หนังสือที่ควรค่าแก่การอ่าน Honjok ความสุขจากการอยู่กับตัวเอง

ความเหงาอาจจะเป็นสิ่งที่น่ากลัวสำหรับใครบ้างคน เป็นสิ่งที่น่าเจ็บปวด แต่ความสันโดษนั้นเป็นเรื่องที่น่ายินดี เนื่องจากความเหงาเกิดขึ้นเพราะการขาดสัมพันธภาพ ไม่ใช่การขาดผู้คน ในทางตรงกันข้ามแม้เราจะอยู่โดดเดี่ยวเพียงลำพัง แต่หากรู้สึกถึงแรงสนับสนุนจากกลุ่มเพื่อนหรือคนรอบกาย เราย่อมไม่รู้สึกเจ็บปวด

การที่เราเลือกที่จะใช้ชีวิตเพียง ‘คนเดียว’ อย่างสันโดษ ไม่ได้หมายความว่าเราผิดแปลกไปจากสังคม แต่กลับเป็นสังคมต่างหากที่น่าตั้งคำถามว่า แล้วการที่ใช้ชีวิตเพียงลำพังนั้นเป็นสิ่งที่แย่ตรงไหน?

จากสถิติของประชากรโลกได้บอกไว้ว่า ขนาดของครอบครัวมีขนาดเล็กลงเรื่อยๆ จากครอบครัวใหญ่ที่มีจำนวน 5-6 คน กลายเป็นครอบครัวเล็กที่มีสมาชิกเพียงแค่ 2-3 คน และล่าสุด เทรนด์การใช้ชีวิตแบบ ‘ฮนจก’ กำลังจะบอกเราว่า การใช้ชีวิตเพียงตัวคนเดียวก็ไม่ใช่เรื่องที่ผิดแปลกอีกต่อไป

ไม่อายที่จะนำเสนอหน้าชั้นเรียน ต้องเตรียมตัวดังนี้

สำหรับนักเรียน นักศึกษาทหลายท่านคงมีความตื่นเต้นเป็นอย่างมากเมื่อ คุณครู หรืออาจารย์นั้นสั่งงานและให้ออกมาพรีเซนต์หน้าของ แต่ถ้าพูดถึงเราเรียนรู้วิธีการพรีเซนต์งานหน้าของก็คงไม่ค่อยตื่นเต้นเท่าไร งันวันนี้เรามาดูกันดีกว่า ว่าจะมีวิธีใดบ้าง

1.วางแผนการนำเสนอ


เขียนกระดาษโน้ตหรือกระดาษดัชนี.
 เขียนความคิดหลักๆ ลงในกระดาษดัชนี ไม่ต้องเขียนรายละเอียด ไม่อย่างนั้นจะต้องติดอยู่กับชะตากรรมของการก้มมองแล้วจ้องไปที่กระดาษโน้ตขณะอ่านมันไปด้วย ใส่ข้อเท็จจริงตลกๆ คำถามที่จะให้ผู้คนมีส่วนร่วม และกิจกรรมที่เชื้อเชิญให้ผู้คนมีส่วนร่วมลงในกระดาษเพื่อจะเอามาแบ่งปันหน้าชั้นเรียน

  • เขียนคำหลักหรือความคิดหลัก ถ้าคุณจำเป็นต้องดูกระดาษดัชนี คุณก็จะแค่มองลงไปปราดเดียวเพื่อข้อมูล ไม่ใช่อ่านทุกคำที่เขียน
  • ส่วนมากแล้ว การใส่ข้อมูลลงไปในกระดาษดัชนีจะช่วยให้คุณจำข้อมูลได้ ต่อให้คุณไม่จำเป็นต้องมีกระดาษโน้ตก็ได้ แต่มันก็ปลอดภัยกว่าถ้าจะมีไว้ เผื่อคุณลืมว่าจะต้องพูดอะไร

2.ฝึกซ้อม. 

ในการนำเสนอส่วนมาก มันชัดเจนเลยว่าใครซ้อมมาหรือใครไม่ได้ซ้อม ฝึกกับสิ่งที่คุณจะพูดและจะพูดมันยังไง คุณจะมั่นใจมากขึ้นเมื่อต้องออกไปนำเสนอจริง และคุณจะลดการพูดคำว่า “แบบ” และ “เอ่อ” ได้มาก ไม่เหมือนคนที่พยายามจะออกไป “ขายผ้าเอาหน้ารอด”

  • เวลาจะซ้อมนำเสนองานให้ซ้อมต่อหน้าคนในครอบครัว เพื่อน หรือหน้ากระจก อาจจะดีกว่าถ้าซ้อมต่อหน้าเพื่อนที่รู้จักกันดี เพราะจะช่วยให้คุณได้จำลองความรู้สึกตอนที่อยู่หน้าชั้นเรียน
  • ขอผลตอบรับจากเพื่อนเมื่อนำเสนอเสร็จแล้ว การนำเสนอยาวไปหรือเปล่า การสบตากับผู้ฟังของคุณเป็นอย่างไรบ้าง คุณตะกุกตะกักบ้างไหม คุณอธิบายทุกประเด็นได้กระจ่างหรือเปล่า
  • ทำการวิจารณ์การซ้อมนำเสนองาน ท้าทายตัวเองเพื่อให้ทำในสิ่งที่คุณคิดว่าจะพัฒนามันต่อไปได้ระหว่างการนำเสนอจริง เมื่อถึงเวลาที่ต้องออกไปเจอของจริง คุณจะรู้สึกมั่นใจว่าคุณได้พยายามมากเป็นพิเศษต่อสิ่งที่ยากที่สุดสำหรับตนเองแล้ว

3.หาข้อมูล. 

เพื่อที่จะมีการนำเสนอที่ผู้คนสนใจ คุณจำเป็นจะต้องรู้ว่าตัวเองกำลังพูดถึงอะไรอยู่ คุณไม่จำเป็นต้องเป็นผู้เชี่ยวชาญ หรืออ่านหนังสือทุกเล่มหรือเว็บไซต์ทุกเว็บที่เขียนเกี่ยวกับหัวข้อของคุณ แต่คุณควรจะสามารถตอบคำถามทุกคำถามที่อาจารย์และเพื่อนร่วมชั้นอาจจะถามคุณได้

