วิธีเขียนบทความเพื่อ SEO เริ่มต้นอย่างไรดี เรามีคำตอบ

วิธีเขียนบทความเพื่อ SEO

ขั้นตอนที่ 1 เขียนบทความตัวอย่างขึ้นมาก่อน

วิธีเขียนบทความเพื่อ SEO : ขั้นตอนแรกที่เราต้องลงมือทำคือ จงเขียนบทความตัวอย่างขึ้นมาก่อน บทความตัวอย่าง เราจะใช้ในการส่งให้กับลูกค้าดู เพื่อให้ลูกค้าเห็น แนวทางการเขียนบทความของเรา สำนวนภาษา การใช้คำ หลักการทาง SEO ที่บรรจุลงไปในบทความ และหลอมรวมออกมากลายเป็นบทความคุณภาพในแบบฉบับของเรา ดังนั้น หากคุณขาดสิ่งนี้ ถือว่าเป็นการเริ่มต้นเขียนบทความที่ไม่ถูกต้องครับ ลองมาดูสิ่งที่ลูกค้าต้องการเห็นจากบทความตัวอย่าง

สิ่งที่ลูกค้าต้องการเห็นในบทความตัวอย่าง มีดังนี้

  • 1.1 สำนวนภาษาที่สละสลวย ไม่ใช้คำซ้ำ คำฟุ่มเฟือย
  • 1.2 การแบ่งวรรคตอนที่สวยงาม น่าอ่าน น่านำไปใช้งาน
  • 1.3 หลักการ SEO มีการใส่ Keyword ได้อย่างถูกต้องเหมาะสม

วิธีการเขียนบทความตัวอย่าง

1.1 เลือกหัวข้อที่เป็นที่นิยมมาก่อน

ข้อแรกให้เราเลือกหัวข้อหรือหมวดที่เป็นที่นิยมในตลาดออกมาก่อน ถ้าคุณนึกไม่ออกว่าจะเลือกหมวดไหนดี อย่างนั้น บก.ขอแนะนำหมวดดังต่อไปนี้นะครับ

  • หมวดธุรกิจออนไลน์ : ขายตรง, SMEs, ธุรกิจเครือข่าย, การตลาด
  • หมวดเครื่องสำอาง : การเลือกใช้, เทรนด์การแต่งกาย
  • หมวดสุขภาพ : การดูแลสุขภาพ, แนวทางการรักษาโรค เป็นต้น

ทั้ง 3 หมวดข้างต้น มีการจ้างเขียนบทความในตลาดค่อนข้างมาก ดังนั้นจึงเหมาะสมอย่างยิ่งที่เราจะเขียนขึ้นมาเป็นตัวอย่างเสียก่อน แต่ถ้าคุณมีบทความ หรือหมวดที่ต้องการเขียนในใจอยู่แล้ว ก็สามารถเขียนได้เองเลยครับ แนวทางข้างต้นเป็นอย่างของ บก.เท่านั้น

1.2 เขียนบทความที่มีจำนวนคำแตกต่างกัน

บทความที่เขียน จะต้องมีจำนวนคำรวมที่แตกต่างกัน โดย บก.ขอแนะนำจำนวนคำที่ควรเขียนดังนี้คือ 300 คำไทย, 500 คำไทย, 750 คำไทย, 1500 คำไทย จำนวนคำที่กล่าวถึงนี้มีการจ้างงานกันมากที่สุด โดยเฉพาะขนาด 300-500 คำไทย ถ้าเราเขียนตัวอย่างคำไว้แบบนี้ จะเป็นการง่ายที่ลูกค้าจะเลือกใช้บริการเขียนบทความของเรา

