อยากรู้ไหมทำไมเราต้องเรียนรู้การเขียนรายงาน

หากไม่มีการเขียนรายงานจะทำให้การพิมท์แต่ละที่นั้นไม่เหมือนกันและจะแตกต่างสะจนดูแล้ว งง ไปหมดแอบบอกคือ ในปัจจุบันที่มีการดรียนรู้การเขียนรายงานแล้ว ก็ยังพิมท์วรรคหรือเว้นหน้าไม่เหมือนกันอยู่ แต่นั้นแหละว่าทำไมเราถึงต้องรู้ ส่วนประกอบตอนต้น เป็นส่วนประกอบที่อยู่ตอนต้นเล่มของรายงานก่อนถึงเนื้อเรื่องประกอบด้วยส่วนต่างๆ ดังนี้ 1. ปกนอก (Cover หรือ Binding)​ คือส่วนที่เป็นปกหุ้มรายงานประกอบด้วยปกหน้า สัน และปกหลัง ควรเป็นกระดาษแข็งพอ สมควรสีสันเหมาะสมกับเนื้อหา หรืออาจใช้ปกของแต่ละสถาบันการศึกษาซึ่งได้จัดทาสาเร็จไว้แล้วก็ได้ อาจมีภาพหรือไม่ก็ได้ถ้ามี ภาพควรให้สอดคล้องกับเนื้อเรื่อง การจัดวางรูปแบบควรจัดให้สวยงามเหมาะสม ปัจจุบันการพิมพ์ด้วยคอมพิวเตอร์ทาให้สามารถ ออกแบบปกให้สวยงามได้อย่างสะดวกง่ายดาย ข้อความที่ปรากฏบนปกนอก ประกอบด้วย 1.1 ชื่อเรื่องของรายงาน อยู่ห่างจากขอบบนของหน้ากระดาษลงมาประมาณ 1.5 – 2 นิ้ว และควรกะให้อยู่กึ่งกลาง พอดี (ไม่มีคาว่ารายงานเรื่อง) 1.2 ชื่อผู้เขียนรายงาน ให้อยู่ตรงส่วนกลางของหน้ากระดาษ เขียนหรือพิมพ์ชื่อและนามสกุลของผู้เขียนรายงาน ในกรณีที่รายงานนั้นมีผู้เขียนหลายคนให้ใส่ชื่อทุกคนโดยจัดเรียงตามลาดับตัวอักษร 1.3 ส่วนล่างของหน้าปก ประกอบด้วยข้อความตามลาดับ ดังนี้ 1.3.1 ชื่อของรายวิชาที่กาหนดให้เขียนรายงาน 1.3.2 ระดับชั้น 1.3.3 ชื่อของสถาบันการศึกษา 1.3.4 ภาคการศึกษา ปีการศึกษาที่ทารายงาน บรรทัดล่างสุดของส่วนล่างปกควรห่างจากขอบล่าง 1.5 – 2 นิ้ว บทนิพนธ์ของแต่ละมหาวิทยาลัยอาจแตกต่างกันบ้าง ในราย ละเอียดตามที่สถาบันกาหนด 2. หน้าปกใน (Title Page)​ อยู่ต่อจากปกนอกและมีข้อความเช่นเดียวกับปกนอก ชื่อเรื่องของรายงานพิมพ์อยู่ตรงกึ่งกลางของหน้า กระดาษ โดยให้ห่างจากขอบบนประมาณ 2 นิ้ว และห่างจากขอบกระดาษซ้ายและขวาเท่าๆ กันถ้าชื่อเรื่องยาวแบ่งเป็นสอง-สาม บรรทัดตามความเหมาะสม ชื่อผู้เขียนรายงานโดยทั่วไปเขียนเฉพาะชื่อและนามสกุลไม่ต้องเขียนคานาหน้านาม เช่น […]