  • หาข้อความอ้างอิงจากแหล่งข้อมูลที่เชื่อถือได้ ข้อความอ้างอิงจะทำให้การนำเสนอดีมากที่สุด ใช้สิ่งที่คนฉลาดทั้งหลายเคยพูดเอาไว้มาใส่ในงานนำเสนอไม่ได้ทำให้คุณดูฉลาดขึ้นเท่านั้น แต่ยังแสดงให้อาจารย์เห็นด้วยว่าคุณใช้เวลาไปกับการคิดถึงสิ่งที่คนอื่นได้พูดเอาไว้ด้วย
  • ดูให้แน่ใจว่าแหล่งข้อมูลของคุณเชื่อถือได้ ไม่มีอะไรจะทำลายความมั่นใจของคุณได้เท่ากับข้อเท็จจริงที่กลายเป็นเพียงข้อเท็จที่ไม่จริง อย่าเชื่อข้อมูลที่เอามาจากในอินเทอร์เน็ตเสมอไป

แนะนำหนังสือน่าอ่าน ความทรงจำของวันพรุ่งนี้

การที่เราได้อ่านหนังสือที่อ่านแล้วได้ประโยนช์และสามารถปรับใช้ในชีวิตประจำวันได้มันก็คุ้มค่าที่เราเสียเวลามันและเมื่อหนังสือที่เราอ่านมันดีขนาดนี้เราก็จะเกิดการรู้คุณค่าของหนังสือให้เราเก็บรักษามันให้ได้ดีที่สุดนั้น และหนังสือเล่มนี้เป็นเรื่องราวที่เล่า

เรื่องราวของชายหนุ่มวัย 50 ปี ที่ทุ่มเทให้กับงานมากกว่าครอบครัว แต่จะเกิดอะไรขึ้นเมื่อวันหนึ่งเขาพบว่าตัวเองป่วยเป็นโรคร้าย? ที่เราอยากแนะนำหนังสือน่าอ่านเล่มนี้ เพราะนักแสดงชื่อดังอย่าง วาตานาเบะ เคน อ่านแล้วรู้สึกประทับใจจนต้องขอแสดงนำในภาพยนตร์ หนังสือเล่มนี้ถ่ายทอดเรื่องราวของผู้ป่วยอัลไซเมอร์และความสัมพันธ์กับคนรอบข้างออกมาได้น่าสนใจและลึกซึ้งกินใจ ใครที่ชื่นชอบเรื่องราวอบอุ่น เจ็บปวด แต่ช่วยให้เรามองเห็นความจริงที่เรียบง่ายของชีวิต ต้องลองอ่านค่ะ

มูลนิธิอิออนประเทศไทย เป็นตัวแทนมอบหนังสือให้แก่เยาวชนไทย

โดยคุณสุพร วัธนเวคิน ประธานกรรมการมูลนิธิอิออนประเทศไทย ร่วมกับ บริษัท ดาต้าโปรดักส์ ทอปปัง ฟอร์ม จำกัด บริษัท เดนท์สุ (ประเทศไทย) จำกัด ธนาคารกสิกรไทย จำกัด (มหาชน) บริษัท เมโทรซิสเต็มส์คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) และผู้สนับสนุนอื่นรวมกว่า 24 บริษัท ร่วมส่งมอบโปรแกรมห้องสมุดออนไลน์ ที่รวบรวม E-book จากสำนักพิมพ์ชั้นนำกว่า 600 เล่ม พร้อมชุดคอมพิวเตอร์ ภายใต้โครงการ GIVE A FUTURE GIVE A BOOK, เป็นของขวัญปีใหม่ในรูปแบบนิวนอร์มัลให้แก่ 5 โรงเรียนในทุกภูมิภาค ได้แก่ โรงเรียนกาญจนาภิเษกวิทยาลัย จังหวัดนครปฐม โรงเรียนรัตนราษฎร์บำรุง จังหวัดราชบุรี โรงเรียนรังษีวิทยา จังหวัดเชียงใหม่ โรงเรียนสตรีราชินูทิศ จังหวัดอุดรธานี และโรงเรียนนราธิวาส จังหวัดนราธิวาส เป็นการต่อยอดปณิธานของมูลนิธิอิออนประเทศไทยในการพัฒนาและส่งเสริมให้เยาวชนไทยเข้าถึงการศึกษาที่มีคุณภาพ ผ่านสื่อการเรียนรู้ที่ทันสมัย ที่นอกจากจะเป็นการสร้างเสริมนิสัยรักการอ่านแล้ว ยังเป็นการเตรียมความพร้อมให้เยาวชนไทยได้เข้าถึงสื่อและเทคโนโลยีดิจิทัลได้อย่างเหมาะสม

สร้างไอเดียสุดเจ๋งกับการทำcontent

สำหรับการสร้าง content ในแต่ครั้งมันก็ต้องเริ่มาจากไอเดียที่เลิศเพราะให้การสร้างในแต่ละครั้งหรือการลงมือทำนั้นมีผลงานออกมาในด้านที่ดีและวันนี้เรามาดูไอเดียเจ๋งเพื่อนำไปใช้ในการผลิตผลงานที่ดีออกมาเพื่อให้ผลงานนั้นเป็นที่ยอมรับหรือได้รับความนิยมงันเรามาดูกันดีกว่า

1) Vlog กระแสการสร้างวิดีโอในโลกโซเชียลเติบโตอย่างรวดเร็ว ซึ่งทำให้เกิดอาชีพ Vlogger หรือผู้ที่สร้างคอนเทนต์ผ่านโลกโซเชียล การทำ Vlog เพื่อสื่อสารแก่ผู้ชม แทนการนำเสนอภาพนิ่ง และการร้อยเรียงบทความผ่านบล็อก สามารถสร้างจุดขายให้แก่แบรนด์ได้อย่างมหาศาล เนื่องจากแบรนด์สามารถสร้างตัวตนผ่านภาพเคลื่อนไหว ซึ่งทำให้เกิดภาพจำได้ง่ายขึ้น อีกทั้งผู้ชมยังได้อรรถรสจากการรับชมรับฟัง ซึ่งมีอิทธิพลต่อการเกิดอารมณ์ หรือความประทับใจในตัวแบรนด์ จากภาพด้านล่าง ทุกท่านจะเห็นการนำเสนอคอนเทนต์ในรูปแบบของวิดีโออย่างแพร่หลายในทุก ๆ วงการ ในปี 2019 เช่น การเป็นยูทูปเบอร์ด้านความงาม การรีวิวสถานที่ท่องเที่ยว การแคสเกมส์ และอื่น ๆ อีกมายมาย ซึ่งรายได้จากการสร้าง Vlog ของยูทูบเบอร์ที่ติดอันดับโลก สามารถสร้างรายได้มากกว่า $100 ล้านดอลลาร์สหรัฐ กันเลยทีเดียว

2.เปิดโหวต ทำโพล

หากโพสต์อะไรหนักๆ มาหลายวันแล้ว ลองทำอะไรง่ายๆ ด้วยการเปิดโอกาสให้ลูกค้าร่วมโหวตหรือแสดงความคิดเห็นในหัวข้อที่คุณคิดขึ้นมา เช่น โหวตเลยชุดไหนสวยสุด แชร์หน่อยเมนูตามสั่งจานไหนสั่งบ่อยสุด ฯลฯ

