมือนดาบสองคม เพราะด้วยความง่ายและสะดวกสบายของการมีเทคโนโลยี ทำให้เกิดนักเขียนขึ้นมามากมาย ทั้งนักเขียนที่มีคุณภาพและนักเขียนสมัครเล่นที่บางครั้งก็ทำให้วงการนี้เสื่อมเสียชื่อเสียงอยู่ไม่น้อย วันนี้ ในฐานะรุ่นพี่จึงขอพามาดู 7 ข้อห้ามทำ เมื่อรับเขียนบทความ มาฝากนักเขียนมือใหม่ทุกท่านกัน ห้ามใช้ความคิดสร้างสรรค์เพียงอย่างเดียว แม้การใช้ความคิดสร้างสรรค์มาเขียนลงในบทความจะเป็นสิ่งที่ดี เพราะทำให้บทความมีความสดใหม่และน่าค้นหา อย่างไรก็ตาม มีบทความบางประเภทที่นักเขียนไม่สามารถใช้เพียงความคิดสร้างสรรค์ได้ นั่นคือ บทความวิชาการ เพราะบทความประเภทนี้ จำเป็นต้องใช้แหล่งข้อมูลที่น่าเชื่อถือและถูกต้อง นำมาเขียนลงในบทความ เพื่อให้ดูมีน้ำหนักและสามารถนำไปเผยแพร่ได้ โดยที่ไม่ส่งผลเสียต่อผู้อ่านที่จะนำไปใช้ต่อ แต่ที่สำคัญคือ อย่าลืมให้เครดิตของแหล่งข้อมูลที่นำมาด้วย นั่นจึงเป็นการเขียนบทความวิชาการที่ดี ข้อแนะนำ การเขียนบทความวิชาการ มีความยากและใช้คำศัพท์ที่เป็นทางการ ดังนั้น ก่อนนักเขียนจะรับงาน ควรไตร่ตรองให้ดีก่อนว่า บทความประเภทนี้ เรามีความถนัดหรือไม่ เพราะต้องหาข้อมูลและนำมาวิเคราะห์อย่างละเอียดรอบคอบ ซึ่งซับซ้อนกว่าบทความทั่วไปมาก จึงทำให้งานเขียนประเภทนี้มีราคาแพงและหานักเขียนมารับงานได้ยากกว่างานเขียนแบบอื่นๆ ห้ามใช้ประโยคฟุ่มเฟือยและไร้ความหมาย การเขียนบทความที่มีคุณภาพ ควรหลีกเลี่ยงการใช้ประโยคที่ดูไร้ความหมายหรือไม่เกี่ยวข้องกับเนื้อหาในบทความ เพราะจะทำให้ผู้อ่านงงและรู้สึกเบื่อหน่ายเอาได้ โดยเฉพาะบทนำ ซึ่งเป็นพารากราฟแรกที่ผู้อ่านทุกคนจะเห็น การเกริ่นบทนำ ควรบ่งบอกถึงเนื้อหาคร่าวๆที่อยู่ในบทความพร้อมปิดท้ายด้วยประโยคที่เชิญชวนให้เข้ามาอ่าน เรียกง่ายๆก็เหมือน สะพานสู่เนื้อหาถัดไป ดังนั้น หากมีบทนำที่ดี ก็เหมือนมีชัยไปกว่าครึ่งแล้ว […]

