6 เรื่องที่ไม่ควรพลาด ถ้าอยากเขียนบล็อกให้มีคนอ่านเยอะ

เขียนบล็อก เป็นสิ่งที่ทำกันได้ไม่ยาก เพียงแค่มีพื้นที่ให้ปล่อยของบนโลกออนไลน์ ธุรกิจส่วนใหญ่ก็หันมามองความสำคัญของการเขียนบล็อกเขียนคอนเทนต์ แต่อย่างว่า พอสร้างบล็อกขึ้นได้ง่าย ก็ทำให้มีบล็อกเกิดขึ้นเป็นจำนวนมากเช่นกัน แล้วเราจะเขียนบล็อกอย่างไรให้บล็อกของเรามีความโดดเด่น และเป็นที่น่าจดจำ วันนี้เลยมาขอแนะนำเรื่องพื้นฐาน ที่นักเขียนบล็อกไม่ควรพลาด ถ้าอยากให้บล็อกเราถูกอ่านมากขึ้น โดยแบ่งเป็นสองพาร์ทคือ พาร์ทของสิ่งที่ควรคิดเมื่อเริ่มต้นเขียนบล็อกใหม่ กับสิ่งที่ควรคิดเมื่ออยากให้บล็อกที่เขียนเกิดโมเมนตัมต่อไป เขียนบล็อก เริ่มต้นอย่างไรดี ? 1. เขียนเรื่องที่ตัวเองสนใจ และรักษาความเป็น Original content เริ่มแรกเลย อยากให้เริ่มจากสิ่งที่เราสนใจก่อนค่ะ ถามตัวเองก่อนว่า สิ่งที่เราชอบคืออะไร และสิ่งที่เราอยากจะเล่า เรื่องบอกต่อคืออะไร และค่อยๆ นำความชอบเหล่านั้นมาเล่าผ่านการเขียนบล็อก สิ่งการเริ่มต้นเขียนจากสิ่งที่เราชอบ และสนใจนั้น ไม่ใช่แค่ทำให้เรามีความสุขในการเขียน แต่มันยังทำให้คอนเทนต์เรามีเอกลักษณ์ หรือความเป็น Original Content ที่เกิดจากความคิดสร้างสรรค์ของตัวเราเองได้ด้วย การสร้าง Original Content หรือการสร้างสรรค์งานเขียนขึ้นมาด้วยไอเดียของเราเอง นอกจากจะไม่เป็นการละเมิดลิขสิทธิ์คนอื่น แล้วยังเป็นที่รักของ Google มากขึ้นด้วยค่ะ เพราะ Google เองก็มีมาตรการไม่สนับสนุนเนื้อหาที่ลอกต้นฉบับมาทั้งดุ้นเช่นกัน ซึ่งการเขียนบล็อกขึ้นมาเองเป็นการแสดงให้เห็นว่า เราไม่ได้ก็อปปี้งานคนอื่นมานะ การที่เรารักษาความเป็น Original Content ไปเรื่อยๆ ก็จะมีส่วนช่วยให้ได้รับการสนับสนุนจาก Google และเพิ่ม […]

วิธีเขียนบทความภาษาอังกฤษเทคนิคจากคนไทย สู่คนไทย (ไม่ต้องเก่งอังกฤษก็เขียนได้)