ทำความรู้จักอาชีพนักเขียนนิยาย

อาชีพนักเขียนอาจจะเป็นงานหลักหรืองานยามว่างก็ได้เพราะงานเขียนเป็นงานที่ต้องใช้จินตการค่อนข้างสูงเลยที่เดียวและเป็นคนที่ชื่นชอบการเขียน เขียนในทุกๆสิ่งที่เรานึกขึ้น เขียนทุกๆอย่างที่เราเห็นและใช้มันให้สามารถประกอบขึ้นเป็นเรื่องราวที่เราต้องการเขียนได้ซึ่งปัจจุบันเส้นทางสู่การเป็นนักเขียนนิยายนั้นไม่ยาก เพราะมีแพลตฟอร์มในการเผยแพร่มากมาย หากเข้าตาสำนักพิมพ์ก็อาจได้รับการติดต่อเพื่อตีพิมพ์ หรือถ้ามีฐานแฟนคลับมากพอจะตีพิมพ์เองก็ไม่ยาก 1. เว็บไซต์และแอพพลิเคชั่นลงนิยาย เดิมเว็บไซต์ลงนิยายที่ได้รับความนิยมคือ Dek-D.com เนื่องจากเป็นเว็บไซต์ที่มีการจัดหน้าให้เหมาะสมต่อการลงนิยายโดยเฉพาะ ปัจจุบันมีเว็บไซต์สำหรับลงนิยายเพิ่มขึ้นมากมาย เช่น ธัญวลัย, Readawrite, Fictionlog ซึ่งมีทั้งรูปแบบเว็บไซต์และแอพพลิเคชั่น ทำให้สะดวกสบายต่อการใช้งาน ทั้งเขียนและอ่านได้ทุกที่ทุกเวลา นอกจากนี้ยังมีแอพพลิเคชั่นสำหรับนิยายรูปแบบใหม่ที่น่าสนใจอย่างจอยลดา คือเป็นนิยายแชทโดยเฉพาะ วิธีการอ่านต้องกดที่หน้าจอแล้วจะมีกล่องข้อความขึ้นมาทีละกล่อง เป็นการพูดคุยและโต้ตอบภายในแชท ซึ่งถือเป็นการเล่าเรื่องที่ท้าทายเพราะต้องเล่าผ่านการพูดคุยในแชทเท่านั้น 2. E-book E-book หรือ หนังสืออิเล็กทรอนิกส์เป็นอีกช่องทางในการเผยแพร่นิยาย โดยนิยมจัดทำเป็น E-book แบบออนไลน์มากกว่าออฟไลน์ เพราะระบบปฏิบัติการในอุปกรณ์อาจมีการเปลี่ยนแปลงที่รวดเร็ว ทำให้อาจเปิด E-book ไม่ได้ ดังนั้น E-book แบบออนไลน์จึงเป็นที่นิยมกว่า ซึ่งเว็บไซต์ในการขาย E-book เช่น mebmarket.com 3. สำนักพิมพ์ สำหรับคนที่อยากส่งนิยายไปที่สำนักพิมพ์โดยตรง ปัจจุบันสามารถส่งต้นฉบับไปให้พิจารณาได้ผ่านอีเมล แต่บางสำนักพิมพ์อาจยังรับต้นฉบับทางไปรษณีย์อยู่ก็ต้องศึกษาข้อมูลให้ดีก่อนส่ง ผลการพิจารณาอาจช้าหรือเร็วขึ้นอยู่กับสำนักพิมพ์ ส่วนเงินตอบแทนมักได้เป็นเงินค่าต้นฉบับ และเปอร์เซ็นต์จากจำนวนเล่มที่ขายได้ อาจแตกต่างกันไปตามสำนักพิมพ์แต่ละแห่ง 4. บล็อกส่วนตัว บล็อกส่วนตัวเป็นอีกแพลตฟอร์มที่สามารถลงนิยายได้ แต่ปัจจุบันไม่ค่อยนิยมนักเพราะเข้าถึงกลุ่มผู้อ่านได้น้อยกว่าแบบอื่นๆ ยกเว้นเป็นผู้ที่มีฐานแฟนคลับอยู่แล้ว หรือถ้ามีผู้ติดตามจำนวนมากบนโลกออนไลน์ก็อาจลงนิยายในบล็อกส่วนตัวและแชร์ในแอคเคาท์โซเชียลมีเดียของตนเองก็ได้ 1. ใส่ใจพล็อตให้มาก สิ่งนี้ถือเป็นหัวใจของการเขียนนิยาย เพราะพล็อตหรือการวางแผนเนื้อเรื่องทั้งหมดเป็นตัวกำหนดว่านิยายเรื่องนี้ต้องการสื่ออะไร ปมขัดแย้งคืออะไร เนื้อเรื่องจะดำเนินอย่างไร […]

