การเขียนอ้างอิง บรรณานุกรม

การอ้างอิง  หมายถึง  การบอกแหล่งที่มาของข้อความที่ใช้อ้างอิง ในเนื้อหาที่นำมาเขียนเรียบเรียง ปัจจุบันในสาขาวิทยาศาสตร์สุขภาพ นิยมใช้ คือ
1. การอ้างอิงแบบแทรกปนในเนื้อหา ซึ่งมี 2 ระบบ คือ
     1.1 ระบบนาม – ปี ( Author – date)
            ระบบนาม – ปี เป็นระบบที่มีชื่อผู้แต่ง, ปีที่พิมพ์ และเลขหน้า ที่อ้างอิงอยู่ภายในวงเล็บ ดังตัวอย่าง
                    (ชื่อผู้แต่ง.  ปีที่พิมพ์ : เลขหน้าที่อ้างอิง)

                    (ส่งศรี ดีศรีแก้ว, 2534 : 78) 

     1.2  ระบบหมายเลข (Number System)  เป็นระบบที่คล้ายคลึงกับระบบนาม – ปี แต่ระบบนี้จะใช้หมายเลขแทนชื่อผู้แต่งเอกสาร
             การอ้างอิง มีอยู่ 2 วิธี คือ
             1.2.1 ให้หมายเลขตามลำดับของการอ้างอิง
             1.2.2 ให้หมายเลขตามลำดับอักษรผู้แต่ง

            บรรณานุกรม (Bibliographyหมายถึง รายการของทรัพยากรสารสนเทศทั้งหมดที่ผู้ทำรายงานได้ใช้ประกอบการเขียนรายงาน ทั้งที่ปรากฏชัดเจนโดยเขียนอ้างอิงไว้ และส่วนที่ไม่ปรากฏชัดเจน แต่อาจเป็นเพียงการรวบรวมความคิดหลาย ๆ แนว แล้วนำมาเรียบเรียงใหม่

          ลำดับ ประเภทบรรณานุกรม 
                   1. ตัวอย่าง บรรณานุกรมหนังสือภาษาไทย 
                   2. ตัวอย่าง บรรณานุกรมภาษาอังกฤษ 
                   3. ตัวอย่าง บรรณานุกรมวิทยานิพนธ์ 
                   4. ตัวอย่าง บรรณานุกรมบทความจากหนังสือ 
                   5. ตัวอย่าง บรรณานุกรมบทความจากวารสาร 
                   6. ตัวอย่าง บรรณานุกรมคอลัมน์จากวารสาร 
                   7. ตัวอย่าง บรรณานุกรมคอลัมน์จากหนังสือพิมพ์ 
                   8. ตัวอย่าง บรรณานุกรมโสตทัศนวัสดุ 
                   9. ตัวอย่าง บรรณานุกรมสารสนเทศอิเล็กทรอนิกส์ 

1. บรรณานุกรมหนังสือภาษาไทย                 

                  แบบ ก                
                  ชื่อ / ชื่อสกุล. / / ชื่อเรื่อง. / / ครั้งที่พิมพ์. / / เมืองที่พิมพ์ / : / ผู้รับผิดชอบในการพิมพ์, /
                   / / / / / / /ปีที่พิมพ์.  
                  แบบ ข 
                  ชื่อ / ชื่อสกุล. / / (ปีที่พิมพ์). / / ชื่อเรื่อง. / / ครั้งที่พิมพ์. / / เมืองที่พิมพ์/ : / ผู้รับผิดชอบ  
                   / / / / / / / ในการพิมพ์. 
หมายเหตุ  สัญลักษณ์ / คือการเว้นวรรค

               ในกรณีที่ยังเขียนบรรณานุกรมไม่จบและต้องขึ้นบรรทัดใหม่ ให้เว้นวรรคไป 7 ตัวอักษร แล้วพิมพ์ตัวแรกคือตัวอักษรที่ 8 (ถ้าเป็นคอมพิวเตอร์ให้กดปุ่ม Tab )

