แนะนำการเขียน Test ที่มีประสิทธิภาพ เน้นว่าจะทดสอบอะไรก่อนเสมอ

Screen Shot 2558-08-22 at 3.08.52 PMจากหนังสือ Fifty Quick Ideas to Improve your TESTS
ได้แนะนำวิธีปรับปรุงชุดการทดสอบให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น

โดยหนึ่งในนั้น คือ
ชุดการทดสอบควรเริ่มจากการอธิบายว่า
จะทดสอบอะไร (What) หรือ พฤติกรรมการทำงานของระบบตาม Use case
มากกว่าการลงรายละเอียดของการทำงานจริง ๆ (How)

อ่านดูแล้วอาจจะงงบ้าง ไม่มากก็น้อย
ดังนั้น มาดูในรายละเอียด และ ตัวอย่างกันดีกว่า

mobi----what_not_how_nov

ความผิดพลาดที่มักเกิดขึ้น สำหรับการเขียน Acceptance criteria

การพัฒนาระบบงาน ในแต่ละ feature/user story นั้น
จะต้องมีข้อตกลงในการตรวจรับ หรือ acceptance criteria เสมอ
เพื่อใช้กำหนดว่าในแต่ละ feature/user story นั้นเสร็จ หรือ Done เป็นอย่างไร
ไม่ต้องมานั่งเดา กันอีกต่อไป !!!

แต่ข้อผิดพลาดมักเกิดขึ้นกับทีมที่ไม่มีประสบการณ์มากนัก
นั่นก็คือ มักจะเขียน acceptance criteria แบบเยอะ ๆ คือ

  • เราจะทำการทดสอบอะไรบ้าง ?
  • แต่ละการทดสอบจะต้องทดสอบอย่างไรบ้าง ?

เขียนทั้งสองอย่างไปพร้อม ๆ กัน
ส่งผลให้เราไม่ focus กับสิ่งที่คุยกัน
นั่นคือ เรากำลังจะสร้าง feature อยู่นะ
สุดท้ายเกิดอาการออกทะเล หรือ ใช้เวลาในการคุยกันนานมากมาย !!!

คุณเคยตกอยู่ในสถานการณ์เช่นนี้ไหม ?

มาดูตัวอย่างของความผิดพลาดกันดูบ้าง

หลาย ๆ ทีมเริ่มเขียน Acceptance criteria ตามแนวคิดของ

  • ATDD (Acceptance Test-Driven Development)
  • BDD (Behaviour Driven Development)
  • SBE (Specification By Example)

ซึ่งมันสามารถนำไปทดสอบแบบอัตโนมัติได้ทันที
โดยรูปแบบการเขียนมีหลากหลายมาก ๆ
หนึ่งในนั้นคือ Given-When-Then

ดังนั้นมาดูตัวอย่างที่ผิด ๆ กันดีกว่า
ซึ่งทำการเขียนลงรายละเอียดเลยว่า ระบบทำงานอย่างไร
ซึ่งมันน่ากลัวมากมาย !!!

Scenario: Basic flow
Given the user mike log in
And the user click on “Deposit”
And the page reload
Then the page is “Deposit”
And the user click on “1000 THB”
And the page reload
Then the page is “Card Payment”
When the user enter a valid card number
And the user click on “Submit”
And the payment id approved
And the page reload
Then the page is “Account”
And the account field show “1000 THB”
And the user click on “Find Tickets”
and the page reload
Then the page is “Tickets”
And the price is “700 THB”
And the user click on “Buy Tickets”
Then the purchase is approved
And the page reload
And a ticket confirmation number is displayed
And the account field show “300 THB”

จากตัวอย่าง เหมือนมันจะดูนะ หรือคิดว่าอย่างไร ?
มันมีขั้นตอนละเอียดมากมาย
สุดท้ายที่เราต้องการจริง ๆ คือ ในบัญชีเหลือ 300 บาท
หลังจากการซื้อตั๋ว 1 ใบ

แต่ทำไมเราเขียนเยอะแยะจังเลย ทั้ง

  • การ click
  • การ reload

ทั้งหมดที่เขียนทำการทดสอบแบบเฉพาะเจาะจงมากจนเกินไป

ลองคิดดูสิว่า
ถ้าเราต้องทำการทดสอบหลาย ๆ เงื่อนไข จะลำบากหรือไม่ ?
ถ้ามีการเปลี่ยนแปลงขั้นตอนการทำงานของระบบ จะลำบากหรือไม่ ?
ถ้ามีขั้นตอนใดขั้นตอนหนึ่งเกิดผิดพลาดขึ้นมา จะตามหาจุดผิดได้ง่าย หรือ ยาก ?
เอกสารชุดนี้มันคือ การทดสอบแบบ End-to-End จริง ๆ หรือไม่ ?

เราลงในรายละเอียดของการสร้างระบบ และ การทำงานของระบบมากจนเกินไป
จนทำให้เราหลงลืมไปว่า
เรากำลังคุยเรื่อง feature/user story ที่กำลังสร้างนะ

ดังนั้น แนะนำให้หลีกเลี่ยงในรายละเอียดของการทำงานแบบนี้ซะ
เพราะว่า มันอธิบายว่าเราทดสอบอย่างไร นั่นเอง
ให้ปลี่ยนมาเป็น เราจะทดสอบอะไรดีกว่า !!

ตัวอย่างที่น่าจะดีกว่าเดิม เป็นดังนี้

Scenario: Pre-paid account purchase
Given a user with “1000 THB” in a pre-paid account
When the user attemp to buy a “700 THB” ticket
Then the purchase is approved
And the user is left with “300 THB” in the account

ลองคิดดูสิว่า
มันน่าจะดีกว่าเดิมใช่ไหม ?
แถมมันง่ายต่อการพูดคุยกันอีกนะ
เช่น ต้องการทดสอบ เมื่อเงินในบัญชีไม่เพียงพอ
แล้วต้องทำการ reject การสั่งซื้อนั้น ๆ
หลังจากนั้นเงินในบัญชีต้องไม่ถูกตัด

Scenario: Reject Pre-paid account purchase
Given a user with “500 THB” in a pre-paid account
When the user attemp to buy a “700 THB” ticket
Then the purchase is rejected
And the user is left with “500 THB” in the account

เห็นไหมว่า ?
เมื่อเราลดสิ่งที่ไม่จำเป็น หรือ สิ่งที่รบกวน หรือ สิ่งที่ไม่เกี่ยวข้องออกไปแล้ว
มันทำให้เห็นขอบเขต และ รายละเอียดของ feature/user story นั้นชัดเจน
ส่งผลให้การพูดคุยมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น

ผลที่ตามมาอีกอย่าง คือ

เราสามารถแยกการทดสอบในกรณีต่าง ๆ ออกจากกันได้ง่าย
นั่นช่วยให้เราดูแลรักษาชุดการทดสอบได้ง่ายขึ้นไปอีก

คุณเคยปวดหัวกับการแก้ไขชุดการทดสอบ
เมื่อมีการเปลี่ยนแปลง requirement หรือ การพัฒนาหรือเปล่าล่ะ ?

คำถาม แล้วไม่สนใจในรายละเอียดบ้างหรือไง ?

คำตอบ
ต้องสนใจสิครับ ทิ้งไม่ได้เลย

ดังนั้นสิ่งที่ต้องทำคือ แยกการประชุมออกเป็น 2 การประชุม คือ

  1. คุยเรื่อง What มันคุ้น ๆ นะ เหมือน Sprint planning part 1 ใน Scrum เลย ?
  2. คุยเรื่อง How มันคุ้น ๆ นะ เหมือน Sprint planning part 2 ใน Scrum เลย ?

แนะนำการเขียนรายงาน

วิธีเขียนรายงาน ฉบับสมบูรณ์ เขียนรายงาน อย่างไรให้ครบถ้วนไม่ตกทุกรายละเอียด

การเขียนรายงาน คือการเขียนเสนอผลงานอันได้มาจากการศึกษาค้นคว้าพิเศษนอกเหนือจากเรื่องที่ได้ศึกษาในชั้นเรียนเพื่อส่งเสริมให้ผู้เรียนรู้จักแสวงหาความรู้ด้วยตนเอง

รูปแบบของรายงาน

รูปแบบของการรายงาน แบ่งออกเป็น 3 ส่วน คือ ส่วนประกอบตอนต้น ส่วนเนื้อหา และส่วนประกอบตอนท้าย ดังนี้

ส่วนประกอบตอนต้น

  1. หน้าปกรายงาน ส่วนบนเขียนชื่อเรื่อง ส่วนกลางชื่อผู้รายงาน ส่วนล่างบรรทัดแรกให้เขียนว่า “ รายงานนี้เป็นส่วนหนึ่งของการศึกษาวิชา… ” บรรทัดที่สองเป็นชื่อสถาบันศึกษา ส่วนบรรทัดที่สามบอกภาคที่เรียนและปีการศึกษา
  2. คำขอบคุณ เป็นส่วนที่ไม่บังคับ อาจมีหรือไม่มีก็ได้
  3. คำนำ เป็นการบอกขอบข่ายของเรื่อง สาเหตุที่ทำให้เลือกทำรายงานเรื่องนี้ จุดมุ่งหมายในการเขียน
  4. สารบัญ หมายถึง บัญชีบทต่าง ๆ ในสารบัญมีบทและตอนต่าง ๆ เรียงตามลำดับกับที่ปรากฏในหนังสือ ตลอดจนการขอบคุณผู้ที่ช่วยเหลือในการทำรายงาน
  5. บัญชีตารางหรือภาพประกอบ (ถ้ามี) เพื่อให้มีเนื้อหาที่สมบูรณ์ยิ่งขึ้น รายงานบางเรื่องอาจต้องใช้ตาราง นิยมทำบัญชีตารางหรือบัญชีภาพประกอบไว้ในหน้าถัดไปจากสารบัญ