เทคนิคจากคนไทย เพื่อคนไทย “เขียนภาษาอังกฤษ” ซึ่งไม่ใช่ภาษาแม่ ไม่ใช่ของง่าย บางคนอาจรู้สึกขนลุก หรือไม่มั่นใจ แต่ถ้าเราจำเป็นต้องผลิตผลงาน เขียนบทความภาษาอังกฤษล่ะ มีวิธีการอย่างไรบ้างที่จะช่วยให้งานของเราดีขึ้นกว่าเดิม วันนี้เราได้ขนทั้งเครื่องมือตัวช่วย และเทคนิคการฝึกฝน จากประสบการณ์จริงมาฝากกัน ทั้งการเขียนเพื่อสอบ การเขียนบนกระดาษ กับการเขียนเพื่องานออนไลน์ ก็ต่างกันค่อนข้างมาก บทความนี้จะเน้นเรื่องการเขียนเพื่อการนำเสนอผลงานบทความเป็นหลัก แต่ก็สามารถนำมาประยุกต์ใช้กับงานเขียนอื่นๆ ได้เช่นกัน Disclaimer: ผู้เขียนไม่ได้เป็นโปรด้านการเขียนภาษาอังกฤษแต่อย่างใด บทความนี้เป็นการสรุปประสบการณ์ที่ตัวเองได้ลองจากการทำงาน โดยเฉพาะอย่างยิ่งจากประสบการณ์ที่เคยทำงานที่เว็บไซต์ Techsauce ซึ่งนอกจากภาษาไทยแล้ว ยังมีบทบาทได้เขียนภาษาอังกฤษอยู่เสมอ แถมไม่ใช่แค่ก็อปปี้เล็กๆ น้อยๆ แต่เป็นบทความฉบับเต็ม ซึ่งเว็บไซต์นี้เองนอกจากคนไทยแล้วก็มีคนจากทั่วมุมโลกได้แวะเวียนเข้ามาอ่าน แนะนำเครื่องมือช่วยชีวิต เขียนบทความภาษาอังกฤษ ได้แม้ไม่เก่งแกรมม่า Grammar (แกรมมาร์) ไม่เก่ง หรือไม่มั่นใจ เมื่อไม่กี่เดือนที่ผ่านมา เราได้เขียน Press Release บทความภาษาอังกฤษสรุปงานอีเวนต์ Techsauce Summit ความยาว 3 หน้ากระดาษ เพื่อส่งให้ Press ต่างๆ ความท้าทายคือ Press Release มันเป็นเอกสารที่ค่อนข้าง Official […]

10 เทคนิค การเขียนบทความเขียนบล็อก ให้ประสบความสำเร็จ

10 เทคนิค การเขียนบทความ / เขียนบล็อก ให้ประสบความสำเร็จ การเขียนบทความที่ดี มีคุณภาพ ควรมีลักษณะอย่างไร ? เขียนบทความ SEO มีหลักการอย่างไร ? คำถามในทำนองนี้ ผมเชื่อว่าคงมีใครหลายคนสงสัยอยู่เป็นแน่ .. เป็นที่รู้กันดีว่า หากต้องการประสบความสำเร็จ ในเรื่องของ Content Marketing (รวมไปถึงการทำ SEO) ไม่ว่าจะชอบหรือไม่ก็ตาม คุณจำเป็นต้องเรียนรู้ในเรื่องของ “Blog” (บล็อก) เพราะ การเขียนบล็อก (Blogging) / การเขียนบทความ นับว่าเป็นช่องทางหนึ่งที่สำคัญในสายงานของ Digital Marketing ยิ่งหากคุณต้องการที่จะสร้างตัวตน สร้างแบรนด์ สร้างธุรกิจ หรือ ทำการตลาด บนโลกออนไลน์ ความรู้เรื่อง Blog เรื่อง การเขียนบทความ ถือเป็นพื้นฐานที่จำเป็นอย่างมาก ซึ่งคนทำ SEO หรือนักการตลาดออนไลน์ มือใหม่ มักจะไม่เข้าใจถึงคุณค่าและประโยชน์ของการมี Blog ว่ามันสามารถช่วยในเรื่องของ SEO อีกทั้งยังช่วยในเรื่องธุรกิจออนไลน์ได้ ประโยชน์ของการเขียนบทความ / การเขียนบล็อก การเขียนบล็อกถูกใช้กันอย่างแพร่หลายในโลกออนไลน์ ด้วยวัตถุประสงค์ที่แตกต่างกันออกไป• บางคนใช้ Blog ในการเขียนเล่าเรื่องราวชีวิตส่วนตัว• […]

