แนะนำหนังสือ-FAILED IT! เฟลอีก!

วันนี้เราอยากแนะนำหนังสือดีๆอีกหนึ่งเล่มที่พออ่านได้อ่านก็จะเข้าใจในแต่ละสิ่งได้อย่างแท้และรู้เท่าทันความคิดของเรา เวลาล้มเหลวเพื่อนๆ รู้สึกยังไงบ้าง? บางคนอาจเสียใจ ซึมเศร้า หรือโกรธ แต่ไม่ว่าจะรู้สึกแบบไหน หนังสือเล่มนี้จะช่วยให้เราเปลี่ยนความล้มเหลวให้เป็นไอเดียสุดสร้างสรรค์ เปลี่ยนความผิดพลาดให้กลายเป็นความสำเร็จโดยเรียนรู้จากสิ่งที่เราทำพลาดไป อ่านแล้วช่วยจัดการอารมณ์ ความรู้สึก ทำให้เปิดมุมมองใหม่ และพร้อมจะเริ่มใหม่อีกครั้งทั้งเรื่องงาน เรื่องเรียน และการใช้ชีวิต

วิธีเขียนรายงาน ฉบับสมบูรณ์ เขียนรายงาน อย่างไรให้ครบถ้วนไม่ตกทุกรายละเอียด

การเขียนรายงาน คือการเขียนเสนอผลงานอันได้มาจากการศึกษาค้นคว้าพิเศษนอกเหนือจากเรื่องที่ได้ศึกษาในชั้นเรียนเพื่อส่งเสริมให้ผู้เรียนรู้จักแสวงหาความรู้ด้วยตนเอง รูปแบบของรายงาน รูปแบบของการรายงาน แบ่งออกเป็น 3 ส่วน คือ ส่วนประกอบตอนต้น ส่วนเนื้อหา และส่วนประกอบตอนท้าย ดังนี้ ส่วนประกอบตอนต้น หน้าปกรายงาน ส่วนบนเขียนชื่อเรื่อง ส่วนกลางชื่อผู้รายงาน ส่วนล่างบรรทัดแรกให้เขียนว่า “ รายงานนี้เป็นส่วนหนึ่งของการศึกษาวิชา… ” บรรทัดที่สองเป็นชื่อสถาบันศึกษา ส่วนบรรทัดที่สามบอกภาคที่เรียนและปีการศึกษา คำขอบคุณ เป็นส่วนที่ไม่บังคับ อาจมีหรือไม่มีก็ได้ คำนำ เป็นการบอกขอบข่ายของเรื่อง สาเหตุที่ทำให้เลือกทำรายงานเรื่องนี้ จุดมุ่งหมายในการเขียน สารบัญ หมายถึง บัญชีบทต่าง ๆ ในสารบัญมีบทและตอนต่าง ๆ เรียงตามลำดับกับที่ปรากฏในหนังสือ ตลอดจนการขอบคุณผู้ที่ช่วยเหลือในการทำรายงาน บัญชีตารางหรือภาพประกอบ (ถ้ามี) เพื่อให้มีเนื้อหาที่สมบูรณ์ยิ่งขึ้น รายงานบางเรื่องอาจต้องใช้ตาราง นิยมทำบัญชีตารางหรือบัญชีภาพประกอบไว้ในหน้าถัดไปจากสารบัญ ส่วนเนื้อเรื่อง ส่วนที่เป็นเนื้อหา ต้องมีตอนนำ ตอนตัวเรื่อง และตอนลงท้ายเช่นเดียวกับการเขียนเรียงความ ส่วนประกอบในเนื้อหา ได้แก่• อัญประกาศ คือข้อความที่คัดมาจากคำพูดหรือข้อเขียนของผู้อื่น โดยไม่ได้ดัดแปลง• เชิงอรรถ คือข้อความท้ายหน้า มีไว้เพื่อแจ้งที่มาของข้อความในตัวเรื่อง […]