ซึ่งการเปิดโหวตหรือทำโพล เป็นการเปิดโอกาสให้ลูกค้าได้แสดงความคิดเห็น ซึ่งพ่อค้าแม่ค้าก็สามารถที่จะนำเอาความเห็นต่างๆ ที่ถูกแชร์ไปต่อยอดได้ เพื่อให้ตรงกับความต้องการของลูกค้ามากที่สุด

การฝึกอ่านหนังสือเร็ว ได้ใจความ

พูดถึงการอ่านในชีวิตประจำวันของเรานั้นมีให้เราฝึกมากมายแต่คนส่วนใหญ่นั้นเลือกที่จะไม่สนใจและอ่านพอผิวเผิน และในบ้างครั้งก็เกิดการหยิบสินค้าผิด หรือ สิ่งของที่ผิด และวันนร้เรามาเปลี่ยนนิสัยให้เป็นคนอ่านฉลากอ่านรายละเอียดของตัวสินค้ากันให้มากขึ้น เพราะจะได้ใช้ชีวิตแบบมั่นใจกันดีกว่า

1 ห้าม! อ่านออกเสียง
เพราะการอ่านออกเสียงนั้นทำให้สมองต้องทำงานหลายขั้นตอนซึ่งจะส่งผลให้อ่านล่าช้าขึ้น แต่ถ้าเราอ่านด้วยตาและสมอง จะช่วยลดการทำงานของสมองจากหลายขั้นตอนให้เหลือเพียงไม่กี่ขั้นตอน ซึ่งจะช่วยให้เราอ่านได้เร็วขึ้น

2 ใช้อุปกรณ์ช่วยชี้ระหว่างที่อ่าน
ในขณะที่อ่านนั้นอาจใช้นิ้วมือหรือปากกาช่วยชี้ตัวหนังสือไปด้วย เพราะนั่นจะช่วยให้มีสมาธิ ไม่วอกแวกในขณะที่อ่าน ซึ่งจะช่วยทำให้อ่านหนังสือได้เร็วขึ้น

3 พยายามเพ่งให้มีสมาธิในช่วงแรก
ต้องมีสมาธิจดจ่อไม่วอกแวก การอ่านหนังสือให้ได้เร็วนั้น สมาธิเป็นสิ่งที่สำคัญมาก เพราะถ้าหากไม่มีสมาธิหรือสมาธิไม่ดีแล้วนั้น จะทำให้อ่านไม่รู้เรื่องในบางช่วง แล้วก็ต้องอ่านซ้ำเนื้อหาช่วงนั้น ซึ่งจะทำให้อ่านช้าลง

4 อ่านให้เข้าใจภาพรวม
ในบางครั้งการอ่านเนื้อหาบางประเภทอาจะมีรายละเอียดข้อมูลที่มาก ถ้าหากต้องการอ่านให้เร็วนั้น ไม่ควรโฟกัสที่รายละเอียดมากนัก แต่ให้เน้นอ่านเพื่อให้เข้าใจภาพรวมของเนื้อหามากกว่า เช่น “…….การผลิตน้ำดื่มของบริษัท ABC นั้นมีกระบวนการผลิตตั้งแต่การกลั่นโดยใช้สารละลาย…” จากประโยคนี้อาจจับใจความไว้เพียงว่าบริษัทนี้มีการผลิตน้ำดื่มโดยใช้หลายกระบวนการ (ไม่จำเป็นต้องจำชื่อบริษัท หรือรายละเอียดกระบวนการ)

5 ขยับเฉพาะตา ไม่ขยับหัว
ในขณะที่อ่านนั้นควรขยับเฉพาะตา หรือการอ่านแบบกวาดสายตาให้ทั่ว จัดวางระดับสายตาให้การมองอยู่ที่กึ่งกลางบรรทัดแล้วกวาดลูกตาไปทางซ้าย-ขวา แทนการส่ายหัวไปด้วยในขณะอ่าน การอ่านในลักษณะนี้จะช่วยให้เราสามารถอ่านรวดเร็วขึ้นอย่างแน่นอนถ้าหากฝึกจนชำนาญ

6 ลดการอ่านตัวอักษรซ้ำ ไม่อ่านย้อน
โดยการใช้ดินสอ หรือปากกาด้ามเล็ก ๆ ชี้ไปทางขวาเรื่อย ๆ ตามทางที่เราอ่านนั้นเองค่ะ ฝึกทำวิธีนี้บ่อย ๆ จนชินแล้ว ต่อไปก็ไม่จำเป็นต้องใช้ดินสอชี้ตามก็ได้

7 ฝึกอ่านเป็นกลุ่มคำ
เราจะมองตัวหนังสือนั้น ทีละท่อน ปกติแล้ว 1 บรรทัดจะมีประมาณ 3-4 ท่อน เราก็มองเป็นกลุ่มได้ 3-4 กลุ่ม และการอ่าน จะออกมาในรูปแบบการใช้สายตากระโดดขึ้นลงเป็นกลุ่ม ๆ นั่นเอง
ระหว่างนี้ ให้เลือกวิธีที่ถนัดในการฝึกนะคะ และฝึกทำให้ต่อเนื่องกันจนครบ 21 วัน โดยในแต่ละวัน ก็ลองบันทึกความเร็วของเราไปด้วย แล้วจะเห็นว่าเราสามารถอ่านหนังสือได้เร็วขึ้นอย่างไม่น่าเชื่อเลย

คอนเทนต์ คืออะไรกันแน่ และการคิดต้องคิดอย่างไรถึงจะดี

 ใจความสำคัญของ คอนเทนต์ ที่ต้องมีหลักก็จะมี เป้าหมายของข้อมูล ผู้รับข้อมูล ประเภทของคอนเทนต์ และ ช่องทางการสื่อสารคอนเทนต์ และการสร้างและแสดงคอนเทนต์ออกมาแล้วเราเห็นชัดที่สุดก็ได้แก่ วิดีโอ ภาพ เสียง และ การเขียนซึ่งจนกว่าเทคโนโลยีหรือรูปแบบของออนไลน์

คอนเท้นต์เป็นคำที่เราได้ยินบ่อยในการตลาด นั่นก็เพราะว่า คอนเท้นต์อย่าง ภาพ วิดีโอ การเขียน นั้นก็เป็นวิธีการสื่อสารกับลูกค้านั่นเอง และการตลาดก็คือการบริหารวิธีการสือสารให้กับลูกค้า เพื่อโน้มน้าวให้คนเหล่านั้นทำอะไรซักอย่าง เช่น การซื้อของ การไลค์วิดีโอ หรือการให้คนทักเข้ามา

