10 ขั้นตอนสู่ความสำเร็จของการเขียนบทความ

จุดประสงค์ของบทความวิชาการที่ดี คือ สามารถถ่ายทอดข้อมูลมาสู่ผู้อ่านได้รวดเร็วและเข้าใจได้ง่าย มีผู้เขียนหลายๆ คนไม่ประสบความสำเร็จ เพราะพยายามเขียนบทความเป็นทางการมากเกินไป ดังนั้น จึงไม่สามารถถ่ายทอดเนื้อหา สาระให้ผู้อ่านเข้าใจได้ง่ายเท่าที่ควร ให้คุณลองปฏิบัติตามคำแนะนำต่อไปนี้ 1. อย่าเป็นกังวล คนทุกคนเขียนบทความกันได้ทั้งนั้นหากจะไม่ไปกังวลมากเกินไป คนส่วนใหญ่มักกังวลว่าจะเขียนได้ไม่ดี กังวลว่าเขียนไปแล้วคนที่เรียนสูงๆ จะมาคอยจับผิด หรือกังวลว่าจะเขียนได้ไม่สมกับภูมิรู้ที่คุณมี จงทำใจให้ได้ว่าคุณเขียนบทความนี้เพราะเป็นเรื่องที่คุณมั่นใจว่าคุณรู้ คุณเข้าใจเป็นอย่างดี เขียนในเรื่องที่คุณมีประสบการณ์และคิดว่าจะเป็นประโยชน์ต่อผู้อ่าน อย่างน้อยที่สุดคุณได้ทำประโยชน์ต่อผู้อ่าน โดยเสนอข้อมูลที่คุณคิดว่าถูกต้องที่สุดออกมา จงเขียนในทำนองเดียวกับที่คุณพยายามจะอธิบายด้วยคำพูดให้ใครสักคนหนึ่งที่ไม่รู้เรื่องนี้ฟังแล้วเขาสามารถเข้าใจได้ 2. เลือกหัวข้อที่จะเขียน บทความที่ดี คือ บทความที่สามารถอธิบายบางสิ่งบางอย่างที่ให้ประโยชน์ในแง่ใดแง่หนึ่งแก่ผู้อ่าน เช่น ให้ความรู้รอบตัว ให้ความรู้ที่นำไปใช้งานได้ ให้แนวคิดที่น่าสนใจ เป็นต้น แต่ไม่ควรเป็นบทความที่เพียงตั้งใจแสดงว่าคุณมีความรู้สูงกว่าผู้อ่าน ดังนั้น ควรเลือกหัวข้อที่คิดว่าผู้อ่านจะสนใจและได้รับประโยชน์ 3. วางแผนก่อนเขียน สิ่งนี้สำคัญมากสำหรับนักเขียนมือใหม่ การเขียนบทความนั้นไม่ยากนัก แต่มักจะมายากเอาตรงที่ไม่รู้จะเริ่มต้นเขียนอย่างไร เพราะใจมัวแต่กังวลอยากจะเขียนทีเดียวให้ใช้ได้เลย กว่าจะเขียนบรรทัดแรกหรือย่อหน้าแรกได้แต่ละที คิดแล้วคิดอีก อะไรๆ มักจะไปเรียบเรียงอยู่ในสมองก่อน การเริ่มต้นจึงดูยากเย็นแสนเข็ญ พลอยทำให้ไม่ได้เริ่มต้นสักที มีหลักการเริ่มต้นง่ายๆ คือ ควรวางเค้าโครงหัวข้อย่อยต่างๆ ที่ต้องการจะเขียนลงในเศษกระดาษก่อน (ควรให้แต่ละหัวข้อ อยู่คนละแผ่นกระดาษ) ในแต่ละหัวข้อย่อยอาจจะมีใจความสำคัญที่ต้องการใส่ลงไป อาจเขียนออกมาเป็นท่อนๆ คือ นึกถึงจุดสำคัญหรือประโยคสำคัญอะไรได้ ให้เขียนใส่ลงไปก่อน […]