วิธีเขียนรายงาน ฉบับสมบูรณ์ เขียนรายงาน อย่างไรให้ครบถ้วนไม่ตกทุกรายละเอียด

การเขียนรายงาน คือการเขียนเสนอผลงานอันได้มาจากการศึกษาค้นคว้าพิเศษนอกเหนือจากเรื่องที่ได้ศึกษาในชั้นเรียนเพื่อส่งเสริมให้ผู้เรียนรู้จักแสวงหาความรู้ด้วยตนเอง รูปแบบของรายงาน รูปแบบของการรายงาน แบ่งออกเป็น 3 ส่วน คือ ส่วนประกอบตอนต้น ส่วนเนื้อหา และส่วนประกอบตอนท้าย ดังนี้ ส่วนประกอบตอนต้น หน้าปกรายงาน ส่วนบนเขียนชื่อเรื่อง ส่วนกลางชื่อผู้รายงาน ส่วนล่างบรรทัดแรกให้เขียนว่า “ รายงานนี้เป็นส่วนหนึ่งของการศึกษาวิชา… ” บรรทัดที่สองเป็นชื่อสถาบันศึกษา ส่วนบรรทัดที่สามบอกภาคที่เรียนและปีการศึกษา คำขอบคุณ เป็นส่วนที่ไม่บังคับ อาจมีหรือไม่มีก็ได้ คำนำ เป็นการบอกขอบข่ายของเรื่อง สาเหตุที่ทำให้เลือกทำรายงานเรื่องนี้ จุดมุ่งหมายในการเขียน สารบัญ หมายถึง บัญชีบทต่าง ๆ ในสารบัญมีบทและตอนต่าง ๆ เรียงตามลำดับกับที่ปรากฏในหนังสือ ตลอดจนการขอบคุณผู้ที่ช่วยเหลือในการทำรายงาน บัญชีตารางหรือภาพประกอบ (ถ้ามี) เพื่อให้มีเนื้อหาที่สมบูรณ์ยิ่งขึ้น รายงานบางเรื่องอาจต้องใช้ตาราง นิยมทำบัญชีตารางหรือบัญชีภาพประกอบไว้ในหน้าถัดไปจากสารบัญ ส่วนเนื้อเรื่อง ส่วนที่เป็นเนื้อหา ต้องมีตอนนำ ตอนตัวเรื่อง และตอนลงท้ายเช่นเดียวกับการเขียนเรียงความ ส่วนประกอบในเนื้อหา ได้แก่• อัญประกาศ คือข้อความที่คัดมาจากคำพูดหรือข้อเขียนของผู้อื่น โดยไม่ได้ดัดแปลง• เชิงอรรถ คือข้อความท้ายหน้า มีไว้เพื่อแจ้งที่มาของข้อความในตัวเรื่อง […]

