วิธีการ เขียนบทสรุปในเรียงความ

การเขียนบทความนั้นอาจจะเป็นเรื่องยากสำหรับมือใหม่ ดังนั้นเราจึงมีบทความ เขียนบทสรุปในเรียงความ มาฝากทุกคน ไปดูกันเลยค่าาา

1สิ่งที่ควรทำ

  1. เริ่มต้นด้วยการใช้คำเชื่อมประโยค (ไม่จำเป็น). สิ่งนี้จะทำให้ผู้อ่านทราบว่ากำลังอ่านมาถึงย่อหน้าสุดท้ายของเรียงความของคุณและเพื่อเรียกความสนใจจากผู้อ่าน ถึงแม้ว่าเรียงความส่วนใหญ่จะเริ่มย่อหน้าสุดท้ายด้วยคำเชื่อม คุณก็ไม่จำเป็นต้องทำตามหรอก หากคุณคิดว่าคุณเขียนออกมาได้ชัดเจนพอแล้วว่าคุณกำลังจะจบเรื่อง คำเชื่อมเป็นสิ่งที่ไม่ได้จำเป็นเลย
  2. สรุปสาระสำคัญต่างๆอย่างสั้นๆ. นำเนื้อหาของประโยคแรกในแต่ละย่อหน้า(ประโยคหลักของคุณ) แล้วนำมาเขียนใหม่โดยใช้สองหรือสามประโยค สิ่งนี้จะทำให้ข้อโต้แย้งในเรื่องที่คุณเขียนดูน่าเชื่อถือขึ้น และคอยเตือนผู้อ่านว่าคุณกำลังพูดหรือโต้แย้งอะไรอยู่
    • หลีกเลี่ยงการสรุปประเด็นโดยใช้ประโยคเดียวกับที่คุณเขียนมาก่อนหน้านั้น. ข้อความสรุปของคุณต้องสรุปใจความโดยรวมที่คุณต้องการจะสื่อ เพราะฉะนั้นควรจะยาวแค่ไม่กี่บรรทัดเท่านั้น
  3. จบให้กระชับและประทับใจที่สุด. ย่อหน้าสรุปของคุณควรจะอยู่ที่ประมาณ 5-7 บรรทัด ถ้าน้อยกว่านี้ คุณก็อาจจะสรุปประเด็นสำคัญของคุณได้ไม่เพียงพอ แต่ถ้าหากมากกว่านี้ คุณก็อาจจะพูดวกไปวนมามากเกินไป จำไว้ว่าการเขียนให้สั้นกระชับแสดงถึงเชาวน์ปัญญา
  4. อย่าลืมว่าถ้าคุณมีประโยคใจความหลักของเรื่อง ให้สรุปออกมาในบทสรุปด้วย. ถ้าคุณมีประโยคดังกล่าว คุณควรจะพูดถึงในตอนที่คุณจะจบเรื่อง แม้ว่าจะเป็นการพูดถึงแบบผ่านๆก็ตาม ขอให้จำไว้ว่าประโยคใจความหลักคือหัวใจของเรียงความของคุณ คุณเขียนข้อความโต้แย้งเพื่อประโยคนั้น หากว่ามีคนมาอ่านบทสรุปของคุณ แล้วยังไม่รู้ว่าใจความหลักของคุณคืออะไร นั่นแสดงว่าคุณยังถ่ายทอดเนื้อหาได้ไม่ดีพอ
    • ในเวลาเดียวกัน ให้หลีกเลี่ยงการพูดถึงใจความสำคัญแบบเรียบๆ จงหาวิธีที่จะเขียนใจความหลักออกมาให้อย่างน่าสนใจ ใช้ภาษาที่แตกต่าง การพูดถึงใจความหลักอีกครั้งโดยใช้คำที่ซ้ำกันนั้นจะทำให้ผู้อ่านรู้สึกว่าคุณขี้เกียจ
  5. พยายามเขียนโดยใช้น้ำเสียงให้น่าเชื่อถือ. น้ำเสียงที่น่าเชื่อถือคือการเลือกใช้คำให้ถูกต้อง (ไม่ได้เกี่ยวว่าจะต้องใช้แต่คำโบราณ) อ้างถึงหลักฐานจากแหล่งที่มาอื่นๆ และเชื่อในความสามารถในการเขียนของตัวคุณเอง