1.3 เขียนบทความจำนวน 4 บทความ

จำนวนบทความที่ต้องการใช้เป็นตัวอย่าง ควรมีอย่างน้อย 4 บทความ และทำการ Convert File ให้เป็นแบบ PDF เพื่อให้ลูกค้าสามารถเปิดอ่านได้อย่างง่ายดาย บก.ไม่แนะนำให้คุณส่งเป็นไฟล์ Word ให้กับลูกค้า เพราะนั่นเท่ากับว่า ทั้งคุณและลูกค้าอาจเกิดความไม่สบายใจกันในเรื่องของ ลิขสิทธิ์ของผลงานที่อาจมีการดัดแปลงกัน

1.4 อย่านำบทความเก่าของลูกค้าคนก่อนมาเป็นตัวอย่างเด็ดขาด

ลูกค้าของคุณคงไม่สบายใจอย่างยิ่ง หากพบว่าคุณนำบทความของลูกค้าคนก่อนๆมาเป็นตัวอย่างงาน เพราะบางทีแล้ว ลูกค้าของคุณคนนั้นอาจประกอบธุรกิจแข่งขันกัน ซึ่งการเปิดเผยบทความเท่ากับว่า เป็นการเปิดเผยความลับทางธุรกิจกันเลยทีเดียว!

ขั้นตอนที่ 2 จัดทำข้อมูลไฟล์ตัวอย่างให้เรียบร้อยสวยงาม

หลังจากขั้นตอนที่ 1 เสร็จสิัน ขั้นตอนต่อมาคือ การจัดทำข้อมูลไฟล์ ให้เรียบร้อยสวยงาม บก.มักเรียกส่วนนี้ว่า การใส่หัวกระดาษ บางทีแล้ว คุณไม่จำเป็นสต้องทำขนาดนี้ก็ได้ แต่เพื่อความเป็นมืออาชีพในการเขียนบทความ คุณอาจต้องทำสิ่งนี้ ผมย่อยประเด็นที่ควรบรรจุอยู่ในหัวของบทความมีดังนี้ครับ

  • 2.1 ชื่อเรื่อง
  • 2.2 ชื่อของบทความ
  • 2.3 จำนวนคำไทยรวม
  • 2.4 จำนวน % ความหนาแน่นของ Keyword
  • 2.5 คำรับรองในการตรวจบทความของคุณ

ขั้นตอนที่ 3 หาลูกค้าของคุณ

หลังจากเราเตรียมไฟล์ตัวอย่างเรียบร้อยแล้ว ส่วนต่อไปคือการมองหาลูกค้าของคุณ ลูกค้าที่พร้อมจะทำการว่าจ้างเขียนบทความคุณ จริงๆแล้วขั้นตอนนี้ดูเป็นอะไรที่น่าจะง่าย แต่เอาเข้าใจจริงก็ยากเหมือนกัน บก.ขอนำเสนอแหล่งว่าจ้างงานต่อไปนี้ ที่คุณอาจสามารถใช้ในการเริ่มต้นหาผู้ว่าจ้างได้

1.สำนวนภาษาที่เข้าใจง่าย

2.มีการแทรกคำศัพท์ของเนื้อหาชนิดนั้นๆลงไปด้วย

3.แบ่งวรรคตอนที่สวยงาม

4.ถูกต้องตามหลักการ SEO

ขั้นตอนที่ 4 ส่งข้อมูลที่สำคัญให้ลูกค้า

เอาล่ะ ถ้าคุณทำตามขั้นตอนที่ บก.ได้แนะนำไปนี้ เชื่อว่าลูกค้าจะต้องประทับใจ และพร้อมที่จะว่าจ้างคุณในการเขียนบทความได้เงิน อย่างแน่นอน แต่ผมอยากนำเสนอข้อมูลตรงนี้ก่อนนั่นคือ คุณจะต้องมีข้อมูลสำคัญเหล่านี้เสมอ พร้อมที่จะส่งให้ลูกค้า หากลูกค้าของคุณต้องการ

  • 1.ความรู้เกี่ยวกับการทำ SEO Onpage ที่ถูกต้อง
  • 2.ความรู้เกี่ยวกับการเขียนบทความในรูปแบบ Pattern A1
  • 3.ความรู้ในเรื่องที่เขียน