หากเราเข้าใจว่า 1) คอนเท้นต์มีหลายประเภท (ภาพ วิดีโอ เสียง การเขียน) และ 2) คอนเท้นต์แต่ละอย่างมีหน้าที่ไม่เหมือนกัน (ทำให้ซื้อของ ทำให้คนทัก ทำให้คนติดตาม) ที่เหลือก็เป็นเรื่องของ ศิลป์ และ ศาสตร์ ว่าเราจะทำยังไงให้คนชอบ และเราจะทำยังไงให้เราสร้างคอนเท้นค์ออกมาได้รวดเร็วที่สุด ในราคาที่คุ้มค่าที่สุด

ศิลปะแห่งการสร้างคอนเทนต์มีหลายรูปแบบ แต่โดยรวมแล้ว หากคุณเป็นคนหน้าตาดี เป็นคนดัง คนอื่นก็อยากที่จะเสพคอนเท้นต์จากคุณ แต่เนื่องจากว่าบทความนี้เป็นข้อมูลพื้นฐาน ผมจะขออธิบายวิธีสร้างคอนเท้นต์สำหรับคนที่ไม่ดัง และสำหรับมือใหม่ที่หัดทำเลย

ปัญหาส่วนมากของนักสร้างคอนเท้นต์มือใหม่ในโลกออนไลน์ก็คือ ไม่เข้าใจว่าแต่ละช่องทางออนไลน์ทำงานยังไง พูดง่ายๆก็คือไม่เข้าใจพฤติกรรมผู้ใช้ใน Facebook ใน YouTube ใน Google

อยากรู้ไหมทำไมเราต้องเรียนรู้การเขียนรายงาน

หากไม่มีการเขียนรายงานจะทำให้การพิมท์แต่ละที่นั้นไม่เหมือนกันและจะแตกต่างสะจนดูแล้ว งง ไปหมดแอบบอกคือ ในปัจจุบันที่มีการดรียนรู้การเขียนรายงานแล้ว ก็ยังพิมท์วรรคหรือเว้นหน้าไม่เหมือนกันอยู่ แต่นั้นแหละว่าทำไมเราถึงต้องรู้

ส่วนประกอบตอนต้น

เป็นส่วนประกอบที่อยู่ตอนต้นเล่มของรายงานก่อนถึงเนื้อเรื่องประกอบด้วยส่วนต่างๆ ดังนี้

1. ปกนอก (Cover หรือ Binding)​ คือส่วนที่เป็นปกหุ้มรายงานประกอบด้วยปกหน้า สัน และปกหลัง ควรเป็นกระดาษแข็งพอ

สมควรสีสันเหมาะสมกับเนื้อหา หรืออาจใช้ปกของแต่ละสถาบันการศึกษาซึ่งได้จัดทาสาเร็จไว้แล้วก็ได้ อาจมีภาพหรือไม่ก็ได้ถ้ามี

ภาพควรให้สอดคล้องกับเนื้อเรื่อง การจัดวางรูปแบบควรจัดให้สวยงามเหมาะสม ปัจจุบันการพิมพ์ด้วยคอมพิวเตอร์ทาให้สามารถ

ออกแบบปกให้สวยงามได้อย่างสะดวกง่ายดาย ข้อความที่ปรากฏบนปกนอก ประกอบด้วย

1.1 ชื่อเรื่องของรายงาน อยู่ห่างจากขอบบนของหน้ากระดาษลงมาประมาณ 1.5 – 2 นิ้ว และควรกะให้อยู่กึ่งกลาง

พอดี (ไม่มีคาว่ารายงานเรื่อง)

1.2 ชื่อผู้เขียนรายงาน ให้อยู่ตรงส่วนกลางของหน้ากระดาษ เขียนหรือพิมพ์ชื่อและนามสกุลของผู้เขียนรายงาน

ในกรณีที่รายงานนั้นมีผู้เขียนหลายคนให้ใส่ชื่อทุกคนโดยจัดเรียงตามลาดับตัวอักษร

1.3 ส่วนล่างของหน้าปก ประกอบด้วยข้อความตามลาดับ ดังนี้

1.3.1 ชื่อของรายวิชาที่กาหนดให้เขียนรายงาน

1.3.2 ระดับชั้น

1.3.3 ชื่อของสถาบันการศึกษา

1.3.4 ภาคการศึกษา ปีการศึกษาที่ทารายงาน

บรรทัดล่างสุดของส่วนล่างปกควรห่างจากขอบล่าง 1.5 – 2 นิ้ว บทนิพนธ์ของแต่ละมหาวิทยาลัยอาจแตกต่างกันบ้าง ในราย

ละเอียดตามที่สถาบันกาหนด

2. หน้าปกใน (Title Page)​ อยู่ต่อจากปกนอกและมีข้อความเช่นเดียวกับปกนอก ชื่อเรื่องของรายงานพิมพ์อยู่ตรงกึ่งกลางของหน้า

กระดาษ โดยให้ห่างจากขอบบนประมาณ 2 นิ้ว และห่างจากขอบกระดาษซ้ายและขวาเท่าๆ กันถ้าชื่อเรื่องยาวแบ่งเป็นสอง-สาม

บรรทัดตามความเหมาะสม ชื่อผู้เขียนรายงานโดยทั่วไปเขียนเฉพาะชื่อและนามสกุลไม่ต้องเขียนคานาหน้านาม เช่น นาย นาง 

นางสาว ยกเว้นในกรณีที่ผู้เขียนมียศหรือบรรดาศักดิ์ เช่น ม.ร.ว ม.ล. หรือ ร.ต.ท. ฯลฯ ให้ใส่ไว้ด้วยใต้ชื่อผู้เขียนควรใส่เลขประจำ

ตัวหรือรหัสประจำตัวนักศึกษาด้วย ตำแหน่งของชื่อผู้เขียนคือตรงกลางหน้ากระดาษ เว้นระยะจากขอบกระดาษซ้ายและขวาเท่าๆ 

กัน และอยู่ห่างจากข้อความส่วนบนและส่วนล่างของหน้ากระดาษเป็นระยะพอๆ กัน ในกรณีที่มีผู้เขียนหลายคนให้เขียนชื่อทุกคน

เรียงตามลาดับอักษร และใส่รหัสประจำตัวไว้ต่อจากชื่อในบรรทัดเดียวกัน ส่วนข้อความที่แจ้งว่าเป็นรายงานการค้นคว้าประกอบ

รายวิชาใด สถาบันศึกษาใด ภาคเรียนและปีการศึกษาใด จัดพิมพ์ไว้ส่วนท้ายของหน้ากระดาษโดยให้บรรทัดสุดท้ายอยู่ห่างจากขอบ

