หนังสือน่าอ่าน ชีวิตดีขึ้นทุกด้านด้วยการจัดบ้านแค่ครั้งเดียว

  ลองมองไปรอบๆ บ้านของคุณ คุณเห็นโอกาสที่จะมีชีวิตดีขึ้นเป็น 10 เท่าไหม? คนเราใช้เวลาส่วนใหญ่ในชีวิตอยู่ที่บ้าน แต่หลายคนกลับมองว่ามันเป็นแค่ที่ซุกหัวนอน และมองข้าวของภายในบ้านเป็นแค่ของตกแต่งหรือเครื่องอำนวยความสะดวกเท่านั้น หารู้ไม่ว่าข้าวของเหล่านั้นมีพลังบางอย่างที่สามารถเปลี่ยนชีวิตให้ดีขึ้นได้อย่างน่าอัศจรรย์ หนังสือ “ชีวิตดีขึ้นทุกๆ ด้าน ด้วยการจัดบ้านแค่ครั้งเดียว” เล่มนี้ จะมาแนะนำเคล็ดลับการจัดบ้านที่เรียบง่าย ทรงพลัง และมีหลักจิตวิทยารองรับ ซึ่งไม่เพียงช่วยให้บ้านของคุณหายรกแบบถาวรหลังจากลงมือจัดบ้านแค่ครั้งเดียว แต่ยังช่วยให้ชีวิตของคุณดีขึ้นในทุกๆ ด้าน ตั้งแต่เรื่องการเงิน การเรียน ความสัมพันธ์ ไปจนถึงสุขภาพ แล้วคุณจะพบว่า แค่จัดวางข้าวของในบ้านให้เข้าที่ สิ่งดีๆ ก็จะวิ่งเข้ามาในชีวิตคุณ!

หนังสือน่าอ่าน – การเดินทางของพระจันทร์

ข้อความหนึ่งที่ชื่นชอบ ในหนังสือนั้นมีหลายหลากมากและในการอ่านนั้นมีข้อคิดหรือหลักการใช้ให้เรานั้นนำหลักนั้นไปใช้ได้อีกด้วยบางครั้งเราก็ฝันเห็นดวงดาว ทั้ง ๆ ที่ เราอยู่ใต้ต้นไม้ตอนกลางวัน สัมผัสได้ว่าผู้แต่งเป็นคนละมุนละไม อ่อนโยน และเป็นผู้ชายอบอุ่น มีอารมณ์กวีอยู่มากพอควรภายในตัว โดยปกติแล้วคนที่หยิบยกเอาเรื่องท้องฟ้า เรื่องดวงดาวมาพูดมักเป็นคนช่างจินตนาการ แต่ประโยคดังกล่าวก็แฝงความเป็นจริงไว้ เหมือนคอยย้ำเตือนเราว่าสิ่งเหล่านั้นเกิดขึ้นจากการฝันไปเท่านั้น คำว่า ศศิ แปลได้หลายความหมาย แต่ที่เจ้าตัวชอบที่สุดคงจะเป็นความหมายที่ว่า ‘พระจันทร์’ ซึ่งหนังสือเล่มนี้ก็เป็นการเดินทางของพระจันทร์จริง ๆ เพราะภายในเล่มเป็นเหมือนบันทึกเรื่องราวการเดินทางไปท่องเที่ยวยังสถานที่ต่าง ๆ ซึ่งโดยปกติแล้ว คนเรามักจะจดบันทึกการเดินทางด้วยคำพูด แต่ว่านี่ต่างออกไป เพราะเป็นการจดบันทึกเรื่องราวด้วยภาพสีน้ำ ที่ทั้งสดใส สวยงาม และเต็มไปด้วยความหมาย

