เขียนเล่น ๆ ให้เป็นเงิน ข้อแนะนำการเขียนบทความสำหรับมือใหม่

เขียนเล่น ๆ ให้เป็นเงิน ข้อแนะนำการเขียนบทความสำหรับมือใหม่

ในปัจจุบันนี้การเขียนคอลัมน์เพื่อเผยแพร่ตามเว็บไซต์เป็นงานอดิเรกที่น่าสนใจ เพราะนอกจากเป็นการฝึกทักษะในการอ่านและการเขียนแล้ว ยังเป็นอาชีพเสริมให้กับนักเขียนได้พอสมควรทีเดียว

ในการที่จะเป็นนักเขียนที่ดี จะต้องหมั่นฝึกฝนทักษะ ติดตามข่าวสารบ้านเมือง และอ่านบทความตามสื่อต่าง ๆ และควรเลือกสื่อที่มีคุณภาพ มีความน่าเชื่อถือได้ การอ่านจะทำให้เราได้ฝึกคิดวิเคราะห์ มีคลังคำศัพท์ดี ๆ  ซึ่งคลังศัพท์พวกนี้จะทำให้เราสามารถนำมาใช้ในการเขียนบทความของเราได้ ยิ่งเรามีต้นแบบที่ดีแล้วก็จะช่วยให้เราผลิตงานที่มีคุณภาพ มีภาษาสละสลวย มีสำนวนที่ดี  เมื่อเขียนงานออกมาแล้วจะทำให้งานน่าอ่าน และมีความสนุกสนาน มีประโยชน์กับคนอ่าน และทำให้งานเขียนของเราน่าติดตามไปด้วย

 เขียนเล่น ๆ ให้เป็นเงิน ข้อแนะนำการเขียนบทความสำหรับมือใหม่

การเขียนคอลัมน์ ก็เหมือนการเขียนเรียงความสมัยเราเป็นเด็กนั่นหล่ะ  การเขียนบทความ หรือเขียนคอลัมน์ เป็นการนำเรื่องราวต่าง ๆ ในชีวิตประจำวัน ข้อมูล ข่าวสาร มาเล่าในรูปแบบของตัวหนังสือ  แต่สำหรับนักเขียนมือใหม่ เรามักจะนึกไม่ออกว่า เราจะเริ่มจากไหนไปไหน ขึ้นต้นและลงท้ายเรื่องยังไง วันนี้เราจึงมีแนวทางเบื้องต้นมาแนะนำ

 เขียนเล่น ๆ ให้เป็นเงิน ข้อแนะนำการเขียนบทความสำหรับมือใหม่

สำหรับการเขียนบทความเราจะแยกองค์ประกอบในการเขียน เป็น 3 ส่วน ก็คือ ส่วนนำ  ส่วนเนื้อเรื่อง และส่วนสรุป 

ส่วนนำ ก็คือ ประเด็นหลักหรือวัตถุประสงค์ในการเขียน  ซึ่งส่วนนำจะทำให้คนอ่านรู้ว่าเรื่องที่เราจะเขียนต่อไปนั้น เป็นเรื่องเกี่ยวกับอะไร และกระตุ้นให้มีความสนใจอยากอ่านต่อ   โดยเราอาจจะเริ่มบทนำด้วย คำถาม  เช่น “รู้หรือไม่ว่าอาหารในแต่ละมื้อที่เรากินลงไปนั้นได้สร้างคุณและโทษให้กับเราได้อย่างไร”  หรือการเริ่มบทนำด้วยปัญหา หรือเรื่องที่น่าสนใจ เช่น “ข่มขืนเท่ากับประหาร ลงโทษเท่านี้เหมาะสมแล้วหรือไม่”    นอกจากนั้น การเขียนส่วนนำยังสามารถนำสุภาษิต คำพังเพย พุทธภาษิต บทร้อยกรอง มาประกอบการอธิบายวัตถุประสงค์ของการเขียน หรือเสริมเรื่องของคำจำกัดความ แรงบันดาลใจ ของการเขียนในครั้งนี้

ส่วนของเนื้อเรื่อง  ส่วนของเนื้อเรื่อง เป็นส่วนที่สำคัญที่สุดของบทความที่เราจะเขียน เพราะเป็นส่วนที่จะแสดงความรู้ ความคิดเห็น ประเด็นที่เราจะเล่าทั้งหมดจะอยู่ในส่วนของเนื้อเรื่อง ส่วนของเนื้อเรื่องนี้จะทำให้ผู้อ่านมีความเข้าใจตามวัตถุประสงค์ที่เราวางไว้ตั้งแต่ต้น ซึ่งการเขียนส่วนของเนื้อเรื่องจะต้องมีการอธิบาย หรือแสดงความคิดเห็น มีการนำทฤษฎี สถิติ คำสัมภาษณ์ หรือข้อมูลที่เชื่อถือได้มาเป็นองค์ประกอบ เพื่อให้เนื้อหานั้นสมบูรณ์ 

ส่วนท้ายหรือส่วนสรุปส่วนท้ายหรือส่วนสรุป เป็นการเขียนเพื่อปิดเนื้อเรื่องทั้งหมดที่เราได้เขียนมาในตอนต้น ซึ่งส่วนปิดหรือส่วนสรุปนี้จะมีความสัมพันธ์กับเนื้อหาส่วนอื่น ๆ และเป็นส่วนที่เราบอกคนอ่านว่า ณ ตอนนี้บทความเรากำลังจะสิ้นสุดลงแล้ว  วิธีการเขียนส่วนท้าย อาจจะลงท้ายกันด้วยหลายแนวทาง เช่น อาจจะย้ำในประเด็นหลัก หรือถามเพิ่มเพื่อให้คนอ่านได้วิเคราะห์ หรือคิดตาม   หรือเสนอความคิดเห็น หรือจบด้วยสุภาษิต คำพังเพย ทฤษฎี เป็นต้น

 เขียนเล่น ๆ ให้เป็นเงิน ข้อแนะนำการเขียนบทความสำหรับมือใหม่

การเขียนบทความหรือคอลัมน์ถ้าไม่เริ่มต้นลงมือเขียน เราจะไม่มีทางรู้เลยว่าเราจะสามารถเขียนเรื่องราวต่าง ๆ ได้หรือไม่ และจะทำมากน้อยแค่ไหนจนกว่าจะลงมือเขียนอย่างจริง ๆ  ตอนเขียนแรก ๆ อาจจะติดขัดปัญหาเรื่องขอภาษา การเชื่อมโยง ข้อมูลที่จะใช้ในการประกอบการเขียน แต่เมื่อเขียนไปนาน ๆ เราจะเริ่มชินและลื่นไหลไปเองโดยธรรมชาติ  และสามารถเขียนบทความหรืองานต่าง ๆ ได้ดีขึ้น