แนะนำ วิธีการเขียน “เรียงความ” รอบ Portfolio เขียนยังไง ให้น่าอ่าน

สวัสดีค่ะ TCAS รอบ Portfolio ที่ใกล้ถึงนี้ น้องๆ กำลังรวบรวมผลงานเพื่อสร้าง Portfolio กันอยู่ใช่มั้ยคะ แต่อย่าลืมนะว่าบางคณะ พอร์ตเป็นแค่ส่วนหนึ่งในการคัดเลือก แต่อาจจะมีส่วนประกอบอื่นๆ อย่างเช่น “การเขียนเรียงความ” เข้าไปเป็นส่วนหนึ่งของการยื่นเข้าคณะนั้นๆ ด้วยการเขียน 1 หน้ากระดาษ A4 ที่เรียกว่า “เรียงความ” นั้น เป็นเรื่องใหญ่สำหรับน้องๆ หลายคน เพราะไม่ชินกับการต้องเขียนอะไรยาวๆ และไม่รู้จะต้องเขียนอะไรให้ถูกใจกรรมการด้วย วันนี้พี่มิ้นท์ก็เลยมีคำแนะนำเล็กๆ น้อยๆ มาฝากกันค่ะ ทำไมต้องมีเรียงความในรอบ Portfolio         ส่วนใหญ่มหาวิทยาลัยหรือโครงการรับตรง ที่มีให้เขียนเรียงความ ก็เพื่อแสดงทัศนคติเกี่ยวกับวิชาชีพรวมถึงทัศนคติเกี่ยวกับเรื่องทั่วไป อาจเป็นเพราะว่ารอบนี้แทบไม่ได้ใช้คะแนนสอบอะไรเลย ดูผลงานของน้องๆ เป็นหลัก การเขียนแสดงความคิดเห็นแบบนี้สามารถสะท้อนตัวตนของเราได้นั่นเองหัวข้อการเขียนเรียงความ ประมาณไหน         เท่าที่สังเกตมา 1-2 ปีมานี้ เรียงความมักจะกำหนดหัวข้อไปในเชิงการแสดงความคิดเห็นหรือทัศนคติต่อวิชาชีพ ต่อการเรียน และการวางเป้าหมายในอนาคต ซึ่งไม่ใช่เรื่องยากเลยค่ะ ถ้าเรามีเป้าหมายในใจอยู่แล้ว เพียงแต่อาจจะต้องเรียบเรียงความคิดการเขียนจริงเท่านั้นเอง ลองมาดูตัวอย่างหัวข้อเรียงความกันค่ะ (หมายเหตุ ในแต่ละปี หัวข้ออาจเปลี่ยนไปได้)1. […]

5 เทคนิคเขียนเรียงความ ให้น่าสนใจ

เคยเป็นมั๊ย? เริ่มต้นไม่ถูกว่าจะเขียนเรียงความยังไงดี เวลาครูสั่งการบ้านให้เขียนเรียงความ มักจะให้หัวข้อกว้างๆ แล้วเราต้องมาคิดชื่อเรื่องอีกที เป็นต้น เรียกได้ว่าวัยเรียนต้องได้เขียนเรียงความกันบ่อยมาก จนเด็กๆ หลายคนไม่ชอบ เพราะคิดไม่ออกว่าจะเขียนอย่างไรดี วันนี้เรามีเทคนิคเขียนเรียงความ ให้น่าสนใจ มาฝากกัน 5 เทคนิคเขียนเรียงความ ให้น่าสนใจ เรียงความ คือ งานเขียนประเภทหนึ่ง ที่มาจากการเรียบเรียงความคิด และความเข้าใจของผู้เขียน ด้วยภาษาที่ถูกต้อง สละสลวย องค์ประกอบการเขียนเรียงความ คือ คำนำ เนื้อเรื่อง และสรุป วิธีการเขียนเรียงความที่ดี 1. อันดับแรก ตั้งรู้ก่อนว่าจะเขียนเรื่องอะไร? เพื่อเป็นแนวทาง ไม่ให้เราเขียนออกไปนอกเรื่อง 2. หากใครคิดไม่ออกว่าจะเขียนอะไร ให้อ่านหนังสือเยอะๆ ศึกษาเทคนิคการเขียนของนักเนียนต่างๆ จะทำให้เราซึมซับเทคนิค และรู้ว่าเขียนแบบไหนถึงน่าอ่าน เพราะก็มีบางคนเขียนยาวมาก แต่ไม่สนุกเลย 3. ควรจะทำการศึกษาข้อมูลเพื่อนำมาเขียนให้ดี และเพื่อความถูกต้อง 4. มีสมาธิ ตั้งสติก่อนเขียนงานทุกครั้ง หาที่เงียบๆ เป็นส่วนตัวนั่งทำ เวลาสมองเราแล่น มือเขียนหรือพิมพ์งานอยู่ ถ้ามีใครมาเรียกปุ๊บ นี่คือจบเลย ความคิดหลุดทันที 5. เนื้อเรื่องควรมีความสอดคล้องกัน […]