โดยเฉพาะในข้อที่ 3 คุณต้องมีนะครับ อย่าเขียนบทความโดยที่คุณนั้นไม่รู้เลยว่า บทความนั้นเกี่ยวข้องกับเรื่องอะไร มันทำให้ลูกค้าของคุณเสียหายมากๆ  และที่สำคัญคือ บทความนั้นจะด้อยคุณภาพลงทันที! หากใครต้องการเติมความรู้ในข้อที่ 1,2 ในการเขียนบทความ สามารถใช้ความรู้จากหนังสือเล่มนี้ได้ครับ คลิกที่นี่

ขั้นตอนที่ 5 ดำเนินการจัดทำ และส่งบทความพร้อมทั้งขอข้อมูล Feedback ด้วย

ภายหลังจากที่จัดส่งบทความไปแล้ว อย่าลืมขอข้อมูล การเขียนบทความของคุณด้วยนะครับว่า ลูกค้ามีความรู้สึกอย่างไร หากบทความของคุณนั้นดี จะเป็นอะไรที่เป็นประโยชน์มาก และคุณสามารถ Copy บทความนั้นๆนำไปใช้ในการอ้างอิงให้กับลูกค้าคนอืนได้ครับ (เป็นการเพิ่มความมั่นใจให้ลูกค้าคนอื่นๆมากยิ่งขึ้น)

1.ทุกๆ บทความที่เขียน ต้องมี Keyword

Keyword คือ คำสำคัญ หรือ วลีสำคัญ ที่เราอยากให้คนเจอเรา เวลาเซิร์จด้วยวลีนี้
เมื่อก่อนเวลาจะเขียน ขอแค่คิดชื่อเรื่อง โครงเรื่อง และเล่าเรื่องไปตามนั้น ก็จบแล้ว แต่พอมาเขียนออนไลน์ปุ๊บ ก็ต่างกัน เพราะต้องคิดเผื่อว่า ไอ้สิ่งที่เรากำลังเขียนอยู่นี่ คนแบบไหนเขาถึงจะมาเซิร์จเจอ แล้วเขาจะเซิร์จเจอด้วยคำว่าอะไร

ยกตัวอย่างมุมมองการเลือกคีย์เวิร์ด

  • เขียนในสิ่งที่อยากนำเสนอ

ส่วนใหญ่แล้วก็ง่ายๆ ค่ะ เขียนเกี่ยวกับอะไร ก็ไอ้นั่นแหละคีย์เวิร์ด เช่น เราเคยเขียนเล่าถึงแพลตฟอร์มนิยายออนไลน์ ชื่อ Fictionlog คีย์เวิร์ดของเราก็คือเจ้าชื่อ Fictionlog นั่นแหละ หรือถ้าเป็นวลี สำหรับเราก็คือวลีว่า “โมเดล Fictionlog” เป็นวลีหลัก เพราะเรากำลังเขียนบทความอธิบายเรื่องนี้อยู่ ส่วนวลีรองคือ “Fictionlog คืออะไร”

ประเด็นคือ…เป็นเพราะว่าเราเขียนในฐานะสื่อด้าน Startup เราก็เลยอยากให้คนเซิร์จชื่อ Startup แล้วเจอชื่อของสื่อเราด้วย นั่นคือเหตุผลที่เราเลือกคีย์เวิร์ดที่มีคำว่า Fictionlog ข้างในไปเลย : )

  • คิดในมุมผู้ใช้ คนที่สนใจบทความนี้ น่าจะสนใจอะไร

แต่ถ้าเราต้องเขียนบทความในฐานะเว็บ Fictionlog เอง เพื่อเป็นการโปรโมทให้คนมาใช้งาน เราจะมีแต่บทความที่มีคีย์เวิร์ดเป็นชื่อของตัวเองไม่ได้ ทีนี้คีย์เวิร์ดที่เราควรใช้ก็จะเป็นจำพวก “อ่านนิยายออนไลน์”, “อยากเป็นนักเขียนนิยาย” เป็นต้น เพราะเราอยากให้คนที่เซิร์จด้วยวลีเหล่านี้เจอเรา : )

