วิธีการ วางโครงเรื่อง

วิธีการ วางโครงเรื่อง

คุณอาจจะมีไอเดียดีๆ ในการเขียนเรื่อง แต่การวางโครงเรื่องออกมาก็ไม่ใช่เรื่องง่ายเลย โชคดีที่การวางโครงเรื่องก็ไม่ได้หนักหนาเสมอไป! เริ่มจากการวางแผนแนวคิดในการเขียนเรื่องออกมาก่อน เช่น สมมุติฐาน ตัวละคร และฉากท้องเรื่อง จากนั้นผูกปมหลักของเรื่องด้วยเทคนิคการเล่าเรื่อง และสุดท้ายเขียนโครงร่างเนื้อเรื่องให้เสร็จเพื่อให้คุณติดตามโครงเรื่องได้ง่าย

ส่วน1 วางแผนการเขียนเรื่อง

ส่วน1  วางแผนการเขียนเรื่อง
  • ระดมความคิดเพื่อให้ได้แนวคิดในการเขียนโครงเรื่อง. คุณต้องเขียนแนวคิดของคุณออกมาก่อนจึงจะสามารถพัฒนาไปเป็นเรื่องราวฉบับสมบูรณ์ได้
  • เขียนสมมุติฐานหรือบทสรุปของเรื่อง. สมมุติฐานของคุณคือแนวคิดพื้นฐานของเรื่อง
  • เขียนลักษณะของตัวละครหลักและตัวละครรอง. เขียนลักษณะของตัวละคร รายละเอียดส่วนตัว นิสัย สิ่งที่ชอบและไม่ชอบ
  • สร้างปมขัดแย้ง. ปมขัดแย้งของคุณควรจะอยู่ตั้งแต่ตอนต้นเรื่องเพื่อที่คนอ่านจะได้รู้สึกถึงความตึงเครียดขณะอ่าน
  • สร้างฉากท้องเรื่อง. ฉากท้องเรื่องคือสิ่งที่บอกว่าเหตุการณ์เกิดขึ้นเมื่อไหร่และที่ไหน

ส่วน2 ผูกปมหลักของเรื่อง

ส่วน2  ผูกปมหลักของเรื่อง
  • จดทุกฉากที่ผุดขึ้นมาในหัวลงไป. อย่าเพิ่งกังวลว่ามันจะต้องสมเหตุสมผลหรือต้องเรียงลำดับอย่างไร
  • สร้างฉากเปิดเรื่องที่มัดใจคนอ่าน. ฉากนี้ควรเป็นฉากที่คุณแนะนำตัวละครและฉากท้องเรื่องให้คนอ่าน
  • สร้างเหตุการณ์ที่ทำให้ตัวละครต้องทำอะไรบางอย่าง. ฉากนี้เป็นฉากเริ่มโครงเรื่อง จึงควรจะอยู่ตั้งแต่ตอนต้นเรื่อง
  • สร้างการขมวดปมเพื่อเพิ่มความตึงเครียด. การขมวดปมจะเริ่มหลังจากเหตุการณ์ที่ทำให้ตัวละครต้องทำอะไรบางอย่าง และนำพาคนอ่านไปถึงจุดไคลแม็กซ์
  • เขียนจุดไคลแม็กซ์. จุดไคลแม็กซ์คือจุดสูงสุดของเนื้อเรื่องเมื่อตัวละครต้องเผชิญกับปมขัดแย้ง
  • กำหนดฉากสำหรับภาวะคลี่คลาย. ภาวะคลี่คลายเล่าผลที่ตามมาของจุดไคลแม็กซ์
  • สร้างจุดคลี่คลายที่น่าพอใจเพื่อจบเรื่อง. ตอนจบควรทำให้ผู้อ่านรู้สึกว่าไม่มีปมใดในเรื่องที่ยังหลวมอยู่ ตอนจบไม่จำเป็นต้องมีความสุขเสมอไป
  • ถ้าจำเป็นให้เติมช่องว่างระหว่างฉาก. พอคุณได้ปมหลักของเรื่องที่เป็นฐานแล้ว คุณอาจจะเห็นว่ามีฉากที่ไม่ได้เชื่อมกันอย่างชัดเจน

ส่วน3 เตรียมโครงร่างเนื้อเรื่อง

ส่วน3  เตรียมโครงร่างเนื้อเรื่อง
  • ตัดสินใจว่าอยากให้โครงร่างละเอียดแค่ไหน. คุณอาจจะเขียนสรุปแต่ละฉากไว้ในประโยคเดียว
  • เขียนโครงร่างที่มีทั้งลำดับตัวเลขและตัวหนังสือเพื่อเรียงลำดับข้อมูล. โครงร่างที่มีทั้งลำดับตัวเลขและตัวหนังสือเหมาะกับการสร้างชั้นของข้อมูล
  • เริ่มจากตอนต้นเรื่องไปถึงท้ายเรื่อง. เนื่องจากว่าคุณวางปมหลักของเรื่องไว้เรียบร้อยแล้ว
  • เขียนสรุปอธิบายแต่ละฉากใน 1 ประโยค. วิธีนี้เป็นการรวบประเด็นหลักเข้าไปในโครงร่างเนื้อเรื่อง ใส่แต่ละฉากในเนื้อเรื่องลงไป
  • เพิ่มรายละเอียดแต่ละฉากได้ตามต้องการ. คุณไม่จำเป็นต้องใส่รายละเอียดลงไปในโครงเรื่องถ้าคุณไม่อยากเขียน