บทความนิตยสารอาจเป็นโอกาสงามสำหรับนักเขียนฟรีแลนซ์ที่เชี่ยวชาญหรือนักเขียนที่พยายามจะเข้าสู่วงการนักเขียน อันที่จริงการเขียนบทความลงนิตยสารนั้นไม่ได้มีการกำหนดคุณสมบัติที่ชัดเจน ยกเว้นว่าจะต้องมีน้ำเสียงการเขียนที่ชัดเจน ความหลงใหลในการค้นหา และความสามารถในการเจาะหัวนิตยสารที่คุณจะส่งผลงานไปพิจารณาได้อย่างถูกต้อง แม้ว่านิตยสารดูเหมือนจะค่อยๆ หายไปในยุคดิจิตัล แต่นิตยสารระดับชาติก็ยังเติบโตต่อไปเรื่อยๆ และสามารถจ่ายค่าผลงานให้นักเขียนได้ถึงคำละ 30 บาท ในการเขียนบทความนิตยสารดีๆ นั้น คุณควรให้ความสำคัญกับการคิดไอเดียของบทความที่ชัดเจน สร้างสรรค์ผลงาน และตรวจแก้บทความอย่างละเอียด
ส่วน1 สร้างไอเดียของบทความ

- วิเคราะห์นิตยสารที่คุณชอบอ่าน
- พิจารณาแนวโน้มหรือหัวข้อล่าสุดที่คุณคุยกับเพื่อนหรือคนรุ่นราวคราวเดียวกัน
- ค้นหางานกิจกรรมที่กำลังจะจัดขึ้นในท้องถิ่นของคุณ
- ดูว่านักเขียนคนอื่นเขาเขียนเรื่องอะไร
- คิดถึงมุมมองใหม่ในหัวข้อที่คุ้นเคย
ส่วน2 สร้างสรรค์บทความ

- ค้นหาไอเดียบทความจากแหล่งที่มาอย่างหนังสือและเอกสารตีพิมพ์
- ค้นหาคนที่เป็นแหล่งข้อมูลที่ดี
- สัมภาษณ์แหล่งที่มาของคุณ
- ถอดบทสัมภาษณ์
- เขียนโครงร่างบทความ
- ใช้บรรทัดแรกกระตุ้นให้คนอ่านอยากอ่าน
- แทรกคำพูดอ้างอิงจากผู้เชี่ยวชาญหรือแหล่งที่มาที่เชื่อถือได้
- จบด้วยข้อความสรุปที่ให้ความกระจ่างหรือขยายหัวข้อของบทความ
ส่วน3 แก้ไขบทความ

- พูดคุยเรื่องบทความกับบรรณาธิการ
- ขอคำติชมบทความจากบรรณาธิการและเพื่อนในวงการ
- แก้ไขบทความเรื่องความลื่นไหลและโครงสร้าง
- ส่งบทความที่แก้ไขแล้วภายในเวลาที่กำหนด