วิธีการ สรุปบทความจากวารสาร

การสรุปรวบยอดเนื้อหาบทความในวารสาร คือ ขั้นตอนของการเน้นและนำเสนอเฉพาะเนื้อหาบางส่วนของผลการศึกษาวิจัยที่ได้รับการตีพิมพ์ในแหล่งข้อมูลทางวิชาการ ซึ่งได้ทำการประเมินจากผู้เชี่ยวชาญในสายงาน (Peer-Review) ไว้แล้ว การสรุปรวบยอดจะช่วยนำเสนอข้อคิดเห็นแบบกระชับและได้ใจความให้แก่กลุ่มผู้สนใจอ่าน เพื่อให้พวกเขาพอที่จะเห็นภาพประเด็นสำคัญของบทความได้ล่วงหน้า การเขียนและการสรุปรวบยอดถือเป็นหน้าที่อย่างหนึ่ง ซึ่งนักศึกษามหาวิทยาลัยและผู้ช่วยทำงานวิจัยส่วนใหญ่จำเป็นต้องทำ คุณสามารถศึกษาวิธีการอ่านและสรุปบทความอย่างมีประสิทธิภาพ วางแผนการสรุปเนื้อหาได้สำเร็จ และเขียนมันจนกระทั่งเสร็จสมบูรณ์ จากการทำขั้นตอนด้านล่างนี้

ตั้งชื่อภาพ Summarize a Journal Article Step 1

1. อ่านบทคัดย่อ. บทคัดย่อเป็นย่อหน้าสั้นๆ ที่เขียนโดยผู้แต่ง เพื่อสรุปบทความวิจัย มันมักจะมีอยู่ในวารสารทางวิชาการส่วนใหญ่และมีความยาวไม่เกิน 100-200 คำ บทคัดย่อจะจะสรุปเนื้อหาในวารสารออกมาแบบสั้นๆ เพื่อนำเสนอผลการศึกษาวิจัยเฉพาะส่วนที่สำคัญ

  • จุดประสงค์ของบทคัดย่อ คือ การช่วยให้นักวิจัยได้เห็นภาพคร่าวๆ และตัดสินได้ทันทีว่า บทความวิจัยนั้นเกี่ยวข้องกับงานของพวกเขาหรือไม่ เช่น หากคุณกำลังรวบรวมข้อมูลวิจัยเกี่ยวกับระบบภูมิคุ้มกันในสัตว์ที่ใช้ฟันแทะ คุณก็จะรู้ได้ทั้งแง่ที่ว่า บทความวิจัยนั้นมันเกี่ยวของกับงานของคุณหรือไม่ รวมถึงรู้ด้วยว่าผลสรุปของบทความวิจัยนั้น มันขัดแย้งหรือสอดคล้องกับผลการค้นพบในงานวิจัยของคุณ ด้วยการอ่านเพียงไม่เกิน 100 คำเท่านั้น
  • จำไว้ว่า บทคัดย่อและส่วนสรุปรวบยอดของบทความนั้นแตกต่างกัน ดังนั้น หากบทสรุปของบทความใด ที่ดูเหมือนกับบทคัดย่อ ก็ถือว่าใช้ไม่ได้ เพราะบทคัดย่อเป็นการย่อแบบกระชับมาก และไม่สามารถถ่ายทอดรายละเอียดและบทสรุปของงานวิจัย ได้เท่ากับส่วนสรุปรวบยอด
ตั้งชื่อภาพ Summarize a Journal Article Step 2

2. เข้าใจบริบทของงานวิจัย. คุณต้องรู้ว่าผู้แต่งกำลังถกหรือวิเคราะห์ประเด็นใดอยู่ ทำไมงานวิจัยหัวข้อนี้จึงมีความสำคัญ และมันเป็นบทความที่จัดทำขึ้นเพื่อโต้แย้งบทความอื่นในสายงานเดียวกันหรือไม่ ฯลฯ ด้วยวิธีนี้ คุณจะได้แน่ใจว่าควรนำประเด็น ใจความ และข้อมูลส่วนใดมารวบยอดสรุป

ตั้งชื่อภาพ Summarize a Journal Article Step 3

3. ข้ามไปอ่านบทสรุป. จงข้ามไปอ่านบทสรุป เพื่อหาว่างานวิจัยชิ้นนั้นได้ผลลัพธ์อย่างไร เพื่อหาข้อมูลเกี่ยวกับหัวข้อนั้น และยังได้รู้ว่าประเด็นและเนื้อหาต่างๆ อันซับซ้อนจะมาลงเอยอย่างไร มันจะง่ายขึ้นในการตีความข้อมูลต่างๆ หากคุณอ่านในส่วนที่ผู้แต่งสรุปเอาไว้ก่อน

หลังจากอ่านส่วนสรุปแล้ว คุณยังคงต้องกลับไปอ่านเนื้อหาทั้งหมดอยู่ดี หากพบว่างานวิจัยนี้เกี่ยวข้องกับงานของคุณ หากคุณกำลังรวบรวมผลการวิจัย และมองหาเฉพาะงานวิจัยที่ขัดแย้งกับงานของคุณ คุณก็ไม่จำเป็นต้องไปอ่านข้อมูลส่วนอื่นๆ ของงานที่ได้ผลการวิจัยสอดคล้องกับงานของคุณ

ตั้งชื่อภาพ Summarize a Journal Article Step 4

4. ค้นหาประเด็นโต้แย้งหลักหรือจุดยืนของบทความวิจัย. 