ตัวอย่าง บรรณานุกรมหนังสือภาษาไทย                  
                  แบบ ก  
                  กิตติกร  มีทรัพย์. จิตวิทยาการเลี้ยงดูเด็ก. พิมพ์ครั้งที่ 3.  กรุงเทพฯ : ธุรกิจการพิมพ์, 
                                2544. 
                  แบบ ข  
                  กิติกร  มีทรัพย์.  (2544).  จิตวิทยาการเลี้ยงดูเด็ก.  พิมพ์ครั้งที่ 3.  กรุงเทพฯ :  
                             ธุรกิจการพิมพ์. 


2. บรรณานุกรมหนังสือภาษาอังกฤษ 
                  แบบ ก 
                  ชื่อสกุล. / ชื่อต้น / ชื่อกลาง(ถ้ามี). / / ชื่อเรื่อง. / / ครั้งที่พิมพ์./ /เมืองที่พิมพ์/:/ผู้รับผิดชอบ 
                  / / / / / / /ในการพิมพ์./ / ปีที่พิมพ์. 
                  แบบ ข 
                  ชื่อสกุล./อักษรย่อชื่อต้น / อักษรย่อชื่อกลาง(ถ้ามี). / / (ปีที่พิมพ์). / / ชื่อเรื่อง. / / ครั้งที่พิมพ์. 
                  / / / / / / / เมืองที่พิมพ์ / : / ผู้รับผิดชอบในการพิมพ์. 
  ตัวอย่าง บรรณานุกรมหนังสือภาษาอังกฤษ 
                  แบบ ก  
                  Hartley, Eric Key.  Childhood and society.  2 nd ed. New York : Mc Graw – 
                               Hill, 1989.   
                  แบบ ข  
                  Hartley, E.K. (1989). Childhood and Society. 2 nd ed. New York : MC Graw -Hill. 
  


 3.บรรณานุกรมวิทยานิพนธ์ 

                  แบบ ก 
                  ชื่อผู้เขียน. / / ชื่อเรื่อง. / / ระดับวิทยานิพนธ์. / / ชื่อเมืองที่พิมพ์ / : / ชื่อมหาวิทยาลัย, /  
                   / / / / / / / ปีที่พิมพ์. 
                  แบบ ข 
                  ชื่อผู้เขียน. / / (ปีที่พิมพ์). / / ชื่อเรื่อง. / / ระดับวิทยานิพนธ์, / ชื่อสาขา / คณะ /  
                   / / / / / / / ชื่อมหาวิทยาลัย. 
  ตัวอย่าง บรรณานุกรมวิทยานิพนธ์ 
                  แบบ ก 

                  ภัคพร  กอบพึ่งตน.  การประเมินคุณภาพการพยาบาลผู้คลอดปกติในโรงพยาบาล 
                              นครพิงค์จังหวัดเชียงใหม่.  วิทยานิพนธ์พยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต. 
                              มหาวิทยาลัยเชียงใหม่, 2540.
                แบบ ข  

                  ภัคพร  กอบพึ่งตน.  (2540).  การประเมินคุณภาพการพยาบาลผู้คลอดปกติในโรงพยาบาล
                              นครพิงค์ จังหวัดเชียงใหม่.  วิทยานิพนธ์พยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต  สาขาวิชาการ

                              บริหารการพยาบาล บัณฑิตวิทยาลัย  มหาวิทยาลัยเชียงใหม่. 