คัมภีร์ฟรีแลนซ์ เจาะลึกอาชีพนักเขียนฟรีแลนซ์ 4.0

เพื่อนๆ หลายคนคงคุ้นหูกับคำว่า “อาชีพนักเขียนฟรีแลนซ์” ซึ่งกำลังได้รับความนิยมมากขึ้น เพราะเป็นโอกาสในการสร้างรายได้ที่เปิดกว้าง และ การมองหางานก็ไม่ได้ยากเหมือนแต่ก่อน ที่สำคัญ ไม่ว่าคุณจะทำงานประจำอะไร อยู่ในช่วงวัยไหน สนใจเรื่องอะไร ก็สามารถเป็นนักเขียนฟรีแลนซ์ได้ด้วย แม้ว่านักเขียนฟรีแลนซ์ ยุค 4.0 มีความแตกต่างจากนักเขียนฟรีแลนซ์สมัยก่อนอยู่บ้าง เพราะไม่ใช่งานเขียน “ยุคเข็มฉีดยา” ที่เป็นการส่งสารทางเดียว แต่เน้นให้ความสำคัญเรื่องการปฏิสัมพันธ์กับผู้อ่านมากขึ้น และเป็นยุคที่คุณสามารถมีผลงานเป็นของตัวเองได้แบบไม่ต้องง้อใคร (ยกเว้นคนอ่าน) แค่ฟังก็สนใจแล้วล่ะสิ ดังนั้นเรามาทำความรู้จักอาชีพนักเขียนฟรีแลนซ์ ยุค 4.0 อาชีพนักเขียนฟรีแลนซ์ 4.0 คืออะไร ถ้าจะว่ากันง่ายๆ นักเขียนฟรีแลนซ์ ก็คือคนทั่วๆไปที่มีทักษะความสามารถในการผลิตงานเนื้อหา แล้วส่งมอบให้กับผู้จ้าง หรือ สร้างเครือข่ายสังคมของตนเองขึ้นมาจนมีผู้ติดตามมากมาย ซึ่งในภาพใหญ่ๆ เราสามารถแบ่งนักเขียนฟรีแลนซ์ 4.0 ได้เป็น 3 กลุ่มหลักๆ จากประสบการณ์การทำงานของผม 1. นักเขียนฟรีแลนซ์สายรับเป็นจ๊อบๆ ถ้าเรียกกันภาษาทั่วไปก็ รับงานแบบมือปืนด้วยการรับโจทย์มาจากลูกค้าซึ่งก็มีหลากหลาย ตั้งแต่งานเขียน Copy โฆษณาสินค้าสั้นๆ ไปจนถึงงานเขียนบทความยาวๆ (เชื่อเถอะ … วัตถุประสงค์ตอนที่ได้รับงานมามีหลากหลายจริงๆนะ) 2. นักเขียนฟรีแลนซ์สายกลยุทธ์ […]