ส่วนเนื้อเรื่อง

  1. ส่วนที่เป็นเนื้อหา ต้องมีตอนนำ ตอนตัวเรื่อง และตอนลงท้ายเช่นเดียวกับการเขียนเรียงความ
  2. ส่วนประกอบในเนื้อหา ได้แก่
    • อัญประกาศ คือข้อความที่คัดมาจากคำพูดหรือข้อเขียนของผู้อื่น โดยไม่ได้ดัดแปลง
    • เชิงอรรถ คือข้อความท้ายหน้า มีไว้เพื่อแจ้งที่มาของข้อความในตัวเรื่อง

ส่วนประกอบตอนท้าย

  1. บรรณานุกรม คือ รายชื่อสิ่งพิมพ์ตลอดจนวัสดุอ้างอิงทุกชนิด ที่เกี่ยวข้องกับการทำรายงาน พิมพ์ไว้ ตอนท้ายสุดของรายงาน การเขียนบรรณานุกรม ต้องบอกชื่อสกุลผู้แต่ง ชื่อหนังสือ ครั้งที่พิมพ์
    • เมืองที่พิมพ์ สำนักพิมพ์ ปีที่พิมพ์ จำนวนหน้า
  2. ภาคผนวกหรืออภิธานศัพท์ คือ ส่วนที่นำมาเพิ่มเติมท้ายรายงานเพื่อให้ผู้อ่านเข้าใจแจ่มแจ้งยิ่งขึ้น

กระบวนการเขียนรายงาน

ขั้นตอนการเขียนรายงาน มีดังนี้

  1. การเลือกเรื่องและตั้งชื่อเรื่อง เรื่องที่เลือกมาศึกษา ควรเป็นเรื่องที่เสริมความรู้ในการเรียนวิชาใดวิชาหนึ่ง ขอบเขต ที่เลือกควรเหมาะสมกับเวลาในการค้นคว้าและการเขียนรายงาน
  2. การกำหนดจุดมุ่งหมายและขอบเขตของเรื่อง จะต้องมีจุดมุ่งหมายและเสนอเรื่องราวเกี่ยวกับอะไร เพื่ออะไร มีขอบเขตเพียงใด เช่น หากจะเขียนรายงานเรื่องพิธีมงคลโกนจุกอาจกำหนดจุดมุ่งหมายและขอบเขต ดังนี้
    • จุดมุ่งหมาย : การศึกษาประเพณีไทยโบราณ
    • ขอบเขต : ความเป็นมาและงานพิธีโกนจุก
  3. การเขียนโครงเรื่อง โครงเรื่อง คือ กรอบ ของเรื่องที่ใช้เป็น แนว ในการเขียนรายงานโครงเรื่องประกอบด้วย
    • บทนำหรือความนำซึ่งมีหัวข้อใหญ่และหัวข้อย่อย ควรตั้งชื่อให้กะทัดรัด ใจความครอบคลุมเนื้อหา
  4. การเขียนเนื้อหา ได้จากการค้นคว้า จากแหล่งต่าง ๆ ไม่ว่าจากการอ่าน การฟัง การสังเกต การสัมภาษณ์ ฯลฯ ที่ผู้เขียนได้บันทึกไว้ แต่ไม่ใช่การคัดลอกหรือตัดต่อ ผู้เขียนเรียบเรียงด้วยสำนวนของตนเอง สำนวนภาษาควรอ่านเข้าใจง่าย ใช้คำที่เหมาะสม ประโยคกะทัดรัด
  5. บทสรุป คือสรุปผลการศึกษาค้นคว้า มีการอภิปรายผลการศึกษาค้นคว้าและเสนอแนะ ( ถ้ามี )
  6. การอ้างถึง หมายถึงการบอกให้ทราบว่าข้อความที่ใช้ในการเขียนรายงานมาจากแหล่งใด เพื่อผู้อ่านจะได้ตรวจสอบหรือติดตามอ่านเพิ่มเติม

การจัดรูปแบบการเขียนรายงาน เรียงลำดับตามนี้

  1. หน้าปก
  2. หน้ารองปก (กระดาษเปล่า)
  3. หน้าปกใน (รายละเอียดเหมือนหน้าปกแต่ใช้กระดาษสีขาว)
  4. คำนำ
  5. สารบัญ
  6. เนื้อเรื่อง
  7. บรรณานุกรม
  8. ภาคผนวก
  9. รองปกหลัง (กระดาษเปล่า)
  10. หน้าปกหลัง

การจัดหน้ากระดาษ ใช้กระดาษ A4 โดยตั้งค่าหน้ากระดาษ ดังนี้

  • ซ้าย ระยะห่างเท่ากับ 1.5 นิ้ว
  • ขวา ระยะห่างเท่ากับ 1 นิ้ว
  • บน ระยะห่างเท่ากับ 1.5 นิ้ว
  • ล่าง ระยะห่างเท่ากับ 1 นิ้ว

หมายเหตุ 1 นิ้ว เท่ากับ 2.54 เซนติเมตร

ตัวอย่างปกรายงาน

cam_2

ตัวอย่างคำนำรายงาน

คำนำ

รายงานเล่มนี้จัดทำขึ้นเพื่อเป็นส่วนหนึ่งของวิชา…….ชั้น…เพื่อให้ได้ศึกษาหาความรู้ในเรื่อง……..และได้ศึกษาอย่างเข้าใจเพื่อเป็นประโยชน์กับการเรียน

ผู้จัดทำหวังว่า รายงานเล่มนี้จะเป็นประโยชน์กับผู้อ่าน หรือนักเรียน นักศึกษา ที่กำลังหาข้อมูลเรื่องนี้อยู่ หากมีข้อแนะนำหรือข้อผิดพลาดประการใด ผู้จัดทำขอน้อมรับไว้และขออภัยมา ณ ที่นี้ด้วย


ผู้จัดทำ
วันที่…………….

ตัวอย่างสารบัญ

cam-33


ตัวอย่างบรรณานุกรม

cam-44


ภาคผนวก ภาคผนวกคือ ส่วนที่เพิ่มเติมจากรายงานเพื่อให้เข้าใจเนื้อเรื่องได้ดีขึ้น เช่น สถิติ รูปภาพ แบบสอบถาม

วิธีการทำรายงานทางวิชาการ

วิธีการทำคำนำ

ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ วิธีการทำหน้าปกรายงานทางวิชาการ

การเขียนคำนำรายงาน

มีวิธีการเขียน ดังนี้การเขียนคำนำรายงานนั้นในส่วนของย่อหน้าแรกเราควรเขียนเพื่อเกริ่นเนื้อเรื่องไปก่อนโดยยังไม่เข้าเนื้อเรื่อง แต่ควรพยายามพูดชักจูงให้ผู้อ่านสนใจ หรือพูดที่มาที่ไป ก่อน เพื่อให้ผู้อ่านอยากติดตามต่อส่วนต่อมาควรกล่าวเริ่มเข้าเนื้อเรื่องของเราว่าเราจะทำรายงานเกี่ยวกับอะไร และมีเรื่องอะไรบ้าง หรือพูดถึงเฉพาะเรื่องสำคัญๆ ก็ได้ และตอนสุดท้ายก็ปิดท้ายว่าทำเพื่ออะไรเพื่อประโยชน์กับใคร ที่จะได้มาอ่านบทความนี้และก็อาจกล่าวขอบคุณอาจารย์ผู้สอนหรือผู้มีส่วนเกี่ยวข้องกับรายงาน และปิดท้ายด้วยการขอรับข้อเสนอแนะต่างๆ เพื่อให้รายงานดีขึ้น

ลักษณะของการเขียนคำนำรายงานที่ดี ตามหลักของ ราชบัณฑิต บอกไว้ว่า

1. เขียนด้วยคำพังเพย หรือสุภาษิตที่เกี่ยวกับเนื้อเรื่อง

2. เขียนอธิบายความหมายของเรื่อง

3. เขียนโดยขึ้นต้นด้วยคำกล่าวของบุคคลสำคัญ

4. เขียนด้วยการเล่าเรื่อง

5. เขียนด้วยคำถามหรือปัญหาที่สนใจ

6. เขียนด้วยการอธิบายชื่่อเรื่อง

7. เขียนคำนำด้วยคำกล่าวถึงจุดประสงค์ของเรื่องที่เขียน

8. เขียนด้วยการกล่าวถึงใจความสำคัญของเรื่องที่เขียน หวังว่าจะเป็นประโยชน์กับผู้อ่าน

ตัวอย่างคำนำรายงานรายงาน

เล่มนี้จัดทำขึ้นเพื่อเป็นส่วนหนึ่งของวิชา…….ชั้น…เพื่อให้ได้ศึกษาหาความรู้

ในเรื่่อง……..และได้ศึกษาอย่างเข้าใจเพื่อเป็นประโยชน์กับการเรียน

ผู้จัดทำหวังว่า  รายงานเล่มนี้จะเป็นประโยชน์กับผู้อ่าน หรือนักเรียน นักศึกษา ที่กำลังหา

ข้อมูลเรื่องนี้อยู่ หากมีข้อแนะนำหรือข้อผิดพลาดประการใด ผู้จัดทำขอน้อมรับไว้และขออภัยมาณ ที่นี้ด้วย ผู้จัดทำ วันที่…………….