4. บรรณานุกรมบทความจากหนังสือ  
                  แบบ ก  
                  ชื่อผู้เขียน. / / “ชื่อตอนหรือบทความ” / ใน / ชื่อหนังสือ. / / หน้า / เลขหน้า. / / ชื่อบรรณาธิการ 
                   / / / / / / / (ถ้ามี)./ / เมืองที่พิมพ์ / : / ผู้รับผิดชอบในการพิมพ์, /ปีที่พิมพ์. 
                  แบบ ข  
                  ชื่อผู้เขีน. / / (ปีที่พิมพ์). / / ชื่อบทความ. / / ใน / ชื่อบรรณาธิการ (บรรณาธิการ)(ถ้ามี). / / 
                   / / / / / / / ชื่อหนังสือ. / / (หน้า / เลขหน้า). / / เมือง / : / ผู้รับผิดชอบในการพิมพ์. 
ตัวอย่าง บรรณานุกรมบทความจากหนังสือ   
                  แบบ ก  

                  สมจิต   หนุเจริญกุล  และ  ประคอง  อินทรสมบัติ.  “การประเมินผลการพยาบาล”  ใน  
                                  เอกสารการสอนชุดวิชามโนมติและกระบวนการพยาบาล หน่วยที่ 8-15.  
                                  หน้า 749 – 781.  มยุรา  กาญจนางกูร, บรรณาธิการ.  กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์ 
                                  มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2536. 
                  แบบ ข  
                  สมจิต  หนุเจริญกุล  และ  ประคอง  อินทรสมบัติ. (2536).  การประเมินผลการพยาบาล ใน  
                                  มยุรา  กาญจนางกูร (บรรณาธิการ).  เอกสารการสอนชุดวิชามโนมติและ 
                                  กระบวนการพยาบาล หน่วยที่ 8 – 15.  (หน้า 749- 781). กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์ 
                                  มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. 


5. บรรณานุกรมบทความจากวารสาร 
                แบบ ก  
                ชื่อผู้เขียน. / / “ชื่อบทความ” / ชื่อวารสาร. / / ปีที่หรือเล่มที่ (ฉบับที่) / : / เลขหน้า; / 
                / / / / / / / วัน (ถ้ามี) / เดือน / ปี. 
               แบบ ข  
               ชื่อผู้เขียน. / / (ปี, / วัน / เดือน). / / ชื่อบทความ. / / ชื่อวารสาร. ปีที่หรือเล่ม(ฉบับที่), /  
               / / / / / / /เลขหน้า. 
  ตัวอย่าง บรรณานุกรมบทความจากวารสาร 
               แบบ ก  

               วิทยาคม  ยาพิศาล.  “การพัฒนาคุณภาพระบบงานศูนย์วิทยาศาสตร์การแพทย์เชียงใหม่ตาม 
                              แนวทางการตรวจติดตามทางวิชาการและระบบคุณภาพ”  กรมวิทยาศาสตร์การ  
                              แพทย์.  46(3) : 142 – 153 : กรกฎาคม – กันยายน 2547. 
                แบบ ข

               วิทยาคม  ยาพิศาล.  (2547,กรกฏาคม – กันยายน). การพัฒนาคุณภาพระบบงานศูนย์วิทยา- 
                              ศาสตร์การแพทย์เชียงใหม่ตามแนวทางการตรวจติดตามทางวิชาการและระบบคุณ 
                              ภาพ.  กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์. 46(3), 142 – 153. 


6.บรรณานุกรมคอลัมน์จากวารสาร 
                แบบ ก  

                ชื่อผู้เขียน. / /”ชื่อคอลัมน์ / : / ชื่อเรื่องในคอลัมน์” / ชื่อวารสาร. / / ปีที่หรือเล่มที่(ฉบับที่) / :   
                / / / / / / /เลขหน้า ; / วัน (ถ้ามี) / เดือน / ปี. 
                แบบ ข  
                ชื่อผู้เขียน. / / (ปี, วัน / เดือน). / / ชื่อคอลัมน์/ : /ชื่อเรื่องในคอลัมน์. / / ชื่อวารสาร. / / ปีที่หรือ 
                / / / / / / /เล่มที่(ฉบับที่),/เลขหน้า. 
ตัวอย่าง บรรณานุกรมคอลัมน์จากวารสาร   
               แบบ ก  
               วิทยา  นาควัชระ.  “คุยกันเรื่องของชีวิต : ประโยชน์ของการท่องเที่ยว” สกุลไทย.  40(2047) :  
                           191 – 192 ; 26 ตุลาคม 2544. 
               แบบ ข 
               วิทยา  นาควัชระ.  (2544, 26 ตุลาคม).  คุยกันเรื่องของชีวิต : ประโยชน์ของการท่องเที่ยว.  
                            สกุลไทย. 40(2047), 191 – 192. 


