เทคนิค การเขียนบทความ อย่างไรให้โดนใจกลุ่มเป้าหมาย

1. กำหนดจุดประสงค์ของเรื่องก่อนเขียน ทุกครั้งก่อนที่คุณจะเริ่มต้นเขียนเรื่องราวอะไรสักอย่างเพื่อถ่ายทอดให้ผู้อื่นได้อ่าน สิ่งแรกที่คุณควรทำคือการกำหนดจุดประสงค์ของเรื่องราวที่คุณจะเขียนเสียก่อน ว่าต้องเขียนเรื่องราวให้ออกมาในรูปแบบไหน ทำให้ผู้อ่านรู้สึกอย่างไร หรืออยากให้ผู้อ่านได้รับอะไรจากการอ่านบทความของคุณบ้าง โดยการกำหนดจุดประสงค์ก่อนการเขียนบทความจะทำให้คุณสามารถเลือกแนวทางในการเขียนเล่าเรื่องราวได้อย่างเหมาะสม และทำให้การเขียนบทความมีจุดมุ่งหมายไม่หลงประเด็น ซึ่งจะทำให้ผู้อ่านรู้สึกคล้อยตามสิ่งที่คุณกำหนดไว้อย่างการเขียนเพื่อให้ความรู้คุณก็ต้องเลือกรูปแบบการเขียนด้วยการใช้คำที่ดูเป็นทางการเพื่อสร้างความรู้สึกน่าเชื่อถือให้บทความเมื่อถูกอ่าน ที่ถือว่าเป็นจุดประสงค์ที่ได้ตั้งไว้ก่อนทำการเขียนบทความนั่นเอง 2. ใช้หลัก 5 W+1H เทคนิค การเขียนบทความ ให้น่าสนใจ และโดนใจผู้อ่านนั้น คุณจำเป็นต้องทำให้ผู้อ่านสามารถเข้าถึงเรื่องราว หรือจินตนาการตามที่คุณได้เขียนเล่าออกไปได้อย่างง่ายดาย จากการใช้หลัก 5 W+1H หรือก็คือการใช้หลักการ Who (ใคร) What (ทำอะไร) Where (ที่ไหน) When (เมื่อไหร่) Why (ทำไม) How (ทำได้อย่างไร) เข้ามาช่วยในการอธิบายเพื่อสร้างจินตนาการให้กับผู้อ่านได้อย่างเป็นขั้น เป็นตอนที่จะทำให้ผู้อ่านเข้าใจเรื่องราวที่ได้อ่านง่ายขึ้น ซึ่งวิธีนี้มักถูกใช้อย่างมากมายในหลายๆ ด้านไม่ว่าจะเป็น ด้านการทำภาพยนตร์ การเขียนนิยาย หรือแม้แต่การทำรายการทีวีทั่วไป ก็เลือกวิธีนี้ในการสร้างเรื่องราวให้น่าสนใจและทำให้ผู้อ่านเกิดเข้าใจได้ง่ายขึ้น 3. สรุปจบให้ตราตรึงใจ นอกจากการเริ่มต้นการเขียนเรื่องราวที่ดีแล้ว การสรุปจบเรื่องราวที่คุณได้เขียนให้ตราตรึงใจก็สามารถสร้างรู้สึกดีๆ ให้กับผู้อ่านได้เช่นกัน ซึ่งตอนจบอันตราตรึงใจที่คุณต้องสร้างขึ้นมานั้น ต้องสามารถทำให้ผู้อ่านเกิดความตราตรึงใจ สามารถมัดใจของผู้อ่านให้เกิดความรู้สึกชื่นชอบบทความ หรืออยากติดตามบทความของคุณอีกต่อไปในอนาคต โดยคุณสามารถสร้างความตราตรึงใจได้จากการเขียนสรุปให้ผู้อ่านมีความคิดเชิงบวก […]

