วิธีการ เขียนบทนำงานวิจัย

แนะนำหัวข้อของงานเขียน

บทนำของรายงานวิจัยนับว่าเป็นส่วนที่ยากและท้าทายที่สุดในการเขียนรายงานนี้เลยก็ว่าได้ ความยาวของบทนำอาจแตกต่างกันไปขึ้นอยู่กับประเภทของงานวิจัยที่คุณกำลังเขียนนั้น บทนำควรจะบอกให้ทราบถึงหัวข้อของคุณ เนื้อหา และเหตุผลในการทำงานวิจัยของคุณ ก่อนที่จะเริ่มกล่าวถึงคำถามและสมมุติฐานในงานวิจัยของคุณ บทนำที่ดีจะบ่งบอกถึงลักษณะของงานเขียนนี้ ทำให้ผู้อ่านสนใจ และสื่อสารสมมุติฐานหรือใจความหลักได้

1. บอกให้ทราบถึงเรื่องที่คุณทำวิจัย. คุณสามารถเริ่มบทนำของคุณด้วยประโยคสักสองสามประโยคบอกให้ทราบเรื่องที่คุณเขียนและชี้ให้เห็นถึงคำถามของงานวิจัยที่คุณจะถาม นี่เป็นวิธีที่ดีที่จะเกริ่นให้ผู้อ่านทราบถึงเรื่องที่คุณเขียนและดึงดูดความสนใจของพวกเขาได้ [1] สองสามประโยคแรกควรจะเป็นตัวชี้แนะให้ทราบถึงปัญหาอย่างกว้างที่คุณจะพูดถึงมากขึ้นในส่วนที่เหลือของบทนำ และพาไปสู่คำถามของงานวิจัยที่เจาะลึกลงไปของคุณ

ในงานเขียนทางวิทยาศาสตร์ บางครั้งก็เรียกว่า “สามเหลี่ยมคว่ำ” ที่เริ่มจากการเขียนถึงเรื่องทั่วไปอย่างกว้างขวางก่อนในต้อนต้น ก่อนจะค่อยๆ ขยายเจาะลึกเข้าไปเป็นเรื่องๆ เฉพาะ [2]

ประโยคที่ว่า “ตลอดเวลาที่ผ่านมาในศตวรรษที่ 20 มุมมองชีวิตบนดาวเคราะห์ดวงอื่นได้เปลี่ยนแปลงไปอย่างมาก” บอกให้ทราบถึงหัวข้อเรื่อง แต่เป็นเพียงการเกริ่นในเชิงกว้าง

มันช่วยให้ผู้อ่านได้ทราบถึงแนวทางเนื้อหาที่บทความนี้จะกล่าวถึง และทำให้พวกเขาอยากอ่าน

2. พิจารณาการอ้างอิงถึงคำสำคัญ. เวลาที่คุณเขียนงานวิจัยสำหรับตีพิมพ์ คุณจะต้องส่งงานเขียนนั้นพร้อมกับรายการคำสำคัญที่จะช่วยให้เข้าใจได้ถึงขอบเขตงานวิจัยที่คุณกำลังเขียนถึง คุณอาจจะมีคำสำคัญบางคำในหัวข้อเรื่องของคุณซึ่งคุณต้องการจะใช้และเน้นย้ำในบทนำของคุณ

ตัวอย่างเช่น ถ้าหากคุณกำลังเขียนเรื่องเกี่ยวกับพฤติกรรมของหนูเมื่อโดนสารชนิดหนึ่ง คุณอาจจะเขียนคำว่า “หนู” ลงไปด้วย และชื่อทางวิทยาศาสตร์ของสารประกอบที่เกี่ยวข้องในประโยคแรก

ถ้าหากคุณต้องการเขียนงานเขียนประวัติศาสตร์เกี่ยวกับผลกระทบของสงครามโลกครั้งที่ 1 ที่มีต่อความสัมพันธ์ด้านเพศในสหราชอาณาจักรอังกฤษ คุณควรจะกล่าวถึงคำสำคัญเหล่านั้นในสองสามบรรทัดแรกของคุณด้วย