วิธีเขียนรายงาน ฉบับสมบูรณ์ เขียนรายงาน อย่างไรให้ครบถ้วนไม่ตกทุกรายละเอียด

การเขียนรายงาน คือการเขียนเสนอผลงานอันได้มาจากการศึกษาค้นคว้าพิเศษนอกเหนือจากเรื่องที่ได้ศึกษาในชั้นเรียนเพื่อส่งเสริมให้ผู้เรียนรู้จักแสวงหาความรู้ด้วยตนเอง รูปแบบของรายงาน รูปแบบของการรายงาน แบ่งออกเป็น 3 ส่วน คือ ส่วนประกอบตอนต้น ส่วนเนื้อหา และส่วนประกอบตอนท้าย ดังนี้ ส่วนประกอบตอนต้น หน้าปกรายงาน ส่วนบนเขียนชื่อเรื่อง ส่วนกลางชื่อผู้รายงาน ส่วนล่างบรรทัดแรกให้เขียนว่า “ รายงานนี้เป็นส่วนหนึ่งของการศึกษาวิชา… ” บรรทัดที่สองเป็นชื่อสถาบันศึกษา ส่วนบรรทัดที่สามบอกภาคที่เรียนและปีการศึกษา คำขอบคุณ เป็นส่วนที่ไม่บังคับ อาจมีหรือไม่มีก็ได้ คำนำ เป็นการบอกขอบข่ายของเรื่อง สาเหตุที่ทำให้เลือกทำรายงานเรื่องนี้ จุดมุ่งหมายในการเขียน สารบัญ หมายถึง บัญชีบทต่าง ๆ ในสารบัญมีบทและตอนต่าง ๆ เรียงตามลำดับกับที่ปรากฏในหนังสือ ตลอดจนการขอบคุณผู้ที่ช่วยเหลือในการทำรายงาน บัญชีตารางหรือภาพประกอบ (ถ้ามี) เพื่อให้มีเนื้อหาที่สมบูรณ์ยิ่งขึ้น รายงานบางเรื่องอาจต้องใช้ตาราง นิยมทำบัญชีตารางหรือบัญชีภาพประกอบไว้ในหน้าถัดไปจากสารบัญ ส่วนเนื้อเรื่อง ส่วนที่เป็นเนื้อหา ต้องมีตอนนำ ตอนตัวเรื่อง และตอนลงท้ายเช่นเดียวกับการเขียนเรียงความ ส่วนประกอบในเนื้อหา ได้แก่• อัญประกาศ คือข้อความที่คัดมาจากคำพูดหรือข้อเขียนของผู้อื่น โดยไม่ได้ดัดแปลง• เชิงอรรถ คือข้อความท้ายหน้า มีไว้เพื่อแจ้งที่มาของข้อความในตัวเรื่อง […]

วิธีการ เขียนบทนำงานวิจัย

แนะนำหัวข้อของงานเขียน บทนำของรายงานวิจัยนับว่าเป็นส่วนที่ยากและท้าทายที่สุดในการเขียนรายงานนี้เลยก็ว่าได้ ความยาวของบทนำอาจแตกต่างกันไปขึ้นอยู่กับประเภทของงานวิจัยที่คุณกำลังเขียนนั้น บทนำควรจะบอกให้ทราบถึงหัวข้อของคุณ เนื้อหา และเหตุผลในการทำงานวิจัยของคุณ ก่อนที่จะเริ่มกล่าวถึงคำถามและสมมุติฐานในงานวิจัยของคุณ บทนำที่ดีจะบ่งบอกถึงลักษณะของงานเขียนนี้ ทำให้ผู้อ่านสนใจ และสื่อสารสมมุติฐานหรือใจความหลักได้ 