หลักการที่ถูกต้องในการเขียนบทความ

หลักการที่ถูกต้องในการเขียนบทความ

การที่เราจะเขียนบทความอะไรสักอย่างให้ออกมาดีนั้นเราก็ต้องรู้หลักการในการเขียนให้ดูสวยงามเป็นระเบียบและถูกหลัของการเขียนให้ถูกต้องและการความเรียงที่เขียนขึ้นโดยมีหลักฐานข้อเท็จจริง และในเนื้อหานั้น ผู้เขียนได้แทรกข้อเสนอแนะเชิงวิจารณ์ หรือสร้างสรรค์เอาไว้ด้วย

ลักษณะเฉพาะของบทความ
๑. ต้องเป็นเรื่องที่ผู้อ่านส่วนมากกำลังสนใจอยู่ในขณะนั้น อาจเป็นปัญหาที่คนกำลังอยากรู้ว่าจะดำเนินต่อไปอย่างไร หรือมีผลอย่างไร หรือเป็นเรื่องที่เข้ายุคเข้าสมัย
๒. ต้องมีแก่นสาร มีสาระ อ่านแล้งได้ความรู้ หรือความคิดเพิ่มเติม มิใช่เรื่องเลื่อนลอยไร้สาระ
๓. ต้องมีข้อทรรศนะ ข้อคิดเห็น ตลอดจนข้อเสนอแนะของผู้เขียนแทรกด้วย
๔. มีวิธีเขียนชวนให้อ่าน อ่านแล้วท้าทายความคิด และสนุกเพลิดเพลิน จากความคิดในเชิงถกเถียงโต้แย้งนั้น
๕. เนื้อหาสาระและสำนวนภาษาเหมาะสมสำหรับผู้อ่านที่มีการศึกษาอยู่ในเกณฑ์ดี เพราะผู้อ่านที่มีการศึกษาน้อยนิยมอ่านข่าวสดมากกว่าบทความ

ลักษณะที่แตกต่างและเหมือนกันของบทความ เรียงความ และข่าว
๑. รูปแบบ เรียงความและบทความมีรูปหรือแบบของการเขียนเหมือนกัน คือ มีโครงเรื่องอันประกอบด้วยสามส่วนใหญ่ๆ ได้แก่ คำนำ เนื่องเรื่อง และสรุป หรือคำลงท้าย การตั้งชื่อเรื่องหรือหัวเรื่องอาจเหมือนหรือคล้ายคลึงกัน ส่วนข่าวเป็นการเสนอเรื่องรวมหรือเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นตามความเป็นจริง สาระสำคัญของข่าวอยู่ที่ความนำอันเป็นย่อหน้าแรกของการเขียนข่าว ส่วนย่อหน้าต่อ ๆ มา มีความสำคัญลดหลั่นกันลงมาตามลำดับ จนกระทั่งถึงย่อหน้าสุดท้ายอาจตัดทิ้งไปได้ โดยไม่เสียความถ้าเนื้อที่กระดาษจำกัด
๒. ความมุ่งหมาย บทความนั้นเขียนขึ้นเพื่อเสนอข้อคิดเห็นเกี่ยวกับ เรื่องหรือ เหตุการณ์นั้นๆ ส่วนเรียงความเป็นการเขียนเพื่อ แสดงความรู้เกี่ยวกับหัวข้อเรื่องนั้นแต่เพียงเรื่องเดียว
๓. เนื้อเรื่อง หัวข้อเรื่องของบทความต้องทันสมัย ทันต่อเหตุการณ์ อยู่ในความสนใจของผู้อ่านขณะนั้น เวลาผ่านไปเพียงสัปดาห์หนึ่ง หรือมากกว่านั้น ก็อาจล้าสมัยไป ส่วนเรียงความจะหยิบยกเอาเรื่องใด ๆ ทั้งที่เป็นรูปธรรม และนามธรรมเขียนก็ได้ และหัวข้อเรื่องเดียวกันนี้จะเขียนเมื่อไหร่ก็ได้ ไม่ถือว่าล้าสมัย แต่ข่าวมีอายุอยู่ ๒๔ ชั่วโมงเท่านั้น ถ้าเสนอข่าวช้าไปสักวันหรือสองวันก็ไม่น่าสนใจเสียแล้ว
๔. วิธีเขียน วิธีเขียนเรียงความนั้นใคร ๆ ก็รู้จักวิธีเขียนและเขียนได้ ส่วนมากเป็นการเขียนแบบเรียบๆ ไม่โลดโผน แต่บทความจะต้องมีวิธีเขียนอันชวนให้อ่าน ให้ติดตามเนื้อเรื่อง การเขียนข่าวต้องตอบปัญหา ๕ ข้อ คือ ใคร ทำอะไร ที่ไหน เมื่อไหร่ และทำไม ต้องเสนอข่าวเท่าที่เกิดขึ้นจริง เขียนอย่างสั้นและตรงไปตรงมา ไม่มีข้อคิดเห็นของผู้เขียน ไม่มีแม้แต่ชื่อผู้เขียนข่าว ต้องเป็นข่าวสดจริงๆ เป็นการเขียนเพื่อให้ชนทุกชั้นอ่าน และไม่แสดงอารมณ์ ความรู้สึกของผู้เขียน ผู้อ่านจะไม่รู้เลยว่าผู้เขียนเป็นบุคคลชนิดใด รู้สึกนึกคิดอย่างไร