วิธีเขียนบทความภาษาอังกฤษเทคนิคจากคนไทย สู่คนไทย (ไม่ต้องเก่งอังกฤษก็เขียนได้)

เทคนิคจากคนไทย เพื่อคนไทย “เขียนภาษาอังกฤษ” ซึ่งไม่ใช่ภาษาแม่ ไม่ใช่ของง่าย บางคนอาจรู้สึกขนลุก หรือไม่มั่นใจ แต่ถ้าเราจำเป็นต้องผลิตผลงาน เขียนบทความภาษาอังกฤษล่ะ มีวิธีการอย่างไรบ้างที่จะช่วยให้งานของเราดีขึ้นกว่าเดิม วันนี้เราได้ขนทั้งเครื่องมือตัวช่วย และเทคนิคการฝึกฝน จากประสบการณ์จริงมาฝากกัน

ทั้งการเขียนเพื่อสอบ การเขียนบนกระดาษ กับการเขียนเพื่องานออนไลน์ ก็ต่างกันค่อนข้างมาก บทความนี้จะเน้นเรื่องการเขียนเพื่อการนำเสนอผลงานบทความเป็นหลัก แต่ก็สามารถนำมาประยุกต์ใช้กับงานเขียนอื่นๆ ได้เช่นกัน

Disclaimer: ผู้เขียนไม่ได้เป็นโปรด้านการเขียนภาษาอังกฤษแต่อย่างใด บทความนี้เป็นการสรุปประสบการณ์ที่ตัวเองได้ลองจากการทำงาน โดยเฉพาะอย่างยิ่งจากประสบการณ์ที่เคยทำงานที่เว็บไซต์ Techsauce ซึ่งนอกจากภาษาไทยแล้ว ยังมีบทบาทได้เขียนภาษาอังกฤษอยู่เสมอ แถมไม่ใช่แค่ก็อปปี้เล็กๆ น้อยๆ แต่เป็นบทความฉบับเต็ม ซึ่งเว็บไซต์นี้เองนอกจากคนไทยแล้วก็มีคนจากทั่วมุมโลกได้แวะเวียนเข้ามาอ่าน

แนะนำเครื่องมือช่วยชีวิต เขียนบทความภาษาอังกฤษ ได้แม้ไม่เก่งแกรมม่า

Grammar (แกรมมาร์) ไม่เก่ง หรือไม่มั่นใจ

เมื่อไม่กี่เดือนที่ผ่านมา เราได้เขียน Press Release บทความภาษาอังกฤษสรุปงานอีเวนต์ Techsauce Summit ความยาว 3 หน้ากระดาษ เพื่อส่งให้ Press ต่างๆ ความท้าทายคือ Press Release มันเป็นเอกสารที่ค่อนข้าง Official มีความเป็นทางการมากกว่าการเขียนบทความออนไลน์ ตอนนั้นเครื่องมือที่ช่วยเราได้มากเลยคือ Grammarly ซึ่งเป็นโปรแกรมที่ใช้งานฟรี และรองรับการใช้งานบนหลากหลายแพลตฟอร์ม ไม่ว่าจะเป็นเวอร์ชัน..

  • Native app บนเครื่อง Mac
  • Add-in สำหรับโปรแกรม Microsoft Office บน Windows
  • Web application สามารถใช้งานได้เลยบนเว็บบราวเซอร์ ไม่จำกัด OS

หน้าตาของโปรแกรมจะเป็นดังภาพนี้

เขียนภาษาอังกฤษ เช็คแกรมมาร์ grammarly

Grammarlyมันสามารถช่วยเช็คแกรมมาร์ให้เรา พร้อมแนะนำวิธีแก้ไขให้ เราสามารถเขียนเอกสารในโปรแกรม หรือจะ Import ไฟล์ Word (.docx) เข้าไปก็ได้ แล้วมันก็จะช่วยเช็คให้ว่าเราพลาดตรงไหนบ้าง พร้อมบอกเราว่าต้องปรับยังไง รูปด้านล่างคือตัวอย่างผลลัพธ์หลังจากที่เราอัปโหลดไฟล์ Press Release ที่เราเขียนใน Word เข้าไป

use-grammarly-for-techsauce-press-release

จะเห็นได้ว่า Grammarly ไม่ใช่เพียงโปรแกรมช่วยเช็คแกรมมาร์ แต่ยังเป็นเหมือนโปรแกรม Word editor ย่อมๆ ซึ่งช่วยเซฟไฟล์งานเขียนของเราเก็บไว้บนคลาวด์ให้อีกด้วย คล้ายๆ กับเป็น Google Docs สำหรับคนทำงานเขียนภาษาอังกฤษก็ว่าได้

ถ้าคุณเขียนแล้วประโยคออกมางงๆ

บางทีเรื่องใหญ่อาจไม่ใช่เรื่องแกรมมาร์อย่างเดียว แต่อาจจะเป็นเรื่องการแต่งประโยคให้อ่านรู้เรื่องก็เป็นได้ เครื่องมืออีกตัวที่คุณใช้ช่วยได้คือ Hemingway สามารถใช้งานได้เลยในเว็บไซต์ หรือจะโหลด Desktop App ก็ได้

ภาพด้านล่างนี้สาธิตการใช้งาน Hemingway มันสามารถไฮไลท์บอกได้ว่าการเรียบเรียงให้ง่ายต่อการอ่าน (Readability) ของข้อความของเราดีแค่ไหน รวมถึงช่วยไฮไลท์จุดที่คุณควรลองดูเพื่อปรับให้มันง่ายขึ้น

เขียนภาษาอังกฤษ เช็คการอ่าน hemingway

เครื่องมือนี้จึงค่อนข้างเหมาะกับงานเขียนบทความออนไลน์ภาษาอังกฤษทั่วๆ ไป ซึ่งความง่ายในการอ่านเป็นเรื่องสำคัญ มากกว่าความสวยหรูของประโยค แต่เราอยากบอกว่า ไม่ต้องถึงกับยึดตามคำแนะนำมากก็ได้ เพราะมันจะแนะนำให้เราไม่ใส่ Adverb หรือ Passive voice (ซึ่งเขาถือว่ามันทำให้ประโยคซับซ้อน แต่จริงๆ แล้วสองอย่างนี้ก็มีประโยชน์มากในการแต่งประโยค) โดยส่วนตัวเรามองว่าเป็นเครื่องมือที่เหมาะสำหรับใช้ช่วยเช็คคร่าวๆ เพื่อเพิ่มความมั่นใจ

คิดชื่อเรื่องบทความภาษาอังกฤษดีๆ ไม่ออก

“ชื่อดีมีชัยไปกว่าครึ่ง” พวกเราได้เคยเขียนแนะนำการตั้งชื่อบทความไปตั้งแต่บล็อกแรกๆ การตั้งชื่อสำคัญมากเพราะมันเป็นสิ่งแรกที่คนเห็น แต่ก็ยากไม่ใช่เล่นเลย (มีบางครั้งเราเขียนบทความจนจบแล้ว ยังคิดชื่อดีๆ ไม่ออกเลย > <“)  แล้วทีนี้ถ้าเราต้องเขียนชื่อเป็นภาษาอังกฤษล่ะ ถามว่ามีอะไรที่พอเข้ามาช่วยเราได้บ้างไหม ข่าวดีคือมีค่ะ และลิงก์เหล่านี้คือเครื่องมือที่สามารถใช้ช่วยได้