หนังสือที่ควรค่าแก่การอ่าน Honjok ความสุขจากการอยู่กับตัวเอง

ความเหงาอาจจะเป็นสิ่งที่น่ากลัวสำหรับใครบ้างคน เป็นสิ่งที่น่าเจ็บปวด แต่ความสันโดษนั้นเป็นเรื่องที่น่ายินดี เนื่องจากความเหงาเกิดขึ้นเพราะการขาดสัมพันธภาพ ไม่ใช่การขาดผู้คน ในทางตรงกันข้ามแม้เราจะอยู่โดดเดี่ยวเพียงลำพัง แต่หากรู้สึกถึงแรงสนับสนุนจากกลุ่มเพื่อนหรือคนรอบกาย เราย่อมไม่รู้สึกเจ็บปวด การที่เราเลือกที่จะใช้ชีวิตเพียง ‘คนเดียว’ อย่างสันโดษ ไม่ได้หมายความว่าเราผิดแปลกไปจากสังคม แต่กลับเป็นสังคมต่างหากที่น่าตั้งคำถามว่า แล้วการที่ใช้ชีวิตเพียงลำพังนั้นเป็นสิ่งที่แย่ตรงไหน? จากสถิติของประชากรโลกได้บอกไว้ว่า ขนาดของครอบครัวมีขนาดเล็กลงเรื่อยๆ จากครอบครัวใหญ่ที่มีจำนวน 5-6 คน กลายเป็นครอบครัวเล็กที่มีสมาชิกเพียงแค่ 2-3 คน และล่าสุด เทรนด์การใช้ชีวิตแบบ ‘ฮนจก’ กำลังจะบอกเราว่า การใช้ชีวิตเพียงตัวคนเดียวก็ไม่ใช่เรื่องที่ผิดแปลกอีกต่อไป

ไม่อายที่จะนำเสนอหน้าชั้นเรียน ต้องเตรียมตัวดังนี้

สำหรับนักเรียน นักศึกษาทหลายท่านคงมีความตื่นเต้นเป็นอย่างมากเมื่อ คุณครู หรืออาจารย์นั้นสั่งงานและให้ออกมาพรีเซนต์หน้าของ แต่ถ้าพูดถึงเราเรียนรู้วิธีการพรีเซนต์งานหน้าของก็คงไม่ค่อยตื่นเต้นเท่าไร งันวันนี้เรามาดูกันดีกว่า ว่าจะมีวิธีใดบ้าง 1.วางแผนการนำเสนอ เขียนกระดาษโน้ตหรือกระดาษดัชนี. เขียนความคิดหลักๆ ลงในกระดาษดัชนี ไม่ต้องเขียนรายละเอียด ไม่อย่างนั้นจะต้องติดอยู่กับชะตากรรมของการก้มมองแล้วจ้องไปที่กระดาษโน้ตขณะอ่านมันไปด้วย ใส่ข้อเท็จจริงตลกๆ คำถามที่จะให้ผู้คนมีส่วนร่วม และกิจกรรมที่เชื้อเชิญให้ผู้คนมีส่วนร่วมลงในกระดาษเพื่อจะเอามาแบ่งปันหน้าชั้นเรียน เขียนคำหลักหรือความคิดหลัก ถ้าคุณจำเป็นต้องดูกระดาษดัชนี คุณก็จะแค่มองลงไปปราดเดียวเพื่อข้อมูล ไม่ใช่อ่านทุกคำที่เขียน ส่วนมากแล้ว การใส่ข้อมูลลงไปในกระดาษดัชนีจะช่วยให้คุณจำข้อมูลได้ ต่อให้คุณไม่จำเป็นต้องมีกระดาษโน้ตก็ได้ แต่มันก็ปลอดภัยกว่าถ้าจะมีไว้ เผื่อคุณลืมว่าจะต้องพูดอะไร 2.ฝึกซ้อม.  ในการนำเสนอส่วนมาก มันชัดเจนเลยว่าใครซ้อมมาหรือใครไม่ได้ซ้อม ฝึกกับสิ่งที่คุณจะพูดและจะพูดมันยังไง คุณจะมั่นใจมากขึ้นเมื่อต้องออกไปนำเสนอจริง และคุณจะลดการพูดคำว่า “แบบ” และ “เอ่อ” ได้มาก ไม่เหมือนคนที่พยายามจะออกไป “ขายผ้าเอาหน้ารอด” เวลาจะซ้อมนำเสนองานให้ซ้อมต่อหน้าคนในครอบครัว เพื่อน หรือหน้ากระจก อาจจะดีกว่าถ้าซ้อมต่อหน้าเพื่อนที่รู้จักกันดี เพราะจะช่วยให้คุณได้จำลองความรู้สึกตอนที่อยู่หน้าชั้นเรียน ขอผลตอบรับจากเพื่อนเมื่อนำเสนอเสร็จแล้ว การนำเสนอยาวไปหรือเปล่า การสบตากับผู้ฟังของคุณเป็นอย่างไรบ้าง คุณตะกุกตะกักบ้างไหม คุณอธิบายทุกประเด็นได้กระจ่างหรือเปล่า ทำการวิจารณ์การซ้อมนำเสนองาน ท้าทายตัวเองเพื่อให้ทำในสิ่งที่คุณคิดว่าจะพัฒนามันต่อไปได้ระหว่างการนำเสนอจริง เมื่อถึงเวลาที่ต้องออกไปเจอของจริง คุณจะรู้สึกมั่นใจว่าคุณได้พยายามมากเป็นพิเศษต่อสิ่งที่ยากที่สุดสำหรับตนเองแล้ว 3.หาข้อมูล.  เพื่อที่จะมีการนำเสนอที่ผู้คนสนใจ คุณจำเป็นจะต้องรู้ว่าตัวเองกำลังพูดถึงอะไรอยู่ คุณไม่จำเป็นต้องเป็นผู้เชี่ยวชาญ หรืออ่านหนังสือทุกเล่มหรือเว็บไซต์ทุกเว็บที่เขียนเกี่ยวกับหัวข้อของคุณ […]