เขียนบทความไม่เป็น เริ่มต้นอย่างไรดี

สำหรับเนื้อหาในเรื่องนี้เรียกได้ว่ามีความสำคัญกับการทำเว็บไซต์อย่างมาก เพราะเว็บไซต์ที่สร้างขึ้นมาส่วนใหญ่แล้วก็เพื่อเผยแพร่ข้อมูลให้กับผู้อ่านหรือผู้เข้าชมเว็บไซต์  คนที่มีหน้าที่จัดทำเนื้อหาให้เว็บไซต์จะต้องมีความสามารถในการถ่ายทอดข้อความ เพื่อให้สาระ แจ้งข้อเท็จจริง แสดงความคิดเห็น หรือถ่ายทอดความรู้และประสบการณ์ ออกมาเป็นงานเขียนในรูปของ “บทความ” ให้ได้ค่ะ ไม่มีใครเก่งมาตั้งแต่เกิด สำหรับผู้ที่คิดว่าตัวเองเขียนบทความไม่เป็น หรือเขียนออกมาได้ยังไม่ดีนัก ขาดความมั่นใจในการเขียน หากได้เรียนรู้หลักการและแนวทางการเขียนบทความ จากนั้นทดลองเขียน และปรับปรุงแก้ไขข้อบกพร่องอยู่เสมอ เชื่อว่าเราจะเขียนบทความได้ดีขึ้นอย่างแน่นอน เรามาเริ่มเรียนรู้เกี่ยวกับการเขียนบทความกันเลยค่ะ (บทความในที่นี้หมายถึงพวกบทความทั่วไป ไม่ใช่บทความวิชาการนะคะ) ส่วนประกอบในบทความ ส่วนประกอบในบทความที่สำคัญ ได้แก่ บทนำ เนื้อหาของเรื่อง และบทสรุป นอกจากนี้อาจจะนับรวม ชื่อเรื่อง และส่วนอ้างอิง เข้าไปด้วย ซึ่งส่วนประกอบแต่ละส่วนมีหน้าที่ของมันอยู่ค่ะ 1. ชื่อเรื่อง ชื่อเรื่องเป็นจุดแรกที่ผู้อ่านเห็น ดังนั้นต้องตั้งชื่อเรื่องให้น่าสนใจให้น่าอ่านที่สุด ถ้าชื่อเรื่องไม่มีพลังดึงดูดพอ ผู้อ่านอาจจะไม่ (คลิก) เข้าไปหน้าเนื้อหาของบทความ หรือปิดหน้าบทความไป ชื่อเรื่องที่ดีควรจะบอกประเด็นหลักของเรื่องและเหมาะสมกับเนื้อเรื่อง ถ้าเนื้อหาในเรื่องไม่ตรงกับชื่อเรื่อง หรือไม่น่าสนใจเหมือนชื่อเรื่อง คนอ่านก็อาจจะรู้สึกเหมือนโดนหลอกได้ สำหรับการตั้งชื่อเรื่องจะตั้งก่อนจะเขียนเนื้อหา หรือตั้งหลังจากเขียนเนื้อหาของเรื่องเสร็จแล้วก็ได้ค่ะ 2. บทนำ บทนำเป็นส่วนที่อยู่ในตอนต้นของบทความ (ย่อหน้าแรกๆ) บอกให้ผู้อ่านทราบคร่าวๆ ว่าบทความนี้เขียนเกี่ยวกับเรื่องอะไร ส่วนนี้มักจะเป็นการอธิบายความหมายและความสำคัญของชื่อเรื่อง หรือบอกเล่าว่าเรื่องนี้น่าสนใจอย่างไร […]