หลักการเขียน คำนำ เนื้อเรื่อง และสรุป

วิธีเขียนเนื้อเรื่องเนื้อเรื่องเป็นส่วนที่สำคัญและเป็นส่วนที่ยาวที่สุด รวมความคิดและข้อมูลทั้งหมด ย่อหน้าแต่ละย่อหน้าในเนื้อเรื่องจะต้องสัมพันธ์เป็นเรื่องเดียวกัน มีลำดับขั้นตอนไม่วกวนไปมา ก่อนที่จะเขียนบทความผู้เขียนจึงต้องหาข้อมูล หาความรู้ที่จะนำมาเขียนเสียก่อน การหาข้อมูลนั้นอาจได้จากการสัมภาษณ์ การสอบถามผู้รู้ การเดินทางท่องเที่ยว การอ่านหนังสื่อพิมพ์หรือหนังสื่อต่างๆ ในการเขียนเนื้อเรื่องควรคำนึงสิ่งต่างๆ ดังนี้ ๑. ใช้ถ้อยคำที่ถูกต้องตามความหมาย ใช้ตัวสะกดถูกต้องตามพจนานุกรม๒. ใช้สำนวนโวหารให้เหมาะกับเรื่อง เช่น ใช้ถ้อยคำที่เป็นทางการ ใช้ศัพท์เฉพาะในการเขียนบทความทางวิชาการ ใช้ถ้อยคำที่ดึงเป็นภาษาปาก คำแสลง ในการเขียนบทความทั่วไป๓. มีข้อมูล เหตุผล สถิติและการอ้างอิงประกอบเรื่อง เพื่อให้เข้าใจง่ายและน่าเชื่อถือ วิธีเขียนสรุปการเขียนบทความในส่วนสรุปหรือคำลงท้าย เป็นส่วนที่ผู้เขียนต้องการบอกให้ผู้อื่นทราบว่า ข้อมูลทั้งหมดที่เสนอมาได้จบลงแล้ว ผู้เขียนควรมีกลวิธี ที่จะทำให้ผู้อ่าน พอใจ ประทับใจ ส่วนสรุปนี้เป็นส่วนที่ฝากความคิดและปัญหาไว้กับผู้อ่านหลังจากที่อ่านแล้ว การเขียนสรุปหรือคำลงท้ายมีหลายแบบดังนี้ ๑. สรุปด้วยคำถามที่ชวนให้ผู้อื่นคิดหาคำตอบ๒. สรุปด้วยการแสดงความประสงค์ของผู้เขียน๓. สรุปด้วยใจความสำคัญ๔. สรุปด้วยการใช้คำกล่าว คำคม บทกวี๕. สรุปด้วยการเล่นคำ

วิธีเขียนบทความ

ความหมายของบทความ บทความ คือ ความเรียงที่เขียนขึ้นโดยมีหลักฐานข้อเท็จจริง และในเนื้อหานั้น ผู้เขียนได้แทรกข้อเสนอแนะเชิงวิจารณ์ หรือสร้างสรรค์เอาไว้ด้วย ลักษณะเฉพาะของบทความ ๑. ต้องเป็นเรื่องที่ผู้อ่านส่วนมากกำลังสนใจอยู่ในขณะนั้น อาจเป็นปัญหาที่คนกำลังอยากรู้ว่าจะดำเนินต่อไปอย่างไร หรือมีผลอย่างไร หรือเป็นเรื่องที่เข้ายุคเข้าสมัย๒. ต้องมีแก่นสาร มีสาระ อ่านแล้งได้ความรู้ หรือความคิดเพิ่มเติม มิใช่เรื่องเลื่อนลอยไร้สาระ๓. ต้องมีข้อทรรศนะ ข้อคิดเห็น ตลอดจนข้อเสนอแนะของผู้เขียนแทรกด้วย๔. มีวิธีเขียนชวนให้อ่าน อ่านแล้วท้าทายความคิด และสนุกเพลิดเพลิน จากความคิดในเชิงถกเถียงโต้แย้งนั้น๕. เนื้อหาสาระและสำนวนภาษาเหมาะสมสำหรับผู้อ่านที่มีการศึกษาอยู่ในเกณฑ์ดี เพราะผู้อ่านที่มีการศึกษาน้อยนิยมอ่านข่าวสดมากกว่าบทความ ลักษณะที่แตกต่างและเหมือนกันของบทความ เรียงความ และข่าว ๑. รูปแบบ เรียงความและบทความมีรูปหรือแบบของการเขียนเหมือนกัน คือ มีโครงเรื่องอันประกอบด้วยสามส่วนใหญ่ๆ ได้แก่ คำนำ เนื่องเรื่อง และสรุป หรือคำลงท้าย การตั้งชื่อเรื่องหรือหัวเรื่องอาจเหมือนหรือคล้ายคลึงกัน ส่วนข่าวเป็นการเสนอเรื่องรวมหรือเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นตามความเป็นจริง สาระสำคัญของข่าวอยู่ที่ความนำอันเป็นย่อหน้าแรกของการเขียนข่าว ส่วนย่อหน้าต่อ ๆ มา มีความสำคัญลดหลั่นกันลงมาตามลำดับ จนกระทั่งถึงย่อหน้าสุดท้ายอาจตัดทิ้งไปได้ โดยไม่เสียความถ้าเนื้อที่กระดาษจำกัด๒. ความมุ่งหมาย บทความนั้นเขียนขึ้นเพื่อเสนอข้อคิดเห็นเกี่ยวกับ เรื่องหรือ เหตุการณ์นั้นๆ ส่วนเรียงความเป็นการเขียนเพื่อ แสดงความรู้เกี่ยวกับหัวข้อเรื่องนั้นแต่เพียงเรื่องเดียว๓. […]