เขียนเล่น ๆ ให้เป็นเงิน ข้อแนะนำการเขียนบทความสำหรับมือใหม่

ในปัจจุบันนี้การเขียนคอลัมน์เพื่อเผยแพร่ตามเว็บไซต์เป็นงานอดิเรกที่น่าสนใจ เพราะนอกจากเป็นการฝึกทักษะในการอ่านและการเขียนแล้ว ยังเป็นอาชีพเสริมให้กับนักเขียนได้พอสมควรทีเดียว ในการที่จะเป็นนักเขียนที่ดี จะต้องหมั่นฝึกฝนทักษะ ติดตามข่าวสารบ้านเมือง และอ่านบทความตามสื่อต่าง ๆ และควรเลือกสื่อที่มีคุณภาพ มีความน่าเชื่อถือได้ การอ่านจะทำให้เราได้ฝึกคิดวิเคราะห์ มีคลังคำศัพท์ดี ๆ  ซึ่งคลังศัพท์พวกนี้จะทำให้เราสามารถนำมาใช้ในการเขียนบทความของเราได้ ยิ่งเรามีต้นแบบที่ดีแล้วก็จะช่วยให้เราผลิตงานที่มีคุณภาพ มีภาษาสละสลวย มีสำนวนที่ดี  เมื่อเขียนงานออกมาแล้วจะทำให้งานน่าอ่าน และมีความสนุกสนาน มีประโยชน์กับคนอ่าน และทำให้งานเขียนของเราน่าติดตามไปด้วย การเขียนคอลัมน์ ก็เหมือนการเขียนเรียงความสมัยเราเป็นเด็กนั่นหล่ะ  การเขียนบทความ หรือเขียนคอลัมน์ เป็นการนำเรื่องราวต่าง ๆ ในชีวิตประจำวัน ข้อมูล ข่าวสาร มาเล่าในรูปแบบของตัวหนังสือ  แต่สำหรับนักเขียนมือใหม่ เรามักจะนึกไม่ออกว่า เราจะเริ่มจากไหนไปไหน ขึ้นต้นและลงท้ายเรื่องยังไง วันนี้เราจึงมีแนวทางเบื้องต้นมาแนะนำ สำหรับการเขียนบทความเราจะแยกองค์ประกอบในการเขียน เป็น 3 ส่วน ก็คือ ส่วนนำ  ส่วนเนื้อเรื่อง และส่วนสรุป  ส่วนนำ ก็คือ ประเด็นหลักหรือวัตถุประสงค์ในการเขียน  ซึ่งส่วนนำจะทำให้คนอ่านรู้ว่าเรื่องที่เราจะเขียนต่อไปนั้น เป็นเรื่องเกี่ยวกับอะไร และกระตุ้นให้มีความสนใจอยากอ่านต่อ   โดยเราอาจจะเริ่มบทนำด้วย คำถาม  เช่น “รู้หรือไม่ว่าอาหารในแต่ละมื้อที่เรากินลงไปนั้นได้สร้างคุณและโทษให้กับเราได้อย่างไร”  หรือการเริ่มบทนำด้วยปัญหา […]

แนะนำการเขียน Test ที่มีประสิทธิภาพ เน้นว่าจะทดสอบอะไรก่อนเสมอ

จากหนังสือ Fifty Quick Ideas to Improve your TESTSได้แนะนำวิธีปรับปรุงชุดการทดสอบให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น โดยหนึ่งในนั้น คือชุดการทดสอบควรเริ่มจากการอธิบายว่าจะทดสอบอะไร (What) หรือ พฤติกรรมการทำงานของระบบตาม Use caseมากกว่าการลงรายละเอียดของการทำงานจริง ๆ (How) อ่านดูแล้วอาจจะงงบ้าง ไม่มากก็น้อยดังนั้น มาดูในรายละเอียด และ ตัวอย่างกันดีกว่า ความผิดพลาดที่มักเกิดขึ้น สำหรับการเขียน Acceptance criteria การพัฒนาระบบงาน ในแต่ละ feature/user story นั้นจะต้องมีข้อตกลงในการตรวจรับ หรือ acceptance criteria เสมอเพื่อใช้กำหนดว่าในแต่ละ feature/user story นั้นเสร็จ หรือ Done เป็นอย่างไรไม่ต้องมานั่งเดา กันอีกต่อไป !!! แต่ข้อผิดพลาดมักเกิดขึ้นกับทีมที่ไม่มีประสบการณ์มากนักนั่นก็คือ มักจะเขียน acceptance criteria แบบเยอะ ๆ คือ เราจะทำการทดสอบอะไรบ้าง ? แต่ละการทดสอบจะต้องทดสอบอย่างไรบ้าง ? เขียนทั้งสองอย่างไปพร้อม ๆ กันส่งผลให้เราไม่ […]