  • ศึกษาค้นคว้าคีย์เวิร์ด (Advanced ขึ้นอีกนิด)

ตัวอย่าง “อ่านนิยายออนไลน์”, “อยากเป็นนักเขียนนิยาย” เป็นตัวอย่างที่นึกขึ้นมาเอง แต่ถ้าอยากวิเคราะห์จริงจัง ก็สามารถทำ Keyword research อย่างเช่น ใช้ Google keyword planner tool ลองทดสอบวลีที่จะใช้ได้ โดยมันจะช่วยบอก Volume ปริมาณการเซิร์จของคีย์เวิร์ด รวมถึงปริมาณการแข่งขันของคีย์เวิร์ดนั้นๆ อีกด้วย (ซึ่งเหมาะสำหรับดูเพื่อการลงโฆษณา) แต่อีกประโยชน์คือ มันเอาไว้ใช้ช่วยหาวลีที่ใกล้เคียงกันได้

เครื่องมือทำ SEO ศึกษาคำว่านักเขียน เขียนบทความ

วิธีใช้เบื้องต้นก็คือเข้าไปในเว็บตามลิงก์ที่ให้ไว้ สมัคร Google Adwords เมื่อเรียบร้อยแล้วก็กรอกคีย์เวิร์ดลงไปในช่อง Your product or service

ถ้าถามเรา โดยส่วนตัวแล้ว เราก็ไม่ค่อยมาถึงขั้นนี้เท่าไร ในฐานะนักเขียน คำแนะนำที่เราอยากให้คือ “ควรคิดเรื่องคีย์เวิร์ดไว้บ้าง ไม่ใช่ว่าไม่คิดเลย แล้วก็ไม่ใช่ว่าคิดมากซะจนผลงานออกมาไม่ดี” พอรู้จักเครื่องมือมากๆ เข้า บางทีมันก็พาลทำเอาคิดมากเกินไป (เคยมีอารมณ์แบบนั้นมาแล้ว ฮ่าๆ)

แต่ถ้าสนใจลงรายละเอียด เดี๋ยวเราจะมานำเสนออีกครั้ง เพราะจะมีหัวข้อ SEO แบบจัดเต็มแน่นอน (บทความนี้เขียนในมุม Blogging หรือการเขียนบทความ มากกว่า)

2. วางในจุดยุทธศาสตร์ทั้งห้า

Google ให้ความสำคัญกับเนื้อหาแต่ละส่วนไม่เท่ากัน ถ้าอยากบอก Google ว่า นี่เป็นวลีสำคัญนะจ้ะ ก็ให้ใส่เข้าไปในจุดสำคัญทั้งห้า ดังต่อไปนี้

ทำ SEO ใส่ในหัวบทความ

ในทีนี้คีย์เวิร์ดคือคำว่า “Blockchain”

  • Title หรือ ชื่อบทความ
  • URL ชื่อลิงก์ของบทความ (เรียกอีกอย่างว่า Slug)
    ถ้าคีย์เวิร์ดของคุณเป็นภาษาอังกฤษ ก็ไม่มีปัญหา แต่ถ้าเกิดเป็นภาษาไทย คุณอาจจะต้องเลือกระหว่างไม่ใส่มันลงไป กับใช้ไปเลย ซึ่งข้อเสียคือ URL จะไม่สวยและอาจเละได้
  • Description หรือ คำบรรยายบทความ
    ซึ่งโดย default แล้ว จะหมายถึงย่อหน้าแรก แต่เราก็สามารถปรับเปลี่ยน description เองได้เหมือนกัน ถ้าคุณใช้ WordPress ก็สามารถโหลด SEO plugin เช่น Yoast SEO แล้ว Edit แก้ไขได้
ทำ SEO โดยแก้คำบรรยาย
  • Headings หรือ หัวข้อต่างๆ
headings สำหรับทำ seo ในบทความ
  • ชื่อภาพ และ Alt Text ของภาพ
    หลายๆ คนอาจไม่ทราบว่า ชื่อของรูปภาพก็ส่งผลต่อ SEO ด้วย ก่อนอัปโหลดควรตั้งชื่อให้มีคีย์เวิร์ด และเมื่ออัปโหลดเข้าไปแล้ว ให้คลิกแก้ไขรูปภาพ และใส่คีย์เวิร์ดใน Alternative Text ด้วย (ปกติแล้ว Alt Text มีไว้สำหรับเวลาที่ภาพโหลดไม่ขึ้น ก็จะโชว์เพื่อบอกว่ารูปภาพนี้เกี่ยวข้องกับอะไร)
edit-image-detail copy