ล่างประมาณ 1 นิ้ว

3. คำนำ (Preface)​คือส่วนที่กล่าวถึงวัตถุประสงค์ของรายงานเรื่องนั้น รวมทั้งความสาคัญและขอบเขตของเนื้อหา นอกจากนั้นยัง

อาจกล่าวขอบคุณผู้มีส่วนช่วยเหลือในการจัดทำ จนสำเร็จด้วยดี คำนำอาจมีเพียงย่อหน้าเดียว สอง หรือสามย่อหน้าก็ได้ขึ้นอยู่กับ

ความเหมาะสมของเนื้อหา คำนำไม่ควรเขียนยาวเกินไป ให้พิมพ์คำว่า “คำนำ” ไว้กลางหน้ากระดาษไม่ขีดเส้นใต้ห่างจากขอบบน 

2 นิ้ว แล้วพิมพ์ข้อความในบรรทัดถัดลงมา เมื่อจบข้อความแล้วให้ลงชื่อ นามสกุลของผู้เขียน ถ้าทำงานเป็นกลุ่มให้ลงคำว่า “คณะผู้

จัดทา” และลงวันที่ เดือน (เขียนเต็มไม่เขียนย่อ) ปี (ไม่ต้องมีคำว่า พ.ศ.) กำกับไว้ด้วย

4. สารบัญ (Table of Contents)​ ให้เขียนหรือพิมพ์คาว่า “สารบัญ” ด้วยตัวอักษรตัวใหญ่ไว้กลางหน้ากระดาษห่างจากขอบบนลงมา

2 นิ้ว มีลักษณะคล้ายโครงเรื่องอยู่หลังคำนำจัดทำเมื่อเขียนหรือพิมพ์รายงานเสร็จแล้ว เป็นหน้าที่บอก ชื่อตอน บท หัวข้อใหญ่หรือ

หัวข้อย่อยเรียงตามลำดับเนื้อหาในเล่ม มีเลขหน้าเริ่มต้นกำกับอยู่ด้านขวามือ พิมพ์ห่างขอบประมาณ 1 นิ้ว ข้อความในหน้าสารบัญ

ให้เขียนหรือพิมพ์ห่างจากขอบซ้ายของหน้ากระดาษ 1.5 นิ้ว

5. สารบัญตารางหรือบัญชีตาราง (List of Tables)​ จัดทำเมื่องานเขียนนั้นมีตารางจานวนมาก และตารางเป็นส่วนประกอบที่สำคัญ

ของเนื้อหา (ถ้างานเขียนนั้นทั้งเล่มมีตารางเพียงหนึ่งหรือสองตารางก็ไม่จาเป็นต้องทำหน้าสารบัญตาราง) เรียงไว้ต่อจากหน้า

สารบัญเป็นหน้าที่แสดงให้ทราบถึงจำนวนตารางทั้งหมดในเนื้อเรื่องเรียงตามลำดับที่ปรากฏในรายงานซึ่งจะช่วยให้ผู้อ่านค้นหาได้

สะดวก จัดหน้าลักษณะเดียวกับสารบัญโดยพิมพ์ไว้กลางหน้ากระดาษห่างจากขอบบนลงมา 2 นิ้ว พิมพ์คำว่า “บัญชีตาราง” หรือ 

“สารบัญตาราง” และเปลี่ยนคำว่า “บทที่”เป็น “ตารางที่”

6. สารบัญภาพประกอบหรือบัญชีภาพประกอบ (List of illustrations)​ อยู่ต่อจากหน้าบัญชีตาราง (ถ้ามี) เป็นหน้าที่บอกให้ทราบถึง

จำนวนภาพประกอบ แผนผัง แผนที่ กราฟ แผนภาพทางสถิติต่างๆ หรือแผนภูมิ ทั้งหมดในเรื่องไปจนถึงภาคผนวก พิมพ์คำว่า 

“บัญชีภาพประกอบ” “สารบัญภาพ” “สารบัญแผนภูมิ” และเปลี่ยนคำว่า “บทที่” เป็น “ภาพที่” การกำกับหน้าในส่วนประกอบตอน

ต้นนั้นให้เริ่มนับตั้งแต่หน้าปกในเป็นต้นไปโดยใช้ตัวอักษรกากับ งานเขียนภาษาไทยใช้ ก ข ค… และงานเขียนภาษาอังกฤษใช้เลข

โรมัน I II III…เรียงไปตามลาดับส่วนประกอบตอนกลางหรือส่วนเนื้อหา (Text)เป็นส่วนที่เป็นเนื้อหาโดยละเอียดซึ่งผู้ทำรายงาน

ได้เรียบเรียงขึ้นจากการศึกษาค้นคว้า จึงถือว่าเป็นส่วนสำคัญที่สุดของงานเขียนทางวิชาการทุกประเภท ประกอบด้วย

1.บทนำ (Introduction)​เป็นสิ่งแรกที่จะทาให้ผู้อ่านได้สัมผัสกับความคิดและกลวิธีการเขียนของผู้เขียน มีส่วนอย่างสำคัญในการ

จุดประกายความสนใจของผู้อ่านให้อยากติดตามอ่านต่อไป ถ้าบทนำไม่น่าสนใจ สับสน หรือคลุมเครือผู้อ่านจะไม่รู้สึกอยากอ่าน

ดังนั้นบทนำจึงต้องชัดแจ้ง น่าอ่าน และกระตุ้นความสนใจของผู้อ่านตั้งแต่แรกเริ่มของบทนิพนธ์บทนำอาจเป็นแค่เพียงย่อหน้า

เดียวหรือทั้งบทก็ได้โดยทั่วไปแล้วความยาวของรายงานการค้นคว้ามีผลต่อความยาวของบทนำ รายงานฉบับเล็กๆ อาจจะมีความนำ

ที่เรียบเรียงอย่างน่าอ่านเพียงหนึ่งย่อหน้าที่เรียกว่าย่อหน้านำในขณะที่ภาคนิพนธ์เรื่องยาวๆ อาจจะมีบทนำแยกต่างหากหนึ่งบท

สำหรับบทนาที่แยกเป็นบทจะจัดอยู่ในบทที่ 1 โดยเขียนแบบเดียวกับบทอื่นๆ คือกลางหน้ากระดาษ บรรทัดแรกเขียน “บทที่ 1” 

และบรรทัดถัดลงมาใช้ชื่อบทว่า “บทนำ” หรืออาจใช้ชื่อบทเป็นอย่างอื่นตามความเหมาะสม ในกรณีที่เขียนบทนำอย่างสั้นแต่เนื้อ