3. อธิบายคำศัพท์ หรือแนวคิดสำคัญ. มันอาจเป็นสิ่งจำเป็นที่คุณจะอธิบายคำศัพท์หรือแนวคิดสำคัญใดๆ แต่เนิ่นๆ ในบทนำของคุณ คุณจำเป็นต้องแสดงตัวตนของคุณให้ชัดเจนตลอดงานเขียนของคุณ หากคุณไม่อธิบายคำศัพท์ที่ไม่คุ้นเคย หรือแนวคิดแปลกใหม่ที่คนไม่รู้จัก คุณอาจจะทำให้ผู้อ่านไม่เข้าใจในการอภิปรายงานของคุณ

นี่เป็นสิ่งที่สำคัญอย่างมากถ้าหากคุณพยายามที่จะพัฒนาความคิดรวบยอดใหม่ๆ ที่ใช้ภาษาและคำศัพท์เฉพาะทางที่ผู้อ่านของคุณอาจไม่คุ้นเคย

4. แนะนำเรื่องที่เขียนผ่านเรื่องราว หรือคำพูดอ้างอิง. ถ้าหากคุณกำลังเขียนบทความมนุษยศาสตร์หรือสังคมศาสตร์ คุณสามารถที่จะเขียนให้ออกมาแนวงานประพันธ์เพื่อเริ่มบทนำของคุณ และเกริ่นให้ทราบถึงหัวข้อของงานเขียนของคุณ เป็นเรื่องปกติโดยเฉพาะสำหรับบทความมนุษยศาสตร์ทั้งหลายที่จะเริ่มด้วยเรื่องราวหรือคำพูดอ้างอิงประกอบที่ชี้ให้เห็นถึงหัวข้อเรื่องของงานวิจัยนั้น นี่เป็นอีกหนึ่งรูปแบบความหลากหลายของเทคนิค “สามเหลี่ยมคว่ำ” และสามารถที่จะสร้างความสนใจให้แก่งานเขียนของคุณให้ดูมีจินตนาการมากขึ้น และแสดงสไตล์งานเขียนที่น่าค้นหา

ถ้าคุณใช้เรื่องราว ให้ทำให้สั้นๆ และเกี่ยวข้องมากที่สุดกับงานวิจัยของคุณ มันจะต้องทำหน้าที่ได้เช่นเดียวกับวิธีการเปิดบทนำแบบอื่นๆ นั่นคือ บอกผู้อ่านให้ทราบถึงหัวเรื่องของงานเขียนวิจัยของคุณ

ตัวอย่างเช่น ถ้าหากคุณกำลังเขียนเกี่ยวกับสังคมวิทยาเรื่องอัตราการทำผิดซ้ำในกลุ่มผู้กระทำผิดวัยรุ่น คุณอาจจะเล่าเรื่องสั้นๆ เกี่ยวกับคนๆ หนึ่งที่สะท้อนและแนะนำไปสู่เรื่องที่คุณเขียน

โดยปกติแล้ว วิธีการนี้จะไม่เหมาะสำหรับบทนำของงานเขียนที่เกี่ยวกับธรรมชาติหรือวิทยาศาสตร์กายภาพมากนัก ซึ่งงานเขียนเหล่านี้จะมีวิธีการเขียนที่ต่างออกไป