วิธีเขียนรายงาน ฉบับสมบูรณ์ เขียนรายงาน อย่างไรให้ครบถ้วนไม่ตกทุกรายละเอียด

การเขียนรายงาน คือการเขียนเสนอผลงานอันได้มาจากการศึกษาค้นคว้าพิเศษนอกเหนือจากเรื่องที่ได้ศึกษาในชั้นเรียนเพื่อส่งเสริมให้ผู้เรียนรู้จักแสวงหาความรู้ด้วยตนเอง รูปแบบของรายงาน รูปแบบของการรายงาน แบ่งออกเป็น 3 ส่วน คือ ส่วนประกอบตอนต้น ส่วนเนื้อหา และส่วนประกอบตอนท้าย ดังนี้ ส่วนประกอบตอนต้น หน้าปกรายงาน ส่วนบนเขียนชื่อเรื่อง ส่วนกลางชื่อผู้รายงาน ส่วนล่างบรรทัดแรกให้เขียนว่า “ รายงานนี้เป็นส่วนหนึ่งของการศึกษาวิชา… ” บรรทัดที่สองเป็นชื่อสถาบันศึกษา ส่วนบรรทัดที่สามบอกภาคที่เรียนและปีการศึกษา คำขอบคุณ เป็นส่วนที่ไม่บังคับ อาจมีหรือไม่มีก็ได้ คำนำ เป็นการบอกขอบข่ายของเรื่อง สาเหตุที่ทำให้เลือกทำรายงานเรื่องนี้ จุดมุ่งหมายในการเขียน สารบัญ หมายถึง บัญชีบทต่าง ๆ ในสารบัญมีบทและตอนต่าง ๆ เรียงตามลำดับกับที่ปรากฏในหนังสือ ตลอดจนการขอบคุณผู้ที่ช่วยเหลือในการทำรายงาน บัญชีตารางหรือภาพประกอบ (ถ้ามี) เพื่อให้มีเนื้อหาที่สมบูรณ์ยิ่งขึ้น รายงานบางเรื่องอาจต้องใช้ตาราง นิยมทำบัญชีตารางหรือบัญชีภาพประกอบไว้ในหน้าถัดไปจากสารบัญ ส่วนเนื้อเรื่อง ส่วนที่เป็นเนื้อหา ต้องมีตอนนำ ตอนตัวเรื่อง และตอนลงท้ายเช่นเดียวกับการเขียนเรียงความ ส่วนประกอบในเนื้อหา ได้แก่• อัญประกาศ คือข้อความที่คัดมาจากคำพูดหรือข้อเขียนของผู้อื่น โดยไม่ได้ดัดแปลง• เชิงอรรถ คือข้อความท้ายหน้า มีไว้เพื่อแจ้งที่มาของข้อความในตัวเรื่อง […]