5 เทคนิคง่ายๆในการเริ่มต้นงานเขียนบทความ รายได้เสริมหลักหมื่น!

เนื่องจากผมเป็นคนหนึ่งที่เริ่มต้นทำงานประเภท Freelance รับเขียนบทความ  เกี่ยวกับการพัฒนา Content ในเว็บไซต์ เลยตั้งใจถือโอกาส แบ่งปัน ประสบการณ์เล็กน้อยเกี่ยวกับการเริ่มต้นงานเขียนบทความ หรือ Content Writer ให้กับมือใหม่ ที่อาจสงสัยว่า เจ้างานนี้เป็นอย่างไร และถ้าเราจะทำเราต้องเริ่มต้นอย่างไรบ้าง ผมหวังว่าแนวทางในกระทู้นี้จะช่วยให้คนใหม่ๆ เริ่มต้นงานเล็กๆ ที่พอมีรายได้เลี้ยงครอบครัวได้นะครับ 1.เข้าใจงานเขียนบทความก่อนงานเขียนบทความ ในที่นี้ก็คือ การเขียนข้อความลงบนเว็บไซต์ต่างๆ หรืออาจเป็นการเขียนลงบนนิตยสารก็ได้ครับ แต่ผมคิดว่า หากจะหมายถึงประเด็นในหัวข้อนี้ ก็จะหมายถึง การเขียนบทความลงเว็บไซต์เท่านั้น ซึ่งแน่นอนว่า เว็บไซต์ทุกเว็บต่างต้องการ บทความดีๆ เพื่อส่งเสริมให้ผู้อ่านเข้าไปอ่านได้นานขึ้น ทำให้มีโอกาสเกิด Call Action (หมายถึง การซื้อขาย การสมัครสมาชิก การจองบัตร เป็นต้น) ของผู้เยี่ยมชมต่อเว็บไซต์มากขึ้น สิ่งที่น่าสนใจในความคิดของผมคือ ในความเป็นจริงแล้ว เจ้าของเว็บไซต์อาจต้องการเวลาในการไปพัฒนาส่วนอื่นๆ หรือการตลาดด้านอื่นๆ แต่บทความก้ยังคงจำเป็นอยู่เช่นกัน ดังนั้น จึงเป็นโอกาสที่ คนที่ตั้งใจจะเขียนบทความ สามารถหารายได้จากการเขียนได้ครับ ตัวอย่างด้านล่างเป็นกลุ่มที่มีการจ้างเขียนบทความกันบ่อยๆhttps://www.articleheros.com และยังมีอีกหลายๆกลุ่มมากๆ ซึ่งมีการจ้างการซื้อขายบทความสูงถึง 20,000-50,000 บาทต่อสัญญาจ้างก็มี! ดังนั้นถ้าเพื่อนๆ ชอบการอ่านข้อความ อ่านบทความ หรือเขียนกระทู้อธิบายเนื้อหาต่างๆ […]