วิธีการทำรายงานทางวิชาการ

เขียนบทความอย่างไรให้ติด SEO

การเขียนบทความที่ดี มีประโยชน์ แต่ไม่มีคนอ่านมันก็น่าเสียดายนะ แต่ถ้าเราเขียนบทความโดยใช้เกณฑ์ของ SEO ก็อาจจะช่วยให้เว็บติดหน้าแรกๆ บน Google ทำให้มีคนเข้าเว็บเพิ่มมากขึ้น

วันนี้ก็เลยจะมาบอกเคล็ดลับว่าเขียนบทความหรือ Content อย่างไรให้ติด SEO วิธีการก็ไม่ยาก มีดังนี้

  1. ทุกๆ บนความนั้นจะต้องมี Keyword
    ถ้าคุณอยากให้คนเข้าชมเว็บของคุณ Keyword นี่แหละที่ช่วยให้เจอเว็บของคุณ ดังนั้นบทความที่ดีจะต้องมี Keyword อยู่ในชื่อเรื่อง, เนื้อเรื่อง, ALT Text และใน URL ด้วย อย่างเช่น Keyword: Long tail Keyowrd
  2. Keyword ต้องอย่าเยอะจนเกินไป
    เพื่อให้เว็บของคุณติด SEO Keyword ไม่ควรมีเยอะมากจนเกินไป ควรมีแค่ย่อหน้าละ 1-2 คำ ก็พอ หรือใช้คำที่มีความหมายที่คล้ายๆ กันกับ Keyword และอย่ามีเยอะ เดี๋ยว AI ของ Google จะมองว่าเป็นการสแปมนะจ๊ะ
  3. แต่ละย่อหน้าควรมีคำ 100-120 คำ
    สำหรับผู้เขียนบทความแนะนำเลยว่า แต่ละย่อหน้าควรมีคำประมาณ 100-120 คำ เพราะถ้าเยอะเกินไปบทความของคุณก็ดูน่าเบื่อ เอาจริงๆ ถ้าคุณเจอบทความที่แต่ละย่อหน้าเยอะๆ คุณจะอ่านมันจบจบไหมล่ะ? ฉันใดก็ฉันนั้น อยากทำบทความดีๆ มีประโยชน์ให้คนอ่าน ก็ต้องคัดแต่เนื้อ อย่าน้ำเยอะ!
  4. บทความที่ดีจะต้องประกอบด้วยคำอย่างน้อย 350-500 คำ
    สำหรับบทความที่ดีนั้นจะต้องประกอบด้วยคำ 300-500 คำ ถือว่าเป็นบทความที่มีคุณภาพ แล้วถ้าถามว่ายาวกว่านี้ได้ไหมสัก 5,000 คำขึ้นไป ตอบก็ได้นะ แต่ถามจริงคุณอ่านหมดหรือเปล่าล่ะ ใครอ่านหมด นี่ขอยอมรับเลย
  1. บทความจะต้องเขียนขึ้นมาเอง ไม่ซ้ำกับของใคร
    คุณจะต้องเขียนบทความขึ้นมาด้วยถ้อยคำของคุณเอง หากคุณไปลอกคนอื่นมา AI ของ Google ไม่ได้โง่นะคะ ถ้ามันรู้ว่าบทความของคุณเป็นบทความลอกมาจากที่อื่น แทนที่จะติด SEO มันก็จะกลายเป็ยบทความที่ไม่ดีไป
  2. มีการใช้ Subheading
    ก็เหมือนคุณเขียนรายงานส่งครูนั่นแหละ จะต้องมีชื่อ หรือหัวเรื่องในแต่ละส่วน คุณอาจจะใช้ Heading หรือลิสต์ก็ได้ ในบางหัวข้อของคุณอาจมี Keyword แทรกไว้อยู่ด้วยก็ดีนะ
  3. มีลิงค์ไปยังเว็บที่เกี่ยวข้อง
    การที่มีลิงค์ไปยังเว็บอื่นที่เกี่ยวข้องกับบทความของเรามีความน่าเชื่อถือ เท่านั้นยังไม่พอ ควรมีลิงค์ไปยังหน้าอื่นๆ ในเว็บของเราด้วยเพราะ AI ของ Google จะสามารถเก็บข้อมูลภายในเว็บไซต์ได้ส่งผลให้ SEO ติดอันดับในหน้าแรกๆ ด้วย
  4. ในข้อความมีการใส่ลำดับข้อความ, ลิสต์, ตัวหนา, ตัวเอียง
    เพื่อช่วยให้บทความของเราน่าอ่านเพิ่มมากขึ้น ควรใส่ลำดับข้อความ, ลิสต์, ตัวหนา, ตัวเอียง เข้าไปด้วย ลองนึกดู ถ้าคุณอ่านบทความที่มีตัวอักษรขนาดเท่ากันหมด เขียนติดกันเป็นพรืด มันก็จะชวนให้ไม่น่าอ่าน น่าเบื่อเสียก่อน
  5. ควรมีสื่อ ประเภทลิงค์วิดีโอ ลิงค์ไฟล์เสียง
    บทความของคุณจะน่าอ่านยิ่งขึ้น หากมีไฟล์วิดีโอ หรือสื่อประกอบต่างๆ เพื่อช่วยให้ผู้พิการทางสายตา หรือผู้ที่มีปัญหาด้านการอ่าน ได้รับความรู้จากบทความที่เราเขียนขึ้นมาด้วย
  6. พยายามอัพเดทเว็บบ่อยๆ
    การอัพเดทเว็บไซต์บ่อยๆ จะช่วยทำให้ Google ได้รับข้อมูลใหม่ของเว็บเราบ่อยๆ เพราะ Google นั้นชอบเว็บที่มีการอัพเดทบทความอยู่เสมอ
  7. แชร์ลิงค์บทความบทสื่อโซเชียลมีเดีย
    การแชร์ลิงค์ต่างๆ บนสื่อโซเชียลมีเดียไม่ว่าจะเป็นบน Facebook, Twitter, Instagram จะช่วยให้ผู้คนเข้าถึงบทความของเรามากขึ้น ส่งผลให้ SEO ติดอันดับแรกๆ ของผลการค้นหา
  8. คอยเช็คบทความ และวิเคราะห์ผลของบทความ
    การตรวจเช็คและวิเคราะห์บทความของเรา จะช่วยให้เรานำผลที่ได้ไปปรับแก้ไข เพื่อใช้ในการเขียนให้ดีขึ้นกว่าเดิม จะได้เขียนให้ตรง เขียนให้โดน ติดอันดับ SEO อาจใช้ตัวช่วยในการวิเคราะห์อย่าง Google Analytics ก็ได้

คุณอาจจะมองว่าเป็นเรื่องยาก ซึ่งหากปฎิบัติได้ครบแต่ถ้าหากทำแล้ว SEO ของคุณดีขึ้น อาจจะช่วยให้ติด SEO ก็เป็นได้ส่งผลให้มีคนเข้าชมเว็บของคุณมากขึ้น

5 เทคนิคการทำรายงาน

เคล็ดลับเด็ดๆ สำหรับชาวกัมบัตเตะแก๊งในวันนี้ เรามีเทคนิคการทำรายงานมาฝากน้องๆ กันจ้า รับรองว่าทำงานได้ชิลๆ สบายๆ หายเหนื่อย แถมเพิ่มโอกาสได้คะแนนเต็มอีกด้วย ไปดูกันว่า 5 เทคนิคที่จะทำให้รายงานของน้องๆ นักอ่าน และช่วยคว้าคะแนนเต็มจากคุณครูมาเสริมเกรดสวยๆ กันเล้ย

1. วางโครงเรื่องให้น่าสนใจ

อย่างแรกน้องๆ ต้องรู้ก่อนเลยว่าโครงเรื่องสำคัญมากๆ สำหรับการทำรายงานเพราะเป็นแนวทางให้คนเขียนรู้ว่าต้องเขียนอะไรต่อไป มีลำดับขั้นตอนที่ต่อเนื่อง เพื่อให้รายงานของเรามีเนื้อหาครอบคลุม ไม่หลุดประเด็นสำคัญ ดังนั้น ควรเขียนโครงเรื่องรายงานก่อนเป็นอันดับแรก

2. รูปแบบเด่น เน้นเรียบ แต่หรู

รูปเล่มรายงานที่น่าสนใจไม่จำเป็นต้องลงทุนซื้อกระดาษแพงๆ ลายการ์ตูน กลิ่นหอมฟุ้งไปถึงข้างบ้านหรือประดับด้วยสติ๊กเกอร์ให้ดูฟรุ้งฟริ้ง แต่การทำรายงานที่ถูกต้องควรเน้นความเรียบร้อย สะอาด และเป็นระเบียบ ดังนั้นใช้แค่กระดาษแข็งสีอ่อนก็ทำให้รายงานดูดีแล้วล่ะ เพราะสิ่งคุณครูตัดสินคะแนน อยู่ที่เนื้อหายในเล่มไม่ใช่แค่หน้าปกเท่านั้นจ้า

3. ภาษาดี ไม่มีเขียนคำผิด ไม่มีคำวิบัติ

ภาษาที่ใช้ในรายงานของน้องๆ ควรเป็นภาษาในระดับทางการเหมือนกับหนังสือที่เราใช้เรียนเลยค่ะ จะมาใช้ภาษาเหมือนเขียนไดอารี่หรือจดเลคเชอร์ไม่ได้นะ! เพราะจะทำให้รายงานไม่น่าเชื่อถือ และดูไม่น่าอ่าน นอกจากนี้ควรตรวจเช็คคำสะกดผิดให้ดี เพราะคุณครูเจอคำผิด อาจมีหักคะแนนก็ได้นะ

4. สรุปให้คนอ่านเข้าใจเนื้อหาทั้งหมด

อีกหนึ่งส่วนสำคัญของการทำรายงานเลยก็คือ “บทสรุป” ที่อยู่ตอนท้ายจะเป็นส่วนที่ขมวดทุกอย่างในรายงานให้เหลือใน 1 หน้าพร้อมเสนอข้อแนะนำ ดังนั้นบทสรุปจึงต้องเป็นส่วนที่กระชับ ชัดเจน เทคนิคการเขียนสรุปที่ดี น้องๆ สามารถเปิดหนังสือเรียน เช่น วิชาสังคมฯ วิชาวิทยาศาสตร์ ดูเป็นตัวอย่างได้นะ เพราะเป็นตัวอย่างที่ดี มีองค์ประกอบครบ ทั้งส่วนเกริ่นเรื่อง เนื้อเรื่อง ไปจนถึงบทสรุป เพราะเป็นตัวอย่างที่ดีที่ให้น้องๆ ศึกษาวิธีการเขียนรายงานได้จ้า