วิธีการ เขียนบทนำงานวิจัย

แนะนำหัวข้อของงานเขียน บทนำของรายงานวิจัยนับว่าเป็นส่วนที่ยากและท้าทายที่สุดในการเขียนรายงานนี้เลยก็ว่าได้ ความยาวของบทนำอาจแตกต่างกันไปขึ้นอยู่กับประเภทของงานวิจัยที่คุณกำลังเขียนนั้น บทนำควรจะบอกให้ทราบถึงหัวข้อของคุณ เนื้อหา และเหตุผลในการทำงานวิจัยของคุณ ก่อนที่จะเริ่มกล่าวถึงคำถามและสมมุติฐานในงานวิจัยของคุณ บทนำที่ดีจะบ่งบอกถึงลักษณะของงานเขียนนี้ ทำให้ผู้อ่านสนใจ และสื่อสารสมมุติฐานหรือใจความหลักได้ 1. บอกให้ทราบถึงเรื่องที่คุณทำวิจัย. คุณสามารถเริ่มบทนำของคุณด้วยประโยคสักสองสามประโยคบอกให้ทราบเรื่องที่คุณเขียนและชี้ให้เห็นถึงคำถามของงานวิจัยที่คุณจะถาม นี่เป็นวิธีที่ดีที่จะเกริ่นให้ผู้อ่านทราบถึงเรื่องที่คุณเขียนและดึงดูดความสนใจของพวกเขาได้ [1] สองสามประโยคแรกควรจะเป็นตัวชี้แนะให้ทราบถึงปัญหาอย่างกว้างที่คุณจะพูดถึงมากขึ้นในส่วนที่เหลือของบทนำ และพาไปสู่คำถามของงานวิจัยที่เจาะลึกลงไปของคุณ ในงานเขียนทางวิทยาศาสตร์ บางครั้งก็เรียกว่า “สามเหลี่ยมคว่ำ” ที่เริ่มจากการเขียนถึงเรื่องทั่วไปอย่างกว้างขวางก่อนในต้อนต้น ก่อนจะค่อยๆ ขยายเจาะลึกเข้าไปเป็นเรื่องๆ เฉพาะ [2] ประโยคที่ว่า “ตลอดเวลาที่ผ่านมาในศตวรรษที่ 20 มุมมองชีวิตบนดาวเคราะห์ดวงอื่นได้เปลี่ยนแปลงไปอย่างมาก” บอกให้ทราบถึงหัวข้อเรื่อง แต่เป็นเพียงการเกริ่นในเชิงกว้าง มันช่วยให้ผู้อ่านได้ทราบถึงแนวทางเนื้อหาที่บทความนี้จะกล่าวถึง และทำให้พวกเขาอยากอ่าน 2. พิจารณาการอ้างอิงถึงคำสำคัญ. เวลาที่คุณเขียนงานวิจัยสำหรับตีพิมพ์ คุณจะต้องส่งงานเขียนนั้นพร้อมกับรายการคำสำคัญที่จะช่วยให้เข้าใจได้ถึงขอบเขตงานวิจัยที่คุณกำลังเขียนถึง คุณอาจจะมีคำสำคัญบางคำในหัวข้อเรื่องของคุณซึ่งคุณต้องการจะใช้และเน้นย้ำในบทนำของคุณ ตัวอย่างเช่น ถ้าหากคุณกำลังเขียนเรื่องเกี่ยวกับพฤติกรรมของหนูเมื่อโดนสารชนิดหนึ่ง คุณอาจจะเขียนคำว่า “หนู” ลงไปด้วย และชื่อทางวิทยาศาสตร์ของสารประกอบที่เกี่ยวข้องในประโยคแรก ถ้าหากคุณต้องการเขียนงานเขียนประวัติศาสตร์เกี่ยวกับผลกระทบของสงครามโลกครั้งที่ 1 ที่มีต่อความสัมพันธ์ด้านเพศในสหราชอาณาจักรอังกฤษ คุณควรจะกล่าวถึงคำสำคัญเหล่านั้นในสองสามบรรทัดแรกของคุณด้วย 3. อธิบายคำศัพท์ หรือแนวคิดสำคัญ. มันอาจเป็นสิ่งจำเป็นที่คุณจะอธิบายคำศัพท์หรือแนวคิดสำคัญใดๆ แต่เนิ่นๆ ในบทนำของคุณ คุณจำเป็นต้องแสดงตัวตนของคุณให้ชัดเจนตลอดงานเขียนของคุณ หากคุณไม่อธิบายคำศัพท์ที่ไม่คุ้นเคย หรือแนวคิดแปลกใหม่ที่คนไม่รู้จัก คุณอาจจะทำให้ผู้อ่านไม่เข้าใจในการอภิปรายงานของคุณ นี่เป็นสิ่งที่สำคัญอย่างมากถ้าหากคุณพยายามที่จะพัฒนาความคิดรวบยอดใหม่ๆ ที่ใช้ภาษาและคำศัพท์เฉพาะทางที่ผู้อ่านของคุณอาจไม่คุ้นเคย 4. […]

การพัฒนาทักษะการเขียน

ผังมโนทัศน์สาระการเรียนรู้ ความหมายและความสำคัญของการเขียน การเขียน คือ การถ่ายทอดความรู้สึกนึกคิดผ่านตัวอักษร เพื่อบอกเล่าเรื่องราว แสดงความคิดเห็น จูงใจ หรือสร้างจินตนาการ  กระบวนการเขียน หลักการเขียนและมารยาทในการเขียน เรื่องที่เขียนควรสอดคล้องกับพื้นฐานความรู้ มีประโยชน์ต่อผู้อ่าน ต้องอ้างอิงแหล่งที่มาของข้อมูลทุกครั้ง ภาษาที่ใช้ควรมีความถูกต้อง กระชับ ชัดเจน และมีสัมพันธภาพในแต่ละย่อหน้า การเขียนประเภทต่าง ๆ       การเขียนแนะนำ ประเภทการเขียนแนะนำ จุดประสงค์ หลักการเขียน การเขียนแนะนำตนเอง ประกอบการสมัครต่างๆ ให้ข้อมูลเกี่ยวกับ ประวัติส่วนตัว ประวัติการศึกษา ประสบการณ์ทำงาน ความสามารถพิเศษ ความสนใจในชีวิต ความสำเร็จที่ภูมิใจ และสถานที่ติดต่อ การเขียนแนะนำสถานที่ ดึงดูดให้ผู้อ่านมาเที่ยว ตั้งชื่อเรื่องให้ดึงดูด บอกประวัติและความน่าสนใจของสถานที่ โดยใช้ภาษาที่สละสลวยทำให้เกิดจินตนาการ การเขียนแนะนำบนสื่ออิเล็กทรอนิกส์ แสดงความเห็น/แนะนำ เขียนเรื่องที่เกิดประโยชน์ต่อผู้อ่าน โดยใช้ภาษาที่สุภาพ ชัดเจน มีเหตุมีผล และถูกกาลเทศะ  การจดบันทึก ในการการจดบันทึกจากการฟัง การอ่าน การสังเกตหรือประสบการณ์ ควรจดเฉพาะส่วนใจความสำคัญและต้องอ้างอิงแหล่งที่มาด้วย ตัวอย่างบันทึกจากการสังเกตหรือประสบการณ์ ๒๓ พฤศจิกายน ๒๕๔๔วันนี้เป็นวันพระ […]