ส่วน2สร้างเนื้อเรื่องให้กับงานเขียนของคุณ

  1. 1เขียนวิจารณ์งานเขียนสั้นๆ. ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับความยาวโดยรวมทั้งหมดของงานเขียนคุณ มันจำเป็นที่จะเขียนเล่าถึงงานเขียนที่มีอยู่ก่อนที่ได้ตีพิมพ์ออกมาแล้วในด้านที่คุณทำอยู่ นี่เป็นองค์ประกอบสำคัญของงานเขียนคุณที่จะแสดงให้เห็นว่าคุณมีความรอบรู้อย่างดีและเข้าใจการอภิปรายและความรู้วิชาการในสาขาของคุณ คุณควรตั้งเป้าที่จะบอกให้ทราบว่าคุณมีความรู้อย่างกว้างขวาง แต่ว่าคุณกำลังให้ความสนใจกับการอภิปรายเฉพาะด้านที่เกี่ยวข้องกับงานวิจัยของคุณมากที่สุด
    • ที่สำคัญคือคุณจะต้องทำให้บทนำนั้นสั้นกระชับ ดังนั้นให้เขียนเล่าเพียงภาพรวมของการพัฒนาล่าสุดในงานวิจัยชิ้นก่อนหน้าแทนที่จะพูดถึงการอภิปรายที่ยืดยาว [6]
    • คุณสามารถที่จะทำตามหลักการ “สามเหลี่ยมคว่ำ” เพื่อเน้นจากเรื่องที่ใหญ่ที่สุดไปยังเรื่องผลงานที่คุณกำลังเขียนอยู่โดยตรง
    • การเขียนวิจารณ์งานเขียนได้อย่างชัดเจนแสดงถึงข้อมูลเบื้องหลังที่สำคัญต่องานวิจัยของคุณเอง และบ่งบอกถึงความสำคัญในด้านนั้น[7]
  2. 2ใช้งานเขียนเพื่อเน้นถึงผลงานของคุณ. การเขียนวิจารณ์งานเขียนสั้นๆ แต่ครอบคลุมเป็นวิธีการที่มีประสิทธิภาพมากในการสร้างกรอบให้กับงานเขียนวิจัยของคุณ ขณะที่คุณกำลังพัฒนาบทนำของคุณนั้น คุณสามารถเปลี่ยนจากเรื่องงานเขียนมาพูดถึงงานของคุณแทน และจุดยืนที่เกี่ยวข้องกับวิชาการอย่างกว้าง
    • การให้การอ้างอิงที่ชัดเจนกับงานเขียนก่อนหน้าจะทำให้คุณสามารถอธิบายผลงานเฉพาะที่คุณกำลังจะพูดถึงต่อไปได้อย่างชัดเจน
    • คุณสามารถที่จะบอกได้ถึงช่องว่างในความรู้ทางวิชาการที่มีอยู่ และสามารถอธิบายได้ว่าคุณกล่าวถึงมันอย่างไรและผลักดันให้เกิดความเข้าใจ [8]
  3. 3อธิบายถึงเหตุผลของการเขียนงานวิจัยของคุณ. เมื่อคุณได้ใส่กรอบงานของคุณในเนื้อความอย่างกว้างๆ แล้ว คุณสามารถที่จะอธิบายเพิ่มเติมเกี่ยวกับเหตุผลในการทำงานวิจัยของคุณรวมถึงจุดแข็งและความสำคัญของมัน เหตุผลควรจะบอกถึงคุณค่าของงานเขียนของคุณอย่างกระชับและชัดเจนและผลงานของมันในสาขานั้น [9] คุณอาจจะลองบอกว่าคุณกำลังเติมช่องว่างในด้านวิชาการนั้นให้เต็มและเน้นถึงผลลัพธ์ด้านดีของงานของคุณ
    • ตัวอย่างเช่น ถ้าหากคุณกำลังเขียนงานวิทยาศาสตร์ คุณสามารถเน้นถึงข้อดีของวิธีการทำการทดลอง หรือแบบจำลองที่คุณใช้
    • เน้นอะไรก็ตามที่เป็นความแปลกใหม่ในงานวิจัยของคุณ และความสำคัญของวิธีการใหม่นี้ของคุณ แต่อย่าลงรายละเอียดมากเกินไปในบทนำ[10]
    • การให้เหตุผลอาจจะเป็นอะไรอย่างเช่น: “การวิจัยประเมินผลของยาแก้อักเสบที่ไม่มีใครรู้จักมาก่อนหน้านี้ขององค์ประกอบเฉพาะที่ เพื่อที่จะประเมินความเป็นไปได้ในการใช้งานสำหรับคลีนิค”