7 วิธีการเขียนบทความออนไลน์แบบไล่คนอ่านไปไกลๆ

ถ้าบทความของคุณดี คนก็จะมาอ่านบทความของคุณเยอะ นั่นก็จะทำให้คุณเปลืองค่า Hosting ถ้าบทความของคุณดี คนก็จะมาพูดคุยกับคุณมากมาย นั่นก็จะทำให้คุณต้องเสียเวลาไปตอบ ถ้าบทความของคุณดี คนก็จะอยากซื้อของที่คุณขาย นั่นก็จะทำให้คุณต้องเสียเวลาไปส่งของ และคอยบริการลูกค้า ทั้งเปลืองเงิน เสียเวลา และเสียสุขภาพจิต เบื่อรึยังกับการทำบทความดีๆ? ถ้าเบื่อแล้ว วันนี้ผมมีวิธีเขียนบทความบนโลกออนไลน์แบบไล่คนอ่านไปไกลๆ มานำเสนอครับ รับรองว่าถ้าคุณอ่านบทความนี้จบ แล้วทำตามทั้ง 7 วิธี คนจะหนีหาย ไม่มากวนใจคุณอีกเลย แต่ถ้าคุณไม่เชื่อผม กลับทำตรงกับข้ามทั้ง 7 วิธีนี้ คุณอาจจะต้องเสียเงิน และเสียเวลาเพื่อรองรับคนอ่าน และลูกค้าที่เข้ามาอย่างไม่ขาดสาย ขึ้นอยู่กับคุณแล้วล่ะว่าจะเลือกแบบไหน ทางเลือกเป็นของคุณ : )Shifu แนะนำถ้าคุณอยากเรียนรู้เรื่องการเขียนบนโลกดิจิทัลเพิ่มเติม ผมแนะนำให้คุณไปดูคอร์สเรียน Becoming A Great Digital Writer ของ Content Shifu Academy ครับ : ) 7 วิธีการเขียนบทความออนไลน์แบบไล่คนอ่าน 1. ตั้งชื่อบทความห่วยๆ David Ogilvy เคยกล่าวไว้ว่า “On […]