หาอื่นๆ แบ่งเป็นบทอาจใช้หัวข้อว่า “บทนำ” หรือ “ความนำ” โดยไม่ต้องมีคำว่า บทที่

       เนื้อความที่เรียบเรียงลงในบทนำเป็นการปูพื้นให้ผู้อ่านเข้าใจความเป็นมาของเรื่อง ความมุ่งหมายและขอบเขตของเรื่องหรือ

สภาพปัญหาที่ต้องการนำเสนอ หรือความบันดาลใจของเรื่องทั้งนี้เพื่อเป็นการนำผู้อ่านเข้าสู่เนื้อเรื่องให้ผู้อ่านมองเห็นภาพรวมของ

เนื้อเรื่องทั้งหมด

2.ส่วนเนื้อหา (Body of Paper)​ เป็นส่วนที่เสนอเรื่องราวสาระทั้งหมดของรายงานการค้นคว้า การนำเสนอเนื้อหาอาจแบ่งเป็นบท

หรือเป็นตอนเพื่อให้ผู้อ่านได้เห็นประเด็นสาคัญของเนื้อหาตามลาดับและต่อเนื่องกัน ส่วนการจะแบ่งเป็นบทหรือเป็นตอน หรือ

เป็นหัวข้ออย่างไรและมีจานวนมากน้อยเท่าใดนั้นขึ้นอยู่กับลักษณะ ขอบเขต และความสั้นยาวของเนื้อเรื่องถ้าเป็นรายงานการ

ค้นคว้าขนาดสั้นไม่จำเป็นต้องแบ่งเป็นบทหรือตอนก็ได้เพียงแต่แบ่งตามหัวข้อสาคัญๆ ของเนื้อเรื่องให้เหมาะสมแต่ถ้าเป็น

ภาคนิพนธ์ขนาดยาวควรแบ่งเป็นบทหรือตอนให้ชัดเจน

3. บทสรุปหรือสรุป​(Conclusion) คือส่วนที่เขียนย้ำหรือเน้นประเด็นสาคัญของเนื้อหาหรือสรุปผลของการศึกษาค้นคว้า เช่นเดียว

กับที่บทนาเป็นความสาคัญขั้นแรกในการชักจูงให้ผู้อ่านสนใจติดตามเนื้อเรื่อง บทสรุปก็มีบทบาทสาคัญในการทำให้ผู้อ่านจับ

ประเด็นของเนื้อเรื่องที่ได้อ่านไปทั้งหมด บทสรุปจะอยู่ตอนท้ายของเนื้อเรื่อง อาจแยกเป็นบทตากหากหรือเป็นเพียงย่อหน้าท้ายๆ 

ของเรื่อง

    ส่วนประกอบตอนท้าย (back matter หรือ reference matter)

เป็นส่วนที่อยู่ถัดจากเนื้อเรื่อง ประกอบด้วย

1. หน้าบอกตอน (Half Title Page)​ คือหน้าที่พิมพ์ข้อความไว้กลางหน้ากระดาษเพื่อบอกว่าส่วนที่อยู่ถัดไปคืออะไร ส่วนใหญ่แล้ว

หน้านี้จะปรากฏในส่วนประกอบตอนท้ายของรายงานการค้นคว้า เช่น หน้าบอกตอน “บรรณานุกรม” หน้าบอกตอน “ภาคผนวก” 

และหน้าบอกตอน “ดรรชนี”

2. บรรณานุกรมหรือเอกสารอ้างอิง (Bibliography หรือ References)​ เป็นรายชื่อทรัพยากรสารสนเทศทั้งหมดที่ใช้ประกอบการ

ค้นคว้า รายการวัสดุอ้างอิงทุกชิ้นที่ปรากฏอยู่ในเนื้อหาต้องมาปรากฏอยู่ในบรรณานุกรมด้วย แต่อาจมีบางรายการที่มีอยู่ใน

บรรณานุกรมแต่ไม่ปรากฏในการอ้างอิงเพราะผู้เขียนเพียงแต่ได้แนวคิดมาจากวัสดุนั้นแต่ถ้าใช้คำว่าเอกสารอ้างอิง รายการที่อยู่ใน

เนื้อหาและในรายการเอกสารอ้างอิงต้องมีตรงกันทุกรายการ การเขียนบรรณานุกรม หรือเอกสารอ้างอิงต้องเขียนให้ถูกต้องตาม

แบบแผน

3. ภาคผนวก (Appendix)​คือส่วนที่นามาเพิ่มไว้ตอนท้ายของรายการเพราะไม่ใช่เนื้อหาที่แท้จริงหรือไม่ได้เป็นส่วนหนึ่งของเนื้อ

เรื่อง แต่เห็นว่ามีประโยชน์เพื่อเพิ่มความสมบูรณ์ของเนื้อเรื่องหรือช่วยให้ผู้อ่านมีความรู้ความเข้าใจเรื่องราวได้ดีขึ้น แต่ทั้งนี้

รายการการค้นคว้าไม่จาเป็นต้องมีภาคผนวกเสมอไปขึ้นอยู่กับความจาเป็นและความเหมาะสมของแต่ละเรื่อง

4. ดรรชนี หรือ ดัชนี (Index)​คือบัญชีรายชื่อ หรือคำ หรือหัวข้อในเนื้อเรื่องที่นามาจัดเรียงไว้ตามลำดับอักษร

พร้อมทั้งแจ้งเลขหน้าที่ปรากฏ ดรรชนีเป็นเครื่องมือช่วยให้ค้นเรื่องได้อย่างสะดวกรวดเร็ว 

หลักการที่ถูกต้องในการเขียนบทความ

การที่เราจะเขียนบทความอะไรสักอย่างให้ออกมาดีนั้นเราก็ต้องรู้หลักการในการเขียนให้ดูสวยงามเป็นระเบียบและถูกหลัของการเขียนให้ถูกต้องและการความเรียงที่เขียนขึ้นโดยมีหลักฐานข้อเท็จจริง และในเนื้อหานั้น ผู้เขียนได้แทรกข้อเสนอแนะเชิงวิจารณ์ หรือสร้างสรรค์เอาไว้ด้วย

ลักษณะเฉพาะของบทความ
๑. ต้องเป็นเรื่องที่ผู้อ่านส่วนมากกำลังสนใจอยู่ในขณะนั้น อาจเป็นปัญหาที่คนกำลังอยากรู้ว่าจะดำเนินต่อไปอย่างไร หรือมีผลอย่างไร หรือเป็นเรื่องที่เข้ายุคเข้าสมัย
๒. ต้องมีแก่นสาร มีสาระ อ่านแล้งได้ความรู้ หรือความคิดเพิ่มเติม มิใช่เรื่องเลื่อนลอยไร้สาระ
๓. ต้องมีข้อทรรศนะ ข้อคิดเห็น ตลอดจนข้อเสนอแนะของผู้เขียนแทรกด้วย
๔. มีวิธีเขียนชวนให้อ่าน อ่านแล้วท้าทายความคิด และสนุกเพลิดเพลิน จากความคิดในเชิงถกเถียงโต้แย้งนั้น
๕. เนื้อหาสาระและสำนวนภาษาเหมาะสมสำหรับผู้อ่านที่มีการศึกษาอยู่ในเกณฑ์ดี เพราะผู้อ่านที่มีการศึกษาน้อยนิยมอ่านข่าวสดมากกว่าบทความ