ส่วน3ระบุคำถามและสมมุติฐานงานวิจัยของคุณ

  1. 1กล่าวถึงคำถามงานวิจัยของคุณ. เมื่อคุณได้พูดถึงทิศทางของงานวิจัยของคุณในสาขานั้นและเหตุผลทั่วไปที่คุณเขียนงานวิจัยแล้ว คุณสามารถที่จะระบุคำถามงานวิจัยที่พูดถึง การวิจารณ์งานเขียนและเหตุผลได้ร่างกรอบให้งานวิจัยของคุณและแนะนำคำถามงานวิจัยของคุณ ในการเกริ่นถึงคำถามนี้ควรจะให้ออกมาอย่างไหลลื่นจากส่วนแรกๆ ของบทนำ ไม่ใช่ออกมาเซอร์ไพรสผู้อ่าน[11]
    • คำถามงานวิจัยโดยปกติแล้วจะปรากฏที่ช่วงท้ายของบทนำและควรมีลักษณะสั้นกระชับและมุ่งเน้นที่งาน[12]
    • คำถามงานวิจัยอาจจะทำให้นึกถึงคำสำคัญที่สร้างขึ้นในสองสามประโยคแรก และในชื่อเรื่องของงานเขียนของคุณ
    • ตัวอย่างของคำถามงานวิจัยอาจจะเป็น “อะไรคือผลที่เกิดขึ้นตามมาจากข้อตกลงการค้าเสรีอเมริกาเหนือที่มีต่อเศรษฐกิจการส่งออกของเม็กซิโก?”
    • คุณอาจจะขยายเพิ่มเติมให้เฉพาะมากขึ้นโดยการอ้างถึงองค์ประกอบเฉพาะของข้อตกลงการค้าเสรี และผลกระทบกับอุตสาหกรรมบางอย่างในเม็กซิโก เช่น การผลิตผ้า
    • คำถามงานวิจัยที่ดีควรเกลาปัญหาไปสู่สมมุติฐานที่สามารถทดลองได้
  2. 2ระบุสมมุติฐานของคุณ. หลังจากที่คุณได้บอกถึงคำถามงานวิจัยไปแล้ว คุณจะต้องบอกสมมุติฐานต่อมาที่กระชับและชัดเจนหรือบอกหลักการของคุณได้ นี่จะเป็นคำพูดที่จะบ่งบอกว่าบทความของคุณจะมุ่งเน้นไปยังเฉพาะเรื่องและหาคำตอบที่ชัดเจนแทนที่จะไปพูดถึงเรื่องหัวข้อใหญ่ๆ แทน[13] คุณควรจะอธิบายให้เข้าใจได้สั้นๆ ว่าคุณได้สมมุติฐานนี้มาได้อย่างไร โดยแสดงให้เห็นถึงการอภิปรายของคุณจากงานเขียนที่มีอยู่
    • ถ้าเป็นไปได้ให้หลีกเลี่ยงการใช้คำว่า “สมมุติฐาน” แต่ให้ทำการบอกเป็นนัยแทนในการเขียนของคุณ[14] นี่จะทำให้งานเขียนของคุณดูเป็นรูปแบบฟอร์มน้อยลง
    • ในงานเขียนวิทยาศาสตร์ การให้ภาพรวมหนึ่งประโยคที่ชัดเจนของผลลัพธ์ของคุณและความเกี่ยวข้องของผลลัพธ์กับสมมุติฐานจะทำให้ข้อมูลชัดเจนและเข้าถึงได้[15]
    • ตัวอย่างของสมมุติฐานอาจจะเป็น”คาดว่าหนูที่สูญเสียอาหารในช่วงระยะเวลาการวิจัยนี้จะมีความเฉื่อยชามากกว่าพวกที่ได้รับอาหารเป็นปกติ”
  3. 3ร่างโครงร่างของรายงานของคุณ. ในบางครั้งส่วนสุดท้ายของบทนำงานเขียนวิจัยอาจจะยาวสองสามบรรทัด ซึ่งบอกถึงภาพรวมของโครงสร้างส่วนเนื้อหาของงานเขียนนี้[16] นี่จะช่วยให้ภาพโครงร่างว่าคุณได้จัดงานเขียนของคุณอย่างไรและมันถูกแบ่งออกเป็นส่วนๆ อย่างไร
    • นี่ไม่จำเป็นต้องเป็นเช่นนี้เสมอ คุณควรให้ความใส่ใจในรูปแบบการเขียนงานในสาขาของคุณ
    • เช่น ในงานเขียนวิทยาศาสตร์ธรรมชาติ มันจะมีโครงสร้างการเขียนที่ค่อนข้างเข้มงวดที่คุณจะต้องทำตาม[17]
    • งานเขียนด้านมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์น่าจะเป็นด้านที่เปิดโอกาสมากที่สุดให้คุณสามารถเขียนโครงสร้างงานเขียนของคุณได้หลากหลายออกไป

วิธีการ เขียนบทนำงานวิจัย