วิธีเขียนรายงาน ฉบับสมบูรณ์ เขียนรายงาน อย่างไรให้ครบถ้วนไม่ตกทุกรายละเอียด

การเขียนรายงาน คือการเขียนเสนอผลงานอันได้มาจากการศึกษาค้นคว้าพิเศษนอกเหนือจากเรื่องที่ได้ศึกษาในชั้นเรียนเพื่อส่งเสริมให้ผู้เรียนรู้จักแสวงหาความรู้ด้วยตนเอง รูปแบบของรายงาน รูปแบบของการรายงาน แบ่งออกเป็น 3 ส่วน คือ ส่วนประกอบตอนต้น ส่วนเนื้อหา และส่วนประกอบตอนท้าย ดังนี้ ส่วนประกอบตอนต้น หน้าปกรายงาน ส่วนบนเขียนชื่อเรื่อง ส่วนกลางชื่อผู้รายงาน ส่วนล่างบรรทัดแรกให้เขียนว่า “ รายงานนี้เป็นส่วนหนึ่งของการศึกษาวิชา… ” บรรทัดที่สองเป็นชื่อสถาบันศึกษา ส่วนบรรทัดที่สามบอกภาคที่เรียนและปีการศึกษา คำขอบคุณ เป็นส่วนที่ไม่บังคับ อาจมีหรือไม่มีก็ได้ คำนำ เป็นการบอกขอบข่ายของเรื่อง สาเหตุที่ทำให้เลือกทำรายงานเรื่องนี้ จุดมุ่งหมายในการเขียน สารบัญ หมายถึง บัญชีบทต่าง ๆ ในสารบัญมีบทและตอนต่าง ๆ เรียงตามลำดับกับที่ปรากฏในหนังสือ ตลอดจนการขอบคุณผู้ที่ช่วยเหลือในการทำรายงาน บัญชีตารางหรือภาพประกอบ (ถ้ามี) เพื่อให้มีเนื้อหาที่สมบูรณ์ยิ่งขึ้น รายงานบางเรื่องอาจต้องใช้ตาราง นิยมทำบัญชีตารางหรือบัญชีภาพประกอบไว้ในหน้าถัดไปจากสารบัญ ส่วนเนื้อเรื่อง ส่วนที่เป็นเนื้อหา ต้องมีตอนนำ ตอนตัวเรื่อง และตอนลงท้ายเช่นเดียวกับการเขียนเรียงความ ส่วนประกอบในเนื้อหา ได้แก่• อัญประกาศ คือข้อความที่คัดมาจากคำพูดหรือข้อเขียนของผู้อื่น โดยไม่ได้ดัดแปลง• เชิงอรรถ คือข้อความท้ายหน้า มีไว้เพื่อแจ้งที่มาของข้อความในตัวเรื่อง […]