    • ตัวอย่างเช่น แทนที่จะพูดว่า “นี่เป็นเหตุผลว่าทำไมฉันจึงคิดว่าอับราฮัม ลินคลอนคือประธานาธิบดีอเมริกันที่ดีที่สุดในศตวรรษที่ 19” ให้พูดว่า “นี่คือเหตุผลว่าทำไมอับราฮัม ลินคอล์นถึงเป็นประธานาธิบดีอเมริกันที่ดีที่สุดในศตวรรษที่ 19” ผู้อ่านทราบดีอยู่แล้วว่า ถ้าคุณเขียนเกี่ยวกับการที่ลินคอล์นเป็นประธานาธิบดี คุณก็จะเชื่อมั่นแบบนั้น การที่บอกว่า “ฉันคิดว่า” ฟังเหมือนคุณไม่ค่อยมั่นใจและจะทำให้ฟังน่าเชื่อถือน้อยลง
    • อีกตัวอย่างหนึ่งคือ ห้ามขอโทษในการแสดงความคิดเห็นของตนเอง เพราะนั่นเป็นความคิดเห็นของคุณ เพราะฉะนั้นคุณต้องแสดงจุดยืนให้ชัดเจน ห้ามเขียนข้อความเหล่านี้ เช่น “ฉันอาจจะไม่ได้เป็นผู้เชี่ยวชาญ” หรือ “อย่างน้อยนี่ก็คือความคิดเห็นของฉัน เพราะจะทำให้ความเชื่อถือในตัวคุณลดน้อยลง
  6. 6จบให้ตราตรึง. ประโยคสุดท้ายของคุณควรจะเขียนออกมาให้ได้อย่างดีเยี่ยม (ดีกว่าประโยคอื่นๆ) เข้าถึงใจความหลักและเร้าอารมณ์ ถึงจะพูดง่ายแต่ก็ทำยาก อย่างไรก็ตาม ทุกอย่างเริ่มมากจากการร่างใจความสำคัญของเรื่องที่คุณเขียน ลองถามตัวคุณเองว่า “เรียงความของฉันจะเกี่ยวข้องกับอะไร แล้วฉันจะพูดถึงอะไรบ้าง” และก็เริ่มจากตรงนั้น
    • แทรกข้อความที่ออกจะเสียดสีเล็กน้อยลงไปในตอนจบ ใส่ลูกเล่นไว้ในประโยคสุดท้ายแล้วเสริมข้อความแฝงนัยยะซักเล็กน้อยในเรื่องที่คุณกำลังพูดถึงอยู่ ทำแบบนี้แล้ว ตอนจบของงานเขียนของคุณก็จะเร้าอารมณ์ขึ้นมาอีก
    • ใช้คำพูดสื่ออารมณ์เพื่อดึงดูดผู้อ่าน หลายครั้งที่ความเรียงจะตั้งอยู่บนหลักเหตุและผลจนลืมเรื่องของอารมณ์ นี่เป็นสาเหตุว่า การดึงดูดอารมณ์ผู้อ่านสามารถเป็นวิธีที่จะสรุปเรื่องที่เขียนได้อย่างยอดเยี่ยม จบเรื่องได้อย่างถูกทาง และช่วยให้ผู้อ่านสัมผัสถึงอารมณ์และจิตวิญญาณของผู้เขียนเรียงความ
    • รวมถึงการจุดประกาย(แต่อย่าใช้เยอะ) ถ้าเรียงความของคุณนั้นมีเป้าหมายให้ผู้อ่านได้เปลี่ยนตัวเองโดยแท้จริงแล้ว การจุดประกายเข้าไปด้วยจะเป็นประโยชน์ในการกระตุ้นผู้อ่าน แต่อย่าใช้เยอะเกินไป ถ้าใช้ในเนื้อหาที่ผิด(ความเรียงเพื่ออธิบาย หรือ เพื่อโต้แย้ง) ก็จะกลายเป็นมากเกิน