5. ส่งตรงเวลา

เอาล่ะ เรื่องเวลาก็สำคัญนะจ๊ะ เพราะต่อให้ทำมาซะดิบดี หรูหราอลังการ 1,000 หน้า แต่เอามาส่งไม่ตรงเวลา อาจโดนคุณครูหักคะแนน หรือที่เลวร้ายกว่านั้นคือคุณครูอาจไม่รับส่งเลยก็ว่าได้ ฉะนั้น ควรใส่ใจกับเรื่องกำหนดวันส่งสักนิดนึงน้า

“แปลงไฟล์เสียงเป็นข้อความ” ระบบใหม่จาก Microsoft ประหยัดเวลาในการพิมพ์มากมาย

"แปลงไฟล์เสียงเป็นข้อความ" ระบบใหม่จาก Microsoft ประหยัดเวลาในการพิมพ์มากมาย

บอกเลยว่าเป็นข่าวดีมากๆ สำหรับคนที่อยากประหยัดเวลาในการพิมพ์งานในโปรแกรม Microsoft Word เป็นอย่างมาก เพราะว่าล่าสุดทาง Microsoft เขาได้เปิดตัวฟังก์ชั่นใหม่ของทาง Microsoft Office ซึ่งนั่นก็คือ การแปลงไฟล์เสียงเป็นข้อความนั่นเอง

02

วิธีทำเรียกว่าง่ายมาก แค่อัปโหลดเสียงไฟล์ที่ต้องการเข้าสู่บัญชี OneDrive ของเรา และหลังจากนั้นไฟล์เสียงก็จะถูกแปลงด้วยระบบ Azure Speech Services และส่งข้อมูลให้กับเราได้โดยตรง

04

และที่เยี่ยมกว่านั้น ระบบ Azure Speech Services สามารถแยกเสียงผู้พูดได้ ไม่ทำให้เสียงพูดปนกัน และทำให้เสียเวลาแยกข้อความอีกด้วย โดยฟังก์ชั่นแปลงเสียงเป็นข้อความนั้นจะเริ่มเปิดใช้งานช่วงปี 2020 เป็นต้นไป ผ่านทางออนไลน์ Word for Web ก่อน และจะเปิดใช้งานในเวอร์ชันเดสก์ทอปและมือถือต่อไปในอนาคต

“แปลงไฟล์เสียงเป็นข้อความ” ระบบใหม่จาก Microsoft ประหยัดเวลาในการพิมพ์มากมาย

การเขียนรายงาน วิธีการเขียนรายงาน

วิธีเขียนรายงาน ฉบับสมบูรณ์ เขียนรายงาน อย่างไรให้ครบถ้วนไม่ตกทุกรายละเอียด

การเขียนรายงาน คือการเขียนเสนอผลงานอันได้มาจากการศึกษาค้นคว้าพิเศษนอกเหนือจากเรื่องที่ได้ศึกษาในชั้นเรียนเพื่อส่งเสริมให้ผู้เรียนรู้จักแสวงหาความรู้ด้วยตนเอง

รูปแบบของรายงาน

รูปแบบของการรายงาน แบ่งออกเป็น 3 ส่วน คือ ส่วนประกอบตอนต้น ส่วนเนื้อหา และส่วนประกอบตอนท้าย ดังนี้

ส่วนประกอบตอนต้น

  1. หน้าปกรายงาน ส่วนบนเขียนชื่อเรื่อง ส่วนกลางชื่อผู้รายงาน ส่วนล่างบรรทัดแรกให้เขียนว่า “ รายงานนี้เป็นส่วนหนึ่งของการศึกษาวิชา… ” บรรทัดที่สองเป็นชื่อสถาบันศึกษา ส่วนบรรทัดที่สามบอกภาคที่เรียนและปีการศึกษา
  2. คำขอบคุณ เป็นส่วนที่ไม่บังคับ อาจมีหรือไม่มีก็ได้
  3. คำนำ เป็นการบอกขอบข่ายของเรื่อง สาเหตุที่ทำให้เลือกทำรายงานเรื่องนี้ จุดมุ่งหมายในการเขียน
  4. สารบัญ หมายถึง บัญชีบทต่าง ๆ ในสารบัญมีบทและตอนต่าง ๆ เรียงตามลำดับกับที่ปรากฏในหนังสือ ตลอดจนการขอบคุณผู้ที่ช่วยเหลือในการทำรายงาน
  5. บัญชีตารางหรือภาพประกอบ (ถ้ามี) เพื่อให้มีเนื้อหาที่สมบูรณ์ยิ่งขึ้น รายงานบางเรื่องอาจต้องใช้ตาราง นิยมทำบัญชีตารางหรือบัญชีภาพประกอบไว้ในหน้าถัดไปจากสารบัญ

ส่วนเนื้อเรื่อง

  1. ส่วนที่เป็นเนื้อหา ต้องมีตอนนำ ตอนตัวเรื่อง และตอนลงท้ายเช่นเดียวกับการเขียนเรียงความ
  2. ส่วนประกอบในเนื้อหา ได้แก่
    • อัญประกาศ คือข้อความที่คัดมาจากคำพูดหรือข้อเขียนของผู้อื่น โดยไม่ได้ดัดแปลง
    • เชิงอรรถ คือข้อความท้ายหน้า มีไว้เพื่อแจ้งที่มาของข้อความในตัวเรื่อง

ส่วนประกอบตอนท้าย

  1. บรรณานุกรม คือ รายชื่อสิ่งพิมพ์ตลอดจนวัสดุอ้างอิงทุกชนิด ที่เกี่ยวข้องกับการทำรายงาน พิมพ์ไว้ ตอนท้ายสุดของรายงาน การเขียนบรรณานุกรม ต้องบอกชื่อสกุลผู้แต่ง ชื่อหนังสือ ครั้งที่พิมพ์
    • เมืองที่พิมพ์ สำนักพิมพ์ ปีที่พิมพ์ จำนวนหน้า
  2. ภาคผนวกหรืออภิธานศัพท์ คือ ส่วนที่นำมาเพิ่มเติมท้ายรายงานเพื่อให้ผู้อ่านเข้าใจแจ่มแจ้งยิ่งขึ้น

กระบวนการเขียนรายงาน

ขั้นตอนการเขียนรายงาน มีดังนี้

  1. การเลือกเรื่องและตั้งชื่อเรื่อง เรื่องที่เลือกมาศึกษา ควรเป็นเรื่องที่เสริมความรู้ในการเรียนวิชาใดวิชาหนึ่ง ขอบเขต ที่เลือกควรเหมาะสมกับเวลาในการค้นคว้าและการเขียนรายงาน
  2. การกำหนดจุดมุ่งหมายและขอบเขตของเรื่อง จะต้องมีจุดมุ่งหมายและเสนอเรื่องราวเกี่ยวกับอะไร เพื่ออะไร มีขอบเขตเพียงใด เช่น หากจะเขียนรายงานเรื่องพิธีมงคลโกนจุกอาจกำหนดจุดมุ่งหมายและขอบเขต ดังนี้
    • จุดมุ่งหมาย : การศึกษาประเพณีไทยโบราณ
    • ขอบเขต : ความเป็นมาและงานพิธีโกนจุก
  3. การเขียนโครงเรื่อง โครงเรื่อง คือ กรอบ ของเรื่องที่ใช้เป็น แนว ในการเขียนรายงานโครงเรื่องประกอบด้วย
    • บทนำหรือความนำซึ่งมีหัวข้อใหญ่และหัวข้อย่อย ควรตั้งชื่อให้กะทัดรัด ใจความครอบคลุมเนื้อหา
  4. การเขียนเนื้อหา ได้จากการค้นคว้า จากแหล่งต่าง ๆ ไม่ว่าจากการอ่าน การฟัง การสังเกต การสัมภาษณ์ ฯลฯ ที่ผู้เขียนได้บันทึกไว้ แต่ไม่ใช่การคัดลอกหรือตัดต่อ ผู้เขียนเรียบเรียงด้วยสำนวนของตนเอง สำนวนภาษาควรอ่านเข้าใจง่าย ใช้คำที่เหมาะสม ประโยคกะทัดรัด
  5. บทสรุป คือสรุปผลการศึกษาค้นคว้า มีการอภิปรายผลการศึกษาค้นคว้าและเสนอแนะ ( ถ้ามี )
  6. การอ้างถึง หมายถึงการบอกให้ทราบว่าข้อความที่ใช้ในการเขียนรายงานมาจากแหล่งใด เพื่อผู้อ่านจะได้ตรวจสอบหรือติดตามอ่านเพิ่มเติม

การจัดรูปแบบการเขียนรายงาน เรียงลำดับตามนี้

  1. หน้าปก
  2. หน้ารองปก (กระดาษเปล่า)
  3. หน้าปกใน (รายละเอียดเหมือนหน้าปกแต่ใช้กระดาษสีขาว)
  4. คำนำ
  5. สารบัญ
  6. เนื้อเรื่อง
  7. บรรณานุกรม
  8. ภาคผนวก
  9. รองปกหลัง (กระดาษเปล่า)
  10. หน้าปกหลัง

การจัดหน้ากระดาษ ใช้กระดาษ A4 โดยตั้งค่าหน้ากระดาษ ดังนี้

  • ซ้าย ระยะห่างเท่ากับ 1.5 นิ้ว
  • ขวา ระยะห่างเท่ากับ 1 นิ้ว
  • บน ระยะห่างเท่ากับ 1.5 นิ้ว
  • ล่าง ระยะห่างเท่ากับ 1 นิ้ว

หมายเหตุ 1 นิ้ว เท่ากับ 2.54 เซนติเมตร

ตัวอย่างปกรายงาน

cam_2

ตัวอย่างคำนำรายงาน

คำนำ

รายงานเล่มนี้จัดทำขึ้นเพื่อเป็นส่วนหนึ่งของวิชา…….ชั้น…เพื่อให้ได้ศึกษาหาความรู้ในเรื่อง……..และได้ศึกษาอย่างเข้าใจเพื่อเป็นประโยชน์กับการเรียน

ผู้จัดทำหวังว่า รายงานเล่มนี้จะเป็นประโยชน์กับผู้อ่าน หรือนักเรียน นักศึกษา ที่กำลังหาข้อมูลเรื่องนี้อยู่ หากมีข้อแนะนำหรือข้อผิดพลาดประการใด ผู้จัดทำขอน้อมรับไว้และขออภัยมา ณ ที่นี้ด้วย


ผู้จัดทำ
วันที่…………….

