5 เทคนิคการรับเขียนบทความสุขภาพ 2017

healthy-750x422

ถ้าคุณติดตามข่าวสารในวงการธุรกิจเมื่อสองสามเดือนที่ผ่านมา ผมเชื่อว่าคุณจะต้องได้รับข่าวสารสำคัญ นั่นคือ การขายพื้นที่บางส่วนของโรงแรมปาร์คนายเลิศ ให้กับ ดร.ประเสริฐ ปราสาททองโอสถ เศรษฐีหุ้นใหญ่ของเมืองไทย และผู้ถือหุ้นโรงพยาบาลมากที่สุด ซึ่งตรงข่าวนี้เอง ทำให้ผมสามารถวิเคราะห์ได้ทันทีว่า ในปี 2017 เป็นต้นไป ประเทศไทยของเรา กำลังก้าวเข้าสู่การเป็น Hub Healthy of Asia อย่างแน่นอนครับ

ซึ่งสิ่งที่ตามมาคือโอกาสในการพัฒนาและผลิต content ที่น่าสนใจมากมายเกี่ยวกับเรื่องของบทความสุขภาพ ดังนั้นสำหรับนักเขียนบทความ ตรงนี้ถือเป็นโอกาสครั้งสำคัญ ที่คุณจะเปิดบริการ รับเขียนบทความสุขภาพขึ้นมา เพื่อให้บริการกับกลุ่มธุรกิจเกี่ยวกับสุขภาพและความงามครับ แต่สำหรับใครที่สนใจ และไม่รู้ว่าควรวางกรอบในการรับเขียนบทความสุขภาพอย่างไร ผมมีแนวทางอย่างง่ายๆมาฝากกันดังนี้ครับ

1.ค้นหาแหล่งข้อมูลประกอบการรับเขียนบทความสุขภาพ

สุขภาพเป็นเรื่องที่สำคัญ นักเขียนบทความจะไม่สามารถเขียนบทความแบบมั่วๆขึ้นมาแล้วขายได้ แต่จะต้องเขียนบทความขึ้นมาบนฐานข้อมูลที่ถูกต้อง และมีการอ้างอิงงานวิจัยต่างๆ ดังนั้นฐานข้อมูลที่สำคัญประกอบการรับเขียนบทความสุขภาพ คือ ฐานข้อมูลวิทยานิพนธ์ หรือบทความวารสารสุขภาพในต่างประเทศครับ ตอนผมเป็นโรค svt ผมก็ได้ข้อมูลจากต่างประเทศนี่ล่ะครับในการดูแลสุขภาพของตนเอง ดังนั้นคุณก็หาข้อมูลสำคัญๆ จากแหล่งข้อมูลที่ผมแนะนำไปนี้

2.กำหนดราคาให้พอเหมาะ

เรื่องราคาเป็นสิ่งที่ตอบได้ยากทีเดียวในการเขียนบทความ โดยเฉพาะการรับเขียนบทความสุขภาพ แต่เพื่อให้เห็นเป็นกรอบในการรับเขียนบทความอย่างชัดเจน ผมขออ้างอิงเรทราคาตามนี้นะครับ

  • ไม่เกิน 300 คำไทย ราคา 100 บาท
  • ไม่เกิน 500 คำไทย ราคา 300 บาท
  • ไม่เกิน 1,000 คำไทย ราคา 500 บาท
  • ความยาวเกินกว่า 1,000 คำไทย ราคาไม่ต่ำกว่า 500 บาท

ถ้าคุณเป็นคนว่าจ้างนักเขียนบทความสุขภาพ ผมแนะนำว่าให้จ้างในราคานี้ครับ และอย่าไปจ้างนักเขียนบทความที่ราคาถูกเกินไป เพราะข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับสุขภาพเป็นสิ่งสำคัญ ยอมจ้างราคาที่แพงกว่าเพื่อให้ได้งานที่มีคุณภาพและมาตรฐานที่ดีกว่าครับ