แนะนำหนังสือน่าอ่าน ความทรงจำของวันพรุ่งนี้

การที่เราได้อ่านหนังสือที่อ่านแล้วได้ประโยนช์และสามารถปรับใช้ในชีวิตประจำวันได้มันก็คุ้มค่าที่เราเสียเวลามันและเมื่อหนังสือที่เราอ่านมันดีขนาดนี้เราก็จะเกิดการรู้คุณค่าของหนังสือให้เราเก็บรักษามันให้ได้ดีที่สุดนั้น และหนังสือเล่มนี้เป็นเรื่องราวที่เล่า เรื่องราวของชายหนุ่มวัย 50 ปี ที่ทุ่มเทให้กับงานมากกว่าครอบครัว แต่จะเกิดอะไรขึ้นเมื่อวันหนึ่งเขาพบว่าตัวเองป่วยเป็นโรคร้าย? ที่เราอยากแนะนำหนังสือน่าอ่านเล่มนี้ เพราะนักแสดงชื่อดังอย่าง วาตานาเบะ เคน อ่านแล้วรู้สึกประทับใจจนต้องขอแสดงนำในภาพยนตร์ หนังสือเล่มนี้ถ่ายทอดเรื่องราวของผู้ป่วยอัลไซเมอร์และความสัมพันธ์กับคนรอบข้างออกมาได้น่าสนใจและลึกซึ้งกินใจ ใครที่ชื่นชอบเรื่องราวอบอุ่น เจ็บปวด แต่ช่วยให้เรามองเห็นความจริงที่เรียบง่ายของชีวิต ต้องลองอ่านค่ะ