7 ข้อห้ามทำ เมื่อรับเขียนบทความ

สมัยนี้การเขียนบทความได้รับความนิยมกันมาก เพียงแค่มีคอมพิวเตอร์ 1 เครื่องก็สามารถเป็นนักเขียนได้แล้ว ไม่เหมือนเมื่อก่อนที่ส่วนใหญ่ ผู้จ้างจะรู้จักนักเขียนผ่านสื่อ สิ่งพิมพ์เท่านั้น แต่ทว่า…ทุกอย่างก็เหมือนดาบสองคม เพราะด้วยความง่ายและสะดวกสบายของการมีเทคโนโลยี ทำให้เกิดนักเขียนขึ้นมามากมาย ทั้งนักเขียนที่มีคุณภาพและนักเขียนสมัครเล่นที่บางครั้งก็ทำให้วงการนี้เสื่อมเสียชื่อเสียงอยู่ไม่น้อย วันนี้ ในฐานะรุ่นพี่จึงขอพามาดู 7 ข้อห้ามทำ เมื่อรับเขียนบทความ มาฝากนักเขียนมือใหม่ทุกท่านกัน ห้ามใช้ความคิดสร้างสรรค์เพียงอย่างเดียว แม้การใช้ความคิดสร้างสรรค์มาเขียนลงในบทความจะเป็นสิ่งที่ดี เพราะทำให้บทความมีความสดใหม่และน่าค้นหา อย่างไรก็ตาม มีบทความบางประเภทที่นักเขียนไม่สามารถใช้เพียงความคิดสร้างสรรค์ได้ นั่นคือ บทความวิชาการ เพราะบทความประเภทนี้ จำเป็นต้องใช้แหล่งข้อมูลที่น่าเชื่อถือและถูกต้อง นำมาเขียนลงในบทความ เพื่อให้ดูมีน้ำหนักและสามารถนำไปเผยแพร่ได้ โดยที่ไม่ส่งผลเสียต่อผู้อ่านที่จะนำไปใช้ต่อ แต่ที่สำคัญคือ อย่าลืมให้เครดิตของแหล่งข้อมูลที่นำมาด้วย นั่นจึงเป็นการเขียนบทความวิชาการที่ดี ข้อแนะนำ การเขียนบทความวิชาการ มีความยากและใช้คำศัพท์ที่เป็นทางการ ดังนั้น ก่อนนักเขียนจะรับงาน ควรไตร่ตรองให้ดีก่อนว่า บทความประเภทนี้ เรามีความถนัดหรือไม่ เพราะต้องหาข้อมูลและนำมาวิเคราะห์อย่างละเอียดรอบคอบ ซึ่งซับซ้อนกว่าบทความทั่วไปมาก จึงทำให้งานเขียนประเภทนี้มีราคาแพงและหานักเขียนมารับงานได้ยากกว่างานเขียนแบบอื่นๆ ห้ามใช้ประโยคฟุ่มเฟือยและไร้ความหมาย การเขียนบทความที่มีคุณภาพ ควรหลีกเลี่ยงการใช้ประโยคที่ดูไร้ความหมายหรือไม่เกี่ยวข้องกับเนื้อหาในบทความ เพราะจะทำให้ผู้อ่านงงและรู้สึกเบื่อหน่ายเอาได้ โดยเฉพาะบทนำ ซึ่งเป็นพารากราฟแรกที่ผู้อ่านทุกคนจะเห็น การเกริ่นบทนำ ควรบ่งบอกถึงเนื้อหาคร่าวๆที่อยู่ในบทความพร้อมปิดท้ายด้วยประโยคที่เชิญชวนให้เข้ามาอ่าน เรียกง่ายๆก็เหมือน สะพานสู่เนื้อหาถัดไป ดังนั้น หากมีบทนำที่ดี ก็เหมือนมีชัยไปกว่าครึ่งแล้ว […]

5 เทคนิคการรับเขียนบทความสุขภาพ 2017

ถ้าคุณติดตามข่าวสารในวงการธุรกิจเมื่อสองสามเดือนที่ผ่านมา ผมเชื่อว่าคุณจะต้องได้รับข่าวสารสำคัญ นั่นคือ การขายพื้นที่บางส่วนของโรงแรมปาร์คนายเลิศ ให้กับ ดร.ประเสริฐ ปราสาททองโอสถ เศรษฐีหุ้นใหญ่ของเมืองไทย และผู้ถือหุ้นโรงพยาบาลมากที่สุด ซึ่งตรงข่าวนี้เอง ทำให้ผมสามารถวิเคราะห์ได้ทันทีว่า ในปี 2017 เป็นต้นไป ประเทศไทยของเรา กำลังก้าวเข้าสู่การเป็น Hub Healthy of Asia อย่างแน่นอนครับ ซึ่งสิ่งที่ตามมาคือโอกาสในการพัฒนาและผลิต content ที่น่าสนใจมากมายเกี่ยวกับเรื่องของบทความสุขภาพ ดังนั้นสำหรับนักเขียนบทความ ตรงนี้ถือเป็นโอกาสครั้งสำคัญ ที่คุณจะเปิดบริการ รับเขียนบทความสุขภาพขึ้นมา เพื่อให้บริการกับกลุ่มธุรกิจเกี่ยวกับสุขภาพและความงามครับ แต่สำหรับใครที่สนใจ และไม่รู้ว่าควรวางกรอบในการรับเขียนบทความสุขภาพอย่างไร ผมมีแนวทางอย่างง่ายๆมาฝากกันดังนี้ครับ 1.ค้นหาแหล่งข้อมูลประกอบการรับเขียนบทความสุขภาพ สุขภาพเป็นเรื่องที่สำคัญ นักเขียนบทความจะไม่สามารถเขียนบทความแบบมั่วๆขึ้นมาแล้วขายได้ แต่จะต้องเขียนบทความขึ้นมาบนฐานข้อมูลที่ถูกต้อง และมีการอ้างอิงงานวิจัยต่างๆ ดังนั้นฐานข้อมูลที่สำคัญประกอบการรับเขียนบทความสุขภาพ คือ ฐานข้อมูลวิทยานิพนธ์ หรือบทความวารสารสุขภาพในต่างประเทศครับ ตอนผมเป็นโรค svt ผมก็ได้ข้อมูลจากต่างประเทศนี่ล่ะครับในการดูแลสุขภาพของตนเอง ดังนั้นคุณก็หาข้อมูลสำคัญๆ จากแหล่งข้อมูลที่ผมแนะนำไปนี้ 2.กำหนดราคาให้พอเหมาะ เรื่องราคาเป็นสิ่งที่ตอบได้ยากทีเดียวในการเขียนบทความ โดยเฉพาะการรับเขียนบทความสุขภาพ แต่เพื่อให้เห็นเป็นกรอบในการรับเขียนบทความอย่างชัดเจน ผมขออ้างอิงเรทราคาตามนี้นะครับ ไม่เกิน 300 คำไทย ราคา 100 บาท […]