ตัวอย่างสารบัญ

cam-33


ตัวอย่างบรรณานุกรม

cam-44


ภาคผนวก ภาคผนวกคือ ส่วนที่เพิ่มเติมจากรายงานเพื่อให้เข้าใจเนื้อเรื่องได้ดีขึ้น เช่น สถิติ รูปภาพ แบบสอบถาม

เทคนิค การเขียนบทความ อย่างไรให้โดนใจกลุ่มเป้าหมาย

เทคนิค เขียนบทความ

1. กำหนดจุดประสงค์ของเรื่องก่อนเขียน

ทุกครั้งก่อนที่คุณจะเริ่มต้นเขียนเรื่องราวอะไรสักอย่างเพื่อถ่ายทอดให้ผู้อื่นได้อ่าน สิ่งแรกที่คุณควรทำคือการกำหนดจุดประสงค์ของเรื่องราวที่คุณจะเขียนเสียก่อน ว่าต้องเขียนเรื่องราวให้ออกมาในรูปแบบไหน ทำให้ผู้อ่านรู้สึกอย่างไร หรืออยากให้ผู้อ่านได้รับอะไรจากการอ่านบทความของคุณบ้าง

โดยการกำหนดจุดประสงค์ก่อนการเขียนบทความจะทำให้คุณสามารถเลือกแนวทางในการเขียนเล่าเรื่องราวได้อย่างเหมาะสม และทำให้การเขียนบทความมีจุดมุ่งหมายไม่หลงประเด็น ซึ่งจะทำให้ผู้อ่านรู้สึกคล้อยตามสิ่งที่คุณกำหนดไว้อย่างการเขียนเพื่อให้ความรู้คุณก็ต้องเลือกรูปแบบการเขียนด้วยการใช้คำที่ดูเป็นทางการเพื่อสร้างความรู้สึกน่าเชื่อถือให้บทความเมื่อถูกอ่าน ที่ถือว่าเป็นจุดประสงค์ที่ได้ตั้งไว้ก่อนทำการเขียนบทความนั่นเอง

เทคนิค เขียนบทความ

2. ใช้หลัก 5 W+1H

เทคนิค การเขียนบทความ ให้น่าสนใจ และโดนใจผู้อ่านนั้น คุณจำเป็นต้องทำให้ผู้อ่านสามารถเข้าถึงเรื่องราว หรือจินตนาการตามที่คุณได้เขียนเล่าออกไปได้อย่างง่ายดาย จากการใช้หลัก 5 W+1H หรือก็คือการใช้หลักการ Who (ใคร) What (ทำอะไร) Where (ที่ไหน) When (เมื่อไหร่) Why (ทำไม) How (ทำได้อย่างไร) เข้ามาช่วยในการอธิบายเพื่อสร้างจินตนาการให้กับผู้อ่านได้อย่างเป็นขั้น เป็นตอนที่จะทำให้ผู้อ่านเข้าใจเรื่องราวที่ได้อ่านง่ายขึ้น ซึ่งวิธีนี้มักถูกใช้อย่างมากมายในหลายๆ ด้านไม่ว่าจะเป็น ด้านการทำภาพยนตร์ การเขียนนิยาย หรือแม้แต่การทำรายการทีวีทั่วไป ก็เลือกวิธีนี้ในการสร้างเรื่องราวให้น่าสนใจและทำให้ผู้อ่านเกิดเข้าใจได้ง่ายขึ้น

เทคนิค เขียนบทความ

3. สรุปจบให้ตราตรึงใจ

นอกจากการเริ่มต้นการเขียนเรื่องราวที่ดีแล้ว การสรุปจบเรื่องราวที่คุณได้เขียนให้ตราตรึงใจก็สามารถสร้างรู้สึกดีๆ ให้กับผู้อ่านได้เช่นกัน ซึ่งตอนจบอันตราตรึงใจที่คุณต้องสร้างขึ้นมานั้น ต้องสามารถทำให้ผู้อ่านเกิดความตราตรึงใจ สามารถมัดใจของผู้อ่านให้เกิดความรู้สึกชื่นชอบบทความ หรืออยากติดตามบทความของคุณอีกต่อไปในอนาคต

โดยคุณสามารถสร้างความตราตรึงใจได้จากการเขียนสรุปให้ผู้อ่านมีความคิดเชิงบวก ให้กำลังใจในเรื่องการใช้ชีวิต การทำงาน หรือการแสดงว่าคุณก็เป็นอีกหนึ่งคนที่มีความคิดคล้ายกับผู้อ่าน ซึ่งการสร้างบทสรุปที่ตราตรึงใจนั้น จำเป็นต้องทำให้สอดคล้องกับเนื้อเรื่อง และวัตถุประสงค์ของเรื่องที่คุณได้ทำขึ้นมาด้วย เพื่อให้บทสรุปเรื่องราวที่คุณได้ถ่ายทอดออกมาสัมพันธ์กับเนื้อหาที่ได้เขียนมาก่อนหน้านี้ด้วย

เทคนิค การเขียนบทความ

4. เล่าเรื่องอย่างมีจุดพีค

การเล่าเรื่องให้มีจุดพีค หรือจุดที่สร้างความพลิกผันที่เกิดจากการตัดสินใจเลือกสิ่งใดสิ่งหนึ่งเข้ามาเป็นส่วนหนึ่งของบทความที่จะทำให้ผลลัพธ์ที่ออกมาแตกต่างกัน ซึ่งสามารถสร้างขึ้นมาได้อย่างน้อยๆ หนึ่งจุดเพื่อให้เรื่องราวได้ไปสู่จุดพลิกผันที่จะทำให้ผู้อ่านบางคนที่กำลังประสบปัญหาเดียวกัน หรือปัญหาที่คล้ายๆ กันได้ตัดสินใจว่าตนเองควรทำเช่นไรต่อไปจะทำตามที่ผู้เขียนบอกไว้ หรือสร้างแนวทางใหม่ที่อาจจะดีกว่าให้กับตัวเองได้จากการอ่านบทความ

ซึ่งสิ่งสำคัญสำหรับการสร้างจุดพีค หรือจุดพลิกผันในการเขียนบทความก็คือคุณไม่ควรสับสนระหว่างการเล่าเรื่องให้มีจุดพีค กับการสร้างตอนจบของเรื่องให้น่าประทับใจ เพราะจุดพีค หรือจุดพลิกผันที่ไม่สามารถบอกได้ว่าผู้อ่านจะเจอกับอะไรในอนาคต แต่จะบอกเพียงแค่ผู้เขียนได้ผ่านอะไรมาบ้าง ผลลัพธ์ที่ผู้อ่านได้เลือกจากนี้ต่อไปจะเป็นอย่างไรบ้าง ซึ่งส่วนนี้ก็นับว่าเป็นส่วนที่สามารถสร้างแรงใจให้กับผู้อ่านได้เป็นอย่างดีอีกหนึ่งส่วน

หากจะให้คุณผู้อ่านได้ไปแค่ 4 เทคนิคสำหรับการเขียนให้น่าสนใจมันก็ดูน้อยจนเกินไป ดังนั้นเรามาต่อกันด้วย 7 เทคนิคการเขียนคำโฆษณาที่คุณควรรู้ สำหรับคนที่ต้องการเขียนเพื่อส่งเสริมการตลาด หรือเขียนเพื่อทำโฆษณาในการทำธุรกิจของคุณ

1. แอบเข้าไปอยู่ในใจของผู้อ่าน

เทคนิค การเขียนบทความ หลายคนอาจมองว่าการเขียนคือการสร้างประโยค และการคัดสรรคำที่สวยงามมาใช้งาน แต่นั่นก็ไม่ใช่ทั้งหมดของการเขียน เพราะการเขียนที่ดีไม่ใช่แค่สร้างสรรค์คำที่สวยหรู แต่จะต้องเขียนให้เข้าไปในใจของผู้อ่านได้ และการเขียนให้เข้าไปอยู่ในใจของผู้อ่านวิธีที่ดีที่สุดคือเข้าใจผู้อ่าน ใช้คำเขียนในแบบที่ผู้อ่านจะเข้าใจ และสามารถเข้าถึงผู้อ่านได้แม้อ่านเพียงไม่กี่ประโยค

2. ส่งเสริมผลิตภัณฑ์ด้วยการจับคู่คุณสมบัติ กับประโยชน์

สิ่งที่จะโน้มน้าวจิตใจของผู้อ่านได้ดีที่สุด คือการบอกเล่าในสิ่งที่ผู้อ่านต้องการทราบ เมื่อพวกเขาได้ลงมือค้นหาข้อมูล ดังนั้นในการเขียนเพื่อส่งเสริมการขายคุณก็ไม่ควรพลาดที่จะเขียนบอกถึงคุณสมบัติต่างๆ ที่ผลิตภัณฑ์ของคุณมี พร้อมบอกถึงประโยชน์ที่ได้รับจากคุณสมบัติเหล่านั้น

3. เฉพาะเจาะจง

หากการเขียนคำโฆษณาของคุณจะเต็มไปด้วยอารัมภบท ที่ไม่มีความเกี่ยวข้องกับผลิตภัณฑ์ขอบอกเลยว่าการเขียนคำโฆษณาของคุณนั้นมันทำให้ผู้พบเห็นรู้สึกเบื่อหน่าย ดังนั้นการเขียนคำโฆษณาควรถูกออกแบบมาให้มีความเฉพาะเจาะจง แสดงให้ผู้พบเห็น หรือผู้อ่านทราบว่าสิ่งนี้คืออะไร ต้องการจะสื่อสารกับผู้อ่านในทิศทางใด

