7 ข้อห้ามทำ เมื่อรับเขียนบทความ

สมัยนี้การเขียนบทความได้รับความนิยมกันมาก เพียงแค่มีคอมพิวเตอร์ 1 เครื่องก็สามารถเป็นนักเขียนได้แล้ว ไม่เหมือนเมื่อก่อนที่ส่วนใหญ่ ผู้จ้างจะรู้จักนักเขียนผ่านสื่อ สิ่งพิมพ์เท่านั้น แต่ทว่า…ทุกอย่างก็เหมือนดาบสองคม เพราะด้วยความง่ายและสะดวกสบายของการมีเทคโนโลยี ทำให้เกิดนักเขียนขึ้นมามากมาย ทั้งนักเขียนที่มีคุณภาพและนักเขียนสมัครเล่นที่บางครั้งก็ทำให้วงการนี้เสื่อมเสียชื่อเสียงอยู่ไม่น้อย วันนี้ ในฐานะรุ่นพี่จึงขอพามาดู 7 ข้อห้ามทำ เมื่อรับเขียนบทความ มาฝากนักเขียนมือใหม่ทุกท่านกัน ห้ามใช้ความคิดสร้างสรรค์เพียงอย่างเดียว แม้การใช้ความคิดสร้างสรรค์มาเขียนลงในบทความจะเป็นสิ่งที่ดี เพราะทำให้บทความมีความสดใหม่และน่าค้นหา อย่างไรก็ตาม มีบทความบางประเภทที่นักเขียนไม่สามารถใช้เพียงความคิดสร้างสรรค์ได้ นั่นคือ บทความวิชาการ เพราะบทความประเภทนี้ จำเป็นต้องใช้แหล่งข้อมูลที่น่าเชื่อถือและถูกต้อง นำมาเขียนลงในบทความ เพื่อให้ดูมีน้ำหนักและสามารถนำไปเผยแพร่ได้ โดยที่ไม่ส่งผลเสียต่อผู้อ่านที่จะนำไปใช้ต่อ แต่ที่สำคัญคือ อย่าลืมให้เครดิตของแหล่งข้อมูลที่นำมาด้วย นั่นจึงเป็นการเขียนบทความวิชาการที่ดี ข้อแนะนำ การเขียนบทความวิชาการ มีความยากและใช้คำศัพท์ที่เป็นทางการ ดังนั้น ก่อนนักเขียนจะรับงาน ควรไตร่ตรองให้ดีก่อนว่า บทความประเภทนี้ เรามีความถนัดหรือไม่ เพราะต้องหาข้อมูลและนำมาวิเคราะห์อย่างละเอียดรอบคอบ ซึ่งซับซ้อนกว่าบทความทั่วไปมาก จึงทำให้งานเขียนประเภทนี้มีราคาแพงและหานักเขียนมารับงานได้ยากกว่างานเขียนแบบอื่นๆ ห้ามใช้ประโยคฟุ่มเฟือยและไร้ความหมาย การเขียนบทความที่มีคุณภาพ ควรหลีกเลี่ยงการใช้ประโยคที่ดูไร้ความหมายหรือไม่เกี่ยวข้องกับเนื้อหาในบทความ เพราะจะทำให้ผู้อ่านงงและรู้สึกเบื่อหน่ายเอาได้ โดยเฉพาะบทนำ ซึ่งเป็นพารากราฟแรกที่ผู้อ่านทุกคนจะเห็น การเกริ่นบทนำ ควรบ่งบอกถึงเนื้อหาคร่าวๆที่อยู่ในบทความพร้อมปิดท้ายด้วยประโยคที่เชิญชวนให้เข้ามาอ่าน เรียกง่ายๆก็เหมือน สะพานสู่เนื้อหาถัดไป ดังนั้น หากมีบทนำที่ดี ก็เหมือนมีชัยไปกว่าครึ่งแล้ว […]