สอนเขียนบทความบนเว็บ

ทุกวันนี้คอนเทนต์ที่เราเจอกันในชีวิตประจำวันมีหลากหลายรูปแบบ ไม่ว่าจะเป็นวิดีโอ อินโฟกราฟิก หรืออย่างทุกวันนี้ที่ฮิตกันมาก ๆ เลยก็คือ Story แต่คำถามก็คือ คอนเทนต์แบบไหนเข้าถึงเราได้มากที่สุด จากประสบการณ์ของผู้เขียนที่ทำงานในสายการเขียนออนไลน์มาหลายปีบอกได้เลยว่า การเขียนหรือตัวอักษรนั้นสามารถถ่ายทอดเรื่องราวออกมาได้ไม่ได้น้อยไปกว่าวิดีโอหรือภาพเลย แม้การอ่านจะต้องแลกมากับการโฟกัสที่ตัวหนังสือ แต่การโฟกัสนั้นก็ทำให้สิ่งที่เราอยากถ่ายทอดซึ่งบอกได้เลยว่า งานเขียนสามารถเข้าถึงจุดที่ลึกที่สุดของคนอ่านได้ สำหรับวันนี้  เราจะมาแชร์เทคนิค และสอนการเขียนบทความกัน รวมถึงการเลือกประเด็นต่าง ๆ หลายคนมีเรื่องอยากเขียน แต่ไม่รู้ว่าจะเขียนยังไง หลายคนอยากเขียน แต่ไม่รู้ว่าจะเขียนยังไง ก่อนอื่น เราจะต้องเข้าใจก่อนว่าเราเขียนไปเพื่ออะไร งานเขียนทุกงานต้องมีวัตถุประสงค์ ถ้ายังไม่ชัดเจน อย่าทำ แน่นอนว่าการจะเขียนเรื่องอะไรซักเรื่อง หรือการเขียนบทความ มันไม่ได้มาจากอยู่ดี ๆ ก็คิดหัวข้อขึ้นมาแล้วเขียน แต่สิ่งแรกที่เราต้องเริ่มต้นก่อนก็คือการ หาวัตถุประสงค์ วัตถุประสงค์เราอาจจะเช่น เขียนเพื่อเล่าประสบการณ์ เขียนเพื่อให้ความรู้ เขียนเพื่อชักจูงหรือชี้นำให้คนอ่านทำตาม เขียนเพื่อขายของ ซึ่งทั้งหมดนี้เป็นเพียงแค่ขั้นต้นเท่านั้น วัตถุประสงค์ของเราจะต้องลงลึกไปมากกว่านั้น เพราะมันจะช่วยให้เราสามารถประเมินได้ว่า บทความของเราบรรลุวัตถุประสงค์จริงหรือเปล่า เช่น เพื่อให้คนอ่านสามารถอ่าน Google Analytic เป็น , เพื่อชวนคนให้มางานของบริษัท , เพื่อชวนคนให้มาวิ่งออกกำลังกาย หรือแม้กระทั่งการเขียนข่าว ก็มีวัตถุประสงค์เช่นกัน เช่น ทำให้คนอ่านรู้จักยาน InSight ที่ไปลงจอดบนดาวอังคาร เมื่อเรารู้วัตถุประสงค์แล้วสิ่งที่จะตามมาก็คือ วิธีการที่จะทำให้เราบรรลุวัตถุประสงค์นั้น Case study : บทความ รวมดาวที่ไกลและเหงากว่าดาวพลูโต เกิดขึ้นจากวัตถุประสงค์ว่า ผู้เขียนรู้สึกว่าคนยังไม่รู้จักดาวเคราะห์แคระดวงอื่น […]