1. บอกให้ทราบถึงเรื่องที่คุณทำวิจัย. คุณสามารถเริ่มบทนำของคุณด้วยประโยคสักสองสามประโยคบอกให้ทราบเรื่องที่คุณเขียนและชี้ให้เห็นถึงคำถามของงานวิจัยที่คุณจะถาม นี่เป็นวิธีที่ดีที่จะเกริ่นให้ผู้อ่านทราบถึงเรื่องที่คุณเขียนและดึงดูดความสนใจของพวกเขาได้ [1] สองสามประโยคแรกควรจะเป็นตัวชี้แนะให้ทราบถึงปัญหาอย่างกว้างที่คุณจะพูดถึงมากขึ้นในส่วนที่เหลือของบทนำ และพาไปสู่คำถามของงานวิจัยที่เจาะลึกลงไปของคุณ ในงานเขียนทางวิทยาศาสตร์ บางครั้งก็เรียกว่า “สามเหลี่ยมคว่ำ” ที่เริ่มจากการเขียนถึงเรื่องทั่วไปอย่างกว้างขวางก่อนในต้อนต้น ก่อนจะค่อยๆ ขยายเจาะลึกเข้าไปเป็นเรื่องๆ เฉพาะ [2] ประโยคที่ว่า “ตลอดเวลาที่ผ่านมาในศตวรรษที่ 20 มุมมองชีวิตบนดาวเคราะห์ดวงอื่นได้เปลี่ยนแปลงไปอย่างมาก” บอกให้ทราบถึงหัวข้อเรื่อง แต่เป็นเพียงการเกริ่นในเชิงกว้าง มันช่วยให้ผู้อ่านได้ทราบถึงแนวทางเนื้อหาที่บทความนี้จะกล่าวถึง และทำให้พวกเขาอยากอ่าน 2. พิจารณาการอ้างอิงถึงคำสำคัญ. เวลาที่คุณเขียนงานวิจัยสำหรับตีพิมพ์ คุณจะต้องส่งงานเขียนนั้นพร้อมกับรายการคำสำคัญที่จะช่วยให้เข้าใจได้ถึงขอบเขตงานวิจัยที่คุณกำลังเขียนถึง คุณอาจจะมีคำสำคัญบางคำในหัวข้อเรื่องของคุณซึ่งคุณต้องการจะใช้และเน้นย้ำในบทนำของคุณ ตัวอย่างเช่น ถ้าหากคุณกำลังเขียนเรื่องเกี่ยวกับพฤติกรรมของหนูเมื่อโดนสารชนิดหนึ่ง คุณอาจจะเขียนคำว่า “หนู” ลงไปด้วย และชื่อทางวิทยาศาสตร์ของสารประกอบที่เกี่ยวข้องในประโยคแรก ถ้าหากคุณต้องการเขียนงานเขียนประวัติศาสตร์เกี่ยวกับผลกระทบของสงครามโลกครั้งที่ 1 ที่มีต่อความสัมพันธ์ด้านเพศในสหราชอาณาจักรอังกฤษ คุณควรจะกล่าวถึงคำสำคัญเหล่านั้นในสองสามบรรทัดแรกของคุณด้วย 3. อธิบายคำศัพท์ หรือแนวคิดสำคัญ. มันอาจเป็นสิ่งจำเป็นที่คุณจะอธิบายคำศัพท์หรือแนวคิดสำคัญใดๆ แต่เนิ่นๆ ในบทนำของคุณ คุณจำเป็นต้องแสดงตัวตนของคุณให้ชัดเจนตลอดงานเขียนของคุณ หากคุณไม่อธิบายคำศัพท์ที่ไม่คุ้นเคย หรือแนวคิดแปลกใหม่ที่คนไม่รู้จัก คุณอาจจะทำให้ผู้อ่านไม่เข้าใจในการอภิปรายงานของคุณ นี่เป็นสิ่งที่สำคัญอย่างมากถ้าหากคุณพยายามที่จะพัฒนาความคิดรวบยอดใหม่ๆ ที่ใช้ภาษาและคำศัพท์เฉพาะทางที่ผู้อ่านของคุณอาจไม่คุ้นเคย 4. […]