ถ้าถามเรา เราว่าจุดที่ท้าทายที่สุดคือ Headings
ถ้าเป็นนักเขียนนิยาย หรือเขียนเรียงความ ก็อาจจะชินกับการเขียนเป็น Paragraph ไปเรื่อยๆ ไม่ต้องมีหัวข้อแทรกเรื่อยๆ แต่ถ้าเปลี่ยนมาเขียนบทความ Headings สำคัญมาก ไม่เฉพาะกับ SEO แต่ยังสำคัญต่อการช่วยให้อ่านง่ายด้วย
เคสเทคโนโลยี Blockchain ที่เราเขียนยังไม่ยากมาก สามารถเขียนว่า “Blockchain คืออะไร”, “การทำงานของ Blockchain” ลงไปได้อย่างเป็นธรรมชาติ แต่มันจะมีบางเคสเหมือนกันที่การเขียนให้เป็นธรรมชาติค่อนข้างท้าทาย

สมมติว่านายปิติเป็นคนขายผลไม้ ผลไม้ที่เขาขายมีตั้งแต่ แอปเปิ้ล มะละกอ กล้วย ส้ม เขาอยากจ้างคุณเขียนบทความซึ่งมีไอเดียว่า “4 ผลไม้ ลดความอ้วน” โดยเนื้อหาก็จะเป็นการพูดถึงทั้งสี่ผลไม้ที่เขาขาย แทนที่แต่ละหัวข้อจะเป็น 1. แอปเปิ้ล 2. มะละกอ 3. กล้วย 4. ส้ม เขาก็ต้องใส่ความคิดสร้างสรรค์ลงไปอีกนิด อาจจะเขียนว่า
1. ลดความอ้วน ด้วยแอปเปิ้ล
2. มะละกอ ช่วยขับถ่าย ลดความอ้วน
3. กล้วยหอม อิ่มท้อง ไม่ต้องอด
4. ลดน้ำหนัก แถมหวานฉ่ำ ต้องทานส้ม

เป็นต้น ค่ะ ถ้าใส่คีย์เวิร์ดได้ก็ใส่ ถ้าเยอะไปก็เปลี่ยนบ้าง ใส่พวก Synonym หรือคำที่มีความหมายใกล้เคียงเข้าไปแทน จะเห็นได้ว่า การมีโฟกัสคีย์เวิร์ดชัดเจน อย่างเรื่องผลไม้ลดความอ้วน ก็ช่วยให้คุณรู้ว่าควรจะเขียนอะไร ไม่โนไอเดีย แต่ถ้านายปิติยังไม่ชอบ ก็เปลี่ยนเป็นเขียนโฟกัสให้มากขึ้นแทนก็ได้ แทนที่จะเขียนถึงผลไม้สี่อย่าง ก็แยกบทความต่างหากก็ได้ เอาให้คนรู้กันไปเลยว่ากล้วยของนายปิติมันเจ๋งขนาดไหน! (อย่าคิดลึก : P)