เทคนิคการอธิบายกราฟและรูปภาพในรายงานเป็นภาษาอังกฤษ

ในการเขียนรายงานเป็นภาษาอังกฤษนั้นเป็นส่วนหนึ่งในการทำงานเลยก็ว่าได้ กราฟและรูปภาพก็คือหนึ่งในองค์ประกอบของรายงานที่สำคัญอย่างยิ่ง ซึ่งคนส่วนใหญ่แล้วมักจะมีปัญหาในการอธิบายถึงองค์ประกอบของกราฟ การจัดวางกราฟ การอธิบายรูปภาพที่เชื่อมโยงกับประโยคที่เขียนมา ปัญหาดังกล่าวนั้นจะลดลงไปด้วยคำอธิบายกราฟ และรูปภาพในรายงานที่เป็นภาษาอังกฤษซึ่งบริติช เคานซิล เตรียมพร้อมมาให้คุณได้นำไปปรับใช้ และสามารถใช้ได้ในสถานการณ์จริง ถ้าคุณพร้อมแล้วก็มาเริ่มดูวิธีการอธิบายทั้งกราฟ และรูปภาพในรายงานเป็นภาษาอังกฤษกันได้เลย 1) See below for further information ใช้ในการบอกถึงข้อมูลที่แสดงเพิ่มเติมซึ่งอาจเป็นกราฟหรือรูปภาพเพื่อที่จะบ่งบอกข้อมูลเพิ่มเติม 2) Figures can be found below มักใช้นำเสนอถึงตัวเลขซึ่งอาจเป็นการอ้างอิงจากข้อมูลหรือบทความจากย่อหน้าใดที่ติดกับตัวเลขด้านล่าง 3) See paragraph 3 for full details ดูย่อหน้าที่ 3 สำหรับข้อมูลฉบับเต็ม ในกรณีนี้มักใช้ในการแสดงส่วนของข้อมูลที่อยู่ห่างออกไป 4) As you can see in the attached files, … ใช้ในการอ้างอิงข้อมูลที่อยู่ในไฟล์ที่แนบมา อาจจะเป็นไฟล์ที่มาจาก Email ก็เป็นได้ 5) Point 4 above related […]

รวม 7 ประเภทหัวข้อรายงานยอดนิยม ปรับใช้ได้กับทุกวิชา !

        ทุกครั้งก่อนเริ่มทำรายงาน สิ่งแรกที่เราควรทำและควรจะต้องมีเลยก็คือ หัวข้อรายงาน ซึ่งหัวข้อรายงานเป็นสิ่งที่สำคัญมากเลย ถ้าเราเลือกหัวข้อรายงานได้น่าสนใจ เนื้อเรื่องในรายงานและการหาข้อมูล ก็จะทำได้ง่ายขึ้น แต่ถ้าใครที่ทำรายงานมานาน ถ้าต้องคิดหัวข้อรายงานบ่อยๆ อาจจะมาถึงทางตันได้ วันนี้เราก็เลยขอรวบรวม 7 ประเภทหัวข้อรายงานยอดนิยม ที่น้องๆ โหวตมาแล้วว่า ถูกเลือกใช้เป็นหัวข้อบ่อยสุดๆ สำหรับใครที่กำลังไม่รู้จะเลือกหัวข้อรายงานอะไร มาดูกันเลยค่ะ 1. ผลิตภัณฑ์ภูมิปัญญาชาวบ้าน ขอบคุณรูปภาพประกอบจาก : pixabay.com          ผลิตภัณฑ์ภูมิปัญญาชาวบ้าน หรือ OTOP เป็นหัวข้อรายงานที่ถูกหยิบมาใช้บ่อยมากค่ะ ยิ่งเป็นรายงานวิชาวิทยาศาสตร์หรือวิชาการงานและสิ่งประดิษฐ์แล้ว ก็จะยิ่งมีคอนเซ็ปท์ที่เข้ากับผลิตภัณฑ์ภูมิปัญญาชาวบ้านเยอะมาก เพราะเป็นสิ่งที่ใกล้ตัวและหาง่ายในชุมชนค่ะ เช่น งานจักรสาน งานสิ่งประดิษฐ์ งานตะไคร้หอมไล่ยุง ฯลฯ          ถ้าน้องๆ จะเลือกหัวข้อนี้ พี่อีฟแนะนำว่าอาจจะต้องเป็นรายงานที่เริ่มต้นจากการอยากแก้ไขปัญหา หรืออยากหาผลิตภัณฑ์ที่อำนวยความสะดวก หรือตอบโจทย์ความสบาย จะเหมาะมากเลย เพราะจะช่วยให้น้องๆ เลือกผลิตภัณฑ์ที่เหมาะสมกับหัวข้อรายงานของเราได้ค่ะ 2. ทันข่าวเหตุการณ์ปัจจุบัน          ความน่าสนใจของข่าวและเหตุการณ์ปัจจุบัน อาจจะไม่ใช่เรื่องของข่าวนั้นโดยตรงค่ะ แต่เป็นประเด็นอื่นที่มีความเกี่ยวข้องและเชื่อมโยงกับข่าว เช่น ช่วงนี้มีข่าวรถตู้ที่กำลังเป็นที่พูดถึงในวงกว้าง น้องๆ […]