5 ขั้นตอน เพิ่มประสิทธิภาพหน้า Landing Page ให้ตอบโจทย์

ก่อนที่เราจะพูดถึงการทำหน้าแลนดิ้งเพจอย่างไรให้มีประสิทธิภาพนั้น เรามาทำความรู้จักกับแลนดิ้งเพจกันก่อนดีกว่าว่าคืออะไร แลนดิ้งเพจ หรือจะพูดง่ายๆ ก็คือหน้าเพจที่จะปรากฏขึ้นเนื่องจากมีผู้คนได้กดคลิกไปบนลิงก์ หรือโฆษณาที่คุณได้นำไปลงตามที่ต่างๆ เพื่อทำการโปรโมท หรือทำการตลาด กระจายข่าวสาร สำหรับเว็บที่เน้นด้านการขายสินค้า และบริการ หากคุณสามารถสร้างแลนดิ้งเพจให้ดี ให้มีประสิทธิภาพได้ล่ะก็ จะสามารถสนับสนุนการขายสินค้า และบริการของคุณให้ดีขึ้นอย่างแน่นอน ทั้งนี้คุณสามารถสร้างหน้าแลนดิ้งเพจให้ดีได้ ด้วยการนำ 5 ขั้นตอน เพิ่มประสิทธิภาพหน้า Landing Page สำหรับขายสินค้า และบริการ ไปใช้ในการสร้าง หรือปรับปรุงหน้าแลนดิ้งเพจของคุณให้ดียิ่งขึ้น ดังนี้ 1. กำหนดจุดประสงค์หลักให้ชัดเจน การสร้างหน้าแลนดิ้งเพจคุณควรสร้างขึ้นมาเพื่อจุดประสงค์เดียวเท่านั้น โดยจุดประสงค์นั้นก็คือเหตุผลที่ทำให้ผู้คนกดเข้ามาสู่หน้าเพจของคุณ เพื่อไม่ให้กลุ่มผู้เข้าชมนั้น เกิดความสงสัย และสับสน เนื่องจากคุณได้ใส่ข้อมูลที่อัดแน่น และหลากหลายจนเกินไป ซึ่งอาจทำให้ผู้เข้าชมรู้สึกว่าหน้าเพจนี้ ไม่สามารถตอบสนองความต้องการจากจุดประสงค์ ที่ทำให้ผู้คนเหล่านี้กดเข้ามาชมเพจของคุณ โดยคุณควรใส่เรื่องราวที่เน้นเนื้อหาให้ตรงจุดประสงค์ และไม่จำเป็นที่จะต้องบรรยายเนื้อหาให้เยอะจนทำให้รู้สึกว่าหน้าเพจนี้ไม่น่าสนใจ 2. ไม่ลืมที่จะใส่ Keyword หลักที่ต้องการ การแทรกคีย์เวิร์ดลงบนบทความ หรือหน้าแลนดิ้งเพจนั้น ถือว่าเป็นเรื่องพื้นฐาน ที่มีความสำคัญอย่างมากในการนำเสนอเนื้อหา เพื่อให้ถูกค้นเจอได้ง่าย และสำหรับการทำ SEO คุณควรแทรกคีย์เวิร์ดลงไปด้วย โดยการแทรกคีย์เวิร์ดลงบนบทความ หรือหน้าแลนดิ้งเพจนั้น จะส่งผลดีให้กับคุณได้มากยิ่งขึ้นหากคุณทำโฆษณาใน  Google […]

เทคนิค การเขียนบทความ อย่างไรให้โดนใจกลุ่มเป้าหมาย

ในปัจจุบันการเขียนบทความไม่ว่าจะสั้น หรือยาวนับว่ามีความสำคัญในด้านการทำธุรกิจ การทำเว็บไซต์ หรือการขายสินค้า ล้วนจำเป็นต้องมีบทความเพื่อดึงดูดความสนใจ หรือสร้างความรู้สึกโดนใจให้กับผู้อ่านมากที่สุด ด้วยเหตุนี้จึงทำให้การเขียนบทความสามารถเข้ามาเป็นส่วนหนึ่งในการทำธุรกิจ หรือการสนับสนุนธุรกิจได้เป็นอย่างดี ดังนั้นในวันนี้ Am2b Marketing ก็ขอแนะนำเทคนิค เขียนบทความ อย่างไรให้โดนใจผู้อ่านที่ใครๆ ก็สามารถทำได้ มาให้ทุกๆ ท่านได้อ่านเพื่อนำไปใช้ หรือนำไปปรับใช้ให้เหมาะกับแนวทางในการเขียนบทความของคุณ ดังนี้ 1. กำหนดจุดประสงค์ของเรื่องก่อนเขียน ทุกครั้งก่อนที่คุณจะเริ่มต้นเขียนเรื่องราวอะไรสักอย่างเพื่อถ่ายทอดให้ผู้อื่นได้อ่าน สิ่งแรกที่คุณควรทำคือการกำหนดจุดประสงค์ของเรื่องราวที่คุณจะเขียนเสียก่อน ว่าต้องเขียนเรื่องราวให้ออกมาในรูปแบบไหน ทำให้ผู้อ่านรู้สึกอย่างไร หรืออยากให้ผู้อ่านได้รับอะไรจากการอ่านบทความของคุณบ้าง โดยการกำหนดจุดประสงค์ก่อนการเขียนบทความจะทำให้คุณสามารถเลือกแนวทางในการเขียนเล่าเรื่องราวได้อย่างเหมาะสม และทำให้การเขียนบทความมีจุดมุ่งหมายไม่หลงประเด็น ซึ่งจะทำให้ผู้อ่านรู้สึกคล้อยตามสิ่งที่คุณกำหนดไว้อย่างการเขียนเพื่อให้ความรู้คุณก็ต้องเลือกรูปแบบการเขียนด้วยการใช้คำที่ดูเป็นทางการเพื่อสร้างความรู้สึกน่าเชื่อถือให้บทความเมื่อถูกอ่าน ที่ถือว่าเป็นจุดประสงค์ที่ได้ตั้งไว้ก่อนทำการเขียนบทความนั่นเอง 2. ใช้หลัก 5 W+1H เทคนิค การเขียนบทความ ให้น่าสนใจ และโดนใจผู้อ่านนั้น คุณจำเป็นต้องทำให้ผู้อ่านสามารถเข้าถึงเรื่องราว หรือจินตนาการตามที่คุณได้เขียนเล่าออกไปได้อย่างง่ายดาย จากการใช้หลัก 5 W+1H หรือก็คือการใช้หลักการ Who (ใคร) What (ทำอะไร) Where (ที่ไหน) When (เมื่อไหร่) Why (ทำไม) How […]

