การจัดการ “การเขียนบทความ” หรือ การเขียนบล็อก

สวัสดีครับ เพื่อนๆ เรามาเริ่มเขียนบทความกันดีกว่าครับ จริงๆ แล้วก็คือพิมพ์บทความนั่นละครับ แต่ใช้คำว่า “เขียน” ก็สื่อไปในทางรูปแบบเก่าที่เวลาเราจะเขียนไดอารี่ หรือประสบการณ์ต่างๆ คงต้องเขียนกันเป็นหลัก ปัจจุบันก็คงพิมพ์เสียส่วนใหญ่ แต่ผมเคยได้ยินคุณบอย โกสิยพงษ์ ไม่มีเวลาพิมพ์ ใช้วิธีเขียนเป็นฉบับ ร่างให้เจ้าหน้าที่ช่วยพิมพ์ให้เหมือนกัน สรุปว่า ก็ความหมายเดียวกันครับ (เพราะไม่ได้สื่อในรูป คำกิริยา)

การเขียนบทความก็คงไม่ยากเย็นอะไร ก็พิมพ์ลงไปนะครับ ในพื้นที่ ที่ระบบจัดเตรียมไว้ให้ แล้วก็มีการใส่รูปภาพเป็นส่วนใหญ่ หรือคลิ๊ปวีดีโอ ดังนั้น ก่อนถึงการเขียนบทความ เราลองมารู้จักกับเมนูต่างๆ ในหน้าการจัดการ “การเขียนบทความ” หรือ “สร้างบทความ” กันครับ

คงต้องเริ่มจาก ผมจะแนะนำการเข้าสู่หน้า “สร้าง หรือ เขียนบทความ” 3 วิธี ง่ายๆ นะครับ คือ
1. กดที่เมนู “บทความใหม่” ที่อยู่ด้านขวามือบนสุด ในหน้าที่เว็บบล็อกที่เราเข้ามาผ่านวิธีการแบบ Log in เข้ามานะครับ

2. เมื่อเวลาเราเขียนบทความเสร็จแล้ว และกดบันทึก ระบบจะพาเราไปที่หน้า “แก้ไขบทความ” ให้เรากดที่เมนู “สร้างบทความใหม่” ตามภาพตัวอย่างข้างบน

3. ที่หน้าการจัดการ “รูปแบบ” ที่เมนูด้านซ้ายบน ให้กดที่เมนู “การส่งบทความ”

ทั้ง 3 วิธี ก็จะมาที่หน้าเว็บการจัดการในการสร้าง หรือเขียนบทความ ดังภาพตัวอย่าง งั้นมาดูเมนูต่างๆ กันครับ

เพื่อให้เพื่อนๆ เข้าใจในคำอธิบายง่ายๆ ผมจึงกำหนดเป็นตัวเลขกำกับแต่ละเมนูแทน เริ่มจากชื่อเรื่อง คือ การสร้างชื่อบทความ หรือหัวข้อของบทความที่เราเขียนก็ได้นะครับ
หมายเลข 1 คือ การเลือกแบบของตัวอักษร ถ้าเรากดที่ลูกศรลง ก็จะแสดงแบบอักษร การใช้งานแบบตัวอักษรนี้ ก็สามารถทำได้ 2 วิธีคือ ลากเม้าส์ครอบคลุมพื้นที่ของตัวหนังสือที่ต้องการเปลี่ยนแบบตัวอักษร แล้วกดเลือกแบบได้เลย หรือ กดเลือกแบบตัวอักษรเลย ก่อนพิมพ์บทความ ครับ

หมายเลข 2 คือ การเปลี่ยนขนาดของตัวอักษร ซึ่งมีให้เลือก 5 ขนาด เพื่อนๆ สามารถเลือกใช้ได้ตามความเหมาะสมครับ Normal คือขนาดปกติ ผมมักใหญ่ ขนาดใหญ่ (Large) เมื่อเวลาต้องเน้นคำ หรือประโยค เด่นๆ ครับหมายเลข 3 ที่เป็นตัว b หนาๆ เป็นการทำให้ตัวหนังสือที่เราต้องการกลายเป็นตัวหนาหมายเลข 4 ที่เป็นตัว i เอียงๆ จะทำให้ตัวหนังสือที่เราต้องการกลายเป็ษนตัวเอียง

หมายเลข 5 เป็นการเลือกสี ให้กับตัวอักษร ถ้าเราใช้อย่างเหมาะสม ก็จะเกิดความสวยงามของบทความ น่าอ่าน หรือใช้เน้นคำ ร่วมกับขนาดตัวอักษรบ้างก็ยังได้ ส่วนตัวผมแล้ว ผมยังใช้สีตัวอักษรมาแสดงอารมณ์ ความรู้สึกของคำ หรือประโยคนั้นๆ ด้วย เช่น ถ้าบทความนั้นผมเขียนถึง สิ่งที่ถูก กับ สิ่งที่ผิด ผมก็จะใช้สีถึงสิ่งที่ถูกเป็นสีน้ำเงิน ส่วนสิ่งที่ผิด ผมก็จะใช้สีแดง แทนครับ