7.บรรณานุกรมคอลัมน์จากหนังสือพิมพ์ 
               แบบ ก  

               ชื่อผู้เขียนบทความ. / / “ชื่อคอลัมน์ / : / ชื่อเรื่องในคอลัมน์” /ชื่อหนังสือพิมพ์. / / วัน / เดือน/ 
               / / / / / / /ปี. / / หน้า / เลขหน้า. 
               แบบ ข  
               ชื่อผู้เขียนบทความ. / /(ปี, / วัน / เดือน). / /ชื่อคอลัมน์/ : /ชื่อเรื่องในคอลัมน์./ / ชื่อหนังสือ 
               / / / / / / / พิมพ์, / หน้า / เลขหน้า 
ตัวอย่าง บรรณานุกรมคอลัมน์จากหนังสือพิมพ์ 
               แบบ ก  

               นิติภูมิ  เนาวรัตน์.  “เปิดฟ้าส่องโลก : ตัวอย่างการอยู่ร่วมกัน : อียู” ไทยรัฐ.  5 มิถุนาน 2546. 
                            หน้า 2.  
                แบบ ข  
                นิติภูมิ  เนาวรัตน์.  (2546, 5 มิถุนายน). เปิดฟ้าส่องโลก : ตัวอย่างการอยู่ร่วมกัน : อียู. ไทยรัฐ, 
                             หน้า 2.  


8. บรรณานุกรมโสตทัศนวัสดุ 

                แบบ ก  
                ชื่อผู้จัดทำ,/ หน้าที่ที่รับผิดชอบ./ / ชื่อเรื่อง. / / [ลักษณะของโสตทัศนวัสดุ]./ / ชื่อเมือง / : /
                 / / / / / / / ผู้รับผิดชอบในการจัดทำ, / ปีที่จัดทำ. 
                แบบ ข  
                ชื่อผู้จัดทำ,/ หน้าที่ที่รับผิดชอบ. / / (ปีที่จัดทำ). / / ชื่อเรื่อง. / / [ลักษณะของโสตทัศนวัสดุ]./ /  
                 / / / / / / / ชื่อเมือง / : / ผู้รับผิดชอบในการจัดทำ. 
ตัวอย่าง บรรณานุกรมโสตทัศนวัสดุ
                แบบ ก  
                สายหยุด  นิยมวิภาต, ผู้บรรยาย.  ประเด็นปัญหาการวิจัยทางการพยาบาลคลินิก.  
                               [เทปโทรทัศน์].   ขอนแก่น : คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น, 2537. 
                แบบ ข  
                สายหยุด  นิยมวิภาต, ผู้บรรยาย. (2537). ประเด็นปัญหาการวิจัยทางการพยาบาลคลินิก. 
                              [เทปโทรทัศน์].  ขอนแก่น : คณะพยาบาลศาสตร์  มหาวิทยาลัยขอนแก่น. 


9.บรรณานุกรมสารสนเทศอิเล็กทรอนิกส์
     9.1 ฐานข้อมูล ซีดี – รอม
                 แบบ ก  