มูลนิธิอิออนประเทศไทย เป็นตัวแทนมอบหนังสือให้แก่เยาวชนไทย

โดยคุณสุพร วัธนเวคิน ประธานกรรมการมูลนิธิอิออนประเทศไทย ร่วมกับ บริษัท ดาต้าโปรดักส์ ทอปปัง ฟอร์ม จำกัด บริษัท เดนท์สุ (ประเทศไทย) จำกัด ธนาคารกสิกรไทย จำกัด (มหาชน) บริษัท เมโทรซิสเต็มส์คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) และผู้สนับสนุนอื่นรวมกว่า 24 บริษัท ร่วมส่งมอบโปรแกรมห้องสมุดออนไลน์ ที่รวบรวม E-book จากสำนักพิมพ์ชั้นนำกว่า 600 เล่ม พร้อมชุดคอมพิวเตอร์ ภายใต้โครงการ GIVE A FUTURE GIVE A BOOK, เป็นของขวัญปีใหม่ในรูปแบบนิวนอร์มัลให้แก่ 5 โรงเรียนในทุกภูมิภาค ได้แก่ โรงเรียนกาญจนาภิเษกวิทยาลัย จังหวัดนครปฐม โรงเรียนรัตนราษฎร์บำรุง จังหวัดราชบุรี โรงเรียนรังษีวิทยา จังหวัดเชียงใหม่ โรงเรียนสตรีราชินูทิศ จังหวัดอุดรธานี และโรงเรียนนราธิวาส จังหวัดนราธิวาส เป็นการต่อยอดปณิธานของมูลนิธิอิออนประเทศไทยในการพัฒนาและส่งเสริมให้เยาวชนไทยเข้าถึงการศึกษาที่มีคุณภาพ ผ่านสื่อการเรียนรู้ที่ทันสมัย ที่นอกจากจะเป็นการสร้างเสริมนิสัยรักการอ่านแล้ว ยังเป็นการเตรียมความพร้อมให้เยาวชนไทยได้เข้าถึงสื่อและเทคโนโลยีดิจิทัลได้อย่างเหมาะสม

การฝึกอ่านหนังสือเร็ว ได้ใจความ

พูดถึงการอ่านในชีวิตประจำวันของเรานั้นมีให้เราฝึกมากมายแต่คนส่วนใหญ่นั้นเลือกที่จะไม่สนใจและอ่านพอผิวเผิน และในบ้างครั้งก็เกิดการหยิบสินค้าผิด หรือ สิ่งของที่ผิด และวันนร้เรามาเปลี่ยนนิสัยให้เป็นคนอ่านฉลากอ่านรายละเอียดของตัวสินค้ากันให้มากขึ้น เพราะจะได้ใช้ชีวิตแบบมั่นใจกันดีกว่า 1 ห้าม! อ่านออกเสียงเพราะการอ่านออกเสียงนั้นทำให้สมองต้องทำงานหลายขั้นตอนซึ่งจะส่งผลให้อ่านล่าช้าขึ้น แต่ถ้าเราอ่านด้วยตาและสมอง จะช่วยลดการทำงานของสมองจากหลายขั้นตอนให้เหลือเพียงไม่กี่ขั้นตอน ซึ่งจะช่วยให้เราอ่านได้เร็วขึ้น 2 ใช้อุปกรณ์ช่วยชี้ระหว่างที่อ่านในขณะที่อ่านนั้นอาจใช้นิ้วมือหรือปากกาช่วยชี้ตัวหนังสือไปด้วย เพราะนั่นจะช่วยให้มีสมาธิ ไม่วอกแวกในขณะที่อ่าน ซึ่งจะช่วยทำให้อ่านหนังสือได้เร็วขึ้น 3 พยายามเพ่งให้มีสมาธิในช่วงแรกต้องมีสมาธิจดจ่อไม่วอกแวก การอ่านหนังสือให้ได้เร็วนั้น สมาธิเป็นสิ่งที่สำคัญมาก เพราะถ้าหากไม่มีสมาธิหรือสมาธิไม่ดีแล้วนั้น จะทำให้อ่านไม่รู้เรื่องในบางช่วง แล้วก็ต้องอ่านซ้ำเนื้อหาช่วงนั้น ซึ่งจะทำให้อ่านช้าลง 4 อ่านให้เข้าใจภาพรวมในบางครั้งการอ่านเนื้อหาบางประเภทอาจะมีรายละเอียดข้อมูลที่มาก ถ้าหากต้องการอ่านให้เร็วนั้น ไม่ควรโฟกัสที่รายละเอียดมากนัก แต่ให้เน้นอ่านเพื่อให้เข้าใจภาพรวมของเนื้อหามากกว่า เช่น “…….การผลิตน้ำดื่มของบริษัท ABC นั้นมีกระบวนการผลิตตั้งแต่การกลั่นโดยใช้สารละลาย…” จากประโยคนี้อาจจับใจความไว้เพียงว่าบริษัทนี้มีการผลิตน้ำดื่มโดยใช้หลายกระบวนการ (ไม่จำเป็นต้องจำชื่อบริษัท หรือรายละเอียดกระบวนการ) 5 ขยับเฉพาะตา ไม่ขยับหัวในขณะที่อ่านนั้นควรขยับเฉพาะตา หรือการอ่านแบบกวาดสายตาให้ทั่ว จัดวางระดับสายตาให้การมองอยู่ที่กึ่งกลางบรรทัดแล้วกวาดลูกตาไปทางซ้าย-ขวา แทนการส่ายหัวไปด้วยในขณะอ่าน การอ่านในลักษณะนี้จะช่วยให้เราสามารถอ่านรวดเร็วขึ้นอย่างแน่นอนถ้าหากฝึกจนชำนาญ 6 ลดการอ่านตัวอักษรซ้ำ ไม่อ่านย้อนโดยการใช้ดินสอ หรือปากกาด้ามเล็ก ๆ ชี้ไปทางขวาเรื่อย ๆ ตามทางที่เราอ่านนั้นเองค่ะ ฝึกทำวิธีนี้บ่อย ๆ จนชินแล้ว ต่อไปก็ไม่จำเป็นต้องใช้ดินสอชี้ตามก็ได้ 7 ฝึกอ่านเป็นกลุ่มคำเราจะมองตัวหนังสือนั้น […]