2.สิ่งที่ไม่ควรทำ

  1. อย่าอ้างอิงข้อความของใคร. ไม่มีความจำเป็นที่จะปิดกั้นตอนจบของเรียงความของคุณด้วยข้อความอ้างอิงหรือบทวิเคราะห์ เพราะนี่เป็นสิ่งที่คุณควรจะทำในส่วนของย่อหน้าเนื้อหา ถ้าจำเป็นจริงๆ ก็แค่สรุปข้อความนั้นให้กระชับเท่าที่จะทำได้ว่าต้องการสื่อถึงอะไร และเชื่อมโยงกลับไปที่คำถามที่ถามในตอนแรก
  2. อย่าใช้คำฟุ้งเฟ้อ. พยายามเลี่ยงการใช้ศัพท์สูงหรือยากมากเกินไปในบทสรุปของคุณ คุณต้องให้ข้อความนั้นอ่านเข้าใจง่ายเและเกี่ยวข้องกับเนื้อหา ไม่ใช่แข็งกระด้างและน่าเบื่อ และอย่าใช้คำเชื่อม “อย่างแรก(Firstly)” “อย่างที่สอง(Secondly)” “อย่างที่สาม(Thirdly)” ฯลฯ เพื่อชี้ให้ผู้อ่านเห็นถึงประเด็นที่คุณจะสื่อ ควรเขียนให้ชัดเจนว่าคุณกำลังพูดถึงอะไรและมีกี่ประเด็นที่กำลังกล่าวถึง
  3. อย่าทำให้ผู้อ่านหลงประเด็นโดยการเพิ่มข้อมูลใหม่เข้าไป. การเขียนสรุปไม่ใช่เวลาที่จะเปิดประเด็นใหม่หรือใส่เนื้อหาใหม่ เพราะจะทำให้ผู้อ่านสับสน อย่ารวมหลายๆประเด็นเข้าด้วยกัน เขียนไปอย่างสบายๆตามที่ได้เริ่มต้นมาและเขียนให้ชัดว่าคุณได้บทสรุปอะไรหลังจากได้วิเคราะห์มาอย่างดี
  4. อย่าให้ความสำคัญกับประเด็นที่ไม่ได้สำคัญ. การเขียนย่อหน้าสรุปไม่ใช่เวลาที่จะเก็บรายละเอียดย่อย ความจริงแล้ว มันคือเวลาที่จะถอยกลับไปและให้ความสำคัญกับภาพรวม เพื่อทำให้แน่ใจว่าคุณได้มุ่งความสนใจไปยังหัวใจของเรื่องที่เขียน ไม่ใช่แค่เส้นผมเพียงเส้นเดียว
  5. อย่าเริ่มย่อหน้าสรุปของคุณด้วยคำเชื่อมดังต่อไปนี้.
    • โดยสรุปแล้ว(In conclusion)
    • สุดท้ายนี้(Finally)
    • ท้ายที่สุด(In the end) คำพวกนี้ไม่ใช่คำที่ทำให้คุณดูเชี่ยวชาญหากนำมาใช้ในการเชื่อมประโยค

เคล็ดลับ

  • ใช้ประโยคใจความหลักมาเป็นส่วนหนึ่งของย่อหน้าสรุป นี่แสดงให้เห็นว่าคุณไม่ได้หลงประเด็น และกำลังเก็บประเด็นทุกอย่างอยู่ *ทำให้แน่ใจว่าคุณได้อ่านเรียงความของคุณซ้ำอีกครั้งหลังจากที่เขียนเสร็จแล้ว ตรวจสอบว่าคุณใช้ไวยากรณ์ ตัวสะกด และเครื่องหมายวรรคตอนได้ถูกต้องหรือไม่
  • ใช้คำที่หลากหลายในย่อหน้าสรุปของคุณ ผู้สอนส่วนใหญ่จะชอบผู้เรียนที่ขยันเลือกสรรค์คำศัพท์มาใช้ในบทสรุป
  • แน่ใจว่าคุณได้พยายามและใช้ข้อมูลที่เกี่ยวโยงกับเนื้อหาในบทสรุป และให้พยายามขมวดปมในบทสรุปกับประโยคใจความหลักเพื่อแสดงให้ผู้อ่านเห็นว่าคุณทราบดีว่าเหตุผลของคุณนั้นเหมาะสมกับหัวข้อเรื่องที่คุณเขียน
  • หลีกเลี่ยงการใช้สรรพนามบุรุษที่หนึ่งในความเรียงที่เป็นทางการ เพราะทำให้ดูไม่เหมือนผู้เชี่ยวชาญ อย่าเขียนว่า “ฉันเชื่อว่า” ในส่วนใดส่วนหนึ่งของเรียงความนั้น เพราะทำให้ประเด็นของคุณฟังน่าเชื่อถือน้อยลง
  • สรุปเรียงความของคุณเพื่อให้ได้คะแนนเยอะ
  • พยายามอย่าพูดซ้ำไปซ้ำมา ผู้อ่านจะรู้สึกเบื่อ และทำให้เรื่องที่คุณเขียนนั้นไม่ได้สื่อถึงความจริง
  • ถ้าคุณมีหัวข้อเรื่อง ให้เขียนเกี่ยวกับหัวข้อนั้นเพื่อที่จะทำให้ได้คะแนนดี
  • อย่าใช้สรรพนาม ฉัน หรือ เธอ ในเรียงความของคุณ ต้องใช้สรรพนามบุรุษที่สามเสมอ (เธอ,ของเธอ,เขา,ของเขา,มัน,พวกเขา,ของพวกเขา)