เขียนบทความอย่างไรให้ติด SEO

การเขียนบทความที่ดี มีประโยชน์ แต่ไม่มีคนอ่านมันก็น่าเสียดายนะ แต่ถ้าเราเขียนบทความโดยใช้เกณฑ์ของ SEO ก็อาจจะช่วยให้เว็บติดหน้าแรกๆ บน Google ทำให้มีคนเข้าเว็บเพิ่มมากขึ้น วันนี้ก็เลยจะมาบอกเคล็ดลับว่าเขียนบทความหรือ Content อย่างไรให้ติด SEO วิธีการก็ไม่ยาก มีดังนี้ ทุกๆ บนความนั้นจะต้องมี Keywordถ้าคุณอยากให้คนเข้าชมเว็บของคุณ Keyword นี่แหละที่ช่วยให้เจอเว็บของคุณ ดังนั้นบทความที่ดีจะต้องมี Keyword อยู่ในชื่อเรื่อง, เนื้อเรื่อง, ALT Text และใน URL ด้วย อย่างเช่น Keyword: Long tail Keyowrd Keyword ต้องอย่าเยอะจนเกินไปเพื่อให้เว็บของคุณติด SEO Keyword ไม่ควรมีเยอะมากจนเกินไป ควรมีแค่ย่อหน้าละ 1-2 คำ ก็พอ หรือใช้คำที่มีความหมายที่คล้ายๆ กันกับ Keyword และอย่ามีเยอะ เดี๋ยว AI ของ Google จะมองว่าเป็นการสแปมนะจ๊ะ แต่ละย่อหน้าควรมีคำ 100-120 คำสำหรับผู้เขียนบทความแนะนำเลยว่า […]