ทำความรู้จักอาชีพนักเขียนนิยาย

อาชีพนักเขียนอาจจะเป็นงานหลักหรืองานยามว่างก็ได้เพราะงานเขียนเป็นงานที่ต้องใช้จินตการค่อนข้างสูงเลยที่เดียวและเป็นคนที่ชื่นชอบการเขียน เขียนในทุกๆสิ่งที่เรานึกขึ้น เขียนทุกๆอย่างที่เราเห็นและใช้มันให้สามารถประกอบขึ้นเป็นเรื่องราวที่เราต้องการเขียนได้ซึ่งปัจจุบันเส้นทางสู่การเป็นนักเขียนนิยายนั้นไม่ยาก เพราะมีแพลตฟอร์มในการเผยแพร่มากมาย หากเข้าตาสำนักพิมพ์ก็อาจได้รับการติดต่อเพื่อตีพิมพ์ หรือถ้ามีฐานแฟนคลับมากพอจะตีพิมพ์เองก็ไม่ยาก 1. เว็บไซต์และแอพพลิเคชั่นลงนิยาย เดิมเว็บไซต์ลงนิยายที่ได้รับความนิยมคือ Dek-D.com เนื่องจากเป็นเว็บไซต์ที่มีการจัดหน้าให้เหมาะสมต่อการลงนิยายโดยเฉพาะ ปัจจุบันมีเว็บไซต์สำหรับลงนิยายเพิ่มขึ้นมากมาย เช่น ธัญวลัย, Readawrite, Fictionlog ซึ่งมีทั้งรูปแบบเว็บไซต์และแอพพลิเคชั่น ทำให้สะดวกสบายต่อการใช้งาน ทั้งเขียนและอ่านได้ทุกที่ทุกเวลา นอกจากนี้ยังมีแอพพลิเคชั่นสำหรับนิยายรูปแบบใหม่ที่น่าสนใจอย่างจอยลดา คือเป็นนิยายแชทโดยเฉพาะ วิธีการอ่านต้องกดที่หน้าจอแล้วจะมีกล่องข้อความขึ้นมาทีละกล่อง เป็นการพูดคุยและโต้ตอบภายในแชท ซึ่งถือเป็นการเล่าเรื่องที่ท้าทายเพราะต้องเล่าผ่านการพูดคุยในแชทเท่านั้น 2. E-book E-book หรือ หนังสืออิเล็กทรอนิกส์เป็นอีกช่องทางในการเผยแพร่นิยาย โดยนิยมจัดทำเป็น E-book แบบออนไลน์มากกว่าออฟไลน์ เพราะระบบปฏิบัติการในอุปกรณ์อาจมีการเปลี่ยนแปลงที่รวดเร็ว ทำให้อาจเปิด E-book ไม่ได้ ดังนั้น E-book แบบออนไลน์จึงเป็นที่นิยมกว่า ซึ่งเว็บไซต์ในการขาย E-book เช่น mebmarket.com 3. สำนักพิมพ์ สำหรับคนที่อยากส่งนิยายไปที่สำนักพิมพ์โดยตรง ปัจจุบันสามารถส่งต้นฉบับไปให้พิจารณาได้ผ่านอีเมล แต่บางสำนักพิมพ์อาจยังรับต้นฉบับทางไปรษณีย์อยู่ก็ต้องศึกษาข้อมูลให้ดีก่อนส่ง ผลการพิจารณาอาจช้าหรือเร็วขึ้นอยู่กับสำนักพิมพ์ ส่วนเงินตอบแทนมักได้เป็นเงินค่าต้นฉบับ และเปอร์เซ็นต์จากจำนวนเล่มที่ขายได้ อาจแตกต่างกันไปตามสำนักพิมพ์แต่ละแห่ง 4. บล็อกส่วนตัว บล็อกส่วนตัวเป็นอีกแพลตฟอร์มที่สามารถลงนิยายได้ แต่ปัจจุบันไม่ค่อยนิยมนักเพราะเข้าถึงกลุ่มผู้อ่านได้น้อยกว่าแบบอื่นๆ ยกเว้นเป็นผู้ที่มีฐานแฟนคลับอยู่แล้ว หรือถ้ามีผู้ติดตามจำนวนมากบนโลกออนไลน์ก็อาจลงนิยายในบล็อกส่วนตัวและแชร์ในแอคเคาท์โซเชียลมีเดียของตนเองก็ได้ 1. ใส่ใจพล็อตให้มาก สิ่งนี้ถือเป็นหัวใจของการเขียนนิยาย เพราะพล็อตหรือการวางแผนเนื้อเรื่องทั้งหมดเป็นตัวกำหนดว่านิยายเรื่องนี้ต้องการสื่ออะไร ปมขัดแย้งคืออะไร เนื้อเรื่องจะดำเนินอย่างไร […]