4. เขียนถึงผู้คนที่กล่าวถึงคุณ

ผู้คนในปัจจุบันมีพฤติกรรมในการค้นหาข้อมูลก่อนทำการซื้อสินค้า หรือบริการมากยิ่งขึ้น หากคุณเป็นหนึ่งคนที่ต้องการให้ผู้คนมั่นใจกับการซื้อสินค้า และบริการของคุณ ก็อย่าลืมนำคำพูดที่ผู้คนกล่าวถึงสินค้า และบริการมาเขียนถ่ายทอดออกไปให้ผู้ที่สนใจเข้ามาอ่านดู

5. เอาชนะคำคัดค้าน

ในการโฆษณาคงจะไม่แปลกอะไรที่ผู้อ่าน หรือผู้พบเห็นจะมีความรู้สึกแตกต่างกันออกไปไม่ว่าจะเชื่อคำโฆษณาอย่างสนิทใจ สงสัยในคำโฆษณาตลอดจนคัดค้าน ไม่เห็นด้วยกับคำโฆษณาของคุณ ดังนั้นในการเขียนโฆษณาคุณจำเป็นจะต้องสร้างความมั่นใจให้กับโฆษณา ด้วยการเอาชนะข้อคัดค้านต่างๆ ที่อาจจะเกิดขึ้นในอนาคต

6. เข้าให้ถึงใจของลูกค้ายิ่งขึ้น

การจะเข้าถึงใจใคร สิ่งที่คุณต้องทำให้ได้คือเข้าใจพวกเขาอย่างการมองเห็นปัญหาที่กลุ่มเป้าหมายของคุณต้องพบเจออย่างเช่น Am2bmarketing ผู้เชี่ยวชาญด้านการตลาด ที่มองเห็นปัญหาในการทำตลาดของกลุ่มเป้าหมาย จึงเขียนโฆษณาสื่อให้กลุ่มเป้าหมายเห็นว่า Am2bmarketing เข้าใจปัญหาของพวกเขาในเรื่องของการเขียนคอนเทนต์ทางการตลาด และพร้อมให้บริการด้านการทำคอนเทนต์ทางการตลาด

7. กระตุ้นการตัดสินใจ

สิ่งที่ขาดไม่ได้สำหรับการทำตลาดออนไลน์คือคำกระตุ้นการตัดสินใจ ที่จะส่งเสริมผู้ชมโฆษณาของคุณให้ตัดสินใจหรือดำเนินการตามวัตถุประสงค์ของการโฆษณา ซึ่งวัตถุประสงค์ก็แตกต่างกันออกไปตามแต่ผู้จัดทำต้องการไม่ว่าจะเป็นการสนับสนุนการซื้อ การสนับสนุนให้กดรับข้อมูล ด้วยข้อความสั้นๆ อย่างซื้อเลยสินค้ามีจำนวนจำกัด หรือรับสมัครขอข้อมูลฟรี

จากที่คุณได้อ่านเทคนิคการ เขียนบทความ ทั้งหมด หากมีเคล็ดลับ หรือเทคนิคการเขียนบทความแบบไหนที่คุณรู้สึกสนใจ และคิดว่าสามารถนำไปใช้งานได้ ก็อย่าลืมนำไปทดลองใช้งานดู แต่ถ้าหากการทำ Content ดูจะเป็นเรื่องยากสำหรับคุณลองหันมาใช้บริการทีมงาน Content Marketing ของ Am2b Marketing ดูนะคะ

แนะนำการเขียนบทความ

วิธีการเขียนบทความ วิธีเขียนรายงาน

วิธีเขียนรายงาน ฉบับสมบูรณ์ เขียนรายงาน อย่างไรให้ครบถ้วนไม่ตกทุกรายละเอียด

การเขียนรายงาน คือการเขียนเสนอผลงานอันได้มาจากการศึกษาค้นคว้าพิเศษนอกเหนือจากเรื่องที่ได้ศึกษาในชั้นเรียนเพื่อส่งเสริมให้ผู้เรียนรู้จักแสวงหาความรู้ด้วยตนเอง

รูปแบบของรายงาน

รูปแบบของการรายงาน แบ่งออกเป็น 3 ส่วน คือ ส่วนประกอบตอนต้น ส่วนเนื้อหา และส่วนประกอบตอนท้าย ดังนี้

ส่วนประกอบตอนต้น

  1. หน้าปกรายงาน ส่วนบนเขียนชื่อเรื่อง ส่วนกลางชื่อผู้รายงาน ส่วนล่างบรรทัดแรกให้เขียนว่า “ รายงานนี้เป็นส่วนหนึ่งของการศึกษาวิชา… ” บรรทัดที่สองเป็นชื่อสถาบันศึกษา ส่วนบรรทัดที่สามบอกภาคที่เรียนและปีการศึกษา
  2. คำขอบคุณ เป็นส่วนที่ไม่บังคับ อาจมีหรือไม่มีก็ได้
  3. คำนำ เป็นการบอกขอบข่ายของเรื่อง สาเหตุที่ทำให้เลือกทำรายงานเรื่องนี้ จุดมุ่งหมายในการเขียน
  4. สารบัญ หมายถึง บัญชีบทต่าง ๆ ในสารบัญมีบทและตอนต่าง ๆ เรียงตามลำดับกับที่ปรากฏในหนังสือ ตลอดจนการขอบคุณผู้ที่ช่วยเหลือในการทำรายงาน
  5. บัญชีตารางหรือภาพประกอบ (ถ้ามี) เพื่อให้มีเนื้อหาที่สมบูรณ์ยิ่งขึ้น รายงานบางเรื่องอาจต้องใช้ตาราง นิยมทำบัญชีตารางหรือบัญชีภาพประกอบไว้ในหน้าถัดไปจากสารบัญ

ส่วนเนื้อเรื่อง

  1. ส่วนที่เป็นเนื้อหา ต้องมีตอนนำ ตอนตัวเรื่อง และตอนลงท้ายเช่นเดียวกับการเขียนเรียงความ
  2. ส่วนประกอบในเนื้อหา ได้แก่
    • อัญประกาศ คือข้อความที่คัดมาจากคำพูดหรือข้อเขียนของผู้อื่น โดยไม่ได้ดัดแปลง
    • เชิงอรรถ คือข้อความท้ายหน้า มีไว้เพื่อแจ้งที่มาของข้อความในตัวเรื่อง

ส่วนประกอบตอนท้าย

  1. บรรณานุกรม คือ รายชื่อสิ่งพิมพ์ตลอดจนวัสดุอ้างอิงทุกชนิด ที่เกี่ยวข้องกับการทำรายงาน พิมพ์ไว้ ตอนท้ายสุดของรายงาน การเขียนบรรณานุกรม ต้องบอกชื่อสกุลผู้แต่ง ชื่อหนังสือ ครั้งที่พิมพ์
    • เมืองที่พิมพ์ สำนักพิมพ์ ปีที่พิมพ์ จำนวนหน้า
  2. ภาคผนวกหรืออภิธานศัพท์ คือ ส่วนที่นำมาเพิ่มเติมท้ายรายงานเพื่อให้ผู้อ่านเข้าใจแจ่มแจ้งยิ่งขึ้น

กระบวนการเขียนรายงาน

ขั้นตอนการเขียนรายงาน มีดังนี้

  1. การเลือกเรื่องและตั้งชื่อเรื่อง เรื่องที่เลือกมาศึกษา ควรเป็นเรื่องที่เสริมความรู้ในการเรียนวิชาใดวิชาหนึ่ง ขอบเขต ที่เลือกควรเหมาะสมกับเวลาในการค้นคว้าและการเขียนรายงาน
  2. การกำหนดจุดมุ่งหมายและขอบเขตของเรื่อง จะต้องมีจุดมุ่งหมายและเสนอเรื่องราวเกี่ยวกับอะไร เพื่ออะไร มีขอบเขตเพียงใด เช่น หากจะเขียนรายงานเรื่องพิธีมงคลโกนจุกอาจกำหนดจุดมุ่งหมายและขอบเขต ดังนี้
    • จุดมุ่งหมาย : การศึกษาประเพณีไทยโบราณ
    • ขอบเขต : ความเป็นมาและงานพิธีโกนจุก
  3. การเขียนโครงเรื่อง โครงเรื่อง คือ กรอบ ของเรื่องที่ใช้เป็น แนว ในการเขียนรายงานโครงเรื่องประกอบด้วย
    • บทนำหรือความนำซึ่งมีหัวข้อใหญ่และหัวข้อย่อย ควรตั้งชื่อให้กะทัดรัด ใจความครอบคลุมเนื้อหา
  4. การเขียนเนื้อหา ได้จากการค้นคว้า จากแหล่งต่าง ๆ ไม่ว่าจากการอ่าน การฟัง การสังเกต การสัมภาษณ์ ฯลฯ ที่ผู้เขียนได้บันทึกไว้ แต่ไม่ใช่การคัดลอกหรือตัดต่อ ผู้เขียนเรียบเรียงด้วยสำนวนของตนเอง สำนวนภาษาควรอ่านเข้าใจง่าย ใช้คำที่เหมาะสม ประโยคกะทัดรัด
  5. บทสรุป คือสรุปผลการศึกษาค้นคว้า มีการอภิปรายผลการศึกษาค้นคว้าและเสนอแนะ ( ถ้ามี )
  6. การอ้างถึง หมายถึงการบอกให้ทราบว่าข้อความที่ใช้ในการเขียนรายงานมาจากแหล่งใด เพื่อผู้อ่านจะได้ตรวจสอบหรือติดตามอ่านเพิ่มเติม