5 เทคนิคการทำรายงาน

เคล็ดลับเด็ดๆ สำหรับชาวกัมบัตเตะแก๊งในวันนี้ เรามีเทคนิคการทำรายงานมาฝากน้องๆ กันจ้า รับรองว่าทำงานได้ชิลๆ สบายๆ หายเหนื่อย แถมเพิ่มโอกาสได้คะแนนเต็มอีกด้วย ไปดูกันว่า 5 เทคนิคที่จะทำให้รายงานของน้องๆ นักอ่าน และช่วยคว้าคะแนนเต็มจากคุณครูมาเสริมเกรดสวยๆ กันเล้ย 1. วางโครงเรื่องให้น่าสนใจ อย่างแรกน้องๆ ต้องรู้ก่อนเลยว่าโครงเรื่องสำคัญมากๆ สำหรับการทำรายงานเพราะเป็นแนวทางให้คนเขียนรู้ว่าต้องเขียนอะไรต่อไป มีลำดับขั้นตอนที่ต่อเนื่อง เพื่อให้รายงานของเรามีเนื้อหาครอบคลุม ไม่หลุดประเด็นสำคัญ ดังนั้น ควรเขียนโครงเรื่องรายงานก่อนเป็นอันดับแรก 2. รูปแบบเด่น เน้นเรียบ แต่หรู รูปเล่มรายงานที่น่าสนใจไม่จำเป็นต้องลงทุนซื้อกระดาษแพงๆ ลายการ์ตูน กลิ่นหอมฟุ้งไปถึงข้างบ้านหรือประดับด้วยสติ๊กเกอร์ให้ดูฟรุ้งฟริ้ง แต่การทำรายงานที่ถูกต้องควรเน้นความเรียบร้อย สะอาด และเป็นระเบียบ ดังนั้นใช้แค่กระดาษแข็งสีอ่อนก็ทำให้รายงานดูดีแล้วล่ะ เพราะสิ่งคุณครูตัดสินคะแนน อยู่ที่เนื้อหายในเล่มไม่ใช่แค่หน้าปกเท่านั้นจ้า 3. ภาษาดี ไม่มีเขียนคำผิด ไม่มีคำวิบัติ ภาษาที่ใช้ในรายงานของน้องๆ ควรเป็นภาษาในระดับทางการเหมือนกับหนังสือที่เราใช้เรียนเลยค่ะ จะมาใช้ภาษาเหมือนเขียนไดอารี่หรือจดเลคเชอร์ไม่ได้นะ! เพราะจะทำให้รายงานไม่น่าเชื่อถือ และดูไม่น่าอ่าน นอกจากนี้ควรตรวจเช็คคำสะกดผิดให้ดี เพราะคุณครูเจอคำผิด อาจมีหักคะแนนก็ได้นะ 4. สรุปให้คนอ่านเข้าใจเนื้อหาทั้งหมด อีกหนึ่งส่วนสำคัญของการทำรายงานเลยก็คือ “บทสรุป” ที่อยู่ตอนท้ายจะเป็นส่วนที่ขมวดทุกอย่างในรายงานให้เหลือใน 1 […]

“แปลงไฟล์เสียงเป็นข้อความ” ระบบใหม่จาก Microsoft ประหยัดเวลาในการพิมพ์มากมาย

บอกเลยว่าเป็นข่าวดีมากๆ สำหรับคนที่อยากประหยัดเวลาในการพิมพ์งานในโปรแกรม Microsoft Word เป็นอย่างมาก เพราะว่าล่าสุดทาง Microsoft เขาได้เปิดตัวฟังก์ชั่นใหม่ของทาง Microsoft Office ซึ่งนั่นก็คือ การแปลงไฟล์เสียงเป็นข้อความนั่นเอง วิธีทำเรียกว่าง่ายมาก แค่อัปโหลดเสียงไฟล์ที่ต้องการเข้าสู่บัญชี OneDrive ของเรา และหลังจากนั้นไฟล์เสียงก็จะถูกแปลงด้วยระบบ Azure Speech Services และส่งข้อมูลให้กับเราได้โดยตรง และที่เยี่ยมกว่านั้น ระบบ Azure Speech Services สามารถแยกเสียงผู้พูดได้ ไม่ทำให้เสียงพูดปนกัน และทำให้เสียเวลาแยกข้อความอีกด้วย โดยฟังก์ชั่นแปลงเสียงเป็นข้อความนั้นจะเริ่มเปิดใช้งานช่วงปี 2020 เป็นต้นไป ผ่านทางออนไลน์ Word for Web ก่อน และจะเปิดใช้งานในเวอร์ชันเดสก์ทอปและมือถือต่อไปในอนาคต “แปลงไฟล์เสียงเป็นข้อความ” ระบบใหม่จาก Microsoft ประหยัดเวลาในการพิมพ์มากมาย การเขียนรายงาน วิธีการเขียนรายงาน