การที่จะหลีกเลี่ยงไม่ให้เสียเวลาไปกับการอ่านซ้ำสองรอบ เพื่อให้แน่ใจในประเด็นหลัก คุณก็ควรจะจับจุดนั้นให้ได้ตั้งแต่คราวแรก พยายามจดโน้ตหรือขีดเน้นประเด็นหลักที่คุณอ่านเจอ

  • จงใส่ใจเป็นพิเศษในหนึ่งหรือสองย่อหน้าแรกของบทความวิจัย เพราะมันเป็นส่วนที่ผู้แต่งมักระบุ ข้อวินิจฉัย ของบทความวิจัยทั้งหมดเอาไว้ พยายามค้นหาว่าอะไรคือข้อวินิจฉัยดังกล่าว และตัดสินว่าผู้แต่งต้องการโต้แย้งประเด็นใดด้วยงานวิจัยของพวกเขา
    • มองหาคำอย่างเช่น สมมติฐาน ผลลัพธ์ ตามแบบแผนทั่วไป โดยทั่วไปแล้ว หรือ เห็นได้ชัดว่า เพื่อหาเบาะแสว่า ข้อวินิจฉัยดังกล่าวอยู่ในประโยคใด
  • ขีดเส้นใต้ ทำตัวเน้น หรือรีไรท์ประเด็นถกเถียงหลักของบทความวิจัยเอาไว้ในต่างหาก จากนั้น พยายามโฟกัสไปที่ประเด็นถกเถียงเหล่านั้น เพื่อช่วยให้คุณสามารถเชื่อมโยงเนื้อหาส่วนอื่นของบทความวิจัย เข้ากับประเด็นถกเถียงดังกล่าวและดูว่ามันสอดรับกันอย่างไร
  • ในเชิงมานุษยวิทยา บางครั้งมันอาจจะยากหน่อย ที่จะหาข้อวินิจฉัยที่ชัดเจนและกระชับในบทความวิจัยนั้น เพราะมันมักเป็นหัวข้อที่ซับซ้อนและเป็นนามธรรม (เช่น วิชาเกี่ยวกับบทกวีที่เกิดขึ้นหลังยุคใหม่ หรือวิชาเกี่ยวกับภาพยนตร์แนวเฟมินิสท์ เป็นต้น) หากมันคลุมเครือ พยายามทำความเข้าใจด้วยตนเองว่า ผู้แต่งต้องการสื่อหรือโต้แย้งในประเด็นใดจากบทความวิจัยชิ้นนั้น
ตั้งชื่อภาพ Summarize a Journal Article Step 5

5. มองประเด็นถกเถียง. พยายามอ่านส่วนอื่นๆ ในบทความวารสารต่อไป และเน้นประเด็นถกเถียงหลักที่ผู้แต่งระบุเอาไว้ รวมถึงไอเดียและแนวคิดหลักที่มีการหยิบยกมากล่าวอ้าง จากนั้น ก็พยายามเอาไปเชื่อมโยงกับแนวคิดหลักซึ่งผู้แต่งได้ระบุเอาไว้ตั้งแต่ช่วงแรกของบทความนั้น

  • จุดโฟกัสต่างๆ ในบทความวารสาร มักจะถูกระบุไว้ด้วยหัวเรื่องย่อย ซึ่งบรรยายถึงขั้นตอนหรือพัฒนาการเฉพาะบางอย่าง ที่เกิดขึ้นระหว่างทำผลการศึกษาวิจัย หัวเรื่องย่อยเหล่านั้นมักจะเป็นตัวอักษรเข้มและขนาดใหญ่กว่าส่วนเนื้อหาทั่วไปด้วย
  • จำไว้ว่า เนื้อหาในวารสารทางวิชาการส่วนใหญ่จะเป็นข้อมูลพื้นฐานทั่วไป จำเป็นหรือไม่ที่จะต้องอ่านบทพิสูจน์กว่า 500 คำของผู้แต่ง ในทฤษฎีเกี่ยวกับสูตรการสกัดกลีเซอรีนในผลการศึกษาวิจัยนั้น ก็อาจจำเป็น แต่ก็ไม่เสมอไป ปกติแล้ว คุณไม่จำเป็นต้องอ่านผลการศึกษาวิจัยทุกถ้อยคำหรอก หากจุดประสงค์ของคุณเป็นเพียงการค้นหาแนวคิดหลักและเหตุผลที่มีการวิจัยขึ้นมาเท่านั้น
ตั้งชื่อภาพ Summarize a Journal Article Step 6

6. จดโน้ตตามไปด้วย. ประสิทธิผลคือกุญแจสำคัญในการค้นคว้าและรวบรวมข้อมูลจากวารสารวิชาการ อ่านบทความทั้งหมดอย่างตั้งใจ เพื่อวงกลมหรือเน้นเป็นส่วนๆ ไป โดยโฟกัสไปที่หัวเรื่องย่อยต่างๆ 

  • ส่วนต่างๆ เหล่านี้มักจะรวมเอาบทนำ วิธีการทดลอง ผลการศึกษาวิจัย และบทสรุปเอาไว้แล้ว นอกเหนือไปจากแหล่งอ้างอิงต่างๆ