การจัดรูปแบบการเขียนรายงาน เรียงลำดับตามนี้

  1. หน้าปก
  2. หน้ารองปก (กระดาษเปล่า)
  3. หน้าปกใน (รายละเอียดเหมือนหน้าปกแต่ใช้กระดาษสีขาว)
  4. คำนำ
  5. สารบัญ
  6. เนื้อเรื่อง
  7. บรรณานุกรม
  8. ภาคผนวก
  9. รองปกหลัง (กระดาษเปล่า)
  10. หน้าปกหลัง

การจัดหน้ากระดาษ ใช้กระดาษ A4 โดยตั้งค่าหน้ากระดาษ ดังนี้

  • ซ้าย ระยะห่างเท่ากับ 1.5 นิ้ว
  • ขวา ระยะห่างเท่ากับ 1 นิ้ว
  • บน ระยะห่างเท่ากับ 1.5 นิ้ว
  • ล่าง ระยะห่างเท่ากับ 1 นิ้ว

หมายเหตุ 1 นิ้ว เท่ากับ 2.54 เซนติเมตร

ตัวอย่างปกรายงาน

cam_2

ตัวอย่างคำนำรายงาน

คำนำ

รายงานเล่มนี้จัดทำขึ้นเพื่อเป็นส่วนหนึ่งของวิชา…….ชั้น…เพื่อให้ได้ศึกษาหาความรู้ในเรื่อง……..และได้ศึกษาอย่างเข้าใจเพื่อเป็นประโยชน์กับการเรียน

ผู้จัดทำหวังว่า รายงานเล่มนี้จะเป็นประโยชน์กับผู้อ่าน หรือนักเรียน นักศึกษา ที่กำลังหาข้อมูลเรื่องนี้อยู่ หากมีข้อแนะนำหรือข้อผิดพลาดประการใด ผู้จัดทำขอน้อมรับไว้และขออภัยมา ณ ที่นี้ด้วย


ผู้จัดทำ
วันที่…………….

ตัวอย่างสารบัญ

cam-33


ตัวอย่างบรรณานุกรม

cam-44


ภาคผนวก ภาคผนวกคือ ส่วนที่เพิ่มเติมจากรายงานเพื่อให้เข้าใจเนื้อเรื่องได้ดีขึ้น เช่น สถิติ รูปภาพ แบบสอบถาม

วิธีเขียนรายงาน ฉบับสมบูรณ์ เขียนรายงาน อย่างไรให้ครบถ้วนไม่ตกทุกรายละเอียด

วิธีการเขียนบทความ

เขียนบทความไม่เป็น เริ่มต้นอย่างไรดี

สำหรับเนื้อหาในเรื่องนี้เรียกได้ว่ามีความสำคัญกับการทำเว็บไซต์อย่างมาก เพราะเว็บไซต์ที่สร้างขึ้นมาส่วนใหญ่แล้วก็เพื่อเผยแพร่ข้อมูลให้กับผู้อ่านหรือผู้เข้าชมเว็บไซต์  คนที่มีหน้าที่จัดทำเนื้อหาให้เว็บไซต์จะต้องมีความสามารถในการถ่ายทอดข้อความ เพื่อให้สาระ แจ้งข้อเท็จจริง แสดงความคิดเห็น หรือถ่ายทอดความรู้และประสบการณ์ ออกมาเป็นงานเขียนในรูปของ “บทความ” ให้ได้ค่ะ

ไม่มีใครเก่งมาตั้งแต่เกิด สำหรับผู้ที่คิดว่าตัวเองเขียนบทความไม่เป็น หรือเขียนออกมาได้ยังไม่ดีนัก ขาดความมั่นใจในการเขียน หากได้เรียนรู้หลักการและแนวทางการเขียนบทความ จากนั้นทดลองเขียน และปรับปรุงแก้ไขข้อบกพร่องอยู่เสมอ เชื่อว่าเราจะเขียนบทความได้ดีขึ้นอย่างแน่นอน

เรามาเริ่มเรียนรู้เกี่ยวกับการเขียนบทความกันเลยค่ะ
(บทความในที่นี้หมายถึงพวกบทความทั่วไป ไม่ใช่บทความวิชาการนะคะ)

ส่วนประกอบในบทความ

ส่วนประกอบในบทความที่สำคัญ ได้แก่ บทนำ เนื้อหาของเรื่อง และบทสรุป นอกจากนี้อาจจะนับรวม ชื่อเรื่อง และส่วนอ้างอิง เข้าไปด้วย ซึ่งส่วนประกอบแต่ละส่วนมีหน้าที่ของมันอยู่ค่ะ

1. ชื่อเรื่อง
ชื่อเรื่องเป็นจุดแรกที่ผู้อ่านเห็น ดังนั้นต้องตั้งชื่อเรื่องให้น่าสนใจให้น่าอ่านที่สุด ถ้าชื่อเรื่องไม่มีพลังดึงดูดพอ ผู้อ่านอาจจะไม่ (คลิก) เข้าไปหน้าเนื้อหาของบทความ หรือปิดหน้าบทความไป

ชื่อเรื่องที่ดีควรจะบอกประเด็นหลักของเรื่องและเหมาะสมกับเนื้อเรื่อง ถ้าเนื้อหาในเรื่องไม่ตรงกับชื่อเรื่อง หรือไม่น่าสนใจเหมือนชื่อเรื่อง คนอ่านก็อาจจะรู้สึกเหมือนโดนหลอกได้ สำหรับการตั้งชื่อเรื่องจะตั้งก่อนจะเขียนเนื้อหา หรือตั้งหลังจากเขียนเนื้อหาของเรื่องเสร็จแล้วก็ได้ค่ะ

2. บทนำ
บทนำเป็นส่วนที่อยู่ในตอนต้นของบทความ (ย่อหน้าแรกๆ) บอกให้ผู้อ่านทราบคร่าวๆ ว่าบทความนี้เขียนเกี่ยวกับเรื่องอะไร ส่วนนี้มักจะเป็นการอธิบายความหมายและความสำคัญของชื่อเรื่อง หรือบอกเล่าว่าเรื่องนี้น่าสนใจอย่างไร ให้ประโยชน์อะไร ช่วยผู้อ่านได้อย่างไร บอกสภาพปัญหา หรือขอบข่ายเนื้อหา เป็นต้น

บทนำเป็นส่วนที่จะต้องเขียนให้น่าอ่านชวนติดตาม เพราะผู้อ่านมักจะลองอ่านบทนำดูก่อน ถ้าบทนำดีจะจูงใจผู้อ่านให้อยากติดตามเนื้อเรื่องต่อไปจนจบ

3. เนื้อหาของเรื่อง
เป็นส่วนที่อธิบายเรื่องที่เขียนแบบละเอียด มีการแบ่งเนื้อหาออกเป็นหลายหัวข้อตามความเหมาะสม

4. บทสรุป
เป็นส่วนที่อยู่ท้ายสุดของเรื่อง โดยจะสรุปสาระสำคัญของเรื่อง

5. อ้างอิง (ถ้ามี)
เป็นส่วนที่อยู่ท้ายบทความ จะบอกรายชื่อหนังสือ สิ่งพิมพ์ บทความวารสาร บทความหนังสือพิมพ์ หน้าเว็บเอกสาร  รวมทั้งสื่อบันทึกเสียง และสื่อบันทึกวีดีโอต่างๆ ที่เรานำมาใช้เป็นหลักฐานอ้างอิงในการเขียน

หากในเนื้อเรื่องมีการนำข้อความ แนวคิด รูปภาพ ตาราง แผนภูมิสถิติใดมาจากที่อื่น ควรระบุแหล่งที่มาของข้อมูลนั้นด้วย การอ้างอิงจะช่วยเสริมให้เรื่องที่เราเขียนน่าเชื่อถือยิ่งขึ้น และถือเป็นการให้เกียรติแก่เจ้าของผลงานด้วยค่ะ

ขั้นตอนในการเขียนบทความ

1. กำหนดเรื่องที่จะเขียน ว่าจะเขียนเรื่องอะไร
ถ้าเราสามารถเลือกเรื่องที่จะเขียนได้เอง การเลือกเรื่องที่เรามีความสนใจ มีความรู้ มีประสบการณ์ในเรื่องนั้นๆ อยู่แล้ว ก็จะมีส่วนช่วยให้เราเขียนถ่ายทอดออกมาได้ง่ายและลื่นไหล และยิ่งเลือกเรื่องที่กำลังเป็นที่สนใจของคนทั่วไป เรื่องนั้นมีแนวโน้มที่จะมีคนสนใจอ่านเป็นจำนวนมาก

2. กำหนดจุดมุ่งหมายให้ชัดเจน ว่าเขียนเพื่ออะไร
เช่น เพื่อให้ข่าวสาร เพื่อให้ความรู้ เพื่อแสดงความคิดเห็น เพื่อการโน้มน้าวใจ เพื่อความบันเทิง เพื่อให้แนวคิดในการดำเนินชีวิต เป็นต้น

3. กำหนดกลุ่มผู้อ่านเป้าหมาย ว่าเขียนให้ใครอ่าน
เราต้องคำนึงถึงอายุ เพศ การศึกษา อาชีพ ความรู้ ของผู้อ่านด้วย เนื่องจากลักษณะและคุณสมบัติของผู้อ่านจะมีผลต่อเนื้อหาที่เราจะเขียน ตลอดจนเรื่องของการใช้ภาษา ถ้อยคำ และคำศัพท์ต่างๆ

ยกตัวอย่าง เนื้อหาในบทความต่อไปนี้ที่เขียนเพื่อแนะนำให้ผู้อ่านรู้จักกับโปรแกรมสำเร็จรูป WordPress

ถ้ากลุ่มเป้าหมาย คือ บุคคลทั่วไปที่มีความสนใจอยากลองสร้างเว็บไซต์ด้วยตัวเอง เวลาเขียนบทความควรใช้ภาษาง่ายๆ  ให้ข้อมูลความรู้พื้นฐาน และถ้ามีการใช้คำศัพท์ก็ควรอธิบายความหมายประกอบด้วย