วิธีการทำรายงานทางวิชาการ

วิธีการทำคำนำ การเขียนคำนำรายงาน มีวิธีการเขียน ดังนี้การเขียนคำนำรายงานนั้นในส่วนของย่อหน้าแรกเราควรเขียนเพื่อเกริ่นเนื้อเรื่องไปก่อนโดยยังไม่เข้าเนื้อเรื่อง แต่ควรพยายามพูดชักจูงให้ผู้อ่านสนใจ หรือพูดที่มาที่ไป ก่อน เพื่อให้ผู้อ่านอยากติดตามต่อส่วนต่อมาควรกล่าวเริ่มเข้าเนื้อเรื่องของเราว่าเราจะทำรายงานเกี่ยวกับอะไร และมีเรื่องอะไรบ้าง หรือพูดถึงเฉพาะเรื่องสำคัญๆ ก็ได้ และตอนสุดท้ายก็ปิดท้ายว่าทำเพื่ออะไรเพื่อประโยชน์กับใคร ที่จะได้มาอ่านบทความนี้และก็อาจกล่าวขอบคุณอาจารย์ผู้สอนหรือผู้มีส่วนเกี่ยวข้องกับรายงาน และปิดท้ายด้วยการขอรับข้อเสนอแนะต่างๆ เพื่อให้รายงานดีขึ้น ลักษณะของการเขียนคำนำรายงานที่ดี ตามหลักของ ราชบัณฑิต บอกไว้ว่า 1. เขียนด้วยคำพังเพย หรือสุภาษิตที่เกี่ยวกับเนื้อเรื่อง 2. เขียนอธิบายความหมายของเรื่อง 3. เขียนโดยขึ้นต้นด้วยคำกล่าวของบุคคลสำคัญ 4. เขียนด้วยการเล่าเรื่อง 5. เขียนด้วยคำถามหรือปัญหาที่สนใจ 6. เขียนด้วยการอธิบายชื่่อเรื่อง 7. เขียนคำนำด้วยคำกล่าวถึงจุดประสงค์ของเรื่องที่เขียน 8. เขียนด้วยการกล่าวถึงใจความสำคัญของเรื่องที่เขียน หวังว่าจะเป็นประโยชน์กับผู้อ่าน ตัวอย่างคำนำรายงานรายงาน เล่มนี้จัดทำขึ้นเพื่อเป็นส่วนหนึ่งของวิชา…….ชั้น…เพื่อให้ได้ศึกษาหาความรู้ ในเรื่่อง……..และได้ศึกษาอย่างเข้าใจเพื่อเป็นประโยชน์กับการเรียน ผู้จัดทำหวังว่า  รายงานเล่มนี้จะเป็นประโยชน์กับผู้อ่าน หรือนักเรียน นักศึกษา ที่กำลังหา ข้อมูลเรื่องนี้อยู่ หากมีข้อแนะนำหรือข้อผิดพลาดประการใด ผู้จัดทำขอน้อมรับไว้และขออภัยมาณ ที่นี้ด้วย ผู้จัดทำ วันที่……………. วิธีการทำรายงานทางวิชาการ

เขียนบทความอย่างไรให้ติด SEO

การเขียนบทความที่ดี มีประโยชน์ แต่ไม่มีคนอ่านมันก็น่าเสียดายนะ แต่ถ้าเราเขียนบทความโดยใช้เกณฑ์ของ SEO ก็อาจจะช่วยให้เว็บติดหน้าแรกๆ บน Google ทำให้มีคนเข้าเว็บเพิ่มมากขึ้น วันนี้ก็เลยจะมาบอกเคล็ดลับว่าเขียนบทความหรือ Content อย่างไรให้ติด SEO วิธีการก็ไม่ยาก มีดังนี้ ทุกๆ บนความนั้นจะต้องมี Keywordถ้าคุณอยากให้คนเข้าชมเว็บของคุณ Keyword นี่แหละที่ช่วยให้เจอเว็บของคุณ ดังนั้นบทความที่ดีจะต้องมี Keyword อยู่ในชื่อเรื่อง, เนื้อเรื่อง, ALT Text และใน URL ด้วย อย่างเช่น Keyword: Long tail Keyowrd Keyword ต้องอย่าเยอะจนเกินไปเพื่อให้เว็บของคุณติด SEO Keyword ไม่ควรมีเยอะมากจนเกินไป ควรมีแค่ย่อหน้าละ 1-2 คำ ก็พอ หรือใช้คำที่มีความหมายที่คล้ายๆ กันกับ Keyword และอย่ามีเยอะ เดี๋ยว AI ของ Google จะมองว่าเป็นการสแปมนะจ๊ะ แต่ละย่อหน้าควรมีคำ 100-120 คำสำหรับผู้เขียนบทความแนะนำเลยว่า […]