หมายเลข 6 เป็นเมนูการเชื่อมโยงลิงก์ ให้กับคำ หรือประโยค เช่นเมื่อกล่าวถึง ชื่อ ปรีดา ลิ้มนนทกุล ผมก็เชื่อมโยงลิงก์ หรือ URL http://preedaroom.blogspot.com/ ไปใส่ในช่อง URL ตามภาพตัวอย่างข้างบนนะครับ กด OK ก็เป็นอันเสร็จสิ้นการเชื่อมโยงลิงก์ (ตามตัวอย่างชื่อผมครับ)หมายเลข 7 เป็นการจัดลักษณะการวางของตัวหนังสือ ว่า จะให้ ชิดซ้าย, ตรงกลาง, ชิดขวา และ เฉลี่ยเต็มพื้นที่หมายเลข 8 เป็นการจัดลำดับของข้อความ หรือประโยค เป็นข้อๆ เรียงตามเลข หรือ มีจุดนำหน้า และการยกข้อความทั้งย่อหน้า เพื่อนๆ ต้องลองเล่นข้อ 7 และ 8 เอง เวลาเขีนบทความ ก็จะเกิดความชำนาญในการใช้งานครับ

หมายเลข 9 เป็นการเพิ่มรูปภาพในบทความ โดยสามารถเพิ่มภาพได้ทั้งจากไฟล์ในเครื่องคอมพิวเตอร์ของเราเอง (Browse) หรือจาก URL จากนั้นเลือกรูปแบบ การวางรูปซ้าย-กึ่งกลาง-ขวา (ส่วนไม่มีนั้น ผมก็ไม่เคยใช้ครับ) ส่วนด้านข้างบริเวณ “ขนาดรูปภาพ” มีให้เลือก ขนาดเล็ก-ปานกลาง-ขนาดใหญ่ ส่วนช่องที่ให้ติ๊กหน้าช่อง “ใช้เลย์เอาต์นี้ทุกครั้งหรือไม่” ก็ขึ้นอยู่กับการใช้งานนะครับ

หมายเลข 10 เป็นการเพิ่มวีดีโอในบทความ (ขอสารภาพว่า ยังไม่เคยใช้งานเลยครับ) แต่น่าจะใช้งานเหมือนกันคือ กด Browse เพื่อโหลดไฟล์วีดีโอ ตั้งชื่อ และก็บันทึก (ถ้าทดลองใช้จะกลับมาอัพเดทอีกครั้งครับ)หมายเลข 11 เป็นการลบการจัดรูปแบบจากส่วนที่เลือก ซึ่งผมยังไม่เคยใช้งานครับหมายเลข 12 เป็นเมนู Type in Hindi ที่ไม่กล้าใช้งานครับ จึงยังไม่เคยใช้เลย กลัวว่าบทความจะถูกเปลี่ยนเป็นภาษาอื่นครับ

มาถึงหมายเลข 13 เป็น เมนู “แสดงตัวอย่าง” ให้เพื่อนๆ เมื่อลองพิมพ์บทความลงไปแล้ว ทดลองกดที่เมนู ระบบก็จะแสดงตัวอย่างบทความให้ดูครับ ดังภาพตัวอย่างข้างล่างครับ

ก่อนหน้านี้ ที่ผมอธิบายเมนูต่างๆ ของการเขียนบทความนั้น ถ้าเพื่อนๆ สังเกตจะเห็นว่าเป็นส่วนการจัดการ “การเขียน” โดยดูได้จากเมนูขวามือ ที่ผมวงไว้ว่า A คราวนี้มาถึงเมนู “แก้ไข Html” ที่ผมวงไว้ว่า B เป็นส่วนที่เราสามารถวางโค้ด Html นะครับ ทั้งโค้ด หรือ Embed เช่น จาก youtube.com หรือ daraoke.com (ผมจะเขียนบทความขยายความในส่วนนี้ รวมทั้งส่วนอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องในบทความใหม่ ต่อๆ ไปนะครับ) พื้นที่นี้สามารถคีย์ตัวอักษรปกติได้ และใช้งานตามเมนูเท่าที่มีให้นะครับ แต่ถ้าจะใช้ฟังก์ชั่นเมนูมากกว่านี้ ต้องข้ามไปใช้ในส่วนการจัดการ “การเขียน” แทนครับ

มีเรื่องเล็กๆ น้อยๆ ที่จะบอกเพื่อนๆ ว่า ถ้าสังเกตดีๆ เวลาเราพิมพ์บทความไปได้สักระยะหนึ่ง (พักใหญ่เหมือนกันครับ) ตรงพื้นที่ ที่ผมวงไว้ว่า “ว่าง” นั้น จะมีข้อความขึ้นแสดงว่า มีการบันทึกแบบร่าง ดังตัวอย่างภาพข้างล่างนะครับและก่อนจะจบ ก็ต้องแนะนำส่วนสุดท้ายคือ ช่องการใส่คีย์เวิร์ด ที่เรียกว่า Tag ที่มีความสำคัญมากนะครับ เรียกได้ว่าเป็นอีกองค์ประกอบหนึ่งที่จะทำให้บทความ หรือบล็อกของเราติดอันดับ Google ได้ง่ายขึ้นครับ จบแล้วครับ สำหรับบทความตอนนี้ ยาวหน่อยนะ

การจัดการ “การเขียนบทความ” หรือ การเขียนบล็อก