การจัดการ “การเขียนบทความ” หรือ การเขียนบล็อก

สวัสดีครับ เพื่อนๆ เรามาเริ่มเขียนบทความกันดีกว่าครับ จริงๆ แล้วก็คือพิมพ์บทความนั่นละครับ แต่ใช้คำว่า “เขียน” ก็สื่อไปในทางรูปแบบเก่าที่เวลาเราจะเขียนไดอารี่ หรือประสบการณ์ต่างๆ คงต้องเขียนกันเป็นหลัก ปัจจุบันก็คงพิมพ์เสียส่วนใหญ่ แต่ผมเคยได้ยินคุณบอย โกสิยพงษ์ ไม่มีเวลาพิมพ์ ใช้วิธีเขียนเป็นฉบับ ร่างให้เจ้าหน้าที่ช่วยพิมพ์ให้เหมือนกัน สรุปว่า ก็ความหมายเดียวกันครับ (เพราะไม่ได้สื่อในรูป คำกิริยา) การเขียนบทความก็คงไม่ยากเย็นอะไร ก็พิมพ์ลงไปนะครับ ในพื้นที่ ที่ระบบจัดเตรียมไว้ให้ แล้วก็มีการใส่รูปภาพเป็นส่วนใหญ่ หรือคลิ๊ปวีดีโอ ดังนั้น ก่อนถึงการเขียนบทความ เราลองมารู้จักกับเมนูต่างๆ ในหน้าการจัดการ “การเขียนบทความ” หรือ “สร้างบทความ” กันครับ คงต้องเริ่มจาก ผมจะแนะนำการเข้าสู่หน้า “สร้าง หรือ เขียนบทความ” 3 วิธี ง่ายๆ นะครับ คือ1. กดที่เมนู “บทความใหม่” ที่อยู่ด้านขวามือบนสุด ในหน้าที่เว็บบล็อกที่เราเข้ามาผ่านวิธีการแบบ Log in เข้ามานะครับ 2. เมื่อเวลาเราเขียนบทความเสร็จแล้ว และกดบันทึก ระบบจะพาเราไปที่หน้า “แก้ไขบทความ” […]

เทคนิคในการตั้งชื่อ Click-bait ควรทำไหม

สำหรับการตั้งชื่อดูเหมือนจะเป็นปัญหาใหญ่มาก แต่ถ้าเรารู้วัตถุประสงค์ของบทความจริง ๆ เราก็ตั้งไปตามนั้นเลย โดยที่ชื่อของเราควรจะมีคุณสมบัติดังนี้ บอกว่าในบทความมีอะไร บอกว่าอ่านแล้วจะได้อะไร บอกว่าถ้าไม่กดเข้ามาอ่านแล้วจะไม่ได้อะไร ฟัง ๆ เหมือนว่า เอ๊ะ นี่เรากำลังสอนตั้งชื่อ click-bait อยู่หรือเปล่า บอกเลยว่า click-bait คือการตั้งหัวบทความที่เหนือกว่า Value ของตัวเอง เช่น หรือไม่ได้ตอบข้อสงสัยของผู้อ่าน ดังนั้น การตั้งชื่อจะ click-bait หรือไม่ click-bait ขึ้นอยู่กับว่า เราให้ value กับอะไร เราให้ value กับคนอ่าน กับความรู้ กับเนื้อหาของเรา หรือเราให้ vaue กับแค่ “การที่มีคนกดเข้ามา” แล้วเขาจะรู้สึกแย่ เอาไปด่า เอาไปบ่นอะไรก็ช่าง ตรงนี้เราเป็นคนเลือก มีอีกอย่างนึงที่เราควรเข้าใจคือ บริบท (context) ที่ชื่อของบทความเราจะไปอยู่ และ Discoverability ของมันเช่น อยู่บน Social Network คนไม่ได้หวังที่จะเจอมาก่อน ดังนั้นเราต้องให้คุณค่ากับความรู้สึกว่า “เขาจะได้อะไร” แต่ถ้าอยู่บน Google […]