3.เขียนบทความสุขภาพตัวอย่างให้ลูกค้าของคุณพิจารณา

ผมแนะนำให้คุณเขียนบทความสุขภาพขึ้นมาจำนวน 4 บท โดยมีเนื้อหาที่มีความแตกต่างกัน และจำนวนคำไทยที่แตกต่างกันด้วย การทำแบบนี้เป็นการมอบโอกาสให้ลูกค้าของคุณมีโอกาสเลือกบทความ ว่าต้องการบทความตรงกับสำนวนการเขียนในแบบของเราหรือไม่ หากไม่ตรงหรือว่าเขียนไม่ได้ก็จะได้ไม่ต้องมาเป็นปัญหากันในภายหลังครับ สำหรับใครที่ไม่แน่ใจว่าจะเขียนบทความสุขภาพอะไรดี งั้นผมแนะนำตามนี้ครับ

  • เรื่องที่ 1 เขียนบทความเกี่ยวกับเคล็ดลับการดูแลสุขภาพ 500 คำไทย
  • เรื่องที่ 2 เขียนบทความเชิงวิชาการ เกี่ยวกับการรักษาโรคบางอย่าง 1,500 คำไทย
  • เรื่องที่ 3 เขียนบทความเกี่ยวกับ อันตรายของโรคบางประการ 1,000 คำไทย
  • เรื่องที่ 4 เขียนบทความเกี่ยวกับอาหารเสริม 300-500 คำไทย

ลองใช้แนวทางทั้งสี่หัวข้อไปเปนประเด็นในการเขียนบทความสุขภาพตัวอย่างให้ลูกค้านะครับ

4.อย่าลืมใช้ PATTERN A1

เวลาเราซื้อสินค้าที่ห้างสรรพสินค้า เราก็ต้องการให้สินค้ามีคุณภาพเหมือนๆกันฉันใด ลูกค้าก็ต้องการบทความที่มีคุณภาพเหมือนๆกันทุกฉบับฉันนั้น ดังนั้น สิ่งเดียวที่จะทำให้บทความนั้นมีคุณภาพเหมือนหรือใกล้เคียงกันคือ Pattern ครับ โดย Pattern A1 คือรูปแบบที่ง่ายที่สุดและดีที่สุดในการนำมาเขียนเป็นบทความสุขภาพ สำหรับใครที่ต้องการศึกษาเรื่องของ Pattern A1 สามารถหาอ่านได้จากหนังสือ “ใครๆก็เขียนได้” ฉบับ บก.ฮีโร่ซังนะครับ

5.เคล็ดลับเล็กๆน้อยในการรับเขียนบทความสุขภาพ

ข้อสุดท้ายนี้ผมอยากแบ่งปันเทคนิคเล็กๆน้อยเพื่อให้การรับเขียนบทความสุขภาพของคุณ มีความสมบูรณ์มากยิ่งขึ้นครับ

  • จงใส่งานวิจัยทางสุขภาพลงไปในบทความอย่างน้อย 1 ชิ้นงาน
  • จงใช้สำนวนภาษาแบบกึ่งทางการในการเขียนบทความสุขภาพ
  • จงเขียนบทความโดยเริ่มต้นจากปัญหาที่คนไข้ประสบ และไปจบลงที่วิธีการรักษา
  • หากมี motto หรือคำคมดีๆเกี่ยวกับสุขภาพ ให้ใส่ลงไปด้วยอย่างน้อย 1 ตำแหน่ง
  • ระวังเรื่องคำผิด
  • ใส่ภาษาอังกฤษ หรือศัพท์เฉพาะลงไปในบทความสุขภาพด้วย จะทำให้บทความสุขภาพของคุณดูแพงขึ้น

ลองนำเทคนิค 5 ข้อเพื่อการรับเขียนบทความสุขภาพนี้ไปปรับใช้กับการเขียนบทความของคุณนะครับ และผมเชื่อมั่นเป็นอย่างยิ่งว่างานเขียนบทความสุขภาพของคุณ จะต้องถูกใจลูกค้าอย่างแน่นอน

5 เทคนิคการรับเขียนบทความสุขภาพ 2017

การเขียนบทความ