5 ขั้นตอน เพิ่มประสิทธิภาพหน้า Landing Page ให้ตอบโจทย์

ก่อนที่เราจะพูดถึงการทำหน้าแลนดิ้งเพจอย่างไรให้มีประสิทธิภาพนั้น เรามาทำความรู้จักกับแลนดิ้งเพจกันก่อนดีกว่าว่าคืออะไร แลนดิ้งเพจ หรือจะพูดง่ายๆ ก็คือหน้าเพจที่จะปรากฏขึ้นเนื่องจากมีผู้คนได้กดคลิกไปบนลิงก์ หรือโฆษณาที่คุณได้นำไปลงตามที่ต่างๆ เพื่อทำการโปรโมท หรือทำการตลาด กระจายข่าวสาร สำหรับเว็บที่เน้นด้านการขายสินค้า และบริการ หากคุณสามารถสร้างแลนดิ้งเพจให้ดี ให้มีประสิทธิภาพได้ล่ะก็ จะสามารถสนับสนุนการขายสินค้า และบริการของคุณให้ดีขึ้นอย่างแน่นอน ทั้งนี้คุณสามารถสร้างหน้าแลนดิ้งเพจให้ดีได้ ด้วยการนำ 5 ขั้นตอน เพิ่มประสิทธิภาพหน้า Landing Page สำหรับขายสินค้า และบริการ ไปใช้ในการสร้าง หรือปรับปรุงหน้าแลนดิ้งเพจของคุณให้ดียิ่งขึ้น ดังนี้ 1. กำหนดจุดประสงค์หลักให้ชัดเจน การสร้างหน้าแลนดิ้งเพจคุณควรสร้างขึ้นมาเพื่อจุดประสงค์เดียวเท่านั้น โดยจุดประสงค์นั้นก็คือเหตุผลที่ทำให้ผู้คนกดเข้ามาสู่หน้าเพจของคุณ เพื่อไม่ให้กลุ่มผู้เข้าชมนั้น เกิดความสงสัย และสับสน เนื่องจากคุณได้ใส่ข้อมูลที่อัดแน่น และหลากหลายจนเกินไป ซึ่งอาจทำให้ผู้เข้าชมรู้สึกว่าหน้าเพจนี้ ไม่สามารถตอบสนองความต้องการจากจุดประสงค์ ที่ทำให้ผู้คนเหล่านี้กดเข้ามาชมเพจของคุณ โดยคุณควรใส่เรื่องราวที่เน้นเนื้อหาให้ตรงจุดประสงค์ และไม่จำเป็นที่จะต้องบรรยายเนื้อหาให้เยอะจนทำให้รู้สึกว่าหน้าเพจนี้ไม่น่าสนใจ 2. ไม่ลืมที่จะใส่ Keyword หลักที่ต้องการ การแทรกคีย์เวิร์ดลงบนบทความ หรือหน้าแลนดิ้งเพจนั้น ถือว่าเป็นเรื่องพื้นฐาน ที่มีความสำคัญอย่างมากในการนำเสนอเนื้อหา เพื่อให้ถูกค้นเจอได้ง่าย และสำหรับการทำ SEO คุณควรแทรกคีย์เวิร์ดลงไปด้วย โดยการแทรกคีย์เวิร์ดลงบนบทความ หรือหน้าแลนดิ้งเพจนั้น จะส่งผลดีให้กับคุณได้มากยิ่งขึ้นหากคุณทำโฆษณาใน  Google […]