สอนเขียนบทความบนเว็บ

วิธีหาประเด็น เริ่มเรื่อง นำเสนอทำอย่างไรให้คนอ่านชอบ ทุกวันนี้คอนเทนต์ที่เราเจอกันในชีวิตประจำวันมีหลากหลายรูปแบบ ไม่ว่าจะเป็นวิดีโอ อินโฟกราฟิก หรืออย่างทุกวันนี้ที่ฮิตกันมาก ๆ เลยก็คือ Story แต่คำถามก็คือ คอนเทนต์แบบไหนเข้าถึงเราได้มากที่สุด จากประสบการณ์ของผู้เขียนที่ทำงานในสายการเขียนออนไลน์มาหลายปีบอกได้เลยว่า การเขียนหรือตัวอักษรนั้นสามารถถ่ายทอดเรื่องราวออกมาได้ไม่ได้น้อยไปกว่าวิดีโอหรือภาพเลย แม้การอ่านจะต้องแลกมากับการโฟกัสที่ตัวหนังสือ แต่การโฟกัสนั้นก็ทำให้สิ่งที่เราอยากถ่ายทอดซึ่งบอกได้เลยว่า งานเขียนสามารถเข้าถึงจุดที่ลึกที่สุดของคนอ่านได้ สำหรับวันนี้ จะมาแชร์เทคนิค และสอนการเขียนบทความกัน รวมถึงการเลือกประเด็นต่าง ๆ หลายคนมีเรื่องอยากเขียน แต่ไม่รู้ว่าจะเขียนยังไง หลายคนอยากเขียน แต่ไม่รู้ว่าจะเขียนยังไง ก่อนอื่น เราจะต้องเข้าใจก่อนว่าเราเขียนไปเพื่ออะไร งานเขียนทุกงานต้องมีวัตถุประสงค์ ถ้ายังไม่ชัดเจน อย่าทำ แน่นอนว่าการจะเขียนเรื่องอะไรซักเรื่อง หรือการเขียนบทความ มันไม่ได้มาจากอยู่ดี ๆ ก็คิดหัวข้อขึ้นมาแล้วเขียน แต่สิ่งแรกที่เราต้องเริ่มต้นก่อนก็คือการ หาวัตถุประสงค์ วัตถุประสงค์เราอาจจะเช่น เขียนเพื่อเล่าประสบการณ์ เขียนเพื่อให้ความรู้ เขียนเพื่อชักจูงหรือชี้นำให้คนอ่านทำตาม เขียนเพื่อขายของ ซึ่งทั้งหมดนี้เป็นเพียงแค่ขั้นต้นเท่านั้น วัตถุประสงค์ของเราจะต้องลงลึกไปมากกว่านั้น เพราะมันจะช่วยให้เราสามารถประเมินได้ว่า บทความของเราบรรลุวัตถุประสงค์จริงหรือเปล่า เช่น เพื่อให้คนอ่านสามารถอ่าน Google Analytic เป็น , เพื่อชวนคนให้มางานของบริษัท , เพื่อชวนคนให้มาวิ่งออกกำลังกาย หรือแม้กระทั่งการเขียนข่าว ก็มีวัตถุประสงค์เช่นกัน เช่น ทำให้คนอ่านรู้จักยาน InSight ที่ไปลงจอดบนดาวอังคาร เมื่อเรารู้วัตถุประสงค์แล้วสิ่งที่จะตามมาก็คือ วิธีการที่จะทำให้เราบรรลุวัตถุประสงค์นั้น