3. กระจายตัวอย่างเป็นธรรมชาติ ในบทความ

แน่นอนว่าคีย์เวิร์ดไม่ใช่ใส่ลงไปในจุดยุทธศาสตร์ทั้งห้าอย่างเดียว แต่ควรมีเขียนถึงในเนื้อบทความบ้าง เราใช้คำว่าบ้าง แปลว่า ไม่ควรใส่มากเกินไปเช่นกัน เพราะ Google จะมองว่าเราพยายามใส่มากเกินไป  คำแนะนำส่วนใหญ่บอกว่า Keyword density ไม่ควรเกิน 2.5% ซึ่ง Keyword density หมายถึงสัดส่วนของคีย์เวิร์ดเมื่อเทียบกับปริมาณ Text ทั้งหมดในบทความ คำแนะนำคือ ถ้าเป็นไปได้ เราควรใส่คีย์เวิร์ดในประโยคแรกของบทความ จากนั้นคือให้กระจายหลวมๆ ทั่วทั้งบทความ

ใน WordPress วิธีดู Keyword density ก็สามารถใช้ SEO plugin อย่าง Yoast SEO ตรวจสอบได้เช่นกัน

วิธีเขียนบทความเพื่อ SEO

ผลลัพธ์ที่ Yoast พูดถึงบทความ Inbound Marketing การตลาดแบบจอมยุทธ์ 
สีส้มๆ คือเขาเตือนว่าเราลืมเอา stop word (คำฟุ่มเฟือย) ตรง Url ออก เช่น introduction-to-inbound-marketing ควรเปลี่ยนเป็น inbound-marketing-introduction ไม่ต้องมี to

4. เขียนบทความคุณภาพ คือการทำ SEO ที่ดีที่สุด

Google รู้ได้ยังไง ว่าบทความไหนมีคุณภาพ?

  • ความยาวของบทความ
    บทความที่ยาว มีแนวโน้มจะเป็นบทความที่มีคุณภาพ บ่งบอกว่า “พี่ไม่ได้มาเล่นๆ” คำแนะนำขั้นต่ำคืออย่างน้อย 300 คำ แต่ผู้เชี่ยวชาญหลายท่านบอกว่าถ้าเป็นไปได้ซัก 500 คำเลย กำลังแจ๋ว (บทความนี้จัดไป 505 คำ เหนื่อยเหมือนกัน +_+)
  • บทความสดใหม่ (Original Content)
    คำว่าสดใหม่มีสองนัย คือ เขียนขึ้นเอง ไม่ซ้ำใคร กับอีกนัยนึงคือ เขียนก่อนใคร
  • ยอด Engagement บน Social Media โดยเฉพาะถ้าบทความของคุณได้รับการแชร์เยอะๆ ก็จะมีผลต่อ SEO สูงมาก

สรุป วิธีเขียนบทความเพื่อ SEO

นักเขียนออนไลน์ต้องเขียนให้คนชอบและแชร์เป็นสำคัญ แล้วต้องคำนึงเรื่องเขียนให้ Google ชอบด้วย เราพบว่า เขียนก่อนใคร + คนอ่านแล้วแชร์ เป็นสองปัจจัยที่สำคัญที่สุด! จริงอยู่ว่า มันยากมากที่จะบังเอิญได้เขียนเรื่องอะไรเป็นคนแรก แต่มันเป็นไปได้ ที่จะเขียนเรื่องอะไรเป็นคนแรกๆ และเขียนได้ดีพอที่คนจะยอมกดแชร์ให้เราบ้าง Google จะมองว่า โห นี่เป็นบทความแรกๆ ในหัวข้อนี้เลยนะเนี่ย ที่ได้รับความสนใจ แล้วเขาก็จะจัดอันดับให้เราดี หากผสมผสานกับการเลือกคีย์เวิร์ดให้ดี และการวางดีๆ ด้วย บทความของคุณจะได้รับการจัดอันดับดีกว่าไม่ทำอะไรเลยอย่างแน่นอน

วิธีเขียนบทความเพื่อ SEO เริ่มต้นอย่างไรดี เรามีคำตอบ