ลักษณะที่แตกต่างและเหมือนกันของบทความ เรียงความ และข่าว
๑. รูปแบบ เรียงความและบทความมีรูปหรือแบบของการเขียนเหมือนกัน คือ มีโครงเรื่องอันประกอบด้วยสามส่วนใหญ่ๆ ได้แก่ คำนำ เนื่องเรื่อง และสรุป หรือคำลงท้าย การตั้งชื่อเรื่องหรือหัวเรื่องอาจเหมือนหรือคล้ายคลึงกัน ส่วนข่าวเป็นการเสนอเรื่องรวมหรือเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นตามความเป็นจริง สาระสำคัญของข่าวอยู่ที่ความนำอันเป็นย่อหน้าแรกของการเขียนข่าว ส่วนย่อหน้าต่อ ๆ มา มีความสำคัญลดหลั่นกันลงมาตามลำดับ จนกระทั่งถึงย่อหน้าสุดท้ายอาจตัดทิ้งไปได้ โดยไม่เสียความถ้าเนื้อที่กระดาษจำกัด
๒. ความมุ่งหมาย บทความนั้นเขียนขึ้นเพื่อเสนอข้อคิดเห็นเกี่ยวกับ เรื่องหรือ เหตุการณ์นั้นๆ ส่วนเรียงความเป็นการเขียนเพื่อ แสดงความรู้เกี่ยวกับหัวข้อเรื่องนั้นแต่เพียงเรื่องเดียว
๓. เนื้อเรื่อง หัวข้อเรื่องของบทความต้องทันสมัย ทันต่อเหตุการณ์ อยู่ในความสนใจของผู้อ่านขณะนั้น เวลาผ่านไปเพียงสัปดาห์หนึ่ง หรือมากกว่านั้น ก็อาจล้าสมัยไป ส่วนเรียงความจะหยิบยกเอาเรื่องใด ๆ ทั้งที่เป็นรูปธรรม และนามธรรมเขียนก็ได้ และหัวข้อเรื่องเดียวกันนี้จะเขียนเมื่อไหร่ก็ได้ ไม่ถือว่าล้าสมัย แต่ข่าวมีอายุอยู่ ๒๔ ชั่วโมงเท่านั้น ถ้าเสนอข่าวช้าไปสักวันหรือสองวันก็ไม่น่าสนใจเสียแล้ว
๔. วิธีเขียน วิธีเขียนเรียงความนั้นใคร ๆ ก็รู้จักวิธีเขียนและเขียนได้ ส่วนมากเป็นการเขียนแบบเรียบๆ ไม่โลดโผน แต่บทความจะต้องมีวิธีเขียนอันชวนให้อ่าน ให้ติดตามเนื้อเรื่อง การเขียนข่าวต้องตอบปัญหา ๕ ข้อ คือ ใคร ทำอะไร ที่ไหน เมื่อไหร่ และทำไม ต้องเสนอข่าวเท่าที่เกิดขึ้นจริง เขียนอย่างสั้นและตรงไปตรงมา ไม่มีข้อคิดเห็นของผู้เขียน ไม่มีแม้แต่ชื่อผู้เขียนข่าว ต้องเป็นข่าวสดจริงๆ เป็นการเขียนเพื่อให้ชนทุกชั้นอ่าน และไม่แสดงอารมณ์ ความรู้สึกของผู้เขียน ผู้อ่านจะไม่รู้เลยว่าผู้เขียนเป็นบุคคลชนิดใด รู้สึกนึกคิดอย่างไร

ทำความรู้จักอาชีพนักเขียนนิยาย

อาชีพนักเขียนอาจจะเป็นงานหลักหรืองานยามว่างก็ได้เพราะงานเขียนเป็นงานที่ต้องใช้จินตการค่อนข้างสูงเลยที่เดียวและเป็นคนที่ชื่นชอบการเขียน เขียนในทุกๆสิ่งที่เรานึกขึ้น เขียนทุกๆอย่างที่เราเห็นและใช้มันให้สามารถประกอบขึ้นเป็นเรื่องราวที่เราต้องการเขียนได้ซึ่งปัจจุบันเส้นทางสู่การเป็นนักเขียนนิยายนั้นไม่ยาก เพราะมีแพลตฟอร์มในการเผยแพร่มากมาย หากเข้าตาสำนักพิมพ์ก็อาจได้รับการติดต่อเพื่อตีพิมพ์ หรือถ้ามีฐานแฟนคลับมากพอจะตีพิมพ์เองก็ไม่ยาก

1. เว็บไซต์และแอพพลิเคชั่นลงนิยาย

เดิมเว็บไซต์ลงนิยายที่ได้รับความนิยมคือ Dek-D.com เนื่องจากเป็นเว็บไซต์ที่มีการจัดหน้าให้เหมาะสมต่อการลงนิยายโดยเฉพาะ ปัจจุบันมีเว็บไซต์สำหรับลงนิยายเพิ่มขึ้นมากมาย เช่น ธัญวลัยReadawriteFictionlog ซึ่งมีทั้งรูปแบบเว็บไซต์และแอพพลิเคชั่น ทำให้สะดวกสบายต่อการใช้งาน ทั้งเขียนและอ่านได้ทุกที่ทุกเวลา นอกจากนี้ยังมีแอพพลิเคชั่นสำหรับนิยายรูปแบบใหม่ที่น่าสนใจอย่างจอยลดา คือเป็นนิยายแชทโดยเฉพาะ วิธีการอ่านต้องกดที่หน้าจอแล้วจะมีกล่องข้อความขึ้นมาทีละกล่อง เป็นการพูดคุยและโต้ตอบภายในแชท ซึ่งถือเป็นการเล่าเรื่องที่ท้าทายเพราะต้องเล่าผ่านการพูดคุยในแชทเท่านั้น

2. E-book

E-book หรือ หนังสืออิเล็กทรอนิกส์เป็นอีกช่องทางในการเผยแพร่นิยาย โดยนิยมจัดทำเป็น E-book แบบออนไลน์มากกว่าออฟไลน์ เพราะระบบปฏิบัติการในอุปกรณ์อาจมีการเปลี่ยนแปลงที่รวดเร็ว ทำให้อาจเปิด E-book ไม่ได้ ดังนั้น E-book แบบออนไลน์จึงเป็นที่นิยมกว่า ซึ่งเว็บไซต์ในการขาย E-book เช่น mebmarket.com