วิธีการ สรุปบทความจากวารสาร

การสรุปรวบยอดเนื้อหาบทความในวารสาร คือ ขั้นตอนของการเน้นและนำเสนอเฉพาะเนื้อหาบางส่วนของผลการศึกษาวิจัยที่ได้รับการตีพิมพ์ในแหล่งข้อมูลทางวิชาการ ซึ่งได้ทำการประเมินจากผู้เชี่ยวชาญในสายงาน (Peer-Review) ไว้แล้ว การสรุปรวบยอดจะช่วยนำเสนอข้อคิดเห็นแบบกระชับและได้ใจความให้แก่กลุ่มผู้สนใจอ่าน เพื่อให้พวกเขาพอที่จะเห็นภาพประเด็นสำคัญของบทความได้ล่วงหน้า การเขียนและการสรุปรวบยอดถือเป็นหน้าที่อย่างหนึ่ง ซึ่งนักศึกษามหาวิทยาลัยและผู้ช่วยทำงานวิจัยส่วนใหญ่จำเป็นต้องทำ คุณสามารถศึกษาวิธีการอ่านและสรุปบทความอย่างมีประสิทธิภาพ วางแผนการสรุปเนื้อหาได้สำเร็จ และเขียนมันจนกระทั่งเสร็จสมบูรณ์ จากการทำขั้นตอนด้านล่างนี้ 1. อ่านบทคัดย่อ. บทคัดย่อเป็นย่อหน้าสั้นๆ ที่เขียนโดยผู้แต่ง เพื่อสรุปบทความวิจัย มันมักจะมีอยู่ในวารสารทางวิชาการส่วนใหญ่และมีความยาวไม่เกิน 100-200 คำ บทคัดย่อจะจะสรุปเนื้อหาในวารสารออกมาแบบสั้นๆ เพื่อนำเสนอผลการศึกษาวิจัยเฉพาะส่วนที่สำคัญ จุดประสงค์ของบทคัดย่อ คือ การช่วยให้นักวิจัยได้เห็นภาพคร่าวๆ และตัดสินได้ทันทีว่า บทความวิจัยนั้นเกี่ยวข้องกับงานของพวกเขาหรือไม่ เช่น หากคุณกำลังรวบรวมข้อมูลวิจัยเกี่ยวกับระบบภูมิคุ้มกันในสัตว์ที่ใช้ฟันแทะ คุณก็จะรู้ได้ทั้งแง่ที่ว่า บทความวิจัยนั้นมันเกี่ยวของกับงานของคุณหรือไม่ รวมถึงรู้ด้วยว่าผลสรุปของบทความวิจัยนั้น มันขัดแย้งหรือสอดคล้องกับผลการค้นพบในงานวิจัยของคุณ ด้วยการอ่านเพียงไม่เกิน 100 คำเท่านั้น จำไว้ว่า บทคัดย่อและส่วนสรุปรวบยอดของบทความนั้นแตกต่างกัน ดังนั้น หากบทสรุปของบทความใด ที่ดูเหมือนกับบทคัดย่อ ก็ถือว่าใช้ไม่ได้ เพราะบทคัดย่อเป็นการย่อแบบกระชับมาก และไม่สามารถถ่ายทอดรายละเอียดและบทสรุปของงานวิจัย ได้เท่ากับส่วนสรุปรวบยอด 2. เข้าใจบริบทของงานวิจัย. คุณต้องรู้ว่าผู้แต่งกำลังถกหรือวิเคราะห์ประเด็นใดอยู่ ทำไมงานวิจัยหัวข้อนี้จึงมีความสำคัญ และมันเป็นบทความที่จัดทำขึ้นเพื่อโต้แย้งบทความอื่นในสายงานเดียวกันหรือไม่ ฯลฯ ด้วยวิธีนี้ คุณจะได้แน่ใจว่าควรนำประเด็น ใจความ และข้อมูลส่วนใดมารวบยอดสรุป […]