5 เทคนิคการทำรายงาน

เคล็ดลับเด็ดๆ สำหรับชาวกัมบัตเตะแก๊งในวันนี้ เรามีเทคนิคการทำรายงานมาฝากน้องๆ กันจ้า รับรองว่าทำงานได้ชิลๆ สบายๆ หายเหนื่อย แถมเพิ่มโอกาสได้คะแนนเต็มอีกด้วย ไปดูกันว่า 5 เทคนิคที่จะทำให้รายงานของน้องๆ นักอ่าน และช่วยคว้าคะแนนเต็มจากคุณครูมาเสริมเกรดสวยๆ กันเล้ย 1. วางโครงเรื่องให้น่าสนใจ อย่างแรกน้องๆ ต้องรู้ก่อนเลยว่าโครงเรื่องสำคัญมากๆ สำหรับการทำรายงานเพราะเป็นแนวทางให้คนเขียนรู้ว่าต้องเขียนอะไรต่อไป มีลำดับขั้นตอนที่ต่อเนื่อง เพื่อให้รายงานของเรามีเนื้อหาครอบคลุม ไม่หลุดประเด็นสำคัญ ดังนั้น ควรเขียนโครงเรื่องรายงานก่อนเป็นอันดับแรก 2. รูปแบบเด่น เน้นเรียบ แต่หรู รูปเล่มรายงานที่น่าสนใจไม่จำเป็นต้องลงทุนซื้อกระดาษแพงๆ ลายการ์ตูน กลิ่นหอมฟุ้งไปถึงข้างบ้านหรือประดับด้วยสติ๊กเกอร์ให้ดูฟรุ้งฟริ้ง แต่การทำรายงานที่ถูกต้องควรเน้นความเรียบร้อย สะอาด และเป็นระเบียบ ดังนั้นใช้แค่กระดาษแข็งสีอ่อนก็ทำให้รายงานดูดีแล้วล่ะ เพราะสิ่งคุณครูตัดสินคะแนน อยู่ที่เนื้อหายในเล่มไม่ใช่แค่หน้าปกเท่านั้นจ้า 3. ภาษาดี ไม่มีเขียนคำผิด ไม่มีคำวิบัติ ภาษาที่ใช้ในรายงานของน้องๆ ควรเป็นภาษาในระดับทางการเหมือนกับหนังสือที่เราใช้เรียนเลยค่ะ จะมาใช้ภาษาเหมือนเขียนไดอารี่หรือจดเลคเชอร์ไม่ได้นะ! เพราะจะทำให้รายงานไม่น่าเชื่อถือ และดูไม่น่าอ่าน นอกจากนี้ควรตรวจเช็คคำสะกดผิดให้ดี เพราะคุณครูเจอคำผิด อาจมีหักคะแนนก็ได้นะ 4. สรุปให้คนอ่านเข้าใจเนื้อหาทั้งหมด อีกหนึ่งส่วนสำคัญของการทำรายงานเลยก็คือ “บทสรุป” ที่อยู่ตอนท้ายจะเป็นส่วนที่ขมวดทุกอย่างในรายงานให้เหลือใน 1 […]