3. สำนักพิมพ์

สำหรับคนที่อยากส่งนิยายไปที่สำนักพิมพ์โดยตรง ปัจจุบันสามารถส่งต้นฉบับไปให้พิจารณาได้ผ่านอีเมล แต่บางสำนักพิมพ์อาจยังรับต้นฉบับทางไปรษณีย์อยู่ก็ต้องศึกษาข้อมูลให้ดีก่อนส่ง ผลการพิจารณาอาจช้าหรือเร็วขึ้นอยู่กับสำนักพิมพ์ ส่วนเงินตอบแทนมักได้เป็นเงินค่าต้นฉบับ และเปอร์เซ็นต์จากจำนวนเล่มที่ขายได้ อาจแตกต่างกันไปตามสำนักพิมพ์แต่ละแห่ง

4. บล็อกส่วนตัว

บล็อกส่วนตัวเป็นอีกแพลตฟอร์มที่สามารถลงนิยายได้ แต่ปัจจุบันไม่ค่อยนิยมนักเพราะเข้าถึงกลุ่มผู้อ่านได้น้อยกว่าแบบอื่นๆ ยกเว้นเป็นผู้ที่มีฐานแฟนคลับอยู่แล้ว หรือถ้ามีผู้ติดตามจำนวนมากบนโลกออนไลน์ก็อาจลงนิยายในบล็อกส่วนตัวและแชร์ในแอคเคาท์โซเชียลมีเดียของตนเองก็ได้

1. ใส่ใจพล็อตให้มาก

สิ่งนี้ถือเป็นหัวใจของการเขียนนิยาย เพราะพล็อตหรือการวางแผนเนื้อเรื่องทั้งหมดเป็นตัวกำหนดว่านิยายเรื่องนี้ต้องการสื่ออะไร ปมขัดแย้งคืออะไร เนื้อเรื่องจะดำเนินอย่างไร และจบแบบไหน ไม่อย่างนั้นนิยายที่เขียนก็จะมีเนื้อหาที่ออกนอกเรื่อง หรือที่เรียกว่าออกทะเล ทำให้ความน่าสนใจของนิยายน้อยลง และจะยิ่งทำให้เขียนจบได้ยากขึ้นด้วย

2. ฝึกด้วยการเขียนเรื่องสั้น

บางคนสามารถวางพล็อตได้เป็นอย่างดี มีสิ่งที่ต้องการสื่อชัดเจน แต่เมื่อเขียนออกมาแล้วไม่สามารถดำเนินเรื่องจนจบได้ ก็อาจลองกลับมาฝึกฝีมือด้วยการเขียนเรื่องสั้นก่อน เพราะถือเป็นนิยายขนาดย่อ และเมื่อเขียนจบแล้วนอกจากทำให้มีกำลังใจในการเขียนมากขึ้น ยังสามารถมองเห็นจุดเด่นจุดด้อยในงานเขียน และนำไปปรับใช้กับนิยายได้ด้วย

3. หาเอกลักษณ์ของตัวเอง

นิยายที่ประสบความสำเร็จนั้น นอกจากเนื้อเรื่องแล้ว เอกลักษณ์ก็เป็นสิ่งสำคัญ เพราะทำให้นิยายของเราต่างจากนิยายของคนอื่นๆ โดยเอกลักษณ์นั้นมักเกิดจากสไตล์ส่วนตัวของผู้เขียน แต่สำหรับมือใหม่อาจจะยากเสียหน่อย เพราะต้องฝึกปรือฝีมือพร้อมกับหาเอกลักษณ์ไปด้วย ซึ่งสามารถสร้างได้ทั้งจากสำนวนภาษา ลักษณะตัวละคร ลักษณะฉาก วิธีการดำเนินเรื่อง หรือแก่นเรื่องที่ต้องการสื่อก็ได้

4. รับฟังคำวิจารณ์และนำมาปรับปรุง

การเป็นนักเขียนนิยายโดยเฉพาะที่ลงบนโลกออนไลน์ ก่อนอื่นต้องแยกให้ออกระหว่างคำวิจารณ์ที่ติเพื่อก่อ กับวิจารณ์เพื่อความสะใจ วิธีดูว่าเป็นแบบไหนคือ ถ้าติเพื่อก่อ มักจะยกข้อบกพร่องขึ้นมาและแนะนำว่าควรแก้ไขอย่างไร ขณะที่การวิจารณ์เพื่อความสะใจ มักจะเป็นการแสดงความเห็นเชิงลบอย่างเดียว เช่น ไม่ชอบ ไม่สนุก ไม่ได้เรื่อง และไม่มีการแนะนำอะไรมาเลย ซึ่งเป็นเพียงความเห็นและรสนิยมของคนเพียงคนหนึ่งเท่านั้น เราสามารถรับฟังได้แต่ก็ควรรับแต่พอดี เพราะไม่อย่างนั้นอาจท้อและหมดกำลังใจได้

5. อาจไม่ประสบความสำเร็จตั้งแต่เรื่องแรกๆ

แน่นอนว่าเมื่อเขียนนิยายเรื่องแรกจบ นักเขียนย่อมมีความคาดหวังว่ามันจะประสบความสำเร็จ ซึ่งถ้าประสบความสำเร็จก็ถือเป็นการเริ่มต้นที่ดี แต่ถ้าไม่ แปลว่าเรายังต้องฝึกปรือฝีมืออีก เพราะการเขียนนิยายถือเป็นสิ่งที่ต้องเก็บประสบการณ์ ไม่ว่าจะเรื่องสำนวน การสร้างปมเรื่อง ตัวละครต่างๆ ดังนั้นถ้ายังไม่ประสบความสำเร็จต้องพิจารณาว่าอะไรเป็นข้อดีและข้อด้อย จากนั้นพัฒนาและปรับปรุงฝีมืออยู่เสมอ

6. ตรวจต้นฉบับให้เรียบร้อยก่อนส่งสำนักพิมพ์

สำหรับการส่งต้นฉบับ เราควรจัดหน้านิยายให้เรียบร้อย ใช้ฟอนท์มาตรฐานที่อ่านง่าย เช่น Cordia New หรือ Browallia New และมีขนาดที่เท่ากันสม่ำเสมอ ยกเว้นว่าอยากเน้นตรงชื่อของบท ถ้าต้องการเน้นบางประโยคควรใส่ตัวหนาหรือตัวเอียง ไม่ควรใช้สีเป็นการเน้น และควรอ่านตรวจทานคำผิดก่อนส่ง เพราะบ่งบอกถึงความใส่ใจนั่นเอง