วิธีการ เขียนรายงานสรุปความคืบหน้า

การเขียนรายงานสรุปความคืบหน้าอาจดูเหมือนเป็นงานที่จำเจ แต่การเขียนเป็นนั้นเป็นโอกาสที่ดีที่คุณจะได้สื่อสารกับฝ่ายบริหาร ไม่ว่าคุณจะรับผิดชอบโครงการอะไรอยู่ คุณต้องให้ความสำคัญกับการให้รายละเอียดที่เฉพาะเจาะจงซึ่งอธิบายถึงงบประมาณและระยะเวลาดำเนินงานของโครงการนั้นๆ ใส่ข้อมูลส่วนที่สำคัญที่สุดไว้ตรงส่วนสรุปที่จุดเริ่มต้นของรายงาน จากนั้นก็เริ่มพูดถึงรายละเอียดของโครงการในแง่ของความสำเร็จและความท้าท้ายที่ประสบ พยายามเขียนสั้นๆ แต่ให้รายละเอียดครบถ้วนแล้วคุณก็จะได้รับการชื่นชมจากฝ่ายบริหารเอง ส่วน1 ร่างรายงาน ให้ความสำคัญกับงบประมาณและระยะเวลาดำเนินการ. ไม่ว่าคุณจะทำโครงการเรื่องใดอยู่ ผู้บริหารก็คงจะอยากรู้ว่าในแง่ของงบประมาณและระยะเวลาดำเนินงานเป็นอย่างไรบ้างอยู่ดี อธิบายถึงปัญหาอย่างตรงไปตรงมา. หากคุณพบว่าเกิดปัญหาขึ้นกับงบประมาณและแผนงานของโครงการ อย่าปกปิดเรื่องเหล่านี้ไว้เพราะยิ่งจะทำให้ปัญหาบานปลายเลยเถิดกันใหญ่ในภายหลัง ระดมสมองหาวิธีการแก้ปัญหา. ส่วนสำคัญหนึ่งของรายงานสรุปความคืบหน้าคือการช่วยให้ผู้จัดการตัดสินใจขั้นตอนต่อไปของการทำงานได้ง่ายขึ้น ส่วน2 ปะติดปะต่อเป็นชิ้นเป็นอัน เขียนส่วนหัวของรายงาน. เริ่มเขียนรายงานด้วยการเขียนสรุปสั้นๆ และลงวันที่ รายงานสรุปความคืบหน้าควรจะสั้นอยู่แล้ว เริ่มต้นจากการเขียนสรุปผลการดำเนินงาน. พวกผู้จัดการงานยุ่งกันจะตายและพวกเขาก็ต้องการทราบข้อมูลที่สำคัญที่สุดก่อน ให้ข้อมูลที่ตรงประเด็นที่สุด. ร่ายเรียงความสำเร็จใหญ่ๆ ที่ได้เกิดขึ้นจนกระทั่งตอนนี้ ให้ความสำคัญกับความสำเร็จที่สำคัญและข้อมูลที่จำเป็น จัดระเบียบรายละเอียด. นี่คือส่วนที่คุณจะสามารถปรับรูปแบบของรายงานให้เข้ากับรสนิยมของผู้จัดการของตัวเอง เขียนเรียงเป็นหัวข้อไล่ลงมา. ผู้จัดการควรจะได้รับข้อมูลที่ต้องการในรูปแบบที่รวดเร็วและอ่านง่าย ใส่ภาพประกอบได้หากเป็นที่ต้องการ. ผู้จัดการบางคนรู้สึกว่าการใส่แผนภาพลงในรายงานเพื่อธิบายว่าโครงการเดินหน้าไปถึงไหนแล้วนั้นมีประโยชน์ ตรวจทานรายงานและตรวจคำผิดจากนั้นก็แก้ไขก่อนจะส่งรายงานให้ผู้จัดการอ่าน. คำที่สะกดผิดและการใช้ประโยคที่ดูไม่ดีนั้นส่งผลกระทบกระทั่งต่อรายงานสั้นๆ เขียนรายงานความคืบหน้าอย่างน้อยเดือนละครั้งเว้นไว้แต่ว่าอีกฝ่ายจะสั่งไว้อย่างอื่น. บริษัทของคุณอาจจะขอให้คุณส่งรายงานสรุปความคืบหน้าตามระยะเวลาที่เฉพาะเจาะจง