WordPress เป็นโปรแกรมสร้างเว็บไซต์สำเร็จรูปตัวหนึ่งที่มีผู้นิยมใช้งานจำนวนมาก เนื่องจาก WordPress ถูกออกแบบมาให้ใช้งานได้ง่าย ตั้งแต่การติดตั้ง การปรับตั้งค่าตกแต่งส่วนต่างๆ และการจัดการดูแลเนื้อหาภายในเว็บไซต์ โดยผู้ใช้งานไม่จำเป็นต้องมีความรู้ในการเขียนโปรแกรมเลยก็ได้ นอกจากนี้ WordPress ยังสนับสนุนการทำ SEO (Search Engine Optimization) เป็นอย่างดี ซึ่งจะทำให้เว็บไซต์ของเรามีโอกาสสูงขึ้นในการติดอันดับต้นๆ ในผลการค้นหาของ Search Engine อย่าง google.com หรือ bing.com

ส่วนถ้ากลุ่มเป้าหมาย คือ คนในแวดวงการทำเว็บไซต์ หรือนักพัฒนาเว็บไซต์ เราสามารถที่จะใช้คำศัพท์เฉพาะที่รู้จักกันดีในแวดวงการได้เลย และบางเรื่องก็ไม่จำเป็นต้องอธิบายยืดยาว

WordPress เป็น Web CMS (Web Content Management System) ตัวหนึ่งที่มีผู้นิยมใช้งานจำนวนมาก เนื่องจากความง่ายในการติดตั้ง และการใช้งาน อีกทั้งยังสนับสนุนการทำ SEO เป็นอย่างดี

4. เตรียมข้อมูลที่จะใช้ในงานเขียนให้เพียงพอ
ก่อนจะลงมือเขียนจำเป็นต้องประมวลความรู้ที่เรามี ตลอดจนหลักฐาน ข้อเท็จจริง ที่จำเป็นต้องใช้ในงานเขียน หากมีไม่เพียงพอ สามารถหาเพิ่มเติมได้โดยการค้นคว้าข้อมูลจากแหล่งความรู้ต่างๆ ตลอดจนการสัมภาษณ์ผู้รู้หรือผู้เกี่ยวข้อง การสังเกต การทำแบบสอบถาม เป็นต้น และที่สำคัญข้อมูลที่เราจะนำไปใช้นั้นจะต้องเป็นข้อมูลที่ถูกต้อง เชื่อถือได้

5. วางโครงเรื่อง กำหนดแนวทางการเขียนว่าจะนำเสนออะไรบ้าง
ในตอนเริ่มต้นเราอาจจะยังไม่รู้ว่าจะเขียนเนื้อหาอะไรลงไปในบทความ โครงเรื่องจะเป็นเครื่องมือที่ช่วยให้ความคิดของเราแจ่มชัดขึ้น

การวางโครงเรื่อง เป็นการกำหนดขอบข่ายของเรื่อง และจัดลำดับเนื้อหาความคิดหรือหัวข้อเรื่องที่เราจะเขียนให้ชัดเจนก่อนลงมือเขียนจริง

โดยเมื่อวางโครงเรื่องแล้ว จะช่วยให้เราทราบถึงเนื้อหาทั้งหมดที่จะต้องเขียนว่ามีหัวข้ออะไรบ้าง จะได้วางสัดส่วนของเนื้อหาแต่ละหัวข้อให้เหมาะสม ไม่เขียนหัวข้อหนึ่งหัวข้อใดยาวเกินไป และเราจะเขียนเนื้อหาได้ครบถ้วนทุกหัวข้อ ไม่หลงลืมเขียนบางหัวข้อไป ไม่เขียนออกนอกเรื่อง และไม่เขียนเนื้อเรื่องซ้ำซ้อน

โครงเรื่องยังมีประโยชน์ทำให้มองเห็นว่ามีเนื้อหาหรือประเด็นใดบ้างที่เรายังไม่มีข้อมูล หรือยังไม่รู้ดีพอ จะได้เตรียมข้อมูลเพิ่มเติม นอกจากนี้โครงเรื่องยังช่วยให้มองเห็นลำดับเนื้อหาของเรื่องที่สอดคล้องเกี่ยวเนื่องกันได้ชัดเจน ทำให้เราเรียบเรียงเนื้อหาได้สะดวกขึ้น ไม่สับสนจนเขียนเนื้อเรื่องวกวน

การเขียนโครงเรื่องมีขั้นตอน ดังนี้

  1. รวบรวมความคิดเกี่ยวกับเรื่องที่เราจะเขียน แล้วเขียนรายการความคิด หรือประเด็นสำคัญที่เราจะใส่ในบทความ ว่ามีอะไรบ้าง เป็นข้อความสั้นๆ เขียนเป็นข้อๆ
  2. นำรายการความคิดจากข้อแรกมาพิจาณา ตัดรายการที่ไม่สนับสนุนจุดมุ่งหมายและอยู่นอกขอบข่ายของเรื่องออกไป
  3. จัดหมวดหมู่หรือแยกประเภทความคิดเป็นหัวข้อใหญ่ และหัวข้อย่อยต่างๆ โดยรายการที่มีความสัมพันธ์เกี่ยวข้องกันอยู่รวมกันได้ ก็นำมาจัดไว้เป็นพวกเดียวกัน
  4. จัดลำดับความคิด โดยเรียงลำดับว่าหัวข้อใดควรอยู่ก่อน หัวข้อใดควรอยู่หลัง เพื่อให้เนื้อหาต่อเนื่องสัมพันธ์กัน อ่านเข้าใจง่าย และติดตามเรื่องราวได้โดยไม่สับสน
  5. เขียนเป็นตัวโครงเรื่องจริงๆ จัดลำดับหัวข้อใหญ่และหัวข้อย่อยให้เป็นระเบียบ
  6. ตรวจทานโครงเรื่องให้ดี ถ้าพบว่ายังมีจุดบกพร่องส่วนไหนให้แก้ไขก่อน ถ้าเราวางโครงเรื่องไม่ดี บทความที่เขียนออกมาก็จะไม่ดีเช่นกันค่ะ โดยโครงเรื่องที่ดีจะต้อง…
    – ไม่ให้มีหัวข้อที่ไม่อยู่ในขอบข่ายของเรื่อง
    – หัวข้อที่เป็นหัวข้อหลักแต่ละข้อควรมีความสำคัญเท่ากันหรือใกล้เคียงกัน ไม่นำหัวข้อย่อยมาเป็นหัวข้อหลัก ไม่เช่นนั้นเนื้อเรื่องจะขาดความสมส่วน
    – หัวข้อใหญ่แต่ละข้อจะต้องมีเนื้อหาแตกต่างกัน หากมีส่วนซ้ำซ้อนกัน เมื่อขยายความจะทำให้เรื่องวกวนเข้าใจยาก
    – ลำดับความสัมพันธ์ของหัวข้อต่างๆ เชื่อมโยงกันเป็นอย่างดีแล้ว
ตัวอย่างโครงเรื่อง เรื่อง ภาวะโลกร้อน
1. ความหมายของภาวะโลกร้อน
2. สาเหตุของการเกิดภาวะโลกร้อน
3. ผลกระทบจากภาวะโลกร้อน
3.1 ผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อม
3.2 ผลกระทบด้านเศรษฐกิจ
3.3 ผลกระทบด้านสุขภาพ
4. การแก้ปัญหาภาวะโลกร้อน
4.1 อนุรักษ์พลังงาน
4.2 อนุรักษ์ป่าไม้
4.3 อนุรักษ์สิ่งแวดล้อม

6. ลงมือเขียน
นำโครงเรื่องที่วางไว้มาเขียนขยายความในแต่ละหัวข้อให้ครบถ้วน และเมื่อเขียนเสร็จแล้ว ควรอ่านบทความตรวจทานซ้ำดูว่าเป็นอย่างไรบ้าง ลื่นไหล สมเหตุสมผล น่าเชื่อถือ ได้ผลตามจุดมุ่งหมายหรือไม่ นอกจากนี้ควรตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลที่นำไปใช้ เช่น ข้อมูลค่าสถิติที่ใช้ประกอบ และตรวจการสะกดคำด้วย ถ้าไม่มีจุดบกพร่องใดๆ แล้ว จึงนำบทความไปเผยแพร่ค่ะ

 

อ่านมาถึงตรงนี้หวังว่าผู้อ่านจะได้รับรู้แนวทางในการเริ่มต้นเขียนบทความไปทดลองใช้ดู และมีความมั่นใจมากขึ้นที่จะลงมือเขียน ตัวผู้เขียนเองก็มีความตั้งใจที่จะปรับปรุงทักษะด้านการเขียนของตัวเองให้ดียิ่งขึ้นเช่นกัน จึงได้ค้นคว้าหาข้อมูลเกี่ยวกับเขียนบทความจากหลายที่ และกลายเป็นบทความนี้ขึ้นมาค่ะ ฝากสำหรับคนที่ยังไม่เคยเขียนบทความเรื่องอะไรมาก่อนเลย (แต่อยากที่จะเขียน) ลองเลือกเขียนเรื่องที่เรามีความรู้มีความชำนาญ (สอนทำอะไรสักอย่างก็ได้ค่ะ) การที่เราเขียนบทความออกมาสักเรื่อง ไม่เพียงแต่ผู้อ่านจะได้รับประโยชน์ ตัวเราก็ได้รับประโยชน์เช่นกัน โดยได้ทั้งความรู้และได้ฝึกคิดวิเคราะห์ เพราะก่อนจะลงมือเขียนได้ต้องหาความรู้หาข้อมูลให้เพียงพอ และกว่าจะเขียนออกมาได้ก็ต้องคิดเรียบเรียงเนื้อหาก่อน และเมื่อบทความของเราได้เผยแพร่ออกไป เราก็จะได้รับความสุขใจ (เล็กๆ) ค่ะ ^^

“การอ่านทำให้คนเต็มคน การฟังทำให้คนพร้อม การเขียนทำให้คนประณีต”