“แปลงไฟล์เสียงเป็นข้อความ” ระบบใหม่จาก Microsoft ประหยัดเวลาในการพิมพ์มากมาย

บอกเลยว่าเป็นข่าวดีมากๆ สำหรับคนที่อยากประหยัดเวลาในการพิมพ์งานในโปรแกรม Microsoft Word เป็นอย่างมาก เพราะว่าล่าสุดทาง Microsoft เขาได้เปิดตัวฟังก์ชั่นใหม่ของทาง Microsoft Office ซึ่งนั่นก็คือ การแปลงไฟล์เสียงเป็นข้อความนั่นเอง วิธีทำเรียกว่าง่ายมาก แค่อัปโหลดเสียงไฟล์ที่ต้องการเข้าสู่บัญชี OneDrive ของเรา และหลังจากนั้นไฟล์เสียงก็จะถูกแปลงด้วยระบบ Azure Speech Services และส่งข้อมูลให้กับเราได้โดยตรง และที่เยี่ยมกว่านั้น ระบบ Azure Speech Services สามารถแยกเสียงผู้พูดได้ ไม่ทำให้เสียงพูดปนกัน และทำให้เสียเวลาแยกข้อความอีกด้วย โดยฟังก์ชั่นแปลงเสียงเป็นข้อความนั้นจะเริ่มเปิดใช้งานช่วงปี 2020 เป็นต้นไป ผ่านทางออนไลน์ Word for Web ก่อน และจะเปิดใช้งานในเวอร์ชันเดสก์ทอปและมือถือต่อไปในอนาคต “แปลงไฟล์เสียงเป็นข้อความ” ระบบใหม่จาก Microsoft ประหยัดเวลาในการพิมพ์มากมาย การเขียนรายงาน วิธีการเขียนรายงาน

วิธีเขียนรายงาน ฉบับสมบูรณ์ เขียนรายงาน อย่างไรให้ครบถ้วนไม่ตกทุกรายละเอียด

การเขียนรายงาน คือการเขียนเสนอผลงานอันได้มาจากการศึกษาค้นคว้าพิเศษนอกเหนือจากเรื่องที่ได้ศึกษาในชั้นเรียนเพื่อส่งเสริมให้ผู้เรียนรู้จักแสวงหาความรู้ด้วยตนเอง รูปแบบของรายงาน รูปแบบของการรายงาน แบ่งออกเป็น 3 ส่วน คือ ส่วนประกอบตอนต้น ส่วนเนื้อหา และส่วนประกอบตอนท้าย ดังนี้ ส่วนประกอบตอนต้น หน้าปกรายงาน ส่วนบนเขียนชื่อเรื่อง ส่วนกลางชื่อผู้รายงาน ส่วนล่างบรรทัดแรกให้เขียนว่า “ รายงานนี้เป็นส่วนหนึ่งของการศึกษาวิชา… ” บรรทัดที่สองเป็นชื่อสถาบันศึกษา ส่วนบรรทัดที่สามบอกภาคที่เรียนและปีการศึกษา คำขอบคุณ เป็นส่วนที่ไม่บังคับ อาจมีหรือไม่มีก็ได้ คำนำ เป็นการบอกขอบข่ายของเรื่อง สาเหตุที่ทำให้เลือกทำรายงานเรื่องนี้ จุดมุ่งหมายในการเขียน สารบัญ หมายถึง บัญชีบทต่าง ๆ ในสารบัญมีบทและตอนต่าง ๆ เรียงตามลำดับกับที่ปรากฏในหนังสือ ตลอดจนการขอบคุณผู้ที่ช่วยเหลือในการทำรายงาน บัญชีตารางหรือภาพประกอบ (ถ้ามี) เพื่อให้มีเนื้อหาที่สมบูรณ์ยิ่งขึ้น รายงานบางเรื่องอาจต้องใช้ตาราง นิยมทำบัญชีตารางหรือบัญชีภาพประกอบไว้ในหน้าถัดไปจากสารบัญ ส่วนเนื้อเรื่อง ส่วนที่เป็นเนื้อหา ต้องมีตอนนำ ตอนตัวเรื่อง และตอนลงท้ายเช่นเดียวกับการเขียนเรียงความ ส่วนประกอบในเนื้อหา ได้แก่• อัญประกาศ คือข้อความที่คัดมาจากคำพูดหรือข้อเขียนของผู้อื่น โดยไม่ได้ดัดแปลง• เชิงอรรถ คือข้อความท้ายหน้า มีไว้เพื่อแจ้งที่มาของข้อความในตัวเรื่อง […]