วิธีการ เขียนรายงานข่าว

การรายงานข่าวใกล้เคียงกับบทความข่าว มันคือข้อเท็จจริงของเรื่องราวที่กำลังเกิดขึ้นหรือเพิ่งจะเกิดขึ้น การเขียนรายงานข่าวเป็นเรื่องง่ายถ้าคุณรายงานหัวข้ออย่างชัดเจน มีบทสัมภาษณ์ที่ดี และเขียนด้วยรูปแบบที่ชัดเจน แม่นยำ และเคลื่อนไหว ส่วน1 การรวบรวมข้อมูลสำหรับรายงาน ดูว่าคุณต้องเขียนเกี่ยวกับอะไร. การรายงานข่าวคือเรื่องที่กำลังเกิดขึ้นหรือเพิ่งจะเกิดขึ้น ประเด็นในปัจจุบัน ไปยังสถานที่เกิดเหตุ. เมื่อคุณรู้แล้วว่าคุณต้องการเขียนเกี่ยวกับอะไรก็ให้ไปที่สถานที่เกิดเหตุ คุณอาจจะต้องไปสถานที่เกิดเหตุอาชญากรรม ธุรกิจ คดี หรือเหตุการณ์ ทำการสัมภาษณ์. คนที่คุณจะสัมภาษณ์ขึ้นอยู่กับว่าคุณรายงานเรื่องอะไร ถอดคำพูดบทสัมภาษณ์และเนื้อหา. เมื่อคุณกลับถึงบ้านหรือออฟฟิศก็ควรถอดคำพูดบทสัมภาษณ์และเนื้อหา ค้นคว้าเกี่ยวกับหัวข้อ. การรายงานข่าวคือสิ่งที่เกิดขึ้นในปัจจุบันแต่คุณควรค้นคว้าเกี่ยวกับหัวข้อด้วย ส่วน2 การเขียนรายงานข่าว เขียนหัวข้อ. หัวข้อข่าวต้องแม่นยำ ชัดเจน และเข้าใจได้ง่ายใช้คีย์เวิร์ดจากเรื่องราวและทำให้ตรงไปตรงมาและเรียบง่าย เขียนบรรทัดแรกและสถานที่. บรรทัดแรกอยู่ใต้หัวข้อเรื่อง บรรทัดนี้ระบุชื่อและตัวตนของคุณ สถานที่คือที่ที่บทความเกิดเหตุและเขียนรายงาน ใช้บทนำข่าว. บทนำข่าวคือย่อหน้าเปิดรายงานหรือบทความที่ถือเป็นส่วนที่สำคัญที่สุด เขียนเนื้อหาของรายงาน. เนื้อหาจะประกอบไปด้วยข้อเท็จจริงซึ่งลงรายละเอียดและเฉพาะเจาะจงมากกว่าในบทนำ ใส่คำพูดลงในรายงานข่าว. คุณสามารถใส่คำพูดลงในรายงานข่าวเพื่อสื่อสารข้อมูล ระบุแหล่งข่าวเสมอ. คุณต้องระบุแหล่งข่าวที่คุณได้รับนอกเสียจากว่าข้อมูลนี้เป็นความรู้ทั่วไป คุณอาจจะเจอปัญหาถ้าคุณไม่ใส่แหล่งข้อมูล เขียนในสไตล์ของข่าว. คุณไม่จำเป็นต้องใช้ภาษาที่บรรยายมากเกินไปเมื่อเขียนรายงานข่าว เพียงแค่ยึดข้อเท็จจริงและใช้ประโยคที่สั้นและแม่นยำ