วิธีการ เขียนบทนำงานวิจัย

แนะนำหัวข้อของงานเขียน บทนำของรายงานวิจัยนับว่าเป็นส่วนที่ยากและท้าทายที่สุดในการเขียนรายงานนี้เลยก็ว่าได้ ความยาวของบทนำอาจแตกต่างกันไปขึ้นอยู่กับประเภทของงานวิจัยที่คุณกำลังเขียนนั้น บทนำควรจะบอกให้ทราบถึงหัวข้อของคุณ เนื้อหา และเหตุผลในการทำงานวิจัยของคุณ ก่อนที่จะเริ่มกล่าวถึงคำถามและสมมุติฐานในงานวิจัยของคุณ บทนำที่ดีจะบ่งบอกถึงลักษณะของงานเขียนนี้ ทำให้ผู้อ่านสนใจ และสื่อสารสมมุติฐานหรือใจความหลักได้ 1. บอกให้ทราบถึงเรื่องที่คุณทำวิจัย. คุณสามารถเริ่มบทนำของคุณด้วยประโยคสักสองสามประโยคบอกให้ทราบเรื่องที่คุณเขียนและชี้ให้เห็นถึงคำถามของงานวิจัยที่คุณจะถาม นี่เป็นวิธีที่ดีที่จะเกริ่นให้ผู้อ่านทราบถึงเรื่องที่คุณเขียนและดึงดูดความสนใจของพวกเขาได้ [1] สองสามประโยคแรกควรจะเป็นตัวชี้แนะให้ทราบถึงปัญหาอย่างกว้างที่คุณจะพูดถึงมากขึ้นในส่วนที่เหลือของบทนำ และพาไปสู่คำถามของงานวิจัยที่เจาะลึกลงไปของคุณ ในงานเขียนทางวิทยาศาสตร์ บางครั้งก็เรียกว่า “สามเหลี่ยมคว่ำ” ที่เริ่มจากการเขียนถึงเรื่องทั่วไปอย่างกว้างขวางก่อนในต้อนต้น ก่อนจะค่อยๆ ขยายเจาะลึกเข้าไปเป็นเรื่องๆ เฉพาะ [2] ประโยคที่ว่า “ตลอดเวลาที่ผ่านมาในศตวรรษที่ 20 มุมมองชีวิตบนดาวเคราะห์ดวงอื่นได้เปลี่ยนแปลงไปอย่างมาก” บอกให้ทราบถึงหัวข้อเรื่อง แต่เป็นเพียงการเกริ่นในเชิงกว้าง มันช่วยให้ผู้อ่านได้ทราบถึงแนวทางเนื้อหาที่บทความนี้จะกล่าวถึง และทำให้พวกเขาอยากอ่าน 2. พิจารณาการอ้างอิงถึงคำสำคัญ. เวลาที่คุณเขียนงานวิจัยสำหรับตีพิมพ์ คุณจะต้องส่งงานเขียนนั้นพร้อมกับรายการคำสำคัญที่จะช่วยให้เข้าใจได้ถึงขอบเขตงานวิจัยที่คุณกำลังเขียนถึง คุณอาจจะมีคำสำคัญบางคำในหัวข้อเรื่องของคุณซึ่งคุณต้องการจะใช้และเน้นย้ำในบทนำของคุณ ตัวอย่างเช่น ถ้าหากคุณกำลังเขียนเรื่องเกี่ยวกับพฤติกรรมของหนูเมื่อโดนสารชนิดหนึ่ง คุณอาจจะเขียนคำว่า “หนู” ลงไปด้วย และชื่อทางวิทยาศาสตร์ของสารประกอบที่เกี่ยวข้องในประโยคแรก ถ้าหากคุณต้องการเขียนงานเขียนประวัติศาสตร์เกี่ยวกับผลกระทบของสงครามโลกครั้งที่ 1 ที่มีต่อความสัมพันธ์ด้านเพศในสหราชอาณาจักรอังกฤษ คุณควรจะกล่าวถึงคำสำคัญเหล่านั้นในสองสามบรรทัดแรกของคุณด้วย 3. อธิบายคำศัพท์ หรือแนวคิดสำคัญ. มันอาจเป็นสิ่งจำเป็นที่คุณจะอธิบายคำศัพท์หรือแนวคิดสำคัญใดๆ แต่เนิ่นๆ ในบทนำของคุณ คุณจำเป็นต้องแสดงตัวตนของคุณให้ชัดเจนตลอดงานเขียนของคุณ หากคุณไม่อธิบายคำศัพท์ที่ไม่คุ้นเคย หรือแนวคิดแปลกใหม่ที่คนไม่รู้จัก คุณอาจจะทำให้ผู้อ่านไม่เข้าใจในการอภิปรายงานของคุณ นี่เป็นสิ่งที่สำคัญอย่างมากถ้าหากคุณพยายามที่จะพัฒนาความคิดรวบยอดใหม่ๆ ที่ใช้ภาษาและคำศัพท์เฉพาะทางที่ผู้อ่านของคุณอาจไม่คุ้นเคย 4. […]