                 ผู้แต่ง. / / ชื่อเรื่อง. / / [ประเภทของสือ]. / / รายละเอียดทางการพิมพ์(ถ้ามี). / /  
                  / / / / / / / เข้าถึงได้จาก / : /แหล่งสารสนเทศ. 
                 แบบ ข
                 ผู้แต่ง./ / (ปีที่พิมพ์ / ผลิต,/วัน / เดือน). / / ชื่อเรื่อง. / / [ประเภทของสื่อ]. / / 
                 / / / / / / / รายละเอียดทางการพิมพ์(ถ้ามี). / / เข้าถึงได้จาก / : / แหล่งสารสนเทศ. 
ตัวอย่าง ฐานข้อมูล ซีดี – รอม
                แบบ ก  
                นพรัตน์  เพชรพงษ์.  จำนวนวันนอนในโรงพยาบาลของผู้ป่วยโรงพยาบาลพิจิตร.   
                              [ซีดี – รอม].  วิทยานิพนธ์พยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต.  เชียงใหม่ : มหาวิทยาลัย 
                              เชียงใหม่, 2545.  สาระสังเขปจาก : ฐานข้อมูลวิทยานิพนธ์ไทย แผ่นที่ 3, 2547. 
                แบบ ข  
                นพรัตน์  เพชรพงษ์.  (2545).  จำนวนวันนอนในโรงพยาบาลของผู้ป่วยโรงพยาบาลพิจิตร. 
                              [ซีดี – รอม].  วิทยานิพนธ์พยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต.  สาขาวิชาการบริหารการ 
                              พยาบาลบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.  สาระสังเขปจาก : ฐานข้อมูล 
                              วิทยานิพนธ์ไทยแผ่นที่ 3, 2547.  

    9.2 ฐานข้อมูลออนไลน์ (อินเทอร์เน็ต)
                 แบบ ก  
                 ผู้แต่ง./ / ชื่อเรื่อง./ / [ประเภทของสื่อ]. / / รายละเอียดทางการพิมพ์ (ถ้ามี). / /  
                  / / / / / / / เข้าถึงได้จาก / : /แหล่งสารสนเทศ. / / (วันที่ค้นข้อมูล / : / วัน / เดือน / ปี). 
                 แบบ ข  
                 ผู้แต่ง. / / (ปีที่พิมพ์ / ผลิต,/ วัน / เดือน). / / ชื่อเรื่อง. / / [ประเภทของสื่อ]. / / รายละเอียด 
                  / / / / / / / ทางการพิมพ์ (ถ้ามี). / / เข้าถึงได้จาก / : / แหล่งสารสนเทศ. / /  
                                (วันที่ค้นข้อมูล / : / วัน / เดือน /ปี). 
ตัวอย่าง ฐานข้อมูลออนไลน์ 
                  แบบ ก  

                  พิมลพรรณ  พิทยานุกูล.  วิธีสืบค้นวัสดุสารสนเทศ. [ออนไลน์].  เข้าถึงได้จาก : http :  
                                / / www.lib.buu.ac.th.  (วันที่ค้นข้อมูล : 16 กันยายน 2546). 
                   เรวัติ  ยศสุข.  “ผลิตภัณฑ์ใต้วงแขนอันตราย.”  ฉลาดซื้อ.  [ออนไลน์]. 6(6) ; กุมภาพันธ์ – มีนาคม

                              2546.  เข้าถึงได้จาก : http // www.kalathai.com/think/view_hot.?article_id=  

                              16.  (วันที่ค้นข้อมูล : 20 มิถุนายน 2547) 
                   แบบ ก  
                   พิมลพรรณ   พิทยานุกูล.  วิธีสืบค้นวัสดุสารสนเทศ. [ออนไลน์].  เข้าถึงได้จาก : http : / /  
                                www.lib.buu.ac.th.  (วันที่ค้นข้อมูล : 16 กันยายน 2546). 
                   เรวัติ  ยศสุข.  (2546,กุมภาพันธ์ – มีนาคม).  “ผลิตภัณฑ์ใต้วงแขนอันตราย.”  ฉลาดซื้อ.  
                                 [ออนไลน์]. 6(6) เข้าถึงได้จาก : http : / / www.kalathai.com/think/view_hot.  
                                 ? article_id = 16.  (วันที่ค้นข้อมูล : 20 มิถุนายน 2547).   เพิ่มเติม