เทคนิคอ่านหนังสือให้มีประสิทธิกาพ

เทคนิคที่อยากจะนำมาแชร์ในวันนี้ มีด้วยกัน 5 อย่าง: 1. อ่านให้เร็วขึ้นนิดหน่อย โดยปกตื ถ้าเราอ่านหนังสือช้าๆ มันจะมีช่องว่างเล็กที่อาจจะทำให้เราเผลอไปคิดเรื่องอื่นๆ ซึ่งจะทำให้สมาธิเราหลุดได้ ผลคือไม่สามารถจำอะไรที่อ่านไปได้เลย เราอาจจะลองค่อยปรับความเร็วในการอ่านขึ้นมาอีกนิด เพื่อที่จะทำให้เรามีสมาธิมากขึ้นอยู่กับการอ่าน เช่นจากที่เคยอ่านอยู่ประมาณ 1x ก็เปลี่ยนเป็น 1.5x และค่อยๆ ปรับเพิ่มที่ละน้อย 2. เมื่ออ่านก็อ่านเพียงอย่างเดียว แน่นอนการทำงานแบบหลายอย่างพร้อมกัน (multi-tasks) นั้นเป็นเรื่องที่ดี แต่ก็ไม่ได้อาจจะเป็นจริงเสมอไป โดยเฉพาะเรื่องการอ่านหนังสือ หากเรากำลังอ่านหนังสือ แล้วหันไปทำเรื่องอื่นๆ พร้อมกันด้วย จะทำให้ไม่มีสามธิ การอ่านจะไม่ต่อเนื่อง สุดท้ายก็จำอะไรไม่ได้อยู่ดี อีกหนึ่งเคล็ดลับคือ อาจจะลองทำสรุปทุกๆ บท ที่ได้อ่านไป หรือหาก 1 บทยาวไป ก็เปลี่ยนเป็นทุกๆ กี่หน้า เช่น 20 หน้า การจดสรุปก็เป็นอีกหนึ่งเทคนิคที่ทำให้เราสามารถจำสิ่งที่อ่านไปได้ดี 3. จำเป็นภาพ จำเป็นเรื่อง จำโดยผูกกับความจำเก่า จะจำได้ดีกว่าจำไปทื่อๆ ตรงๆ เฉย การอ่าน และท่องจำแบบตรงๆ เลย จะทำให้เราจำอะไรได้ไม่มาก […]